WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 21, 2009

อ้างการเมืองดุ ของบลับ คุ้มกันนายกฯ

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_41093

หวั่นการเมืองรุนแรง ครม. ประเคนงบลับ 48 ล้านบาท พ่วงซื้ออาวุธไม่ระบุวงเงิน ต่ออายุ ฉก. 5221 ต่ออีก 1 ปี คุ้มกันนายกฯและรองนายกฯ ...

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่ ที่โรงแรมดุสิตธานี อ.หัวหิน จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ซึ่งมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องลับ ตามที่กระทรวงกลาโหม กองทัพบก ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการปฏิบัติการของกองอำนวยการ 5221 ออกไปอีก 1 ปีงบประมาณ โดยขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เพื่อใช้จ่ายเป็นเงินราชการลับ ในการปฏิบัติงาน ของกองอำนวยการ 5221 ดังกล่าว ในภารกิจเป็นกองกำลังเพื่อปฏิบัติการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้แก่บุคคลสำคัญ คือ นายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเสร็จทางสำนักเลขาธิการ ครม.ได้ขอเก็บเอกสารกลับคืน และกำชับไม่ให้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ทั้งนี้ กองอำนวยการ 5221 ได้ตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2552 มีระยะเวลาการปฏิบัติงานจนถึง วันที่ 30 ก.ย. 2552

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทัพบกได้อ้างเหตุผลว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันยังไม่คลี่คลายลงไป มีแนวโน้มที่จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเสนอขอความเห็นชอบขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานออกไปอีก 1 ปี งบประมาณ โดยใช้งบประมาณในลักษณะงบลับ 48 ล้านบาท

สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร หรือ กำลังเจ้าหน้าที่ทหารสังกัด กองทัพบก จำนวน 233 นาย โดยมีนายทหารยศระดับ พล.ต. เป็นหัวหน้าหน่วย และมีกำลังทหารระดับสัญญาบัตร 57 นาย ส่วนที่เหลือเป็นชั้นประทวน นอกจากนี้ ยังขออนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อยุทธปัจจัยอีก 37 รายการ เช่น เสื้อเกราะ เครื่องตรวจวัตถุระเบิด เครื่องยิงระเบิดควัน เครื่องช็อตไฟฟ้า เป็นต้น โดยไม่ได้ระบุวงเงินแต่อย่างใด ทางสำนักงบประมาณได้ท้วงติง เห็นควรให้ กองทัพบกไปใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของกองทัพบกเอง แต่ทาง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้โต้แย้งว่า คงไม่ได้ เพราะทางกองทัพก็ใช้งบประมาณกันอย่างกระเบียดกระเสียรอยู่แล้ว และเรื่องนี้เป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรี และ รองนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็ต้องใช้งบข้างนอก ไม่ใช่งบของกองทัพ ดังนั้น ทางสำนักงบประมาณจึงขอให้กองทัพบก กลับไปจัดทำรายละเอียดความต้องการจัดซื้อยุทธปัจจัยมาชี้แจงก่อนจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป

ที่มา ประชาไท

คำถามที่อยากชวนใหช่วยกันขบคิด เฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงอย่าง กกต.ถ้าให้คำตอบที่มีเหตุผลได้ก็จะเป็นประโยชน์แก่สังคมการเมืองไทยไม่น้อย รวมทั้งทำให้ผู้เขียนหายความคับข้องใจได้

ในท่ามกลางการผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญจากทางด้านรัฐสภา นายกรัฐมนตรีได้เชิญบรรดาบุคคลเป็นจำนวนมากให้มาร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าควรจะดำเนินการไปในลักษณะเช่นไรบ้าง การประชุมจัดขึ้นที่บ้านพิษณุโลกในช่วงเย็นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2552 และเมื่อเย็นวันที่ 13 ตุลาคม 2552

บุคคลสำคัญที่ได้มาเข้าร่วมการประชุมนี้ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองจากพรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลที่ต้องใส่ใจก็คือมีหลายคนเป็นผู้ที่ได้เคยถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เพิกถอนสิทธิในทางการเมือง เช่น คุณเนวิน ชิดชอบ คุณสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล และอีกหลายคนที่แม้จะไม่ได้มีสถานะเป็นผู้บริหารพรรคในทางนิตินัยก็ตาม

