WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 22, 2009

เมื่อกฎหมายไร้ประสิทธิภาพและขาดความเป็นธรรม

ที่มา Thai E-News


โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
21 ตุลาคม 2552

ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ(Legal State)นั้นย่อมมีการบังคับใช้กฎหมายด้วยหลักนิติธรรม(Rule of Law)โดยสาระสำคัญอยู่ที่ความเท่าเทียมกันหรือเสมอกันในเบื้องหน้าของกฎหมาย

ซึ่งหลักเกณฑ์ที่บุคคลเสมอกันเบื้องหน้ากฎหมายนั้น มีวิวัฒนาการมาจากอารยธรรมโรมัน ที่รุ่งเรืองยิ่งใหญ่ มีอารยธรรมด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านกฎหมายที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันคือหลักที่ว่า "All free men are equal before the law" ซึ่งก็หมายความว่า "อิสรชนทั้งหลายย่อมเท่าเทียมกันในเบื้องหน้าของกฎหมาย"

ที่ใช้คำว่า "อิสรชน" หรือ free men ก็เนื่องเพราะในสมัยนั้นยังมีทาสอยู่นั่นเอง

ต่อมาหลัก "อิสรชนทั้งหลายย่อมเท่าเทียมกันในเบื้องหน้าของกฎหมาย" วิวัฒนาการมาเป็น หลักนิติธรรม หรือ The Rule of Law ที่ใช้เป็นสาระสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน ซึ่งประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญ คือ

1. กฎหมายเป็นใหญ่ (Supremacy of Law) หมายถึงว่า ในการปกครองประเทศนั้นกฎหมายต้องเป็นใหญ่ที่สุด อยู่เหนือบุคคลหรือสถาบันใดๆ ซึ่งตรงข้ามกับประเทศที่ไม่ได้ใช้ หลักนิติธรรม อาทิ ประเทศที่ปกครองในระบอบเผด็จการ เป็นต้น

2. เท่าเทียมกันในเบื้องหน้าของกฎหมาย (Equal Before the Law) ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานเดิมตั้งแต่ยุคโรมันนั่นเอง แต่ตัดคำว่าอิสรชน หรือ free men ออก

3. ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย (No-one Over the Law) เพราะระบอบประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน เมื่อปวงชนเลือกผู้แทนของตนไปออกกฎหมายแล้ว กฎหมาย (ที่ออกมาโดยชอบตามระบอบประชาธิปไตย) ย่อมอยู่เหนือคนทุกคน ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นประมุขของรัฐ เศรษฐีร้อยล้าน พันล้าน หรือราษฎรธรรมดาย่อมไม่สามารถอยู่เหนือกฎหมายได้ หากประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตยที่ใช้หลักนิติธรรมในการปกครองประเทศอย่างแท้จริง

ในสังคมใดที่ขาดเสียซึ่งหลักนิติธรรม สังคมนั้นย่อมปั่นป่วนไร้เสียซึ่งความสงบสุข และมีโอกาสที่ผู้คนจะลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจรัฐที่ไร้ความเป็นธรรมนั้น ดังตัวอย่างจากรายงานข่าวต่างประเทศชิ้นนี้

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานข่าวต่างประเทศชิ้นเล็กๆชิ้นหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง และทำให้หวนคิดเปรียบเทียบถึงสภาพสังคมและการบังคับใช้กฎหมายของไทยเราว่าก็อยู่ในสภาพที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก เพียงแต่แตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น

รายงานข่าวที่ว่าก็คือการที่พ่อหัวใจสลายชำระแค้น ยิงผู้พิพากษา-นักการเมือง ข่มขืนลูกสาวโดยมีรายละเอียด คือ คุณพ่อชาวลิธัวเนียสวมบทมือปืน ชำระแค้นจำเป็น ยิงสังหารผู้พิพากษาและนักการเมือง หลังก่อเหตุข่มขืนลูกสาว เจ้าตัวแจ้งความตำรวจแต่ไม่ได้รับความสนใจ ขณะที่โลกอินเตอร์เน็ทแห่สนับสนุนและชื่นชม ยกให้เป็นยอดฮีโร่ มิหนำซ้ำประเทศเพื่อนบ้านยังเสนอที่ลี้ภัยให้อีกด้วย

