WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 6, 2009

กมม.ดัน'สนธิ ลิ้มทองกุล'นั่งหน.พรรคตามคาด

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_37761

นายสนธิ ลิ้มทองกุล

สมาชิกพรรคการเมืองใหม่ดัน“สนธิ ลิ้มทองกุล” นั่งหัวหน้าพรรคใหม่ แทน"สมศักดิ์ โกศัยสุข"รอผลคะแนนเป็นทางการบ่ายวันนี้...

วันนี้(6 ต.ค.)เวลา 09.00 น.ที่อาคารธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ได้มีการประชุมใหญ่สมาชิกพรรคการเมืองใหม่(ก.ม.ม.)ครั้งแรกของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยนายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า กระบวนการเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ จะยุ่งยากกว่าพรรคการเมืองทั่วไป โดยจะใช้วิธีการแบบการเลือกตั้งทั่วไป เนื่องจากต้องการให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพื่อเจตนารมณ์ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

จากนั้น มีการรายงานผลการดำเนินงานของพรรค โดยคณะกรรมการบริหารผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรค ก่อนที่นายสมศักดิ์ โกศัยสุข จะประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับพรรค ที่ได้มีการเปิดรับสมาชิกพรรคใหม่ และให้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่ โดยเปิดให้สมาชิกได้เสนอรายชื่อบุคคลเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่หลายคน อาทิ นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายสุริยะใส กตะศิลา พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์

อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ และนายสุริยะใส ได้สละสิทธิ์ ส่วน พล.ต.จำลอง นายอาทิตย์ และพล.อ.ปฐมพงษ์ ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ดังนั้น จึงมีนายสนธิ ได้รับการเสนอชื่อเพียงคนเดียวโดยปราศจากคู่แข่ง

จากนั้น มีการลงคะแนนรับรองนายสนธิ เป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยใช้วิธีการลงคะแนนรับรองการเป็นหัวหน้าพรรค โดยให้สมาชิกแต่ละคนที่มาประชุมลงคะแนนด้วยวิธีลับและนับคะแนน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงบ่าย ทั้งนี้ นายสนธิ ต้องได้คะแนนรับรองไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาร่วมประชุม.

คุณวิภา ดาวมณี: เขียนชวนร่วมงาน 6 ตุลาแบบนี้ อย่าเขียนดีกว่า

ที่มา ประชาไท

หมายเหตุ: เมื่อวันที่ 5 ต.ค. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้ตั้งกระทู้หมายเลข 38222 หัวข้อ “คุณวิภา ดาวมณี: เขียนชวนร่วมงาน 6 ตุลาแบบนี้ อย่าเขียนดีกว่า” เพื่อวิจารณ์บทความของวิภา ดาวมณีเรื่อง “งานรำลึก 6 ตุลา ครบรอบ 33 ปี : ประชาธิปไตยสมบูรณ์...?” ซึ่งเผยแพร่ในเว็บไซต์ประชาไท, เว็บไซต์อารยชน และมติชนสุดสัปดาห์ โดยความเห็นของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มีดังนี้

