WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 24, 2009

รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ควรเป็นอย่างไร ตอน 4 : ระบบเลือกตั้ง

ที่มา Thai E-News


โดย รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ที่มา เวบไซต์ thaipost
24 ตุลาคม 2552

รัฐธรรมนุญที่เป็นประชาธิปไตย ควรเป็นอย่างไร
ตอน 1 :
ล้างคราบเผด็จการ
ตอน 2 :
หมวดพระมหากษัตริย์
ตอน 3 : โครงสร้างระบบ

ตอน 4 : ระบบเลือกตั้ง

"ผมเห็นว่าระบบเลือกตั้งแบบ 2540 ดีกว่า 2550 แต่ระบบเลือกตั้งแบบ 2540 ก็ยังให้ความสำคัญกับระบบสัดส่วนน้อยไป ถ้าเรา reform ตัวพรรคการเมืองให้มีความเป็นประชาธิปไตยในพรรค แล้วน้ำหนักหรือคะแนนที่ให้กับระบบสัดส่วน ควรจะมากขึ้น และเราอาจจะแยกระหว่างระบบสัดส่วน กับระบบเสียงข้างมากโดยเด็ดขาด เพราะมีในบางประเทศที่เขาเอาคะแนนเสียงที่ให้กับระบบสัดส่วนเป็นตัวคำนวณที่นั่งของพรรคการเมืองในสภา ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักความยุติธรรม"

** อันนี้คือระบบของเยอรมัน

"คือถ้าพรรคไหนชนะการเลือกตั้งในเขตแล้ว คนๆ นั้นได้เป็น ส.ส.แน่ๆ แต่ให้เอาไปหักกับเก้าอี้ที่ได้จากระบบสัดส่วน สมมติมี ส.ส.ในสภา 500 คน อาจจะแบ่งเป็นระบบสัดส่วน 250 แบบแบ่งเขต 250 เวลาคนไปเลือก ก็เลือกได้ใน 2 ระบบ คือลงให้กับ ส.ส.ในเขต และก็ลงให้กับบัญชีรายชื่อที่ตัวเองเลือก พอจะคำนวณหาเก้าอี้ในสภาทั้งหมด ก็เอาคะแนนที่ลงให้กับพรรคการเมืองมาดูว่า พรรคนี้ จาก 500 เขาจะได้เก้าอี้กี่ที่นั่ง โดยเอาเฉพาะคะแนนลงให้พรรคมาคำนวณก่อน ก็จะได้เป็นตัวเลขใหญ่ขึ้นมา แล้วก็ไปดูว่า มีผู้ชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งกี่เขต คนที่ชนะการเลือกตั้งในเขต เขาจะได้เก้าอี้อยู่แล้วแน่นอน ก็เอาตัวนี้มาลบกับจำนวนรวมทั้งหมด

เช่น พรรค A เอาคะแนนที่ลงให้พรรคทั้งประเทศมารวมกัน จะได้เก้าอี้ประมาณ 200 เก้าอี้ ไปดูจาก 250 เขต เขาชนะการเลือกตั้งแล้ว 120 เขต ก็เอา 120 มาหักจาก 200 เพราะฉะนั้น 120 คนได้เป็น ส.ส.แน่ๆ ส่วนอีก 80 ก็ไปให้กับบัญชีรายชื่อ มันก็จะสอดคล้องกับคะแนนที่คนเลือกพรรคนั้น มันจะไม่ผันแปรมาก อันนี้เป็นระบบที่เราอาจปรับต่อไปได้อีก"

"มีคนบอกว่า ระบบนี้ซับซ้อน ผมบอกว่า มันอาจจะซับซ้อนสำหรับประชาชน แต่ประชาชนรู้ว่า ตัวเองมี 2 คะแนนอยู่แล้ว ส่วนที่เหลือมันเป็นระบบการคำนวณ มันไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรมากมาย แต่จะสอดคล้องกับความยุติธรรมของน้ำหนักคะแนน"

** ถ้าเทียบแล้วระบบ 2540 ดีกว่า 2550 ใช่ไหม

"แน่นอน แต่มันอาจจะปรับให้ดีไปกว่านั้นได้อีก คือถ้ายังไม่พร้อมก็เอา 2540"

** เขตเล็กดีกว่าเขตใหญ่

"ผมเคยกังวลนะ ตอนแรกๆ ว่าเขตเล็กอาจจะมีปัญหา แต่เขตเล็กมีข้อดี ที่มันไม่ใหญ่มาก และก็ชัดว่าคนในทุกๆ เขตมี ส.ส.คนเดียวเท่ากัน มันไม่เหมือน 2550 ที่คนในแต่ละเขตมี ส.ส.ไม่เท่ากัน เขตใหญ่ก็มี ส.ส.ได้มาก และอาจจะต่างพรรคการเมืองกันด้วย ดังนั้นในแง่นี้ เขตละคนจะดีกว่า"

