WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 6, 2009

มาตรฐาน ‘มาร์ค’ ปชป.เอียงวูบ!

ที่มา บางกอกทูเดย์

6 ตุลาคม รัฐบาลไม่ให้ความสนใจ 7 ตุลาคม กลุ่มพันธมิตรผนึกกำลังเตรียมเคลื่อนไหว รัฐบาลก็ไม่ให้ความสนใจแต่สนใจกับเฉพาะการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่จะมีในวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อทวงถามในเรื่องฎีกาฯรวมไปถึงระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนด้วย ถึงขนาดนายสุเทพ ต้องเปลี่ยนรถประจำตำแหน่งใหม่ จากเดิมเป็นรถฟอร์ดกันกระสุน มาเป็นรถแลนด์โรเวอร์กันกระสุนแทน

เพราะทั้งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์ เล่นการเมืองแบบ ตั้ง“มาตรฐาน”เอง แล้วให้บรรดาผู้ที่ประสานมืออุ้มมาตั้งแต่ต้น จะต้องเดินตามมาตรฐานนั้นการเมืองของไทยในเวลานี้ก็เลยยุ่งวุ่นวายไปหมดปัญหากลุ่มคนเสื้อแดงที่ต่อสู้ไม่ยอมเลิก ก็เพราะต้องการเรียกร้องให้เกิดระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขที่แท้จริง และมีมาตรฐานเดียวนี่แหละถึงยังคงต้องสู้กันจนถึงวันนี้ ไม่มีท่าทีว่าจะหยุดลงไปได้ง่ายๆปัญหาการยอมรับในกฎหมาย ในระบบตุลาการที่กำลังสั่นไหวปานประหนึ่งดอกไม้ท่ามกลางพายุ ก็ไม่เพราะการเมืองเข้าไปแทรกแซงจนเกินงาม จนโดนข้อสงสัยเรื่อง 2 มาตรฐานดอกหรือความศักดิ์สิทธิ์ของระบบตุลาการและ “ท่านเปา” เมืองไทย จึงไม่หนักแน่นเช่นในอดีตและโดยเฉพาะปัญหาของการล้วงลูกระบบข้าราชการประจำของนักการเมือง เฉพาะอย่างยิ่งกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับการล้วงลูกตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ของนายกฯ อภิสิทธิ์ก็ขนาดนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ตัดสินใจลาออก เพื่อหวังให้นายอภิสิทธิ์ได้รู้เสียทีว่าสัญญาณพิเศษนั้นเป็นเรื่องจริง... แต่นายอภิสิทธิ์ก็ไม่สนแม้แต่ล่าสุดก๊วนภูมิใจไทย จะส่งสัญญาณออกมาแล้วว่า ถ้ายังดันทุรังจะตั้ง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการ ผบ.ตร.ให้ได้เป็นผบ.ตร.จริงๆ ก็คงยังต้องมีรายการโหวตสวนเหมือนเดิมแต่นายอภิสิทธิ์ ก็ยังคงไม่ใส่ใจ เพราะเชื่อมั่นในอำนาจนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในมือ และกลุ่มพลังที่หนุนหลังทั้งอำมาตยาธิปไตย และกลุ่มนายทหารเชื้อสาย คมช.ทั้งหลาย

นี่ก็คือความชัดเจนของปัญหา ที่มาจากมาตรฐานเฉพาะตัวสุดท้ายแม้แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์เองก็ยังอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่เพราะมาตรฐานของนายกฯอภิสิทธิ์หรอกหรือ ที่ทำให้วุ่นไปหมดและพลอยทำให้ระบบบริหารจัดการก็วุ่นไปด้วย เพราะตอนนี้แรลลี่ตำแหน่งกันสนุกในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พันกันอีนุงตุงนังไปหมดพรรคร่วมรัฐบาลก็โดดเข้ามาช่วย “วุ่น” ไปด้วย ทั้งๆที่ไม่ได้ปรับครม.กับเขาสักนิดแต่อย่างว่าแหละพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องการให้พรรคแกนนำวุ่นมากๆ เข้าไว้ แตกแยกเยอะๆยิ่งดีเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้นเร็วเท่าไร ในจังหวะที่ประชาธิปัตย์แตกแยกนี่แหละ โอกาสที่จะพลิกขั้วจัดตั้งรัฐบาลก็ยิ่งมีสูงเพราะคนอย่างนายเนวิน ชิดชอบ ภูมิใจไทย CEO ผู้ถูกเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี แต่ยังเล่นเกมและมีบทบาททางการเมืองอย่างเปิดเผยโดยไม่แยแส คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เนื่องจากรู้ดีว่า กกต.ชุดนี้ไม่มีทางกล้าที่จะออกมากระแอมกระไอกับการครอบงำทางการเมืองของนายเนวินแน่ฉะนั้นด้วยโอกาส บารมี และความทะเยอทะยานทางการเมือง จะเห็นว่าทางพรรคร่วมรัฐบาลดูเหมือนจะดีใจอยู่ลึกๆ กับการเปลี่ยนแปลงที่จะให้มีการเด้งนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ออกจากเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพราะที่ผ่านมานายกอร์ปศักดิ์ ไม่ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือแม้แต่กระทั่งบรรดาข้าราชการต่างๆ ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า“คบยาก”ฉะนั้นถ้าเด้งไปได้ และหากคนที่มาเป็นนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี จริงๆ อะไรๆ ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล และข้าราชการก็น่าจะดีขึ้น เพราะนายไตรรงค์เรียนมาทางด้านเศรษฐศาสตร์ก็จริง แต่ที่ผ่านมาก็เป็นแต่หลักการ และออกแนวเศรษฐศาตร์เฮฮาเสียมากกว่าการที่จะให้มาแทนนายกอร์ปศักดิ์ พรรคร่วมฯ จึงสนับสนุนกันเต็มที่ ส่วนสุดท้ายแล้วประชาธิปัตย์จะมีผลงานหรือไม่ คงไม่ใช่เรื่องที่พรรคร่วมฯ จะใส่ใจ

