WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 11, 2008

นาย(ก)หญิง นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย

“กลับมาเพื่อหยั่งเชิงสถานการณ์ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางเข้ามา โดยเอาตัวเองเสี่ยงแทน เพราะไม่ใช่เป้าหมายของกลุ่มตรงข้าม”
“กลับมาเพื่อจัดการเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังไม่ลงตัว”
เป็นส่วนหนึ่งในประเด็นข่าวที่เกิดขึ้นหลังจากการเดินทางกลับมาของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสถานการณ์ทางการเมืองที่เหนือความคาดหมาย เพราะไม่มีใครคิดว่าคุณหญิงพจมานจะกล้าเดินทางกลับมาขณะที่การจัดตั้งรัฐบาลยังไม่แล้วเสร็จ
แม้จะให้เหตุผลว่าเพื่อกลับมาต่อสู้ 2 คดีที่ตกเป็นจำเลย คือคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาฯจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ที่มีหมายจับของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับคดีของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กรณีความผิดคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

3 เหตุผลที่เดินทางกลับ
“ผมขอเรียนยืนยันว่าคุณหญิงพจมาน ชินวัตร และผมพร้อมที่จะต่อสู้ทุกคดีและทุกข้อกล่าวหาเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของครอบครัว โดยผมและครอบครัวมีความเชื่อมั่นว่าจะได้รับความเป็นธรรมและความยุติธรรมจากสถาบันตุลาการ”
1 ใน 3 เหตุผลของแถลงการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องการเข้ามาเคารพพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเพื่อจะได้อยู่ใกล้ชิดกับลูกๆและครอบครัว
แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับมองว่าคุณหญิงพจมานมีการเมืองแอบแฝง เพราะในสถานการณ์ที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ยังไม่ได้หมดสภาพ ถือเป็นการเสี่ยงไม่น้อยกับอิสรภาพ เพราะอาจต้องถูกกักขังหรือถูกกักบริเวณ แต่โชคดีที่ทั้ง 2 คดีศาลให้ประกันตัว

“พจมาน” ไม่มีอำนาจใน พปช.
“ผมขอยืนยันว่าการเดินทางกลับมาของคุณหญิงไม่ได้เกี่ยวข้องกับพรรคพลังประชาชน และไม่เกี่ยวข้องกับการจัดโผ ครม. แต่อย่างใด เพราะอำนาจการจัด ครม. นั้นเป็นอำนาจของคุณสมัครและกรรมการบริหารพรรค ซึ่งคุณหญิงไม่ได้มีอำนาจใดๆทั้งสิ้น”
นายนพดล ปัทมะ รองเลขาธิการพรรคพลังประชาชน (พปช.) ในฐานะที่ปรึกษากฎหมายครอบครัวชินวัตร ยืนยันว่า การเดินทางกลับมาของคุณหญิงพจมานไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพรรคพลังประชาชนหรือเข้ามาเพื่อเตรียมจัดตั้งโผคณะรัฐมนตรีตามที่มีการปล่อยข่าว แต่กลับมาเพื่อต่อสู้คดี รวมถึงมีความเป็นห่วงครอบครัว และไม่ได้เพื่อทดสอบระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยเพื่อปูทางก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับมาประมาณเดือนเมษายนนี้

