ที่มา Thai E-Newsดัชนีชี้วัด-รปภ.เดินผ่านกระดานหุ้นของโบรกเกอร์แห่งหนึ่งในสำนักงานที่เซ็นทรัลเวิลด์ ทั้งนี้ในช่วงที่เสื้อแดงชุมนุมโดยสันติหุ้นขึ้น100จุด แต่พอรัฐบาลประกาศฉุกเฉินและปราบประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย หุ้นก็ร่วงลงมากกว่า 100 จุด นี่เป็นสิ่งที่นักธุรกิจผู้ชาญฉลาดควรเลือกให้ถูกต้องว่า..จะเอาอะไรระหว่างประชาธิปไตย กับเผด็จการ? เพราะคำตอบที่ถูกต้องมีอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 เมษายน 2553"หลังจากเกิดความรุนแรงทางการเมืองขึ้นในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 21 ศพ และบาดเจ็บหลายร้อยคน มีลูกค้าจำนวนมากสอบถามมายังเรา ว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป รวมทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นไทย?
นักวิเคราะห์หุ้นของเราได้แต่ตอบสั้นๆว่า"เรายังไม่รู้" และเรายังกังขาว่า ใครหละจะไปรู้"บทวิเคราะห์ของกองทุนอะเบอร์ดีน ที่มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวในตลาดหุ้นไทยมามากกว่า 20 ปีเกริ่นในรายงานล่าสุดของบริษัท(ดูรายละเอียด)
เสื้อแดงชุมนุมหุ้นขึ้น100จุด VSทรราชปราบประชาชนลง100จุด
ตลาดหุ้นไทยขึ้นสูงสุดที่ 820 จุดเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา แต่พอค่ำวันนั้นรัฐบาลประกาศฉุกเฉิน ตลาดหุ้นไทยก็ร่วงนรกลงต่อเนื่อง เปิดทำการวันจันทร์ที่ 19 เมษายน หลังเทศกาลสงกรานต์ ดัชนีราคาหุ้นร่วงลงมาที่ 714 จุดในภาคเช้า หรือลงมาแล้ว 105 จุด อย่างไรก็ตามในกลางภาคบ่ายดัชนีโงหัวขึ้นไปเขต 735 จุด หลังจากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ แถลงข่าวว่า เขาได้ติดต่อราชเลขาธิการเพื่อขอเข้าเฝ้าฯเพื่อขอให้ในหลวงทรงดับวิกฤตการเมือง อย่างไรก็ตามไม่สามารถฝ่าด่าน 735 จุดได้ โดนเทขายลงช่วงท้ายตลาด
ดัชนีหุ้นวันจันทร์ 19 เมษายน ลงมาปิดที่ 726.29 จุด เทียบจากวันศุกร์ก่อนลดลง -9.87 จุด (-1.34%) มูลค่าการซื้อขาย 27,650 ล้านบาท
บบทเรียนที่ว่าประชาธิปไตยให้ผลดีอย่างไรต่อเศรษฐกิจ และเผด็จการพ่นพิษต่อเศรษฐกิจขนาดไหน ดูจะมีคำตอบจากตลาดหุ้นในช่วงที่เกิดการชุมนุมของคนเสื้อแดง และการลงมือปราบปรามประชาชนของทรราชหุ่นเชิด
ทั้งนี้ในช่วงที่กลุ่มคนเสื้อแดงชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาเริ่มจากวันที่ 12 มีนาคม ตอนนั้นดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่720จุดจากนั้นปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง นักลงทุนต่างชาติแห่ซื้อ 30 วันทำการติดต่อกัน มูลค่ามากกว่า 50,000 ล้านบาท และก่อนที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 7 เมษายน 2553 ขึ้นไปที่ 820จุด หรือขึ้นมาร่วม 100 จุด เพราะนักลงทุนเห็นว่าการชุมนุมยังเป็นไปโดยสันติ
แต่พอค่ำวันที่7เม.ย.รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พอตลาดหุ้นเปิดทำการมาวันรุ่งขึ้นตลาดหุ้นก็ร่วงลงตลอดทั้งวัน โดยในวันที่8เมษายนปิดลบไปเกือบ30จุด โดยร่วงตั้งแต่เปิดทำการ หลุดด่าน800ลงไปต่ำสุดแถว 780จุดช่วงกลางภาคบ่าย หรือร่วงลงจากวันก่อน 32 จุดหรือ-3.9% เนื่องจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศวิตกว่ารัฐบาลจะสลายการชุมนุมเสื้อแดง
นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิออกมา1,402ล้านบาท เป็นการขายสุทธิหนแรกในรอบ 31 วันทำการ หลังจากหน้านี้ได้ซื้อสุทธิมาอย่างต่อเนื่อง
พอวันที่ 9 เมษายน เมื่อกลุ่มเสื้อแดงเคลื่อนพลไปเฉพาะสถานีดาวเทียมไทยคม ปทุมธานี ยึดดาวเทียมไทยคมคืนได้ ทำให้นักเล่นหุ้นคลายความวิตก หันมาช้อนซื้อหุ้น ส่งผลให้ดัชนีดีดขึ้นมาบวก