เพราะถือเป็นปัญหาของพรรคประชาธิปัตย์เองที่ต้องแก้ไขเอาเอง และด้วยความที่ตอนนี้รัฐบาลเละตุ้มเป๊ะไปหมด การแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงจึงไม่มีก็ขนาดวันที่ 6 ตุลาคม ซึ่งปกติในยุคหัวหน้าพรรคคนก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นนายชวน หลีกภัย หรือนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ก็จะให้ความสำคัญในการร่วมรำลึก 6 ตุลา ทั้งเพราะความเป็นนักศึกษาธรรมศาตร์ และความมีภาพในเรื่องประชาธิปไตยของประชาธิปัตย์แต่ปีนี้ ไม่เพียงไร้เงาของคนในรัฐบาล แต่ยังไร้เงาของคนประชาธิปัตย์อีกด้วยหรือจริงๆ แล้วบรรดาแกนนำประชาธิปัตย์ในยุคนี้ ไม่ได้ใส่ใจหรือให้ความสำคัญกับเหตุการณ์รำลึกประชาธิปไตยกันอีกแล้วแม้แต่แกนนำม็อบพันธมิตร ที่อ้างว่าต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง มาวันนี้ก็ไม่มีใครมาร่วม แม้กระทั่ง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งจะต้องมาเป็นประจำ ปีนี้ก็ยังไม่มาหรือเพราะม็อบพันธมิตรไปให้ความสำคัญกับ 7 ตุลาคม และการอุ้มรัฐธรรมนูญ คมช. ปี 50 เป็นหลัก จึงละเลยกับวันที่ 6 ตุลาคมไปแล้วแต่สำหรับรัฐบาลยิ่งแล้วใหญ่ เพราะวันนี้หลังจากขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองแล้ว สิ่งที่คิดไม่ใช่การรำลึกถึงประวัติศาสตร์ประชาธิปไตย หากแต่เป็นการคำนึงถึงการอยู่รอดทางการเมือง และการเตรียมรับมือกับการชุมนุมเรียกร้องตามสิทธิทางประชาธิปไตย6 ตุลาคม รัฐบาลไม่ให้ความสนใจ 7 ตุลาคม กลุ่มพันธมิตรผนึกกำลังเตรียมเคลื่อนไหว รัฐบาลก็ไม่ให้ความสนใจแต่สนใจกับเฉพาะการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่จะมีในวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อทวงถามในเรื่องฎีกาฯรวมไปถึงระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนด้วย ถึงขนาดนายสุเทพ ต้องเปลี่ยนรถประจำตำแหน่งใหม่ จากเดิมเป็นรถฟอร์ดกันกระสุน มาเป็นรถแลนด์โรเวอร์กันกระสุนแทน ให้เหตุผลว่าเอามาทดลองใช้ ก่อนที่จะนำมาใช้รับส่งผู้นำประเทศที่จะมาร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปลายเดือน ต.ค.นี้ งานนี้รัฐบาลควักกระเป๋าจ่ายง่ายๆไปอีกจำนวน 20 คัน ด้วยข้ออ้างเดิมๆ ไว้รับมือกับกลุ่มคนเสื้อแดง ในขณะที่ทางกฎหมายก็เตรียมจะประกาศใช้ พรบ. ความมั่นคงฯ อีกรอบทั้งๆ ที่ทางตำรวจกำลังเสนอกฎหมายจัดระเบียบม็อบอยู่ด้วยซ้ำถือเป็นมาตรฐานเฉพาะตัวของรัฐบาลชุดนี้จริงๆ ที่ทำทุกอย่างเพื่อให้ยืดอายุรัฐบาลเอาไว้ให้นานที่สุดพร้อมกับมักจะปาวๆ ยืนยันว่าจริงๆ แล้วรัฐบาลนี้ไม่เคยมี 2 มาตรฐาน แต่มีเพียงมาตรฐานเดียวเท่านั้นแหละ คือ “มาตรฐานอภิสิทธิ์”!!!

สตช.ชงกฎหมายจัดระเบียบม็อบเข้า ครม.
พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. เปิดเผยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ....ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยเสนอเข้าสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ แต่ไม่ผ่านการพิจารณา สตช.จึงไปแก้ไขปรับปรุง และเสนอกลับมาที่ครม.อีกครั้ง โดยร่างกฎหมายดังกล่าวมี 12 มาตรา มีสาระสำคัญคือ การวางแนวทางของการปฏิบัติของผู้ชุมนุมในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และการวางแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างความชัดเจนในการใช้สิทธิและปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ถือเป็นเกราะให้กับทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่การลิดรอนสิทธิของการชุมนุม ผู้ชุมนุมก็ชุมนุมได้มาตรฐาน และมีบทลงโทษสำหรับผู้ละเมิดทั้งแกนนำ ผู้จัด ผู้ร่วม หากเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก พล.ต.ต.อำนวย กล่าวว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่า การชุมนุมของประเทศไทยไม่ได้มาตรฐาน เดินไปยึดที่ต่างๆ หลายครั้งสร้างความไม่สงบเรียบร้อย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 63 ระบุว่า การจำกัดสิทธิการชุมนุมทำไม่ได้ เว้นแต่เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะการชุมนุมสาธารณะ ดังนั้นเมื่อบ้านเมืองไม่เรียบร้อยจากการชุมนุมก็ต้องออกกฎหมายมา ซึ่งหาก ครม.ให้ความเห็นชอบก็นำเข้าสู่สภาฯต่อไป