WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 4, 2009

Straights Times: Seismic shifts challenge Thai elites to compromise การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่กำลังกระตุ้นให้ชนชั้นสูงของไทยต้องยอมอ่อนข้อ

ที่มา Thai E-News

ที่มา Straights Times Print Edition: (ต้องเป็นมาชิกถึงเข้าไปดูได้) - บทความเต็มได้มาจาก Malaysian Insider: http://www.themalaysianinsider.com/index.php/world/36805-seismic-shifts-challenge-thai-elites-to-compromise

แปลโดยทีมงานไทยอีนิวส์

4 กันยายน 2552


การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่กำลังกระตุ้นให้ชนชั้นสูงของไทยต้องยอมอ่อนข้อ




ณ.ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งมีวิวของแม่น้ำเจ้าพระยา - แม่น้ำแห่งกษัตริย์ (the River of Kings) - นักประวัติศาสตร์ดอกเตอร์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชี้ไปที่โทรศัพท์มือถือบนโต๊ะของเขาและพูดว่า "ของประเภทนี้แหละที่เป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุ"

เขากำลังพูดถึงประเทศไทยยุคใหม่ ซึ่งถูกหล่อขึ้นมาจากสงครามในแหลมอินโดจีนในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970, ความเจริญรุ่งเรืองและความล้มเหลวของทศวรรษ 1980 และพฤษภาทมิฬปี 1992 - รวมถึงความวุ่นวายทางการเมืองในสี่ปีที่ผ่านมา

ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทางการเมืองครั้งมโหฬารของประเทศมากกว่าที่เห็นอย่างผิวเผิน เขากล่าว

ในหลายเดือนที่ผ่านมา ระหว่างที่ความแตกแยกในสังคมไทยไม่มีวี่แววที่จะถูกเยียวยา การเรียกร้องขอ "ความสามัคคี" และ "ความสมานฉันท์" โดยมากจะมาจากกลุ่มชนชั้นสูงของไทย ซึ่งก็เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้วในประเทศไทยที่ในช่วงวิกฤติการเรียกร้องมักจะมาพร้อมกับการกล่าวหาผู้ที่ก่อให้เกิดการขัดแย้งอย่างรุนแรงว่าประพฤติตัวไม่เหมือนคนไทย

ในความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อเดือนธันวาคม 2007 กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งในตอนนั้นมีพระชนมายุ 80 พรรษา ทรงตรัสว่า "ปราศจากความสามัคคี ประเทศจะเผชิญกับความหายนะ"
และเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ระหว่างที่กล่าวกับข้าราชการ พระองค์ได้เตือนว่าประเทศจะพังพินาศถ้ากลุ่มคนต่างๆในสังคมไม่ร่วมมือกัน

อุดมการณ์ของความสามัคคี - และกรอบความคิดของความเป็น "ไทย" - มันมีความสำคัญที่สุดต่อความนึกคิดของสถาบันของไทย นี่เป็นเวลาของการเปลี่ยนแปลง - การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง - ซึ่งมีหลายคนที่คิดว่าสิ่งที่ลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง

และระหว่างที่สถานการณ์ทางการเมืองมันเริ่มเต็มไปด้วยปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีวี่แววว่าจะมีการประนีประนอมกัน มันเกือบจะมีอาการผวาหวาดกลัวกับคำว่า "สามัคคี"

แต่นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่าความคิดดั้งเดิมของความสามัคคีมันหลุดโลกไปแล้วและสอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน

ดอกเตอร์ชาญวิทย์ ให้ข้อคิดว่าอุดมการณ์ของความสามัคคีในประเทศไทยเป็นเรื่องที่มาจากข้างบนลงมาข้างล่าง ซึ่งถูกกำหนดและผลักดันโดยชนชั้นสูงที่ครองอำนาจอยู่ แต่อุดมการณ์นี้มันล้าสมัยแล้ว

"ผมคิดว่าประชากรที่อ่อนน้อมและอยู่ในโอวาทมันหมดไปแล้ว" เขากล่าว "ไม่มีแล้วที่สาธารณชนจะยอมรับว่ากลุ่มคนข้างบนจะพูดอย่างไร"

ดอกเตอร์ธงชัย วินิจจะกุล นักประวัติศาสตร์ไทยซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison เห็นด้วย เขาชี้ว่าการยืนกรานให้เกิดความสามัคคีก่อให้เกิดความขัดแย้ง

ในอีเมล์ของเขา เขาอธิบายว่า "วัฒนธรรมทางการเมืองทุกแห่งต้องเผชิญกับการขัดแย้งระหว่างความสามัคคีและความปรองดอง กับความหลากหลายและความขัดแย้ง แต่ความแตกต่างก็คือความเข้าใจและการจัดการกับความขัดแย้งนั้น และการที่จะลดหรือแก้ปัญหาความขัดแย้ง"