** บางคนเขากลัวว่าจะผูกขาด ซื้อเสียงได้ง่ายกว่า

"การขจัดเรื่องการซื้อเสียง ไม่สามารถที่จะใช้กลไกทางกฎหมายไปทำลายมันได้ มันเป็นเรื่องอื่น เราจะผิดฝาผิดตัวมากเลย ถ้าคิดว่า ออกแบบระบบเลือกตั้งมาทำลายเรื่องของการซื้อเสียง มันทำไม่ได้ การซื้อเสียงมันไม่สนใจระบบเลือกตั้งว่า คุณจะเลือกเขตละกี่คน มันซื้ออยู่แล้วถ้ามันจะซื้อ

เพราะฉะนั้น เราเลิกคิดตรงนี้ไปก่อนว่า การกำหนดระบบเลือกตั้ง จะไม่แก้ปัญหาการซื้อเสียง มันคนละประเด็นกัน เรื่องการซื้อเสียงมันไปพันกับวัฒนธรรมในทางการเมือง ต้องไปแก้ตรงนั้น ต้องค่อยๆ ทำ และใช้เวลา มันไม่ได้ทำได้คราวเดียว

มีคนเขาบอกว่า อย่างนี้ประเทศก็ถูกเขมือบไปหมด แต่บางทีเป็นการคิดล่วงหน้ามากเกินไป กลัวกันเกินไป ผมคิดว่าคงไม่มีใครกล้าพูดว่า คนที่ไปเลือกตั้งถูกซื้อเสียงหมด คงไม่มีใครยืนยันข้อเท็จจริงอันนี้ แต่อาจจะบอกได้ว่า การซื้อเสียงมีอยู่ในสังคมของเรา คนที่รับเงินแล้วไปเลือกคนที่ให้เงินก็คงมี คนที่รับเงินแล้ว ไม่เลือกก็คงมี คนที่ไม่รับเงินก็คงมี ส.ส. ซึ่งมาจากการเลือกตั้งที่ไม่ใช้เงินโดยผิดกฎหมายก็คงมี คือมันไม่สามารถเอาเป็นเกณฑ์ได้ ผมจึงบอกว่า มันขึ้นอยู่กับว่าเรายอมรับตรงนี้ไหม"

"ผมคิดในทางกลับกันว่า สังคมของเราจะต้องส่งเสริมเรื่องของการยอมรับการเลือกตั้ง คือเราทำผิดทิศ ที่เรากำลังทำกันอยู่ทั้งหมด ก็คือใช้กลไกเรื่องของการซื้อเสียง ใช้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทำลายจิตสำนึกของเรา ในเรื่องของการเคารพการเลือกตั้ง มันเป็นการทำลายประชาธิปไตยถึงฐานราก คนก็ไม่เชื่อถือ

ทุกคราว คุณก็ออกข่าวว่า ซื้อเสียงตรงนั้น ซื้อเสียงตรงนี้ ผมไม่ได้บอกว่า ออกข่าวไม่ได้นะ แต่ในด้านหนึ่งต้องยอมรับว่า คนที่เขาผ่านการเลือกตั้งมาโดยถูกต้องสุจริต ก็มีอยู่

การต่อสู้กันในทางนโยบายพรรคการเมือง นำเสนอนโยบายให้คนเลือก มันก็มีอยู่ นี่คือด้านที่ต้องเน้น เพื่อจะปลูกฝังสำนึกในเรื่องการเคารพ และยอมรับหลักการประชาธิปไตย

แต่ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ คือการทำลายตัวหลักการประชาธิปไตยถึงฐานรากเลย แน่นอนการเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมด แต่ถ้าไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีประชาธิปไตย คือคุณพูดว่า การเลือกตั้งไม่ใช่ทั้งหมดของประชาธิปไตย ผมไม่เถียงหรอก แต่คุณบอกได้ไหมว่า คุณมีประชาธิปไตยโดยที่ไม่มีการเลือกตั้ง มันไม่มีทาง เพราะฉะนั้นความคิดที่เสนอ 70:30 ผมจึงรับไม่ได้ เพราะมันทำลายประชาธิปไตยถึงฐานราก เป็นไปไม่ได้"

