WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 7, 2009

เปิดพิมพ์เขียว กฎหมายคุมม็อบ

ที่มา บางกอกทูเดย์

แม้จะช้าไปหน่อย สำหรับการเสนอกฎหมายเพื่อควบคุมการชุมนุม หรือคุมม็อบ แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ ก็มีหลายอย่างที่น่าสนใจนับตั้งแต่ผู้เสนอกฎหมายฉบับนี้ ที่เป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ผู้ปฏิบัติควบคุมฝูงชน เป็นผู้เสนอกฎหมายเข้าสู่ ครม.เอง หลังจากที่ก่อนหน้าที่ “ตำรวจ” กลายเป็นจำเลยเมื่อเข้าสลายม็อบ โดยเฉพาะกรณีสลายการชุมนุม 7 ตุลาฯ 51ขณะเดียวกันในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา “ตำรวจ” ต้องเผชิญกับม็อบทั้งสีเหลืองและสีแดง แต่กฎหมายบางฉบับไม่ได้คุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐ“บางกอกทูเดย์” ได้เปิดพิมพ์เขียว ร่างกฎหมายฉบับนี้ว่ามีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง กฎหมายฉบับนี้ มีชื่อว่า“พระราชบัญญัติควบคุมการชุมนุมสาธารณะ”มีสาระสำคัญคือ ให้นายกรัฐมนตรี รักษาการตามมาตรา4 และแม้จะให้สิทธิการชุมนุมของประชาชนตั้งแต่10 คนขึ้นไป เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญแต่ได้กำหนดข้อจำกัดอย่างเข้มงวด และ การให้อำนาจเจ้าหน้าที่ เป็นผู้กำหนดการชุมนุม ซึ่งแกนนำ หรือผู้จัดการชุมนุม ต้องแจ้งหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร มายังเจ้าพนักงานในพื้นที่ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับการชุมนุม ทั้งวัตถุประสงค์ รายละเอียด วิธีการ สถานที่ วัน เวลารวมถึงจำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุม ซึ่ง หากฝ่าฝืน ก็จะมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทนอกจากนี้ ยังกำหนดเงื่อนไข ต้องไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งยังห้ามชุมนุมใกล้พระบรมมหาราชวังและพระตำหนักในระยะ 500 เมตร รวมทั้งโรงเรียน โรงพยาบาลขณะที่เปิดทำการ หรือที่ทำการสถานที่ราชการวัด หรือ ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจที่สำคัญ ไม่ยินยอมให้มีการพกพาอาวุธเข้าไปในที่ชุมนุม หากฝ่าฝืนผู้จัด

ให้มีการชุมนุม ต้องถูกจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับขณะที่การชุมนุมอย่างยืดเยื้ออาจจะไม่เกิดขึ้นอีกเมื่อกฎหมายดังกล่าว...ให้อำนาจเจ้าพนักงานมีอำนาจสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุม และออกไปจากสถานที่ชุมนุมโดยเร็ว หากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือ น่าจะมีการกระทำอันเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของผู้ชุมนุมหรือของรัฐนอกจากนี้...ยังกำหนดความผิดสูงสุดในกรณีที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมพกพาอาวุธปืน หรือ วัตถุระเบิด จะต้องถูกลงโทษเพิ่มเป็นสองเท่า“พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน” รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย ยืนยันว่า...กฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่การให้อำนาจเด็ด ขาดกับเจ้าหน้าที่เด็ด ขาดตามที่หลายฝ่ายระบุ แต่เป็นการคุ้มครองประชาชนโดยแกนนำจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดการชุมนุมเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาจราจร อำนวยความสะดวกในการจัดสถานที่ รถสุขาเคลื่อนที่ และมีเงื่อนไขการชุมนุมที่เหมาะสมด้าน นางพรทิพย์ จาละ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงการออกพระราชบัญญัติควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะว่า...ขณะนี้รัฐบาลไม่ได้เร่งรัดกฎหมายดังกล่าว ซึ่งทาง คณะกรรมการกฤษฎีกา ยังไม่เห็นร่างอย่างเป็นทางการจากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ต้องรับรองมติ ครม.ก่อน“การออกกฎหมายดังกล่าวนั้นต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากว่าจะเป็นดาบสองคมหรือไม่”ขณะที่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ยืนยันว่า ไม่ใช่กฎหมายที่ออกมาจำกัดสิทธิเสรีภาพการชุมนุม และเป็นสิ่งที่นานาอารยประเทศใช้ ส่วนกรณีที่พันธมิตรฯ และ ส.ว. จะยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความ คงทำไม่ได้เพราะยังไม่มีกฎหมายนี้ดูเหมือนการติดดาบให้ เจ้าหน้าที่รัฐ ในยุคนี้อาจจะเจอ “ตอ” ได้ง่ายๆแต่ถึงอย่างไรหากกฎหมายมีความชัดเจนในการบังคับแล้ว และเป็นไปเพื่อประชาชน เชื่อว่ากฎหมายจะได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างแน่นอน! 