การ "แสดงออกถึงความสามัคคีและความปรองดองกัน" ในประเทศไทย เขาแย้งว่า คือการ "จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์และความคิดที่ไม่ยืดหยุ่นของความเป็นรัฐหนึ่งเดียว"

ดอกเตอร์ธงชัย เสริมว่า "ไม่ว่าความคิดทางด้านความสามัคคีจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่.... การ "โชว์" หรือการแสดงออกของความเป็นหนึ่งเดียวและความสมานฉันท์มันมีความสำคัญเท่ากับแก่นสารของมันทีเดียว"

เพราะฉะนั้น ในความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน การกล่าวหาถึงความปราศจาก "ความจริงใจ" มันถูกนำมาใช้แทบทุกวัน อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเป็นต้น มักถูกกล่าวหาว่าไม่มีความจริงใจ

ดอกเตอร์ธงชัยอธิบายว่า ในมุมมองของความเป็นไทย ความจริงใจเป็นกุญแจสำคัญที่จะเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างสภาพที่แท้จริงของความขัดแย้งและอุดมการณ์ของความสามัคคีและความปรองดองกัน

การมองโลกในแง่ร้ายในกลุ่มนักวิเคราะห์ซึ่งกำลังติดตามความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมันมีสาเหตุมาจากความหวังที่เลื่อนลอยว่าจะมีการประนีประนอมที่จะเชื่อมต่อช่องว่างระหว่างโครงสร้างที่เป็นเสาหลักของประเทศไทย - ชาติ ศ่าสนา และพระมหากษัตริย์ - รวมถึงสิ่งที่นักรัฐศาสตร์ นายปณิธาน วัฒนายากรเรียกว่า "เสาหลักที่สี่: สังคมประชาธิปไตยใหม่ การเมืองประเภทใหม่ - ซึ่งบางทีอาจหมายถึงเสาหลักที่สี่ที่เอนเอียงไปทางลัทธิเสรีนิยม"

"เสาหลักที่สี่ที่กำลังเกิดขึ้น - สังคมที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นอิสระ - เป็นสิ่งที่เข้มแข็งมีพลัง และ... ดูเหมือนว่าจะกำลังท้าทายสามเสาหลักที่มีอยู่" ดอกเตอร์ปณิธาน กล่าว เขากำลังอยู่ระหว่างการลาพักจากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์เพื่อเป็นโฆษกของนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

"ค่านิยมหลักกำลังถูกจัดระบบใหม่ และบางครั้งอาจจะมีค่านิยมที่ขัดแย้งกัน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสังคมที่ไม่ค่อยเป็นประชาธิปไตยกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่มีความเป็นประชาธิปไตย - จากสังคมที่ปิดไปยังสังคมที่เปิด จากสังคมที่ดั้งเดิมไปสู่สังคมที่ทันสมัย - ซึ่งทำให้มีความคิดที่แตกต่างกัน

ดอกเตอร์ชาญวิทย์ เห็นด้วยกับการมองสถานการณ์ในแง่ลบของปัญญาชนไทยหลายท่านว่าความขัดแย้งทางการเมืองไทยคงไม่จบลงอย่างสงบ

ศาสตราจารย์ท่านนี้เชื่อว่าประเทศไทยกำลังอยู่ในขั้นสุดท้ายของกลียุกย์ ในความคิดของศาสนาฮินดู กลียุกย์หมายถึงยุกย์ของความขัดแย้ง ความเสื่อมของวิญญาณ ความชั่วร้ายและความรุนแรง ซึ่งต้องจบลงด้วยความหายนะที่ใหญ่หลวงก่อนที่โลกใบใหม่จะเกิดขึ้น

"ตอนนี้ ดูเหมือนจะมีกลุ่มชนใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในเวที จากชนชั้นที่นอกเหนือจากชนชั้นสูง จากภาคธุรกิจ กลุ่มคนที่ร่ำรวยขึ้นมานอกเหนือจากระบบราชการ กลุ่มคนเหล่านี้กำลังต่อรองเพื่อแบ่งปันอำนาจ และมันกำลังทำให้ชนชั้นสูงเก่าไม่พอใจ

"มันอาจจะทำให้เกิดการนองเลือด ถ้าชนชั้นสูงไม่ยอมประนีประนอม ถ้าพวกเขาไม่มีการเจรจาระดับสูง" ดอกเตอร์ชาญวิทย์คาดการณ์ไว้

"ผมไม่โทษสาธารณชน พวกเราชนชั้นสูงมักจะพูดว่าประชากรส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย ไม่สนใจอะไรและถูกซื้อเสียงได้ง่าย แต่ผมว่ามันไม่จริง ผมคิดว่าปัญหาอยู่ที่พวกเราที่นี่เอง - ในกรุงเทพ"

ชนชั้นสูงอาจจะถูกบังคับให้ยอมรับให้อ่อนข้อ แต่ถ้าพวกเขาไม่ทำเช่นนั้น เขากล่าวว่า "มันจะก่อให้เกิดการต่อสู้ และผมคิดว่าจะเกิดรัฐประหารอีกหนึ่งหรือสองครั้ง ทหารยังคงมีความสำคัญมากอยู่

"นี่คือการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงบั้นปลายของรัชกาล" เขากล่าว ในที่สุด

Seismic shifts challenge Thai elites to compromise

BANGKOK, Sept 4 – At his office in Bangkok’s Thammasat University, overlooking the rolling Chao Phraya – the River of Kings – historian Dr Charnvit Kasetsiri points to the mobile phone on his desk and says: “Things like this are partly responsible.”

