WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, September 5, 2009

ขบวนการนักศึกษา : ประชาธิปไตย คุณคือใคร ก่อนรัฐประหารซ้ำ

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 กันยายน 2552

19 กันยาปีนี้ก็จะครบรอบ 3 ปีของการรัฐประหาร ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็มีกลิ่นอายของการรัฐประหารมาโดยตลอด ไม่เว้นแม้กระทั่ง ณ เวลานี้ ก็ยังมิวายที่จะได้กลิ่นตลบอบอวนไปด้วยการรัฐประหารซ้ำ ในขณะที่ขบวนการนักศึกษาซึ่งถูกมองว่า เป็นกำลังสำคัญในการเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริงนั้นในอดีต ณ ปัจจุบันนี้พวกเขาเหล่านั้นมองประชาธิปไตยหน้าตาเป็นอย่างไร..


กิจกรรม “ช็อปแอนด์แชร์” แบ่งกันใช้ แบ่งกันคิด แบ่งกันฟัง จากอดีต จนถึงปัจจุบัน

กลุ่มประกายไฟ ร่วมกับนักศึกษาและนักกิจกรรม กำหนดการจัดกิจกรรม “ช็อปแอนด์แชร์” แบ่งกันใช้ แบ่งกันคิด แบ่งกันฟัง จากอดีต จนถึงปัจจุบัน ในวันเสาร์ที่ 5 กันยายน 2552 เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน

13.00 น. เริ่มงานกิจกรรม “ช็อปแอนด์แชร์” แบ่งกันใช้ แบ่งกันคิด แบ่งกันฟัง พบกับ การออกร้าน ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

14.00 น. กิจกรรมประกายไฟเสวนา ตอน “ขบวนการนักศึกษา : ประชาธิปไตย คุณคือใคร ก่อนรัฐประหารซ้ำ” ณ ห้องประชุมมูลนิธิ 14 ตุลา

17.00 น. กิจกรรมแสดงดนตรี
วงสลึง มหิดล
วงพรานล่าเนื้อ ศิลปากร
วงลู่ลม พระนครเหนือ
วงสมุนไพร พระนครเหนือ
วงข้าวเหนียวปั้น รามคำแหง
ณ เวทีอัฒจรรย์
-------------------

เหตุการณ์14ตุลา นับเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของงการเคลื่อนไหวภาคประชาชน โดยเฉพาะหนุ่ม-สาว นิสิต นักศึกษา ที่มีพลังในการขับเคลื่อนสังคม อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ จิตอาสา เพื่อให้สังคมมีความก้าวหน้าและเป็นการยกระดับทางจิตใจ กิจกรรมนิสิตนักศึกษา ในปัจจุบัน มีการดำเนินให้หลายรูปแบบ แต่ล้วนเพื่อการสรรค์สร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคมทั้งนั้น แต่สิ่งที่ขาดจริง ๆ ก็คือพิ้นที่ในการแสดงออกทางกิจกรรมอย่างจริงจัง

ในฐานะอนุสรณ์สถาน 14 ตุลาเป็นสถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ในการขับเคลื่อนทางสังคมของคนหนุ่มสาว มาแต่อดีต จึงเห็นควรเปิดพื้นที่เพื่อให้ เยาวชน ได้เข้ามาใช้พื้นที่ของอนุสรณ์สถาน ในการจัดกิจกรรม ทางสังคม ในประเด็นที่สร้างสรรค์ และเป็นการผนึกกำลังของคนรุ่นใหม่เพื่อรวมไว้ที่นี้



แนวทางในอนาคต

คาดว่าจะจัดเดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันเสาร์แรกของเดือน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเปิดพื้นที่ให้เยาวชน นิสิต นักศึกษา องค์กรเยาวชน องค์การนิสิต นักศึกษา ได้เข้ามาใช้พื้นที่เพื่อแสดงออกและจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ หารายได้เพื่อนำไปทำประโยชน์เพื่อสังคมต่อไป

2. เพื่อให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยน มุมมอง ทัศนคติต่อการเมืองและประชาธิปไตยระหว่างกัน

-- กิจกรรมดนตรี

กิจกรรมดนตรีเป็นกิจกรรมที่วัยรุ่นค่อนข้างให้ความสนใจเป็นอย่างมากในยุคปัจจุบัน และการบริโภคของคนยุคใหม่ค่อนข้างเปิดกว้างมากขึ้น ดังนั้นการจัดกิจกรรมดนตรี จึงเป็นช่องทางนึงที่สามารถเผยแพร่ข้อมูลเรื่องประชาธิปไตยให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้และเข้าใจ โดยผ่านกิจกรรมที่เค้าให้ความสนใจ การเลือกวงดนตรีนั้นอาจจะเลือกให้สอดคล้องกับความต้องการของคนรุ่นใหม่แต่ไม่ละเลยอุดมการณ์ประชาธิปไตยและต้องเปิดกว้างให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้

-- กิจกรรมออกร้าน

กิจกรรมออกร้านเป็นการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มกิจกรรมที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมได้เข้ามาใช้พื้นที่ในงานเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาค หรือการขายของ ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกต้องเป็น กลุ่มเยาวชนที่ทำงานเพื่อสังคมและนำรายได้ไปเพื่อการทำประโยชน์เพื่อสังคมต่อไปเท่านั้น

