WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 6, 2009

มองย้อนกลับไปสู่เหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลา ๒๕๑๙

ที่มา Thai E-News


โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
6 ตุลาคม 2552

ในเช้าตรู่ของวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ กองกำลังของรัฐไทย ซึ่งนำโดยตำรวจตระเวนชายแดนจากหัวหิน และสมทบด้วยตำรวจนครบาลจากกรุงเทพฯ ได้ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการยิงปืนสกัดรถถัง และปืนกล กราดใส่นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมภายในรั้วมหาวิทยาลัย โดยมีการจงใจปิดประตูทุกด้าน เพื่อไม่ให้ใครมีโอกาสออกจากมหาวิทยาลัยและกลับบ้านได้ เหตุการณ์นี้ถือว่าเป็นอาชญากรรมของรัฐอำมาตย์ไทย



ภายนอกรั้วมหาวิทยาลัย กองกำลังอันธพาล ที่มีหน้าตาคล้ายๆพวกเสื้อเหลือง และเสื้อน้ำเงินในยุคนี้ แต่ตอนนั้นเรียกว่า “ลูกเสื้อชาวบ้าน” “กระทิงแดง” และ “นวพล” ได้ลากนักศึกษาออกมาทุบตี แขวนคอ และเผาทั้งเป็น ที่ท้องสนามหลวง

พวกนี้เคลื่อนไหวภายใต้การคลั่ง “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” ลูกเสือชาวบ้านมีผ้าพันคอที่ราชวงศ์ประทานให้ และเป็นองค์กรที่ถูกตั้งขึ้นโดยตำรวจตระเวนชายแดน

“นวพล” หมายถึงกองกำลังของเบอร์๙ และกระทิงแดงเป็นนักศึกษาอาชีวะที่ถูกจัดตั้งโดยทหารและฝ่ายขวา

หลังเหตุการณ์นองเลือดที่ป่าเถื่อนที่สุด ในวันเดียวกันมีสมาชิกระดับสูงของครอบครัวบุคคลระดับสูงได้ออกมาให้กำลังใจกับลูกเสือชาวบ้านที่ลานพระรูปทรงม้า

นอกจากนี้หลายคนเชื่อว่า จำลอง ศรีเมือง มีบทบาทเบื้องหลังในการฆ่านักศึกษาที่ธรรมศาสตร์อีกด้วย


ทุกวันนี้ สตรีสูงศักดิ์ในครอบครัวบุคคลสำคัญระดับสูงของประเทศ ยังมองย้อนหลังด้วยความภูมิใจ และหวังว่าลูกเสือชาวบ้านจะถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีก เพื่อปกป้องราชวงศ์

นักศึกษาและประชาชนที่ชุมนุมภายในธรรมศาสตร์วันนั้น กำลังต่อต้านการกลับมาของเผด็จการทหาร โดยเฉพาะ จอมพลถนอม กิตติขจร เพราะถนอมเคยสั่งฆ่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยที่ออกมาชุมนุมไล่เผด็จการเมื่อสามปีก่อน ในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

การนำ ถนอม กลับมาบวชที่วัดบวรนิเวศน์ เป็นแผนของฝ่ายอำมาตย์เพื่อก่อเรื่องทำรัฐประหาร และเพื่อใช้ความรุนแรงปราบปรามนักศึกษา และฝ่ายสังคมนิยมในไทย

เราต้องเข้าใจว่านักศึกษาหรือประชาชนที่สนใจการเมืองและต้องการประชาธิปไตยในยุคนั้น เป็นฝ่ายซ้ายสังคมนิยมกันส่วนใหญ่ ในสายตาเขาเผด็จการอำมาตย์ผูกกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนจนกับคนรวย เขาจึงสู้เพื่อประชาธิปไตยและสังคมนิยมพร้อมๆ กัน

ในสามปีหลังการล้มเผด็จการทหารในวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ฝ่ายอำมาตย์พยายามตลอด และอย่างถึงที่สุด ที่จะทำลายประชาธิปไตย ขบวนการนักศึกษา ขบวนการชาวนา และขบวนการกรรมกร โดยการก่อตั้งกองกำลังต่างๆ การก่อเหตุรุนแรง การลอบฆ่า การโยนระเบิด และที่สำคัญคือ มีการป้ายร้ายป้ายสีฝ่ายประชาธิปไตยและสังคมนิยมอย่างเป็นระบบ เหมือนกับที่สื่อผู้จัดการทำทุกวันนี้