พอวันเสาร์ที่10เมษายน เกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเสียชีวิตนับ 20 ศพ พอวันจันทร์ที่12ก็ร่วงยาวต่อเนื่อง มาจนเปิดทำการหลังหยุดยาวสงกรานต์ เมื่อเปิดทำการในวันที่ 19 เมษายน 2553 ดัชนีตลาดหุ้นร่วงลงไปที่ 714 จุด หรือนับจากวันที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายนเป็นต้นมา หุ้นร่วงลงติดลบแล้ว106จุด
เห็นกันชัดๆไปเลยว่า ตลาดหุ้นชอบประชาธิปไตยหรือฝักใฝ่เผด็จการ เพราะตอนเสื้อแดงชุมนุมไม่มีเรื่องอะไรขึ้น100จุด พอเผด็จการปราบประชาชนลงเกิน 100 จุด
เวบไซต์ชั้นนำวงการหุ้น www.eFinanceThai.com รายงานการสัมภาษณ์นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย)ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีฯที่ปรับตัวลดลงแรง เพราะนักลงทุนเกิดความกังวลว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงมากขึ้น หลังรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
'ภาพมันเปลี่ยนหลังรัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดความรุนแรง อาจสะท้อนถึงความยุ่งเหยิง นักลงทุนเริ่มระมัดระวังมากขึ้น นางภัทธีรากล่าว
โบรกเกอร์ต่างชาติขวัญหนีย้ายเงินทุนไปตลาดหุ้นอื่น
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ ซึ่งเป็นโบรกเกอร์สัญชาติญี่ปุ่นในประเทศไทยรายงานบทวิเคราะห์ หลังเหตุปราบปรามประชาชนว่า
1) เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มถูกปรับลดประมาณการณ์ (Downward 10FGDP) จากผลกระทบของเหตุการณ์ชุมนุม โดยล่าสุด Nomura ปรับลดการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยมีโอกาส60% ที่จะเติบโต 3.3% จากเดิม 3.8% และโอกาส 15% ที่จะลดลงเหลือเพียง1.5% ส่วน สศค.คาดลดลง -0.5% ถึง -1.8% จากประมาณการเดิม 4.5%
ในทำนองเดียวกัน ไทยยังคงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกทบทวนเรตติ้งลงจากสถาบันจัดอันดับชั้นนำอีกครั้ง หากสถานะการณ์การเมืองรุนแรงมาก พิจารณาจาก แนวโน้ม Negative Outlook ต่อประเทศไทย เช่น S&P เมื่อวันที่ 13 เมย. S&P ได้ประกาศคงอันดับเครดิตตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศของไทยที่ BBB+ ส่วนตราสารหนี้สกุลเงินบาท คงอันดับเครดิตที่ A- และคง outlook Negative หรือ Moodys (13 เมย.) ยังคงอันดับเครดิตประเทศไทยที่ Baa1 แต่ระบุในรายงานล่าสุดว่ามี heightened degree of uncertainty เพิ่มขึ้น และคง Outlook ที่ Negative
2) สถานะการณ์การเมืองในประเทศยังคงกดดันตลาดหุ้นไทยให้ Underperform ตลาดหุ้นภูมิภาค หลังกลุ่มเสื้อแดงประกาศอาจเพิ่มการชุมนุมที่สีลม อังคารนี้ และกลุ่มพันธมิตรฯอาจออกมาชุมนุมครั้งแรกสัปดาห์หน้า
Nomura ได้แนะนำขายล็อคกำไรตลาดหุ้นไทย และย้ายการลงทุนไปยัง ตลาดหุ้นมาเลเซีย ซึ่งได้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น และสิงคโปร์ ซึ่งได้ประโยชน์จากการส่งออกฟิ้นตัวตามการค้าโลกที่ดึขึ้น ทดแทน และไม่แนะนำ Buy on dips ในช่วงนี้ แม้ว่าตลาดหุ้นไทย ที่อิงจากประวัติศาสตร์ในอดีต ส่วนใหญ่จะ Overshoot ในช่วงแรกก็ตาม เนื่องจากระดับความเสี่ยงที่ปรับสูงขึ้น และให้จับตาทิศทางเงินบาทเทียบสกุลดอลล์สหรัฐฯ ที่จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ (วัดความเสี่ยงและทิศทาง) ต่อตลาดหุ้นไทยนับจากนี้เป็นต้นไป ดังนั้น การซื้อคืนคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเมื่อดัชนีฯถดถอยแล้ว
ในปีนี้ โดยทางเทคนิค SET Index จะมีแนวรับสำคัญที่บริเวณ 730 จุด 716 จุด และ 666 จุด ส่วน SET 50 Index จะมีแนวรับสำคัญที่ 512 จุด 504 จุดและ 468 จุดตามลำดับ"จากประสบการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นไทยของเรามากกว่า 20 ปี เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หนักหนาเช่นนี้ มักเป็นโอกาสดีสำหรับการซื้อเพื่อถือลงทุนระยะยาว"บทวิเคราะห์ของกองทุนอะเบอร์ดีนระบุในตอนท้าย