สื่อมวลชนรายงานข่าวไม่แตกต่างกันว่าเป็นการพบปะเลยประชุมร่วมกันของแกนนำของแต่ละพรรคการเมือง คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ดูเหมือนจะยอมรับความสำคัญของบุคคลเหล่านี้ในพรรคการเมืองต่างๆ เพราะไม่ได้มีการปฏิเสธเกิดขึ้นแต่อย่างใด ภายหลังการประชุมคุณอภิสิทธิ์ก็ยังได้ชี้แจงถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งตกลงกันระหว่างผู้ประชุม

ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากเป็นคำถามว่าในฐานะที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง บุคคลที่เข้าร่วมการประชุมกับคุณอภิสิทธิ์ในฐานะแกนนำหรือตัวแทนของพรรคการเมืองสามารถจะกระทำเช่นนั้นได้หรือไม่

การเพิกถอนสิทธินักการเมืองหรือที่เรียกกันว่าการตัดสิทธิทางการเมืองของนักการเมืองจำนวนมากด้วยคำวินิจฉันของศาลรัฐธรรมนูญ ได้นำมาซึ่งข้อถกเถียงว่าการตัดสิทธิทางการเมืองนั้นมีความหมายครอบคลุมกว้างขวางเพียงใด สำหรับการกระทำบางอย่างมีบทบัญญัติที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เช่น เพิกถอนสิทธิในการลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นระยะเวลา 5 ปี ห้ามดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมือง

แต่การกระทำหลายอย่างก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถกระทำได้หรือไม่ หรือหากกระทำไปแล้วจะมีขอบเขตจำกัดเอาไว้ในลักษณะเช่นไร ดังการมีบทบาทในการช่วยผู้อื่นหาเสียงในการเลือกตั้งจะสามารถกระทำได้หรือไม่ หรือหากเป็นเพียงแค่การถ่ายรูปคู่กับผู้รับสมัครเลือกตั้งเท่านั้นโดยไม่มีการพูดอะไรแม้แต่สักคำเดียว

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้ได้กลายเป็นข้อถกเถียงในคราวเลือกตั้งครั้งล่าสุด และได้มีคำวินิจฉัยไว้อย่างน่าสนใจจากทาง กกต.ว่าการช่วยหาเสียงให้กับบุคคลผู้ลงรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญของกรรมการบริหารพรรคการเมือง ดังนั้น บุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองย่อมไม่สามารถทำหน้าที่ในลักษณะเช่นนี้ได้

ประเด็นสำคัญของการวินิจฉัยก็คือ การพิจารณาจากบทบาทที่เป็นจริงของบุคคลที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองว่ามีอยู่ในลักษณะเช่นไร หากทำหน้าที่ในแบบเดียวกับที่กรรมการบริหารพรรคกระทำก็ควรต้องถูกห้าม แม้จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองด้วยการระบุชื่ออยู่ในทะเบียนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม

เหตุผลแบบที่กล่าวมานี้ก็น่าจะรับฟังเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากไปมองแค่ชื่อในทะเบียนพรรคการเมืองเพียงอย่างเดียว เราก็อาจเห็นบรรดาผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองทั้งหลายเข้าไปยุ่มย่ามในพรรคการเมืองเต็มไปหมดแต่ไม่ปรากฏชื่อเป็นกรรมการบริหารของพรรค รวมถึงอาจไปชี้นิ้วสั่งซ้ายหันขวาหันในพรรคการเมืองได้

แต่พอมานึกถึงการประชุมระหว่างคุณอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีกับผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเพื่อคุยกันเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ชวนให้สงสัยเป็นอย่างยิ่ง

บุคคลต่างๆ เหล่านี้มาประชุมในฐานะแกนนำของพรรคการเมืองสถานะดังกล่าวเป็นที่ยอมรับและรับรู้กันโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหรือไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองก็ตาม การกำหนดแนวทางในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นที่เข้าใจร่วมกันระหว่างพรรคการเมืองก็ย่อมต้องให้บุคคลที่มีพลังอยู่ในพรรคมาร่วมประชุม ส่วนหนึ่งก็คงต้องเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ปรากฏรายชื่อเป็นตัวหนังสือชัดเจนแต่อีกหลายคนซึ่งอาจใหญ่กว่าชื่อที่ถูกเขียนอย่างเป็นทางการก็ได้มาเข้าร่วมด้วย