000
ดูบทความ "งานรำลึก 6 ตุลา ครบรอบ 33 ปี : ประชาธิปไตยสมบูรณ์...?" ของ วิภา ดาวมณี ได้ที่นี่ http://www.prachatai.com/journal/2009/10/26088 หรือที่นี่ http://www.arayachon.org/rethink/20090919/1507 หรือใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับล่าสุด
ผมได้เห็นบทความประชาสัมพันธ์งาน 6 ตุลาปีนี้ของคุณวิภา ดาวมณี ครั้งแรก ระหว่างออกนอกบ้านไปจับจ่ายซื้อของเมื่อวันเสาร์ (3 ตค) แล้วแวะร้านซีเอ็ด และหยิบ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับล่าสุดขึ้นเปิดดู (ความจริง จะดูว่านิธิเขียนอะไรสัปดาห์นี้)
บอกตรงๆว่า หลังจากยืนอ่านตรงนั้นแล้ว ผมเกิดความรู้สึกที่โกรธมากๆ และตลอด 1-2 ชั่วโมง ที่เดินซื้อของ จนกลับมาถึงบ้านก็ไม่หายโกรธ หรือไม่ลดความโกรธลงเลย รีบเปิดคอมพิวเตอร์เขียนอะไรบางอย่างออกมา
แต่พอเขียนแล้ว เกิดเปลี่ยนใจว่า ไม่โพสต์ดีกว่า ไม่ใช่เพราะความโกรธลงลงหรือหายไปแล้ว แต่เพราะมีความรู้สึกที่แย่ๆอย่างอื่นขึ้นมาแทรก เช่น หดหู่ ว่าโพสต์ไปก็เท่านั้น
คุณวิภาเขียนประโยคแรกสุดของบทความเลยว่า "คนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่าสามสิบปีส่วนใหญ่ คงไม่รู้ว่า 6 ตุลา 2519 คืออะไร" บทความนี้ของคุณวิภา พิสูจน์ให้เห็นว่า อย่าว่าแต่ "คนรุ่นใหมที่อายุน้อยกว่าสามสิบปีส่วนใหญ่" เลย แม้แต่คุณวิภา คนที่ "ผ่าน" เหตุการณ์มาเอง และเป็นคนจัดงานนี้ มาหลายปี ก็ยังรู้ไม่ว่า "6 ตุลา 2519" คืออะไร เพราะถ้ารู้จริงๆ ไม่เขียนอะไรที่แย่แบบนี้ออกมา
อันที่จริง บทความนี้ พูดในเชิงการความกลมกลืนในการนำเสนอล้วนๆ (คือไม่ต้องดูที่เนื้อหาโดยตรง) ก็จัดว่า เป็นบทความแย่ คือ พูดถึงเรื่องอะไรต่ออะไร มั่วไปหมด จาก 2475 ถึงหลัง 14 ตุลา ถึง วิกฤติทุนนิยมปัจจุบัน ถึง เสื้อเหลืองเสื้อแดง โดยที่แต่ละเรื่องแต่ละประเด็นนี้ ไม่สามารถนำเสนอในลักษณะมีโฟกัส เชื่อมโยงกันได้โดยแท้จริง ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเชื่อมโยงเข้ากับ "6 ตุลา 2519" เหมือนนึกอยากเขียนอะไรก็เขียน
แต่ที่ทำให้ผมโกรธ มากๆ และถือเป็น insult คือ จู่ๆ ในกลางๆบทความ คุณวิภา ก็อ้างพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 (เรื่อง มาตรา 7 และเป็นจุดเริ่มต้นของ "ตุลาการภิวัฒน์") ขึ้นมา โดยบริบทแล้ว ไม่มีความเกี่ยวเนื่องอะไรกับเรื่องที่กำลังเขียนเลย ยิ่งไม่ต้องพูดถึง 6 ตุลา นี่คือส่วนที่คุณวิภา เขียน :
“มีการเชื่อมโยงถึงการโค่นล้มสถาบันอันเป็นที่เคารพ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพถูกนำมาใช้จนกลายเป็นกระแส มีความพยายามยกเลิกอำนาจอธิปไตยของปวงชนไทย
จากหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 26 เมษายน 2549 ในหลวงทรงตรัสถึงความหมายของประชาธิปไตยไว้ว่า “..... ขอยืนยันว่า มาตรา 7 ไม่ได้หมายถึงมอบให้พระมหากษัตริย์มีอำนาจที่จะทำอะไรตามชอบใจ ไม่ใช่ มาตรา 7 พูดถึงการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่ได้บอกว่าให้พระมหากษัตริย์ตัดสินใจทำได้ทุกอย่าง ถ้าทำ เขาก็จะต้องว่าพระมหากษัตริย์ทำเกินหน้าที่ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยขอ ไม่เคยทำเกินหน้าที่ ถ้าทำเกินหน้าที่ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย”
("มีการเชื่อมโยงถึงการโค่นล้มสถาบันอันเป็นที่เคารพ" แต่ทำไมจึงอ้างพระราชดำรัสตุลาการภิวัฒน์? เป็นตรรกะกันตรงไหน?)
ผมถือว่า ใครที่เขียนระลึก 6 ตุลา แล้วอ้างพระราชดำรัส - ไม่ว่าพระราชดำรัสใดๆ - คนนั้น ถ้าไม่เสียสติ ก็ ... [ขออภัย เซ็นเซอร์ตัวเอง หาคำที่ผมเขียนบ่อยๆ ที่ประชาไท มาใส่กันเอาเอง]
กรณีคุณวิภานั้น ที่ชวนให้หดหู่มากๆคือ ในครั้งอื่นๆ (ผมจำได้ดีอยู่ ระบุได้ด้วย ว่าครั้งไหนบ้าง แต่ไม่ต้องการให้คุณวิภาเดือดร้อนเปล่าๆ) เวลาพูดถึง "บางเรื่อง" ทำนองเดียวกันนี้ กลับพูดในลักษณะที่ผมเองไม่มีความกล้าพอที่จะพูดเลย พูดในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงอย่างเหลือเชื่อด้วย
ผมจึงได้แต่สรุปว่า กรณีบทความ 6 ตุลา ที่อ้างพระราชดำรัสนี้ คือเรื่องของ sheer incompetence คือ ไม่รู้จักคิดจริงๆ ไม่มีความสามารถจะ hold thought หรือ ตั้งสมาธิ ในการคิดที่ซีเรียสได้อย่างจริงๆ นึกอยากจะเขียนอะไร ก็เขียนไป ไม่มีพลังปัญญาพอจะคิดอย่างเข้มข้นก่อนจะเขียนอะไรที่ซีเรียส (ผู้ที่คุ้นเคยกับการเขียนอะไรที่ซีเรียสจริงๆ ย่อมรู้ดีว่า การเขียนเช่นนั้น ก็เหมือนการออกกำลังอย่างหนึ่ง คือต้องใช้ แรง ต้อง "อึด" แม้จะไม่ใช่การ "อึด" ที่แสดงออกทางกายภาพ แต่การ "อึด" ในการคิด ก็ไม่ต่างกัน เรื่องนี้ Gramsci พูดไว้ใน Prison Notebooks)
[ตัวอย่างของ sheer incompetence อีกตัวอย่างหนึ่ง ในบทความ ซึ่งอยางที่บอกว่า เป็นการสะท้อนการเขียนไปเรื่อยๆ ไม่คิด คือ การอ้าง "ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1" แล้ว เซนเซอร์คำว่า "กษัตริย์" ออกจากคำ "รัฐบาลกษัตริย์" และคำว่า "เจ้า" ออก แล้ว ใส่เป็นดังนี้แทน “รัฐบาล ......(ก่อนหน้าการปฏิวัติ 2475) กล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณ เสียภาษีอากรให้......ได้กินว่าราษฎรมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ ถ้าราษฎรโง่ ......