WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 9, 2009

ธนาธิปไตย (Plutocracy)

ที่มา ประชาไท

อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีกหากมีชีวิตอยู่จนถึงทุกวันนี้คงกลุ้มใจจนแทบคลั่งเป็นแน่ เพราะตามทฤษฎีที่เขาได้ตั้งไว้ ที่บรรดานักรัฐศาสตร์ทั้งหลายพากันยกย่องว่าเป็นบิดาของวิชารัฐศาสตร์นั้น แทบจะต้องเผาตำรากันทิ้งไปเลยเมื่อเห็นรูปแบบการปกครองของไทยเรา เพราะแต่เดิมนั้นอริสโตเติลได้แบ่งรูปแบบการปกครองทั้งที่ดีและไม่ดีเอาไว้ ๖ ประเภท คือ

ระบอบที่ดี
ผู้ปกครองคนเดียว monarchy = ระบบกษัตริย์หรือราชาธิปไตย
กลุ่มผู้ปกครอง aristocracy = ระบบขุนนางหรืออภิชนาธิปไตย
คนหมู่มาก polity = ระบบโพลิตี หรือ ระบบที่ปกครองโดยชนชั้นกลาง

ระบอบที่ไม่ดี
ผู้ปกครองคนเดียว tyranny = ระบบทรราชย์
กลุ่มผู้ปกครอง oligarchy = ระบบพวกพ้องหรือคณาธิปไตย
คนหมู่มาก democracy = ระบบประชาธิปไตย

ทางฝ่ายระบอบที่ดีนั้น อริสโตเติลถือว่าราชาธิปไตยดีที่สุด เพราะถ้าคนคนหนึ่งดีและมีความสามารถแล้ว ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ราษฎรในรัฐได้มาก ส่วนอภิชนาธิปไตยรองลงมา เพราะการปกครองรัฐระบอบนี้ ต้องมีจำนวนชนชั้นปกครองมากขึ้น ย่อมจะให้ดีทีเดียวเลยไม่ได้ แต่ก็อาจรักษาคุณธรรมของคณะคนกลุ่มน้อยได้ง่ายกว่าระบอบโพลิตีหรือชนชั้นกลาง

ทางฝ่ายที่ไม่ดีนั้น ระบอบทรราชย์หรือทรราชาธิปไตยเลวที่สุด เพราะเมื่อคนสูงสุดเลวร้ายเสียแล้ว ย่อมเลวร้ายถึงที่สุด ส่วนคณาธิปไตยเลวร้ายน้อยลงไป เพราะพวกเศรษฐีเป็นเพียงพวกกลางๆ และมีจำนวนหลายคน ถึงจะรวมหัวกันทำความชั่ว ก็ไม่เลวร้ายเท่าคนๆ เดียวที่วางแผนและ บงการอยู่อย่างมีอำนาจสิทธิ์ขาดเป็นเอกเทศ โดยที่ประชาธิปไตยย่อมเลวร้ายน้อยที่สุด เพราะอย่างน้อยก็ทำความเลวเพื่อพวกตน ซึ่งเป็นคนหมู่มาก เท่ากับว่าคนหมู่มากย่อมได้ผลประโยชน์พลอยได้อยู่ด้วย

จะเห็นได้ว่าอริสโตเติลมีทัศนะเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยที่ไม่ดีเท่าใดนัก เพราะเขามองว่าประชาธิปไตย (ในรูปแบบของสภา) เป็นระบอบการปกครองที่ไม่คำนึงถึงประชาชน ปล่อยให้อำนาจทางการเมืองขึ้นอยู่กับกรรมการหรือสภา ซึ่งชอบใช้อำนาจอย่างฟุ่มเฟือย หากแต่การปกครองแบบโพลิตี (polity) นั้นคือการปกครองโดยชนชั้นกลาง โดยอาศัยรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครอง จะเป็นการปกครองที่ดีกว่าหากจะต้องใช้รูปแบบการปกครองโดยคนหมู่มาก

สาเหตุที่เขานิยมชมชอบในชนชั้นกลางเนื่องจากเขาพบว่า รัฐทั่วๆ ไปมักจะประกอบไปด้วยคน ๓ ชั้น คือ พวกร่ำรวย ซึ่งมักจะมีจำนวนไม่มาก เห็นแก่ตัวและขาดความเห็นอกเห็นใจและไม่มีเหตุผล พวกยากจน ซึ่งมีจำนวนมาก แต่มีความต้องการที่ไม่สิ้นสุดและมีความละโมบ จึงเป็นกลุ่มที่ขาดเหตุผลเช่นเดียวกัน ถ้าให้คนสองกลุ่มอยู่ร่วมกันในรัฐจะเกิดการปะทะระหว่างสองกลุ่ม ดังนั้น ชนชั้นกลางจึงเป็นกลุ่มคนที่มีเหตุผลมากกว่าเพื่อน เพราะไม่เห็นแก่ตัวแบบคนมั่งมีและไม่ละโมบแบบพวกยากจน

เมื่อเราหันกลับมามองการเมืองในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งของไทยเรานั้นเรียกได้ว่าอยู่นอกเหนือตำราหรือทฤษฎีของอริสโตเติลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เพราะเป็นประสมปนเปกันเกือบทุกระบบดังกล่าวข้างต้น เป็นอย่างละนิดละหน่อย เช่น เป็นระบอบประชาธิปไตย (เสี้ยวเดียว) อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีรัฐบาลที่เกิดจากการหนุนหลังของขุนศึกและอำมาตยาเสนาธิปไตย ฯลฯ แต่ที่เป็นมากๆ นอกเหนือจากตำราหรือทฤษฎีที่อริสโตเติลกล่าวถึงก็คือการเมืองในระบอบธนาธิปไตย (plutocracy) ซึ่งหมายถึงการปกครองโดยคนมีเงินหรือวิธีปกครองให้คนมีเงินมีอำนาจ หรือในศัพท์รัฐศาสตร์สมัยใหม่เรียกว่า money politics นั่นเอง

ในยุคปัจจุบันที่เกือบทุกประเทศในโลกตกอยู่ภายใต้กระแสทุนนิยม ทำให้นายทุนเข้ามาผูกขาดอำนาจทางการเมือง เมื่อนายทุนหันมาเล่นการเมืองจึงกลายเป็นว่าอำนาจทางธุรกิจจะผูกยึดตัวอยู่กับโครงสร้างของอำนาจทางการเมือง นักธุรกิจจึงเข้ามากุมชะตากรรมของบ้านเมืองและใช้เงินเป็นปัจจัยในการเข้าสู่อำนาจรัฐ และใช้อำนาจหาเงิน การเมืองไทยจึงเป็นประชาธิปไตยแต่เพียงรูปแบบแต่เนื้อแท้ก็คือ ธนาธิปไตย ซึ่งเป็นการเมืองเพื่ออำนาจ ผลประโยชน์ และอภิสิทธิ์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจในทางการเมือง

ธนาธิปไตยส่งผลทำให้เกิดปัญหาใหญ่ทางการเมืองรวม 3 ปัญหา คือ การทุจริตเชิงนโยบาย การทุจริตเลือกตั้ง และการขาดจริยธรรม ธนาธิปไตยทำให้เกิดการคอร์รัปชั่น นักการเมืองส่วนใหญ่จึงร่ำรวยอย่างรวดเร็วและเริ่มยึดติดกับตำแหน่งทางการเมือง มีการใช้เงินในการซื้อเสียงเลือกตั้ง เมื่อชนะการเลือกตั้งแล้วก็ถอนทุนในภายหลัง การเลือกตั้งครั้งต่อๆ มาจึงมีการชื้อขายเสียงที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่ตามมา คือ นักการเมืองที่เข้าสภามาส่วนใหญ่ก็จะเป็นบุคคลที่ไม่มีคุณภาพและขาดจริยธรรม

วิวัฒนาการของการเมืองไทยเป็นการต่อสู้ของกลุ่มอำนาจสามกลุ่มใหญ่โดยเริ่มจากการเปลี่ยนอำนาจจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (absolute monarchy) มาสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตย (aristocracy) และธนาธิปไตย(plutocracy) ในที่สุด ซึ่งกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองต่างพยายามยื้อยุดอำนาจไว้ให้อยู่กับตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่ก็ทานกระแสทุนนิยมที่เชี่ยวกรากนี้ไม่ไหว ตัวอย่างล่าสุดก็คือผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่มีการสาดกระสุนสีเทากันปลิวว่อนจนในที่สุดตำแหน่งทั้งนายกเล็ก นายกใหญ่ (อบจ.) ต่างก็ตกอยู่ในอุ้งมือของคนตระกูลเดียวที่มั่งคั่งของเมืองเชียงใหม่

ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาหาวิธีกันอย่างจริงจังที่จะต่อสู้กับระบอบธนาธิปไตยอันเลวร้ายนี้ ลำพังเพียงแค่การแก้ไขหรือยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่นั้นยังไม่เพียงพอต่อการต่อสู้ระบอบธนาธิปไตยนี้ หากเรายังปล่อยปละละเลยอยู่เช่นนี้ เราไม่มีทางได้เห็นนักการเมืองที่มาจากคนชั้นล่างที่ถูกดูถูกเหยียดหยาม เช่น โอบามาได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งเป็นแน่

การปฏิวัติรัฐประหารหรือการหวังพึ่งระบอบอำมาตยาธิปไตยมิใช่หนทางที่จะทำลายระบอบธนาธิปไตยลงได้เพราะต่างก็มีความเลวร้ายเช่นเดียวกัน เราต้องช่วยกันสร้างจิตสำนึกว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของคนทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน มิใช่ตกอยู่ในมือของเศรษฐีที่มั่งคั่งเท่านั้น เราต้องให้บทเรียนต่อผู้ที่ใช้อำนาจเงินเข้าสู่อำนาจด้วยการออกมาใช้สิทธิใช้เสียงเพื่อให้ระบอบธนาธิปไตยถูกทำลายลง มิใช่เป็นแต่เพียงพลังเงียบที่ไม่มีประโยชน์รังแต่จะเป็นภาระของโลกที่ต้องแบกรับน้ำหนักของคนที่ไร้สำนึกเช่นนี้


หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