WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 24, 2009

รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ควรเป็นอย่างไร ตอน 1 : ล้างคราบเผด็จการ

ที่มา Thai E-News

โดย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ที่มา เวบไซต์ thaipost
24 ตุลาคม 2552

"มันเลยไปแล้ว เราสร้างปมขึ้นมา ขมวดกันจนยุ่งเหยิงขนาดนี้ ผมเห็นว่าเลยมาแล้ว ผมก็นั่งดูแล้วครับตอนนี้ ผมไม่คิดว่า จะเปลี่ยนอะไรกันได้ หลังจากที่เห็นการวินิจฉัยขององค์กรต่างๆ มาในช่วง 2 ปี... เราอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่า จะหักเลี้ยวออกไปทางไหนอย่างไร"

"ผมเคยพูดเอาไว้ตอนที่มีการดีเบตรัฐธรรมนูญว่า รัฐธรรมนูญ 2550 จะนำพาประเทศไปสู่ทางตันถ้ารับ เพราะมันจะเป็นปัญหา คือตัวกติกาแบบนี้ จะไม่เป็นที่ยอมรับ และที่สุดมันจะต้องแก้ และมันก็จะมีคนที่ไม่อยากให้แก้ พอรับมาแล้วจะเป็นแบบนี้ ซึ่งตอนนี้ มันเป็นอย่างนั้นแล้ว คุณจะกลับได้สติกันไหมล่ะ ซึ่งผมเห็นว่ายังไม่ได้นะ"

"ประชามติจะต้องผ่านเรื่องหลักการมาก่อน อาจจะเถียงกันในเรื่องความเห็นที่แตกต่าง แต่หลักเหมือนกัน เช่น เคารพหลักประชาธิปไตยเหมือนกัน ระบบเลือกตั้งอาจจะเหลื่อมกันนิดหน่อยว่า จะเอาแบบไหน แต่วันนี้ ผมไม่คิดว่า เราผ่านในลักษณะแบบนั้น เพราะความคิดพื้นฐานไม่ตรงกัน"

นักกฎหมายมหาชนผู้เป็นหัวหอกคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ตอนลงประชามติ วันนี้เขายังยืนยันว่า

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่เพียงต้องแก้แค่ 6 ประเด็น แต่ต้องทำใหม่ทั้งฉบับ

อย่างไรก็ดี ในสถานการ์ทางการเมืองเช่นนี้ วรเจตน์เห็นว่า คงเป็นไปได้ยาก และความแตกแยกในสังคมก็เลยจุดที่จะแก้ไขกฎหมายเพื่อกลับไปสร้างสมานฉันท์แล้ว สิ่งที่เขาเสนอเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะพูดต่อไปทั้งหมด จึงเป็นความเห็นทางวิชาการล้วนๆ เป็นการให้ความรู้แก่สาธารณะ ว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ควรเป็นอย่างไร

แก้ทุกหมวด ล้างคราบเผด็จการ

"ผมเห็นว่า ควรจะต้องทำกันใหม่ด้วยซ้ำ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่างไรก็สลัดคราบไคลของ คมช.ไม่หมด ถึงแม้ว่าจะถูกเอาไปฟอกตัวโดยการออกเสียงประชามติ แต่ก็ไม่พ้นไปจากความทรงจำที่เรามีต่อ 19 ก.ย. คือมันเป็นผลต่อเนื่องกันมา ซึ่งในทางประชาธิปไตยไม่ควรเป็นแบบนี้

และที่สำคัญอย่างที่ผมเคยพูดไปแล้วว่า การออกเสียงประชามติที่เราทำกันนั้น ไม่ใช่เป็นการออกเสียงประชามติโดยแท้จริง เพราะประชาชนไม่มีทางเลือก

การออกเสียงประชามติที่แท้จริง ต้องมีทางเลือก ซึ่งคราวนั้นไม่มี เพราะคนไม่รู้ว่า พอไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จะไปเจอกับอะไร มันก็บีบให้คนต้องรับ เพราะฉะนั้น ความชอบธรรมที่ควรจะได้จากการออกเสียงประชามติจึงไม่เกิด