ก็โง่" ความจริง การอ้าง ประกาศ นี้ก็ไม่เข้ากับบริบทเท่าไร แต่ถ้าจะอ้าง แล้วอ้างแบบนี้ ก็ทำให้กลายเป็นเรื่องตลกไป คือ ถ้าไม่คิดว่า สามารถอ้าง "รัฐบาลกษัตริย์" หรือ "เจ้าก็โง่" ได้ ก็อย่าอ้างเสียจะดีกวา ใครๆก็รู้ว่า ส่วนที่ .... มีข้อความอะไร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับปรีดี และ 2475 หรือไม่เห็นด้วย เพราะนี่เป็นเอกสารประวัติศาสตร์ สมัยนี้ แม้แต่หนังสือที่ราชการรัฐวิสากิจพิมพ์เพื่อสรรเสริญกษัตริย์ ยังพิมพ์แถลงการณ์นี้เต็มๆกันเป็นปกติ]
อย่างที่พูดในตอนต้นว่า เดิมผมเขียนถึงบทความคุณวิภา ตั้งแต่วันเสาร์ แต่เปลี่ยนใจไม่โพสต์ แต่เวลาใกล้วันที่ 6 ตุลาทุกปี ผมจะอารมณ์ไม่ดีมากๆ (ปีหนึ่งๆ จะมีวันที่ผมอารมณ์ไม่ดีมากๆ อยู่จำนวนหนึ่งทุกปี วันที่ 6 ตุลา เป็นวันหนึ่ง) และรู้สึกว่า ถ้าปล่อยเรื่องนี้ไป จะยิ่งอารมณ์ไม่ดีหนักขึ้นไปอีก จึงเปลี่ยนใจมาเขียนใหม่ ที่เขียนข้างบนนี้ทั้งหมด เป็นเว่อร์ชั่นเพิ่งเขียน ที่ตั้งใจว่า จะให้ "แรงน้อยที่สุด" แล้ว
บทความคุณวิภานี้ ยืนยันความรู้สึกที่ผมมีมานานว่า ยุค สมัยนี้ เป็นยุคสมัยที่ห่วยแตกสุดขีดไม่ว่าจะ ซ้ายเก่า ซ้ายใหม่ คนที่อยากเป็นซ้าย คนที่อ้างว่าสู้เพื่อประชาธิปไตย ("คัดค้านอำมาตยาธิปไตย") ฯลฯ ไม่ว่าจะ นักวิชาการ แอ๊กติวิสต์ ฯลฯ
(ปล. ช่วงนี้ อ่านโพสต์ที่ประชาไท (หรือแม้แต่บาง rep ทีนี่เอง) เห็นเริ่มมาเชียร์บางคนกันแล้ว ผมนึกอะไรขึ้นมาได้ระหว่างขับรถกลับบ้านวันนี้คือ "คนบางคนนั้น ถ้าคิดว่าการกินขี้แทนข้าว จะช่วยทักษิณได้ ก็ยินดีจะขี้แทนข้าวกันแล้ว" - ความจริง ร่างไว้ในใจด้วยซ้ำว่า จะเขียน "ขยายความ" เป็นกระทู้ได้อย่างไร แต่เปลี่ยนใจ ไม่เขียนดีกว่า ปล่อยให้บางคนกินขี้แทนข้าวไปดีกว่า - อนึ่ง ถ้าใครคิดว่า ที่เพิ่งเขียนไปนี้ "แรง" ความจริง ผมมี alternate sentence ที่ "แรง" กว่านี้อีก ใข้ภาษาฝรั่ง ที่มีตัว "เอฟๆ" เข้ามาด้วย แต่ไม่เขียนดีกว่า แค่นี้ ก็ถูกคนรับไม่ได้มากพอแล้ว)
ปล.2: ถ้าคุณวิภา ได้มาอ่านโพสต์นี้ของผม ผมหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า คุณวิภา คงไม่ พยายาม "แก้ตัว" ด้วยการทำอะไรที่ "สุ่มเสี่ยง" เพื่อ "พิสูจน์" ว่า ตัวเองมีจุดยืนอย่างไร ใน "เรื่องนั้น" โปรดอย่าทำเป็นอันขาด อย่างที่พยายามเขียนไปข้างต้นว่า ผมตระหนักดี ว่าในโอกาสอื่น คุณวิภา พูดถึงเรืองทำนองนี้ว่าอย่างไร (ในลักษณะที่ผมไม่มีความกล้าจะพูดเลย) แต่นั่นเพียงแต่ยืนยันว่า คุณวิภา ไม่ยอมใช้ความคิด เวลาพูด ไม่ว่า เวลาพูดแบบสุ่มเสี่ยงในครั้งอื่น หรือพูดแบบ ไร้สติในครั้งนี้ในบทความนี้