เมื่อตกลงเป็นที่เข้าใจร่วมกันแล้ว ก็จะนำไปสู่ปฏิบัติการในทางการเมืองซึ่งแต่ละพรรคต่างก็ล้วนต้องปฏิบัติตามตามแนวทางที่ได้ตกลงกันเอาไว้

จะปฏิเสธหรือว่าการประชุมที่บ้านพิษณุโลกที่ร่วมด้วยบรรดาผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเพียงลูกกระจ๊อกปลายแถว เอาเข้าจริงนี่คือเจ้าของพรรคการเมืองตัวจริงเสียงจริงมากกว่าที่ถูกอุปโลกน์กันเสียอีก

ไม่แน่ใจว่าทาง กกต.จะมีคำอธิบายอย่างไรกับเหตุการณ์เหล่านี้ ดูเหมือนจะไม่มีความเห็นใดๆ ออกมาแม้แต่น้อย ทั้งที่การประชุมที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเรื่องแอบทำกันในห้องนอนเหมือนแอบมีเมียน้อย แต่โจ่งแจ้งและบอกกล่าวล่วงหน้ามาอย่างชัดเจน จึงมีความหมายไปอย่างอื่นไม่ได้นอกจากเดาว่าเพราะเห็นว่าการกระทำนี้ไม่ได้ขัดต่อข้อห้ามในเรื่องตัดสิทธิทางการเมือง

อันนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ควรต้องตอบเพราะหากยึดเอาหลักการที่ กกต.วางเอาไว้ในการวินิจฉัยกรณีหาเสียงโดยผู้ตัดสิทธิทางการเมืองแล้ว บทบาทในการประชุมครั้งนี้โจ๋งครึ่มไม่น้อยไปกว่าการช่วยหาเสียงด้วยซ้ำ

คุณอภิสิทธิ์จะเชิญคุณเนวินมาร่วมประชุมในฐานะอะไรหรือ จะตอบว่าเป็นเพราะคิดถึงอ้อมกอดที่ทำให้ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็คงยากจะเชื่อได้

ได้เคยมีข้อกล่าวหาแบบนี้เกิดขึ้นบางแล้ว แต่คำชี้แจงที่เคยเกิดขึ้นก็คือว่าข้อเท็จจริงแตกต่างกันดังนั้นผลของการวิจัยจึงมีความแตกต่าง จำเป็นต้องกล่าวไว้ล่วงหน้าเลยว่ากรณีที่กำลังกล่าวถึงนี้ผู้เขียนก็ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการช่วยหาเสียงในการเลือกตั้งกับการร่วมประชุมแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ที่มาตรฐานในการวินิจฉัยการกระทำที่มีสาระในลักษณะเดียวกันว่าจะให้ผลอย่างไร

อยากรู้เหมือนกันว่าจะมีความเห็นอย่างไรเกิดขึ้นกับองค์กรที่ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งในกรณีที่เกิดขึ้นกับฝ่ายที่ยืนตรงกันข้ามกับพรรคประชาธิปัตย์ จำได้ไหมครับว่าในคราวถกเถียงเรื่องการมีบทบาทช่วยในการหาเสียงของผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง มีการให้ความเห็นทั้งส่วนตัวและองค์กรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาสอบสวนอย่างเป็นเรื่องเป็นราวอย่างรวดเร็ว

แต่กลับกรณีการประชุมในครั้งนี้ทำไมถึงได้เงียบสนิทราวกลับว่าไม่มีองค์กรนี้อยู่ในสังคมไทย

ในท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังไม่ยุติลง การทำหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและการยอมรับจากทุกฝ่ายเป็นเงื่อนไขหนึ่งจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการนำสังคมไทยกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่นำเอาความขัดแย้งทางการเมืองเข้าสู่การวินิจฉัยขององค์กรทางการเมืองได้

ขอให้เข้าใจว่าทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นกล่าวหาว่ามีการเลือกปฏิบัติหรือสองมาตรฐานเกิดขึ้น

แต่ต้องการตั้งคำถามถึงหลักการในการวินิจฉัยกรณีเรื่องตัดสิทธิทางการเมืองจะวางอยู่บนมาตรฐานอย่างไรต่างหาก


...............................
เผยแพร่ครั้งแรกใน มติชนรายวัน วันที่
19 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11545