WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 9, 2009

ทำไมมองข้ามร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมของ คปพร.

ที่มา บางกอกทูเดย์

แม้ว่าประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลายจะชิงชังรังเกียจรัฐธรรมนูญฉบับ คปค.หรือ ฉบับ คมช.ที่รู้จักกันทั่วไปว่า รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ตาม แต่ก็ยังให้ความเคารพและปฏิบัติตามครรลองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ โดยเฉพาะมาตรา 291 ที่กำหนดวิธีที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเอาไว้ซึ่งสามารถที่จะทำได้สามหนทางด้วยกันคือ หนทางแรกโดยคณะรัฐมนตรี หนทางที่สองโดย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับสมาชิกวุฒิสภา (ส.ส.บวก ส.ว.) มีจำนวนไม่ตํ่ากว่าหนึ่งในห้าของแต่ละส่วน เช่น ส.ส.จำนวน 96 ท่านขึ้นไป หรือส.ส.บวก ส.ว.จำนวน 126ท่านขึ้นไป และหนทางที่สาม ก็คือประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวนห้าหมื่นชื่อขึ้นไปหลังจากที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เคลื่อนไหวสร้างความรุนแรงขึ้นในบ้านเมืองตลอดช่วงปี 2551 ทำให้รัฐบาลสมัคร และส.ส.บวก ส.ว.ที่แสดงเจตจำนงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอำมาตยาธิปไตยฉบับ 2550ต้องถอยหลังกรูดต่อแรงกดดันอนาธิปไตยของพวกพันธมิตรฯองค์กรผู้รักประชาธิปไตยที่มาจากวงการต่างๆ จำนวนหนึ่งจึงได้ก่อตั้งคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550ขึ้นมา และได้ดำเนินการพบปะประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศขอความคิดเห็นและรวบรวมรายชื่อเพื่อมาดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามมาตรา291 ดังกล่าวในที่สุดก็ได้รับความร่วมมือกับประชาชนทุกภาคของประเทศรวบรวมรายชื่อมาได้กว่าสองแสนรายชื่อ ภายหลังจากที่ได้นำไปยื่นต่อประธานรัฐสภาแล้ว หน่วยงานเลขาธิการของสภาผู้แทนราษฎรได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารที่ได้มาพบว่าครบถ้วนตามกฎหมายจำนวนกว่าเจ็ดหมื่นชื่อขึ้นไป ซึ่งก็มากเกินกว่าที่มาตรา 291 ได้กำหนดไว้จึงเป็นอันว่า ประธานรัฐสภาได้นำเอาญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ2550 ของ คปพร.บรรจุไว้เป็นวาระที่หนึ่งตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2551

เป็นต้นมาแต่ก็ปรากฏว่า ให้มีอันต้องมีญัตติรีบด่วนอื่นๆ มาชิงแทรกเบียดญัตติแรกให้ร่นถอยเป็นวาระถัดไปอยู่เรื่อยมา แม้แต่ภายหลังเหตุการณ์เมษาเลือด สงกรานต์เลือดแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรเร่งด่วนสำคัญพอที่จะแทรกเบียดให้ญัตติแรกร่นถอยไปได้อีก ก็น่าจะได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมร่วมของสองสภาเสียทีแต่ก็มีอันจนได้ เพราะรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ใช้ความเหนือชั้นทางการเมือง ตั้งกรรมการขึ้นมาสองชุด จนที่สุดก็ได้ข้อสรุปจากคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้แก้ไขรัฐธรรมนูญในหกประเด็นแต่กว่าที่รัฐบาลประชาธิปัตย์จะยอมนำเอาหกประเด็นของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ มาพิจารณาอย่างจริงจังก็ต้องมีการกดดันทางการเมืองจากหลายฝ่าย จึงมาสู่ข้อสรุปเบื้องต้นที่ให้กรรมการสมานฉันท์ฯไปยกร่างหกประเด็นดังกล่าวมา แต่ก็ยังมีลูกเล่นพราวต่อไปอีกไม่ว่าเรื่องจะต้องทำเป็นร่างเดียวหรือหกร่าง จะต้องทำประชามติหรือไม่ รวมทั้งพยายามจะให้ตั้ง สสร.3และตั้งกรรมการอิสระไปศึกษาอีกคงเห็นชัดเจนแล้วว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ชุดนี้ไม่ได้มีความตั้งใจจริงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ2550 ให้เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงเลย เพราะข้อเสนอหกข้อของกรรมการสมานฉันท์ฯ มีอยู่อย่างครบถ้วนในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของคปพร.ที่นอนรอในวาระแรกตั้งแต่เดือนตุลาคม2551 ที่ผ่านมาแล้ว หากท่านทั้งหลายจริงใจก็เพียงแต่รับรองให้พิจารณาร่าง คปพร.ในการประชุมร่วมสองสภาที่เกิดขึ้นในครั้งต่อไปทุกอย่างก็เดินหน้าไปได้ในทันทีซึ่งท่านก็อาจจะโหวตให้ควํ่าไปก็ได้หากท่านมีเหตุผลเพียงพอที่จะอธิบายให้ประชาชนจำนวนไม่ตํ่าสองแสนคนที่ลงรายชื่อมายอมรับได้หรือหากท่านรับรอง ท่านก็ยังอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้อีกในวาระที่สองวาระที่สามท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ท่านมองข้ามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของคปพร.ไปได้อย่างไรครับ 

น.พ.เหวง โตจิราการ