He is talking of the new Thailand, moulded by the Indochina wars of the 1960s and 1970s, the boom and crash of the 1980s, the Black May violence of 1992 – and the last four years of political turmoil.

Thailand’s current political conflict, he says, signals a much more seismic shift in the political culture of the nation than may be apparent on the surface.

In recent months, as the divisions in Thai society have shown no sign of healing, the calls for “unity” and “reconciliation” have grown, mostly from members of the Thai elite.

As often happens in times of crises in Thailand, such calls are accompanied by accusations that those expressing violent dissent are not behaving like Thais.

In his birthday speech of December 2007, King Bhumibol Adulyadej – then 80 – said: “Without unity, the country will face disaster.”

And about two weeks ago, when speaking to civil servants, he warned that the country would be ruined if different sectors in society did not work together.

The idea of unity – and with it the concept of “Thai-ness” – is clearly uppermost in the minds of the Thai establishment. This is a time of transition – of violent transition – with many believing the worst is yet to come.

And as the political situation becomes steadily more fraught, with no sign of a possible compromise, there is almost what amounts to a paranoia about “unity”.

But some academics and historians believe the old concept of unity is out of sync with the reality of today.

Dr Charnvit notes that the ideal of unity in Thailand is a top-down affair, defined and driven by the ruling elite. But this ideal may be out of date.

“I think the kind of very obedient submissive population is gone,” he says. “No more will the general public accept what people at the top say.”

Dr Thongchai Winichakul, a Thai historian who lectures at the University of Wisconsin-Madison, agrees. An insistence on unity, he points out, leaves little room for dissent.

In an e-mail, he explained: “Every political culture deals with the tension between unity and harmony versus diversity and dissent. But the difference is in how they understand and deal with this tension and how they reduce or solve the tension.”

The “ultimate articulations of unity and harmony” in Thailand, he argued, consist of “loyalty to the monarchy and the rigid notion of a single territorial state”.

Dr Thongchai makes the additional point that “whatever the notion of unity ... the ‘show’ or public display of unity and reconciliation is as important as its essence.”

Hence, in the current political conflict, the accusation of a lack of “sincerity” (khwam jing jai) is thrown about almost every day. Former premier Thaksin Shinawatra, for instance, is often dismissed by his enemies as lacking in sincerity.

In the Thai context, sincerity is the key to bridging the gap between the reality of friction and dissent, and the ideal of unity and harmony, Dr Thongchai explains.

The pessimism among analysts tracking Thailand’s political conflict can be traced to the absence of any glimmer of a compromise that will bridge the gap between Thailand’s traditional three pillars – nation, religion and King – and what political scientist Panitan Wattanayagorn calls an emerging “fourth pillar: a new democratic society, a new kind of politics – in a way, a fourth pillar leaning towards liberalism.”

“The emerging fourth pole – democratic and liberal society – is a very powerful one, and ... seems like it is challenging the existing three poles,” says Dr Panitan, currently on leave from Chulalongkorn University to serve as Prime Minister Abhisit Vejjajiva’s spokesman.

“Core values are being re-organised, and sometimes there are conflicting values. That’s quite normal. When a less democratic society is going through a transitional period to a more democratic one – from a closed to a more open one, from a traditional to a modern one – then you have conflicting views.”

Dr Charnvit shares the pessimism of many Thai intellectuals on whether the political conflict can be brought to a peaceful end.

The professor tends to believe Thailand is in the last stages of Kali Yuga. In Hindu thought, Kali Yuga refers to an age of conflict, spiritual degeneration, vice and violence which will have to end in large-scale destruction before a new world order can be born.

“Right now, it looks like a new group has (arrived on the scene), from outside the Bangkok elite, from the business sector; people who have become wealthy outside the bureaucracy. This new group is bargaining, negotiating to share power. And this upsets the old elites.

“It might be quite bloody if they (the elites) don’t compromise, if they can’t make a deal at the top,” Dr Charnvit predicts.

“I don’t blame the general public. We in the elite always say the general population is under-educated, ignorant and can be bribed easily, but I don’t think so. I think the problem is with people like us, up here – in Bangkok.”

The elites may be forced to accept that they have to compromise. But if they fail to do so, he says, “there will have to be a big fight and bloodshed. I think there will be one or two more coups d’etat. The military is still very crucial.

“This is the politics (surrounding the) closing of the reign,” he says, finally. – The Straits Times