ที่มา Thai E-News
ที่มา เวบไซต์ ประชาไท
5 ก.ย.52
AHRC ทำหนังสือถึงสหประชาชาติ ให้ดำเนินการกรณีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล พร้อมระบุปัญหาเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ลดลง และการใช้ศาลเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองที่มากขึ้นในประเทศไทย
วานนี้ (4 ก.ย. 52) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ทำหนังสือถึงผู้ตรวจการพิเศษสหประชาติ (ยูเอ็น) เพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนในกรณีของ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล พร้อมทั้งนำเสนอข้อห่วงใยต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ลดลงเรื่อยๆ และระบบยุติธรรมที่ถูกทำให้เป็นการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย
ในจดหมายดังกล่าวในระบุถึงคำพิพากษาจำคุก 18 ปีของดารณี ซึ่งการฟ้องร้องนำมาจากหนึ่งในการปราศรัยจำนวนมากของเธอ หลังจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเธอกล่าวพาดพิงเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกษัตริย์กับผู้ทำการรัฐประหาร ท่ามกลางเรื่องอื่นๆ ก่อนหน้านี้มีความพยายามของประกันตัว 3 ครั้งแต่ได้รับการปฏิเสธ และต่อมาศาลยังมีคำสั่งให้พิจารณาแบบปิดลับ รวมไปถึงความพยายามของทนายความที่ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าการพิจารณาปิดลับเป็นการละเมิดสิทธิของเธอ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธอีกเช่นกัน
AHRC เชื่อว่าดารณีถูกปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวเนื่องจากเธอเลือกที่จะสู้คดีแทนที่จะรับสารภาพและขอพระราชทานอภัยโทษ ซึ่ง AHRC จะยื่นเรื่องไปยัง UN Working Group on Arbitrary Detention ว่าการจำคุกจำเลยในครั้งนี้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 10 ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากลที่ระบุว่า “ทุกคนอยู่ภายใต้ความเท่าเทียมของความยุติธรรมและการเปิดเผยต่อสาธารธารณะ โดยการพิพากษาที่เป็นอิสระและรอบด้านในการกำหนดสิทธิของเขาและความผูกพัน และการดำเนินการทางอาญาต่อเขา”
นอกจากนี้ในจดหมายดังกล่าวยังวิเคราะห์ปัญหาทางการเมืองและการทำงานของสื่อมวลชน ตลอดจนเชิญให้ตัวแทนของสหประชาชาติเข้าเยี่ยมประเทศไทยเพื่อตรวจสอบเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย
ต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ ลิงก์นี้
เรียน ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติ
เรื่อง ประเทศไทย: กรณีดารณี เชิงชาญศิลปกุล การปฏิเสธเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการทำให้ระบบยุติธรรมกลายเป็นการเมือง
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ทำหนังสือเพื่อเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ต่อกรณีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล และพร้อมกับความห่วงใยต่อเสรีภาพในการแสดงความเห็นการลดลงเรื่อยๆ และระบบยุติธรรมที่ถูกทำให้เป็นการเมืองมากยิ่งขึ้น
ดารณี ถูกตัดสินจำคุก 18 ปีเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552 ใน 3 กระทงในความผิดหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ การฟ้องร้องดำเนินคดีมาจากหนึ่งในคำปราศรัยจำนวนมากของเธอหลังจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ซึ่งเธอกล่าวพาดพิงเชื่อมโยงระหว่างสถาบันกษัตริย์กับผู้ทำการรัฐประหาร ท่ามกลางเรื่องอื่นๆ
ดารณีมีความพยายามถึง 3 ครั้งในการขอประกันตัว แต่ถูกปฏิเสธ แม้ว่าศาลไม่มีฐานในการปฏิเสธคำขอประกันตัวภายใต้มาตรา 108 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยิ่งไปกว่านั้นเธอถูกพิจารณาคดีแบบปิดลับภายใต้มาตรา 117 ของประมวลกฎหมาวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งอยู่บนฐานที่ว่าการพิจารณาแบบปิดลับกระทำได้ในกรณีเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะหรือความมั่นคงของชาติ ทนายความของเธอยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การพิจารณาคดีแบบปิดลับเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นการละเมิดสิทธิของเธอตามรัฐธรรมนูญ แต่มันก็ถูกปฏิเสธ
AHRC ไม่ได้เห็นว่าในกรณีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งจำเลยได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นปกติด้วยคำถามถึงการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี เราเชื่อว่าเธอถูกปฏิบัติในลักษณะดังกล่าวเนื่องจากเธอเลือกที่จะสู้คดีแทนที่จะรับสารภาพและขอพระราชทานอภัยโทษ
