WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 10, 2008

เปิดเอกสารลึก เจาะสัมพันธ์ บังธิ-สองแม่ลูก “สัตยธรรม”

ไม่ได้หนีหน้าหายไปไหนหรอกครับ ยังเปิดรับข้อมูลข่าวสารและติดตามสถานการณ์การเมืองด้วยความห่วงใยในบ้านเมืองของเราอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ตั้งใจที่จะหยุดเขียนวิพากษ์วิจารณ์และเปิดประเด็นใหม่ในทางการเมืองไว้ระยะหนึ่ง เพราะเห็นว่าเป็นห้วงเวลาที่ไม่เหมาะสมนัก และคนส่วนใหญ่ของประเทศกำลังอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์โศก ถวายอาลัยแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ประดาบ จึงตั้งใจร่วมถวายอาลัย ด้วยการหยุดเขียนวิพากษ์วิจารณ์ สัก 7 วัน เพื่อให้ใครต่อใครได้ใจสงบกันบ้าง วันนี้ก็พ้นกำหนด 7 วันแล้ว ก็ต้องกลับมาทำหน้าที่กันตามปกติ และไม่รู้ว่ากลับมาวันแรก จะมีใครต้องสลบ หลังจากสงบมาได้ 7 วันเต็มๆ หรือไม่

เอกสารที่นำมาเสนอครั้งนี้ ไม่ใช่เอกสารลับ แต่เรียกว่าเป็นเอกสารลึกดีกว่า เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร และ รองนายกรัฐมนตรี กับ นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง ว่าไม่ใช่เป็นความสัมพันธ์ในฐานะคนรู้จักกันตามสายงาน และ คนที่คุยกันถูกคอ เข้าอกเข้าใจกันดีในฐานะคนทำงานที่มีเป้าประสงค์เดียวกัน

เอกสารลึกฉบับนี้ เป็นหนังสือสำนัเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขที่ นร 0401 /7856 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2550 เรื่อง ขอยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ส่งถึง ประธานศาลฎีกา และลงนามโดยนายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

การยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือเรื่องผิดปกติ หากแต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกันเป็นประจำในส่วนราชการทุกระดับ แต่ความไม่ปกติของเอกสารลึกฉบับนี้ ก็คือว่า การยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ครั้งนี้ เป็นการยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง ไปช่วยราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อช่วยปฏิบัติราชการให้แก่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ

ดูแล้วก็เหมือนเอกสารยืมตัวข้าราชการช่วยปฏิบัติราชการ ทั่วไป แต่มาสะดุดตรงที่ ชื่อและนามสกุลของข้าราชการที่ถูกยืมตัว กับ ชื่อและนามสกุลของผู้ที่ต้องการยืมตัวมาช่วยราช การ แล้ว ต้องบอกว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องปกติธรรรมดา และเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำ หากผู้ต้องการยืมตัวเป็นผู้ที่มีสติปัญญาเช่นเดียวกับวิญญูชนทั่วไป เพราะจะรู้ว่าอะไรเหมาะ อะไรควร ไม่ใช่ว่ามีอำนาจอยู่ในมือแล้วจะทำอะไรก็ได้ทั้งนั้น

ถูกต้องแล้วครับ ..

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่แปลงกายมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการเลือกตั้ง สั่งการให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ให้ส่งตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง ลูกสาวของนางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง มาปฏิบัติราชการที่ห้องทำงานรองนายกรัฐมนตรี ชื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เปลี่ยนสถานภาพตัวเองจากหัวหน้าคณะรัฐประหาร มาเป็นรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2550 หลังจากดำรงตำแหน่งเพียง 15 วัน ก็ทำเรื่องยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม มาช่วยทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล และยังกำหนดให้ประธานศาลฎีกา ปฏิบัติตามที่ต้องการ คือให้ส่งตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม มาทำงานกับตัวเอง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะเสร็จสิ้นภารกิจ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไร

พิจารณาจากหนังสือยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นว่าพล.อ.สนธิ ไม่มีความรู้ไม่มีความเข้าใจมารยาทการทำงานในฐานะฝ่ายบริหาร ที่จะต้องไม่ก้าวล่วง และไม่สั่งการไปยังฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะประธานศาลฎีกา ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการ ให้ทำเช่นนั้น เช่นนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พล.อ.สนธิ เคยชินกับการใช้อำนาจในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่สั่งให้ทุกคน ทุกฝ่ายทำตามที่ตนต้องการ และคิดว่าสามารถออกคำสั่งกับประธานศาลฎีกา ได้ด้วย