ผมแปลกใจมากตอนนี้ เวลาที่มีการแก้รัฐธรรมนูญ มีการพูดกันว่า มันผ่านการออกเสียงประชามติมาแล้ว ถ้าจะแก้ก็ต้องไปถามประชาชนก่อน โดยไม่ได้ดูบริบทของการทำประชามติ มันจะต้องทำใหม่ทั้งฉบับในความเห็นของผม ก็คือต้องปฏิเสธท่าทีนี้ หรือก็คือแก้ทั้งหมด เหมือนกับเราทำรัฐธรรมนูญถาวรช่วงปี 2475 ไปเป็นรัฐธรรมนูญถาวรปี 2489 ต้องทำแบบนั้น"

** ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ 2540 แต่ทำใหม่เลย

"สำหรับผม สำหรับหลายคน หลายเรื่องในรัฐธรรมนูญ 2540 เป็นเรื่องที่ต้องสานต่อ ต้องดำเนินการต่อ แต่ผมเคยพูดมาตั้งแต่หลายปีก่อนว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็มีปัญหาหลายเรื่อง ผมจึงคิดว่า ไม่น่าจะเป็นตัวต้นแบบเสียทีเดียว

มันควรจะย้อนกลับไปให้ไกลไปกว่านั้น ต้องกลับไปดูตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐธรรมนูญหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะมีเนื้อหาบางอย่าง ซึ่งหลายเรื่องสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยมากเลยทีเดียว ในช่วงรัฐธรรมนูญ 15 ปีแรก อาจจะต้องเอาตรงนั้นกลับมา ความสัมพันธ์ในอำนาจระดับสูงสุด เรื่องของพระมหากษัตริย์ เรื่องขององคมนตรี ต้องมาพูดและไม่ควรจะพูด โดยจำกัดตัวเองอย่างประวัติศาสตร์ในยุคหลัง แต่ควรจะย้อนกลับไปตั้งแต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง มันควรจะเป็นแบบนั้น"

** ไม่ใช่เอาแค่ 2540

"ไม่ใช่ แต่แน่นอนหลายเรื่องใน 2540 เป็นเรื่องที่ดี ระบบเลือกตั้งที่ก้าวหน้าไปกว่าเดิม คงต้องเอามาปรับต่อ แต่ผมเข้าใจได้ว่า ในแง่ของการเคลื่อนไหว เขาก็ต้องเอา 2540 เป็นตัวตั้ง มันเป็นรูปธรรมที่สุด เห็นชัดที่สุด มันทำให้คนมีจุดเกาะเกี่ยวร่วมกัน ชูตัว 2540 เป็นตัวตั้ง ซึ่งในทางการเคลื่อนไหวคงไปว่าอะไรไม่ได้ แต่ในแง่วิชาการ เวลาพูด เราไม่ควรจะผูกอยู่กับการเคลื่อนไหวของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ควรจะพูดจากหลักจริงๆ ว่าควรเป็นอย่างไร หรือไม่ควรจำกัดไว้แค่ปี 2540 เพราะอย่างประเด็นองค์กรอิสระผมก็ไม่เห็นด้วยมาตั้งแต่ไหนแต่ไร"

อ่านต่อ ตอน 2 : หมวดพระมหากษัตริย์

หมายเหตุ thaienews

1. บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในบทสัมภาษณ์ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน ม.ธรรมศาสตร์ ตีพิมพ์ใน เรื่องปก ของเวบไซต์ thaipost.net วันที่ 22 ตุลาคม 2552 ซึ่ง thaienews จะนำเสนอเป็นตอนๆ ต่อเนื่องจนจบบทสัมภาษณ์

2. อ่านย้อนหลัง การบรรยายพิเศษทางวิชาการ เรื่อง 'ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการออกเสียงประชามติ' วันที่ 12 กรกฎาคม 2550 ได้ที่ ลิงก์

3. อ่านย้อนหลัง คำต่อคำ ดีเบต 'รับ-ไม่รับ' ร่างรัฐธรรมนูญ'50 วันที่ 3 กรกฎาคม 2550 ได้ที่ ลิงก์

4. อ่านย้อนหลัง บทสนทนา กับ ดร.วรเจตน์ เรื่อง 'ศาลเขียนรัฐธรรมนูญใหม่' วันที่ 13 กรกฎาคม 2551 ได้ที่ ลิงก์