ต่อเรื่องดังกล่าวนี้ เราจะยื่นเรื่องไปยังคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการกักขังที่ไม่มีกฎเกณฑ์ (UN Working Group on Arbitrary Detention) ว่าการจำคุกจำเลยในครั้งนี้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศตามมาตรา 10 ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชนสากลที่ระบุว่า “ทุกคนอยู่ภายใต้ความเท่าเทียมของความยุติธรรมและการเปิดเผยต่อสาธารธารณะโดยการพิพากษาที่เป็นอิสระและรอบด้านในการกำหนดสิทธิของเขาและความผูกพัน และการดำเนินการทางอาญาต่อเขา”
การพิจารณาและการตัดสินว่าการกระทำความผิดในกรณีของดารณีนำมาสู่ความห่วงใยในหลักของ AHRC เกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในช่วงหลังไม่กี่ปีมานี้ จากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นที่ลดน้อยถอยลง และการใช้ศาลเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง
ในประเด็นแรก สถานการณ์ในประเทศไทยมีความซับซ้อนจากความแพร่หลายของสื่อประเภทต่างๆ ที่ทำให้มีความเข้าใจผิดว่าประเทศไทยมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในระดับสู้ โดยเปรียบเทียบ แต่ในความเป็นจริง สื่อวิทยุและโทรทัศน์ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและส่วนใหญ่อยู่ในกำมือของหน่วยงานรัฐบาลและกองทัพ
หนังสือพิมพ์และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่ในช่วงทศวรรษที่ 2530 มีชื่อเสียงที่ดี แต่ในช่วงปีหลังๆ มานี้ส่วนมากมีการเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างหนักหรือลำเอียงอย่างเปิดเผยตั้งแต่อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ถูกถอดจากอำนาจ
อินเตอร์เน็ตและท้องถนนยังคงเป็นพื้นที่สำหรับการสื่อสาร ซึ่งเป็นเหตุให้หน่วยงานรัฐพยายามตรวจตราอย่างกระตือรือร้น และบางกรณีอยู่นอกเป้าหมาย ก่อนหน้ากรณีดารณี ชายคนหนึ่งถูกพิพากษาจำคุก 10 ปีจากการโพสต์ภาพออนไลน์หมิ่นพระมหากษัตริย์ และอีกหลายกรณีที่ข้อกล่าวหายังค้างอยู่ในการกระทำความผิดทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายใต้บทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 ที่มีความคลุมเครือ หน่วยงานรัฐบาลรายงานว่ามีการบล็อกหลายพันเว็บเพจที่มีการกับกับดูแลน้อยมาก ซึ่งส่วนมากเป็นธรรมชาติของการเมือง
ความห่วงใยประการที่สอง AHRC ได้เฝ้าระวังการให้ทำให้ตุลาการมีอำนาจสูงขึ้นหลังจากการยึดอำนาจของระบอบทหารในเดือนกันยายน 2549 และตั้งแต่นั้นมาก็ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง
ในปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้ถอดถอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งฝ่ายของทักษิณถึงสองครั้ง ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ต่อต้านประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญนี้บรรจุบทบัญญัติที่จำกัดระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ในอีกด้านหนึ่ง ไม่มีความพึงพอใจในการดำเนินการเอาผิดกับผู้ก่อการประท้วงที่ยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินนานาชาติเมื่อปีที่แล้ว ผลกระทบของกรณีเหล่านี้รวมทั้งกรณีอื่นๆ รวมถึงกรณีดารณี ได้ทำให้ฐานะของศาลในประเทศไทยเสื่อมถอยลง ด้วยต้นทุนของพวกเขาเองและสังคมโดยรวม .
ในขณะเดียวกัน ในอดีตมันไม่ใช่เรื่องปกติที่จะได้ยินประชาชนพูดถึงระบบยุติธรรมว่าเป็นการเมือง และการพูดถึง “สองมาตรฐาน” กลายมาเป็นคำเฉพาะเมื่อกล่าวถึงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย
รัฐบาลของไทยในปัจจุบัน แม้ว่าในความเป็นจริงจะเข้ามาสู่อำนาจไม่ได้ตามวิถีทางแบบปกติ แต่ได้พยายามยืนยันว่ารัฐบาลตระหนักถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศและกระตือรือร้นในการร่วมมือกับการติดตามระดับระหว่างประเทศในเรื่องสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเชื้อเชิญให้ผู้ตรวจการพิเศษติดตามสถานการณ์ดังกล่าวด้วย
นอกจากการขอให้ท่านยื่นหนังสือเร่งด่วนไปยังรัฐบาลไทยในกรณีดารณี เชิงชาญศิลปกุล เรายังเรียกร้องให้ท่านพิจารณาการขอเข้าเยี่ยมประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และศึกษากรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เพื่อตัวของท่านเอง
สถานการณ์ในประเทศไทยนั้นมีความสำคัญอย่างเพียงพอ ไม่เพียงเพราะว่ามันเลวร้ายลงในช่วงไม่กี่ปีมานี้ แต่เนื่องจากมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ท่ามกลางประเทศในสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากไม่ทำอะไร มันจะลดระดับดัชนีสิทธิมนุษยชน และผลของมันจะไม่เพียงแต่มีผลเสียหายต่อประเทศไทยเท่านั้นแต่ยังมีผลเสียต่อทั้งภูมิภาค
ด้วยความนับถือ
บาซิล เฟอร์นานโด
ผู้อำนวยการ AHRC, ฮ่องกง