WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 20, 2009

ป.ป.ช.หลายมาตรฐาน?

ที่มา มติชน

คอลัมน์ ข้าราษฎร

โดย สายสะพาย



มีการกล่าวหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า มีการทำงานหลายมาตรฐานและเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะกับกลุ่มนักการเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นที่อยู่หรือเคยอยู่ในสังกัด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะถูกเล่นงานอย่างหนักหน่วง เช่น

-การชี้มูลความผิดทางอาญานายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี และนายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในคดีมติ ครม.ให้ออกแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

-การชี้มูลความผิดทางอาญาและวินัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีและพวก คดีการสลายม็อบ 7 ตุลา 2551 ฯลฯ

แต่กรณีดังกล่าว เป็นข้อกล่าวหาที่เกิดขึ้นจากฝ่ายการเมืองบนสมมติฐานที่ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดนี้ได้รับการแต่งตั้งคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการตัดคดีที่เป็นประเด็นหรือเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองออกไปแล้วก็ตาม ก็ยังมีข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การทำงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีหลายมาตรฐาน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจหรือความไร้ประสิทธิภาพของสำนักอำนวยการคณะกรรมการก็ตาม

ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ผลการประชุมที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่รับหรือมีมติแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนคดีต่างๆ

คำถามก็คือ คณะกรรมการ ป.ป.ช.ใช้หลักเกณฑ์ใดในการเลือกที่จะเผยแพร่หรือไม่เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

ก่อนหน้านี้เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ จะมีการเผยแพร่เอกสารผ่านทางเว็บไซต์

แต่มาในระยะหลัง มีการแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่องมอบอำนาจให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กลับไม่มีการเผยแพร่ข่าวดังกล่าวผ่านเว็บไซต์

เช่นเดียวกัน ปกติแล้ว ถ้ามีการชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง (แม้การชี้มูลนักการเมืองท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ก็ควรเผยแพร่ด้วยก็ตาม) จะต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว

แต่ปรากฏว่า ในการชี้มูลความผิดนายรังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับไม่มีการเผแยพร่ข้อมูลดังกล่าว

พฤติกรรรมเช่นนี้ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.หรือสำนักงาน ป.ป.ช.ควรเรียกว่า หลายมาตรฐานหรือไม่