โดยระเบียบวิธีปฏิบัติ การยืมตัวข้าราชการตุลาการ หรือผู้พิพากษา มาช่วยปฏิบัติราช การ ไม่ใช่ว่าประธานศาลฎีกา จะมีอำนาจอนุมัติได้ หากแต่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการ หรือ กต. พิจารณาอนุมัติ และ กต.จะพิจารณาเมื่อใด วันไหน ก็เป็นเอกสารสิทธิของ กต. ไม่จำเป็นต้องทำตามกำหนดเวลาที่ พล.อ.สนธิ ต้องการ หรือกำหนด และ พล.อ.สนธิ ก็ไม่มีอำนาจที่จะกำหนดด้วย เพราะ ประธานศาลฎีกา และ กต. ไม่ใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของพล.อ.สนธิ

โดยปกติแล้ว การยืมตัวข้าราชการตุลาการ ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประจำศาล มาช่วยปฏิบัติราชการ เป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น เว้นเสียแต่จะพ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษา ไปเป็นฝ่ายบริหาร ที่ไม่ต้องทำหน้าที่พิจารณาอรรถคดีและตัดสินคดีในศาล เนื่องจากผู้พิพากษา เป็นข้าราชการที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากข้าราชการทั่วไป เช่น ทหาร ตำรวจ ครู ซึ่งมีอัตราว่างจากงาน (คนล้นงาน) มากพอ ที่จะไปช่วยปฏิบัติราชการวันใด เมื่อใดก็ได้ ในขณะที่อัตราผู้พิพากษา มีน้อยอยู่แล้ว หากถูกยืมตัวไปช่วยราชการอีก ก็จะทำให้อรรถคดีต่างๆ ที่พิจารณากันล่าช้าอยู่แล้ว ต้องล่าช้าออกไปอีก

นอกจากนี้ การที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ยืมตัวนางสาวกอนณา สัตยธรรม ผู้พิพากษา ไปช่วยปฏิบัติราชการ ซึ่งก็คือ ตำแหน่งหน้าห้องรองนายกรัฐ มนตรี พิจารณากลั่นกรองงาน ก็เป็นการแสดงออกในเชิงสัญญลักษณ์ว่า ฝ่ายบริหารอยู่เหนือกว่าและเป็นผู้บังคับบัญชาฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่กระบวนการยุติธรรม ถูกตั้งข้อสงสัยจากประชาชนจำนวนไม่น้อย ว่าตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของใครหรือไม่

พิจารณาในมุมความสัมพันธ์สามเส้า ระหว่าง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้ง และมีเป้าหมายชัดเจนเปิดเผยว่าต้องการสกัดกั้นพรรคพลังประชาชนไม่ให้ชนะการเลือกตั้ง ไม่ให้เป็นรัฐบาล และสุดท้ายคือไม่ให้มีพรรคพลังประชาชน กับ การทำงานของนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ที่มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะสนองตอบต่อเป้าหมายของพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อย่างออกนอกหน้า และออกอาการเด้งรับความต้องการของพล.อ.สนธิ จนทำให้เกิดข้อครหาต่างๆ มากมายว่า พล.อ.สนธิ แทรกแซงกกต. และ กกต. เป็นเครื่องมือของคมช.

ส่วนใครจะไปครหาพล.อ.สนธิ แทรก กกต.สดศรี และกกต. สดศรี ตกเป็นของ พล.อ.สนธิ แล้วจริงหรือไม่ ประดาบ ก็ไม่อาจทราบได้ เพราะไม่ได้คนใกล้ชิดของบุค คลทั้งสอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คมช.เจอวิกฤติพิษเอกสารลับเล่นงาน พล.อ.สนธิ ลิ้นคับปาก เพราะโกหกทุกวันจนหมดทางดิ้น ก็เห็นจะมีแต่นางสดศรี สัตยธรรม นี่ล่ะที่แสดงอาการห่วงใยพล.อ.สนธิ จนผิดปกติ และอาสาเขี่ยลูกออก เตะลูกทิ้ง อยู่ตลอดเวลา