เหตุการณ์ช็อกสังคมในคดีนี้มีนายดราริอุส คีย์เอ็ดส์ วัย 37 ปี ชาวลิธัวเนีย ได้ก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงผู้พิพากษา และนักการเมืองอาวุโสรายหนึ่ง เพื่อชำระแค้นกรณีทั้งสองได้ก่อเหตุข่มขืนลูกสาวของเขาเมื่อปีก่อน โดยเขาได้พยายามแจ้งตำรวจเพื่อให้ดำเนินการเอาผิดกับบุคคลทั้งสอง เขาติดตามคดีเป็นเวลานับปี แต่ตำรวจกลับไม่ใส่ใจ ระบุว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเอาผิดบุคคลทั้งสองได้

รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังเหตุการณ์ชำระแค้นอันน่าตกตะลึงดังกล่าว ชาวอินเตอร์เน็ททั่วโลกต่างแสดงการสนับสนุนการกระทำของนายดราริอุส บางรายบอกว่า"คุณเป็นฮีโร่ของเราทุกคน" "สิ่งที่เขาทำไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากความยุติธรรม"

นอกจากนี้ ประเทศเพื่อนบ้านอย่างโปแลนด์ ยังเสนอที่ลี้ภัยให้แก่พ่อหัวใจสลายผู้ชำระแค้นให้ลูกสาวตัวเองรายนี้ด้วย โดยนักการเมืองรายหนึ่งบอกว่า เห็นได้ชัดว่ากฎหมายของลิธัวเนียไร้ประสิทธิภาพและขาดความเป็นธรรม

จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีข้อสังเกตว่าผู้ที่ถูกคุณพ่อใจเด็ดคนนี้ใช้อาวุธปืนสังหารเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง คือ ผู้พิพากษา และผู้ที่มีหน้าที่ในการออกกฎหมาย คือ นักการเมืองซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแต่กลับเป็นผู้ละเมิดกฎหมายเสียเอง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายกลับละเลยไม่เอาใจใส่ในหน้าที่ของตน จนเป็นเหตุให้เกิดโศกนาฏกรรมดังกล่าวนี้

ผมเชื่อว่าการเลือกปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมในทำนองเดียวกันนี้เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลายที่ระบบกฎหมายยังอ่อนแอ ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยเราด้วย ไม่ว่าจะเป็นในสังคมชนบทที่มีเจ้าพ่อทั้งในและนอกเครื่องแบบ หรือเป็นสังคมเมืองที่มีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่มีมาตรฐานจนเกิดปรากฏการณ์เสื้อเหลืองเสื้อแดงดังที่เราทราบกันดี

เรามักจะได้ยินข่าวอยู่เสมอว่ามีคนคุ้มคลั่งลุกขึ้นมาเอาอาวุธปืนยิงกราดผู้คนหรือเจ้าหนี้หรือแม้แต่ผู้บังคับบัญชาจนถึงแก่ชีวิต ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ถึงสาเหตุแล้วเราจะพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมและไม่สามารถพึ่งพากลไกของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายได้

หากเรายังจำเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นักศึกษา 3,084 คน ถูกจับกุม ผู้นำนักศึกษา 19 คนถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร นักศึกษาและประชาชนที่เหลือพากันหนีเข้าป่าไปเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยแล้วจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับภาครัฐ

ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ จนกระทั่งเสียชีวิตในต่างแดน ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั่นเอง

ฉะนั้น หากเรายังมีการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมอยู่ดังเช่นปัจจุบันนี้ จึงไม่เป็นเรื่องที่แปลกอะไรที่ประชาชนไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง จะลุกขึ้นมาทวงสิทธิอันชอบธรรมของเขา เพื่อให้ได้รับความเท่าเทียมกันในเบื้องหน้าของกฎหมายตามหลัก นิติธรรม

และเราคงจะได้พบเห็นคนไทยอีกหลายคนลุกขึ้นมาชำระแค้นเพื่อเรียกร้องร้องความเป็นธรรมดังเช่นนายดราริอุส คีย์เอ็ดส์ คุณพ่อชาวลิธัวเนียวัย 37 ปี ผู้นี้อีกเช่นกันในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน

หากการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยยังมีหลายมาตรฐานเช่นในปัจจุบันนี้

---------------------------
หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุทธที่ 21 ตุลาคม 2552