-- กิจกรรมเสวนา

กิจกรรมเสนาเป็นการพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างบุคคล กลุ่มกิจกรรม โดยการจัด เราจะเลือกเอาผู้เข้าร่วมเสวนาที่เป็นบุคคลที่น่าสนใจของคนรุ่นใหม่ มาพูดคุย แลกเปลี่ยน มุมมอง ทัศนคติต่อการเมืองและประชาธิปไตย เพื่อช่วยกันคิดในประเด็นเรื่องประชาธิปไตย


... ในขณะที่บางคนบอกเราว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่นำเข้ามาจากตะวันตกดังนั้นจึงไม่เหมาะกับสังคมไทย (แต่ก็ไม่เคยบอกว่าอะไรเหมาะกับสังคมไทยสังคมไทย) แต่ขณะเดียวกันกลับมีบางคนที่บอกเราว่าสังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมานานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัยและคัมภีร์พระธรรมศาสตร์คือรัฐธรรมนูญฉบับแรก …

… ในขณะที่บางคนบอกเราว่าสังคมไทยในปัจจุบันยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้บอกเราว่าอีกนานแค่ไหนจึงจะพร้อม และยิ่งไม่ได้บอกเราว่าระหว่างนี้ (ที่ยังไม่พร้อมจะเป็นประชาธิปไตย) สังคมไทยควรใช้ระบอบอะไร …

และอีกเช่นกัน 19 กันยาปีนี้ก็จะครบรอบ 3 ปีของการรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อ 19 ก.ย. 2549 โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาก็มีกลิ่นอายของการรัฐประหารมาโดยตลอด ไม่เว้นแม้กระทั้ง ณ เวลานี้ เวลาที่ใกล้จะครบรอบ 3 ขวบ ของการรัฐประหารในครั้งนั้น ก็ยังมิวายที่จะได้กลิ่นตลบอบอวนไปด้วยการรัฐประหารซ้ำ

ในขณะที่ขบวนการนักศึกษาซึ่งถูกมองว่าเป็นกำลังสำคัญในการเรียกร้องประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริงนั้นในอดีต ณ ปัจจุบันนี้พวกเขาเหล่านั้นมองประชาธิปไตยหน้าตาเป็นอย่างไร

ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มประกายไฟ ร่วมกับนักศึกษาและนักกิจกรรมจำนวนหนึ่ง จึงได้ริเริ่มจัดกิจกรรมในรูปแบบของการเสวนาขึ้น เพื่อสร้างพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ มาพูดคุย แลกเปลี่ยน มุมมอง ทัศนคติต่อการเมืองและประชาธิปไตยระหว่างกัน จึงเกิดเป็นกิจกรรมเสวนาโต๊ะกลมแบบชิลๆ ในประเด็นที่ไม่ชิลๆ ในชื่อ ประกายไฟเสวนา ตอน “ขบวนการนักศึกษา : ประชาธิปไตย คุณคือใคร ก่อนรัฐประหารซ้ำ”

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เกิดการนำเสนอมุมมอง ทัศนคติต่อคำว่า “ประชาธิปไตย” ของแต่ละกลุ่ม
2. เพื่อให้เกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยน มุมมอง ทัศนคติต่อการเมืองและประชาธิปไตยระหว่างกัน

กิจกรรม

13.00 – 14.00 น. ลงทะเบียน พุดคุยกันตามอัธยาศรัย พร้อมชมการออกร้านบริเวณโถงชั้นล่างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
14.00 – 17.00 น เสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ “ขบวนการนักศึกษา : ประชาธิปไตย คุณคือใคร ก่อนรัฐประหารซ้ำ”

นำเสวนาโดย

ตัวแทนจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
ตัวแทนจาก ศูนย์ประสานงานนักเรียน นิสิต นักศึกษา (ศนศ.)
ตัวแทนจากองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)
ตัวแทนจากองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตัวแทนจากศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD)
ตัวแทนจากกลุ่มสังคมนิยมประชาธิปไตย ธรรมศาสตร์
ตัวแทนจากกลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่แค่กิ๊ก (กปก.)
ตัวแทนจากกลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคม ม.รามคำแหง
ตัวแทนกลุ่มประกายไฟ
ตัวแทนจากกลุ่มนักศึกษาเสรีปัญญาชน
ตัวแทนจากเครือข่ายเยาวชนกู้ชาติ (Young PAD.)
ตัวแทนจากกลุ่มแรงคิด
ตัวแทนกลุ่มเลี้ยวซ้าย
ดำเนินรายการโดย
ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

รุปแบบการเสวนา

รุปแบบการเสวนาเป็นการสานเสวนาโต๊ะกลม เงื่อนไขประกอบด้วย

1.โดยจะให้ตัวแทนนำเสวนาแต่ละกลุ่มนำเสนอ 1 คนๆละไม่เกิน 3 นาทีต่อ 1 รอบ
2.โดยจำนวนรอบจะขึ้นอยู่กับจำนวนเวลาที่มี ซึ่งเริ่มจากประเด็นมุมมอง ทัศนคติต่อคำว่า “ประชาธิปไตย” ของแต่ละกลุ่ม แล้วค่อยแตกประเด็นไปตามกระบวนการแลกเปลี่ยนในขณะนั้น ภายใน 2 ชั่วโมงแรก
3. หลังจากเวลาผ่านไป 2 ชั่วโมงจะเปิดให้ผู้ร่วมฟังเสวนาแลกเปลี่ยน
4. และ 25 นาทีสุดท้ายจะให้ตัวแทนนำเสวนาแต่ละกลุ่มสรุปคนละไม่เกิน 2 นาที

สอบถามเพิ่มเติม bus4530219@hotmail.com