สองเส้าระหว่าง พล.อ.สนธิ กับ นางสดศรี ก็ทำให้ข่าวลือกระหึ่มเมืองแล้ว ยังไม่พอ วันนี้ยังมาเจอหลักฐานเส้าที่สามที่ต้องพิจารณากันให้หนักเข้าไปอีก ก็คือ นางสาวกอนณา สัตยธรรม ถูกดึงเข้ามาร่วมวงด้วยอีกคน

ประดาบ ไม่อยากคาดเดา ไม่อยากวิพากษ์วิจารณ์ ว่าความสัมพันธ์สามเส้าครั้งนี้ จะดำเนินไปอย่างไร และจบลงที่ตรงไหน แต่บอกได้ว่า นี่เป็นการกระทำที่น่ารังเกียจที่สุด และเป็นการกระทำที่ไม่เกรงต่อสายตาประชาชนคนไหนทั้งสิ้น ว่าจะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม

พล.อ.สนธิ เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร ตั้งใจทำลายพรรคพลังประชาชน

นางสดศรี เป็นกกต. มีความไม่เป็นกลาง และทำงานเหมือนรับใบสั่งจากใครบางคนให้มาหาเหตุยุบพรรคพลังประชาชน เป็นการเฉพาะ

นางสาวกอนณา เป็นผู้พิพากษา แต่ถูกรองนายกรัฐมนตรีสั่งให้มาช่วยทำงานหน้าห้อง ในฐานะลูกสาวของนางสดศรี

ท่อร้อยสายระหว่างทำเนียบรัฐบาล กับ กกต. ผ่านทางไหน ไปกับใคร ไม่ต้องเดาให้ยาก ไม่ต้องตรวจสอบแกะรอยว่า ใบสั่งจากพล.อ.สนธิ ไปถึง นางสดศรี หรือไม่ ด้วยทางใด ไม่ต้องถามว่ามีหรือไม่อีกแล้ว

เอกสารลึกฉบับนี้ให้คำตอบหมดแล้วว่า ทำไมกกต.สดศรี จึงพูดจาเห็นอกเห็นใจเข้าอกเข้าใจและเข้าถึงความต้องการในก้นบึ้งหัวใจของพล.อ.สนธิ ได้ดีกว่ากกต.ทุกคน และ เป็นคำตอบว่าทำไมพล.อ.สนธิ ไม่ต้องไปพบกกต. และไม่ต้องเรียกกกต.มาพบ แต่ กกต.ก็เข้าใจดีว่าพล.อ.สนธิ ต้องการอะไรจากกต.บ้าง

เจอเอกสารลึกแต่ไม่ลับฉบับนี้เข้า ความเชื่อที่ว่ากกต.บางคนไม่เป็นกลาง และเป็นเครื่องมือให้แก่คมช. จึงไม่ต้องการการพิสูจน์อีกต่อไป เพราะนี่คือเอกสารที่ยืนยันได้ดีที่สุด

ใช้แม่ทำงาน เอาลูกมาดูแล

สูตรนี้ พล.อ.สนธิ ใช้กับบรรหาร ศิลปอาชา ไม่ผิดเพี้ยน

ใช้พ่อเป็นโฆษกให้คมช. แล้วดึงลูกสาวมาเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เจอเอกสารลึกแต่ไม่ลับฉบับนี้เข้า ประดาบถึงกับสะอึก เพราะนึกไม่ถึงว่ารองนายกรัฐมนตรี ประเทศไทย จะทำเรื่องเลวร้ายได้อย่างเปิดเผยถึงเพียงนี้

มีคำถามสองข้อที่อยากถาม นางสดศรี สัตยธรรม ให้ตอบตัวเอง

1. คุณยังสมควรเป็นกกต.อีกหรือไม่

2. คุณยังกล้าพูดอีกไหมว่าไม่มีความสัมพันธ์พิเศษกับพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