สื่อสมัยนั้นมีสถานีวิทยุยานเกราะ และหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ก่อนที่จะเกิดอาชญากรรมรัฐอำมาตย์ในวันที่ ๖ สื่อเหล่านี้ได้ประโคมข่าวเท็จว่านักศึกษาธรรมศาสตร์เล่นละครแขวนคอเจ้าฟ้าชาย เพื่อปลุกระดมพวกคลั่งเจ้าให้ไปฆ่านักศึกษา เพลงโปรดของพวกฝ่ายขวาสมัยนั้นคือ “หนักแผ่นดิน” ซึ่งถูกนำมาร้องอีกครั้งโดยพันธมิตรฯในยุคนี้

ในสายตาอำมาตย์ยุคนั้น ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ประชาชนต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคม ไม่ว่าจะเรื่องค่าจ้าง สวัสดิการ ที่ดินสำหรับเกษตรกร หรือความยุติธรรมในระบบศาลฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นภัยต่อผลประโยชน์อำมาตย์ เขาต้องการโกงกินต่อไป เขาต้องการใช้อภิสิทธิ์ส่วนตัว และเขาไม่อยากให้ประชาชนพัฒนา

ดังนั้นในฝ่ายอำมาตย์มีพวกนายพล มีพวกข้าราชการชั้นสูง มีพวกครอบครัวบุคคลสำคัญระดับสูง มีพวกนายทุนใหญ่ และมีนักการเมืองพรรคอนุรักษ์นิยมทั้งหลาย โดยเฉพาะในพรรคชาติไทย (ภายใต้ ชาติชาย ชุณหวัน ซึ่งผูกผ้าพันคอลูกเสือชาวบ้านในวันที่ ๖ ตุลา) ส่วนพรรคประชาธิปัตย์สมัยนั้น ก็คัดค้านนักศึกษาและแนวสังคมนิยมด้วย เป็นส่วนหนึ่งของอำมาตย์ด้วย แต่ฝ่ายอำมาตย์สุดขั้วมองว่ารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อ่อนเกินไปที่ไม่ลงมือปราบนักศึกษาอย่างตรงไปตรงมา สรุปแล้วชนชั้นปกครองไทยทั้งชนชั้น ไม่ว่าจะอยู่ซีกไหน กลุ่มไหน ก็มือเปื้อนเลือดจาก ๖ ตุลา ๒๕๑๙ ทั้งนั้น

หลังจากที่ถนอมถูกพากลับมาบวชที่วัดบวรฯ สามีภรรยาของครอบครัวบุคคลสำคัญระดับสูงของประเทศคู่นั้นก็ไปเยี่ยม ซึ่งส่งสัญญาณว่า พวกเขาเห็นด้วยกับการปราบนักศึกษาและฝ่ายซ้าย

ในเดือนธันวาคมปีนั้น หลังเหตุนองเลือดที่ธรรมศาสตร์ คนเป็นสามีออกมาพูดว่า รัฐประหารเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสังคมไทยมี “ประชาธิปไตยมากเกินไป” และมันเปิดโอกาสให้นักศึกษาและคนอื่นเรียกร้องอะไรต่ออะไรเพิ่ม ในยุคนั้นคนสามียังออกมาวิจารณ์ระบบรัฐสวัสดิการในตะวันตกอีกด้วย โดยอ้างว่ามันทำให้คนขี้เกียจ ยังกับว่าครอบครัวบุคคลสำคัญระดับสูงของประเทศนี้เคยขยันทำงานเหมือนชาวนาหรือกรรมกร แต่คนสามีนี้ไม่ใช่หัวหน้าใหญ่ที่สั่งการปราบนักศึกษา เขามีหน้าที่ในการเปิดไฟเขียวกับเหตุการณ์นองเลือดมากกว่า

อำมาตย์ทั้งแก๊งเห็นสมควรที่จะทำร่วมกันทำลายประชาธิปไตยและแนวสังคมนิยม แต่ในขณะเดียวกันมีการแย่งชิงกันเอง เพื่อยึดอำนาจระหว่างทหารสามฝ่ายและนักการเมืองอีกด้วย ในที่สุดทั้งๆ ที่มีหลายกลุ่มของอำมาตย์ที่ก่อความรุนแรงมาตลอด กลุ่มที่ทำรัฐประหารสำเร็จคือกลุ่มของ พล.อ. บุญชัย บำรุงพงศ์ และ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ และเขาได้แต่งตั้งนักกฎหมายที่คลั่งเจ้าชื่อ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกฯ

อย่างไรก็ตามรัฐบาลของ ธานินทร์ ถึงแม้ว่าจะใกล้ชิดวังแค่ไหน ก็อยู่ไม่ได้ ถูกโค่นโดยรัฐประหารอีกรอบภายในหนึ่งปี เพราะเป็นรัฐบาล “ขวาตกขอบ” ซึ่งมี สมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีมหาดไทยที่คอยออกกฎหมายห้ามอ่านหนังสือและเผาหนังสือที่ขัดกับแนวตนเอง มีการเซ็นเซอร์สื่ออย่างหนัก และสมัคร เป็นนักการเมืองที่โกหกเรื่อง ๖ ตุลา มาตลอด ตอนแรกอ้างว่านักศึกษามีอาวุธสงคราม อ้างว่ามีทหารเวียดนามในธรรมศาสตร์ และอ้างว่า ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นคอมมิวนิสต์และให้การเท็จเรื่อง ๖ ตุลา

สำหรับทหารที่ล้มรัฐบาลธานินทร์ ซึ่งถือว่าเป็นรัฐบาลที่ใกล้ชิดวัง ทหารพวกนี้เข้าใจว่าการทำให้สังคมไทยแตกแยกอย่างสุดขั้วภายใต้รัฐบาลขวาตกขอบของธานินทร์ เป็นสิ่งอันตราย เพราะนักศึกษาและประชาชนพากันไปเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์ในป่าเขาต่างๆ ทุกภาค ดีไม่ดีอำมาตย์จะเสียอำนาจไปหมดท่ามกลางสงครามกลางเมือง

ดังนั้นมีการพยายามใช้แนวการเมือง พร้อมๆ กับแนวทหาร เพื่อหวังทำลายพรรคคอมมิวนิสต์ นายทหารที่มีบทบาทสูงสุดตรงนี้คือ เปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งภายหลังก็ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากที่รัฐบาลธานินทร์ถูกล้มโดยรัฐประหาร ฝ่ายทหารก็เริ่มลดบทบาทของลูกเสือชาวบ้าน เพราะกลัวว่าจะคุมไม่ได้ และกลายเป็นเครื่องมือของคู่แข่งทางการเมือง ซึ่งก็ไม่ต่างจากการที่ เนวิน และ สุเทพ ในรัฐบาลปัจจุบัน ต้องการลดบทบาทพันธมิตรฯและสร้างกองกำลังเสื้อน้ำเงินแทน

สมัยนั้นนอกจากกฎหมายหมิ่นแล้ว รัฐบาลอำมาตย์ยังใช้กฎหมายปราบคอมมิวนิสต์อีกด้วย และในช่วงของรัฐบาลเปรม มีการเลือกตั้งในรัฐสภาในรูปแบบที่อำมาตย์ควบคุมอำนาจและเสียงได้ ซึ่งคล้ายระบอบ “การเมืองระเบียบใหม่” ของพันธมิตรฯ

ภาพของอาชญากรรมรัฐอำมาตย์ ในวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เป็นภาพที่สะท้อนว่าอำมาตย์พร้อมจะเข่นฆ่าประชาชนเพื่อปกป้องผลประโยชน์และอภิสิทธิ์เสมอ เวลามีกลุ่มคนเสนอให้มีการปฏิรูปการเมืองหรือพัฒนาสวัสดิการ ไม่ว่าจะช่วง ก่อน ๖ ตุลา หรือช่วงก่อน ๑๙ กันยา ๒๕๓๙ ก็จะก่อรัฐประหารเพื่อยับยั้งความเจริญ จะมีสื่อคอยบิดเบือนความจริง และจะพยายามปิดปากผู้รักประชาธิปไตยและผู้ที่เป็นนักสังคมนิยม และถึงแม้ว่าอำมาตย์จะสามัคคีกันในการปราบประชาชน แต่ภายหลังก็หันมาแย่งกระดูกผลประโยชน์กันเหมือนหมาป่า

ตราบใดที่ยังมีอำมาตย์ครองเมือง สังคมไทยจะอยู่ในสภาวะป่าเถื่อนต่อไป
000000000000

อ่านข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับ ๖ ตุลา ได้ที่ http://www.2519.net/
ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อกับบทความนี้ของผมแต่อย่างใด