** การเลือกตั้งระบบปาร์ตี้ลิสต์แบบแบ่งโซน หรือแบบทั้งประเทศดีกว่า

"มันได้ทั้ง 2 แบบ แล้วแต่คุณจะใช้ฐานจากอะไร แต่ไม่ใช่แบบ 2550 เพราะโซนในแบบ 2550 มันเป็นโซนซึ่งไม่อธิบายเหตุผล แบ่งประเทศออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด และให้มี ส.ส.กลุ่มจังหวัดละ 10 คน เอาประเทศไทยทั้งประเทศ มาตัดแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แต่ละส่วนก็มี ส.ส.10 คน หลักในรัฐธรรมนูญมีอยู่อย่างเดียว ก็คือการแบ่ง ต้องให้ได้คนในปริมาณที่ใกล้เคียงกันทั้ง 8 กลุ่ม และจังหวัดต้องติดกัน จะเอาเชียงใหม่ไปรวมกับนราธิวาสไม่ได้ อันนี้โอเค

เพียงแต่แนวคิดแบบนี้ 8 กลุ่มจังหวัดนี้ มันไม่สัมพันธ์กับความเป็นมาในทางวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์ ผลประโยชน์ในทางการเมือง เศรษฐกิจต่างๆ เลย คุณเอาจังหวัดภาคกลางไปรวมกับจังหวัดในภาคใต้ตอนบน มันไม่ตอบคำถามอะไรเลย

ถ้าจะใช้ระบบแบบ 2550 แบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ใช้ 2540 แบบประเทศไปเลยดีกว่า เพราะแบบประเทศ คนทุกคนเลือกพรรคนี้เหมือนกัน ถ้าคนทั้งประเทศเห็นคนที่เป็น ส.ส.เหมือนกันหมด ไม่ว่าคุณจะอยู่จุดไหนของประเทศ พรรคทำนโยบาย และพรรคหาเสียงกับนโยบายอันเดียวกันทั้งประเทศ

หรือถ้าจะปฏิรูประบบเลือกตั้ง คุณสามารถทำให้ประเทศแบ่งเป็นโซนได้ แต่โซนนั้นดูแล้ว มันมีความสัมพันธ์กัน ในทางความคิดความอ่าน ความเป็นมา ประวัติศาสตร์ เช่น โซนภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ 4 โซนใหญ่ๆ และแต่ละบัญชี จะมี ส.ส.ไม่เท่ากัน ผันแปรตามจำนวนประชาชน เช่น list ของอีสาน จะต้องใหญ่หน่อย list ของภาคใต้น้อยหน่อย เพราะประชากรน้อย ถ้าแบ่งโซนอย่างนี้ โอเค ผมรับได้"

** เขาก็จะแย้งว่าแต่ละภาคได้ ส.ส.ไม่เท่ากัน

"ไม่เท่ากันโดยสภาพอยู่แล้ว เพราะคนอีสานเยอะกว่าคนใต้ ที่สุดจะเหมือนกัน เพราะคะแนนที่ลงมันลงเท่ากัน เพียงแต่ขึ้นอยู่กับตัวของ list ใครอยู่ในนั้นบ้าง แต่ผลสุดท้ายไม่ต่างกัน มันต่างกันในแง่ที่ว่า เราจะเอาประเทศเป็นเขต ให้คนเลือกบัญชีเดียว หรือเราจะเอาตัวภาค แบ่งตามความเชื่อมโยง มาทำเป็น list บางคนบอกว่า ทำอย่างนี้ จะทำให้เราขยับเข้าใกล้ความเป็นสหพันธรัฐหรือเปล่า อันนี้ก็แล้วแต่มุมมอง"

** ต่างประเทศก็แบ่งโซนแบบนี้ใช่ไหม

"มี แต่เขาไม่ได้กำหนดแบบที่เรากำหนด ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน 10 คนแบบเรา การแบ่งโซน คุณต้องบอกได้ว่า คุณจะเอาอะไรเป็นเครื่องบอกโซน แบ่งแบบ 2550 มันไม่ตอบคำถามว่า แบ่งทำไม แบ่งแบบนี้กับเอาทั้งประเทศมีค่าเท่ากัน เพราะว่าโซนในการแบ่งของคุณ ไม่ตอบคำถาม แต่ถ้าแบ่งโซนโดยบอกว่า มีความเป็นกลุ่มก้อน มีภูมิหลัง เวลาพรรคการเมืองทำนโยบาย เขาก็จะทำโดยพิจารณาตรงนี้ ในโซนนี้"

** เช่นภาคใต้แข่งนโยบายเรื่องราคายางพารา

"ใช่ แต่แบบที่เป็นอยู่ มันไม่ทำให้เกิดการแข่งกันในทางนโยบาย กลับไปใช้ระบบประเทศเป็นเขตก็ดีอยู่แล้ว เพียงแต่เอาระบบประเทศเป็นเขต เขากลัวการเคลมคะแนนเสียง ได้มา 19 ล้านเสียง เคลมได้ เห็นชัดว่า คนทั้งประเทศเลือก การร่างรัฐธรรมนูญบนความกลัว ก็ออกมาแบบนี้แหละ"

อ่านต่อ ตอน 5 : สนธิสัญญา - ยุบพรรค