ไม่ต้องมาตอบผม เพราะผมมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว

กอนณา สัตยธรรม
เทือกเถาเหล่ากอ - ลูกสาวคนเดียวของ อรุณ น้าประเสริฐ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลแพ่งธนบุรี กับ สดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้งด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและกรรมาธิการยกร่าง รัฐธรรมนูญ (ก่อนหน้านี้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา) ตั้งแต่เด็กคุณพ่อคุณแม่ให้อิสระในการ คิดและตัดสินใจ ทั้งคู่เป็นผู้พิพากษาจึงปลูกฝังและย้ำเตือนถึงเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต และทำในสิ่งที่ถูกต้องค่ะ ให้เป็นคนตรงไปตรงมา ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก ถ้าสิ่งที่ทำคือความถูกต้องและทำด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแล้ว ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกลัว
ที่มาของชื่อ - คุณพ่อคิดและตั้งชื่อ “กอนณา” เพราะต้องการให้ชื่อคล้องจองกับคุณยาย “ปราณี” ตอนแรกจะตั้ง “กรุณา” แต่ความที่คุณพ่ออยากได้ชื่อแปลกไม่ซ้ำ เลยผัน “กรุณา” เป็น “กอน ณา” ชื่อนี้ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษ ส่วนชื่อเล่น “ยุ้ย” หรือ “หยุย” ไม่ค่อยมีใครเรียกเพราะชื่อซ้ำเยอะ เพื่อน ๆ และที่บ้านจึงเรียกชื่อจริงแทนชื่อเล่นค่ะ
ศึกษาเล่าเรียน - อนุบาล-ม.4 รร.ราชินี พออายุ 16 ปี สอบเทียบและ เอนทรานซ์ติด คณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ ไม่เลือกสาขาอื่นเลยค่ะ เพราะต้องการดำเนินรอยตามคุณพ่อคุณแม่ จบปริญญาตรีอายุ 19 ปี สอบเนติบัณฑิต 1 ปี จากนั้นต่อปริญญาโทด้านกฎหมายอีก 2 ใบที่ประเทศสหรัฐอเมริกา CASE WESTERN RESERVE UNIVERSITY (CLEVELAND, OHIO) กับ INDIANA UNIVERSITY (BLOOMINGTON, INDIANA)
หน้าที่การงาน - กอนณาเรียนจบปริญญาโทอายุ 22 ปี ยังไม่สามารถสอบเป็นผู้พิพากษาได้ค่ะ ตามเกณฑ์คืออายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี ช่วง 3 ปีที่รอสอบจึงทำงานเป็นที่ปรึกษากฎหมายบริษัท CHANDLER & THONG-EK LAW OFFICE จำกัด ให้คำปรึกษาลูกค้าชาวต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย อายุครบ 25 ปี จึงลาออกสอบผู้พิพากษา โดยเป็นผู้พิพากษาแห่งแรกที่ศาลอาญาธนบุรี ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดพระโขนง (เดิมชื่อศาลแขวงพระโขนง)
ยามว่าง - ชอบอ่านหนังสือทุกประเภท เพราะเป็นแหล่งความรู้ที่ทรงคุณค่า เมื่อมีเวลาว่างจึงหาความรู้เพิ่มให้ตัวเอง โดยเฉพาะหนังสือกฎหมาย เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ ถ้าว่างจะไปเป็นเพื่อนคุณแม่ไปปฏิบัติภารกิจตามต่างจังหวัด เพราะคุณแม่เสาร์-อาทิตย์ทำงานด้วย ต้องคอยดูแลเรื่องสุขภาพให้ด้วย เพราะคุณแม่ทำงานหนักมากค่ะ
เป้าหมายในอนาคต -ขอทำหน้าที่ผู้พิพากษานี้ให้ดีที่สุดและตลอดไป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความซื่อสัตย์สุจริต พิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ด้วยความเป็นธรรมและถูกต้องตามกฎหมาย ระลึกเสมอว่าเราทำงานในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์และเป็นงานที่มีผลกระทบกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและกระทบต่อชีวิตผู้อื่น จึงต้องตั้งใจและไตร่ตรองให้ ถี่ถ้วน เพื่อให้ศาลยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างแท้จริงค่ะ
มองตัวเอง - เวลากอนณาทำงานเอาจริงเอาจัง และ ชอบกดดันตัวเองว่าต้องทำให้สำเร็จ เพราะมีหลักว่าเป็นลูกคนเดียวต้องทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเสมอ ห้ามทำพลาด ถ้าทำพลาดจะเสียใจ บางครั้งก็เกิดความเครียดบ้าง แต่ไม่นำความเครียดกลับบ้านค่ะ พยายามวางงานไว้ที่ทำงาน
โดย .ประดาบ จาก Hi-Thaksin