“แม้ว” ต้องพิสูจน์ตัวเอง
แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะเดินทางกลับเมื่อไร แม้ พ.ต.ท.ทักษิณเคยให้สัมภาษณ์ว่าจะกลับมาประมาณเดือนเมษายน แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองที่รัฐบาลใหม่จะสามารถควบคุมได้อย่างแท้จริง ไม่ใช่การเมืองภายใต้ร่มเงาของกองทัพที่ยังมีการแบ่งขั้วอำนาจเหมือนในขณะนี้
เพราะคำว่า “สมานฉันท์” นั้นยังเป็นแค่ลมปาก อย่างที่ พล..อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ตอบผู้สื่อข่าวถึงแถลงการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า การกลับมาของคุณหญิงพจมานเพื่อมาต่อสู้คดีถือเป็นแนวทางการสมานฉันท์หรือไม่
“อยู่ที่การปฏิบัติ อย่างที่ผมพูดอยู่ตลอดเวลาว่าการพูดต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ เราคงต้องดูว่าทำได้เหมือนกับที่พูดไว้หรือเปล่า”
และยืนยันว่าไม่ได้มีการติดต่อและตกลงใดๆระหว่างรัฐบาลกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่วนที่บางฝ่ายมองว่าการกลับมาของคุณหญิงพจมานมีนัยทางการเมืองมากกว่าที่แถลงนั้นไม่สามารถวิเคราะห์ มองภาพ หรือคาดการณ์อนาคตข้างหน้าได้ แต่ถือเป็นเรื่องที่ดีในการกลับมาต่อสู้คดี
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาแล้วจะขอเข้าพบเพื่อทำความเข้าใจกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษนั้น พล.อ.สุรยุทธ์กล่าวว่า อยู่ที่ พล.อ.เปรมจะตัดสินใจเอง แม้ตนเองจะทำงานกับ พล.อ.เปรมมานาน แต่ก็เดาความคิดของ พล.อ.เปรมยาก แต่การพูดคุยกันเป็นสิ่งที่ดีและน่าจะช่วยทำให้เกิดความเข้าใจพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆได้

“นายหญิง” ตัวจริงเสียงจริง
อย่างไรก็ตาม วงการเมืองก็ยังเชื่อว่าการเดินทางกลับมาของคุณหญิงพจมานที่เป็น “นายหญิง” ตัวจริงเสียงจริง คือการส่งสัญญาณว่าการจัดตั้งรัฐบาลได้ลงตัวเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่เป็นแค่การส่งข่าวผ่านจาก “นายใหญ่” ที่ฮ่องกงเหมือนที่ผ่านมา
ที่สำคัญยังเป็นการสยบความขัดแย้งลึกๆในพรรคพลังประชาชนที่มีมาก่อนการเลือกตั้งด้วย เพราะทั้งบารมีและความเกรงใจของ “”นายหญิง” ที่มีบทบาททั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังรัฐบาลทักษิณมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจหรือการเงิน ซึ่งบรรดาแกนนำของพรรคพลังประชาชนรู้ดี
ดังนั้น อำนาจในการต่อรองกับพรรคร่วมรัฐบาลและการไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆภายในพรรคพลังประชาชนที่อึมครึมอยู่จึงไม่น่าจะยาก เพราะเชื่อว่า “นายหญิง” มีอำนาจในการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่
ขณะเดียวกันการกลับมาของ “นายหญิง” ยังถูกมองว่าเป็นการส่งสัญญาณให้หน่วยงานและองค์กรต่างๆรู้ว่าควรจะวางตัวอย่างไร เพราะอำนาจทางการเมืองเปลี่ยนแปลงแน่นอน

กอบกู้ศักดิ์ศรีและอำนาจ
ในทางการเมืองภาพของคุณหญิงพจมานที่ทุกคนเรียกว่า “นายหญิง” จึงไม่ใช่แค่อดีตสตรีหมายเลข 1 ที่เดินตามหลังอดีตนายกรัฐมนตรีเท่านั้น แต่มีบทบาทในการทำงานแทน พ.ต.ท.ทักษิณมากมาย โดยเฉพาะด้านธุรกิจ ทั้งที่ขายไปแล้วและที่กำลังทำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งคนในวงการรู้ดีว่ามีสายโยงใยกับกลุ่มธุรกิจยักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างไร
ดังนั้น การกลับมาของคุณหญิงพจมานจึงไม่ใช่แค่เหตุผล 3 ประการตามที่แถลงอย่างแน่นอน ยิ่งอำนาจทางการเมืองหวนกลับมาก็ไม่ยากที่จะกอบกู้สิ่งที่สูญเสียไป แต่อยู่ที่ว่าจะออกหน้าเองหรือจะใช้บรรดาแม่ทัพนายกองให้ทำศึกแทนเท่านั้น เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นหนึ่งใน 111 นักโทษการเมืองที่รู้ดีว่าจะต้องเก็บตัวเงียบอย่างไรแม้พรรคพลังประชาชนจะเป็นรัฐบาลและมีอำนาจทางการเมืองแล้วก็ตาม เพราะอย่างไรก็ปฏิเสธบทบาทของกองทัพกับการเมืองไทยไม่ได้

นายกฯหญิงคนแรกของไทย
ดังนั้น เสียงพูดทีเล่นทีจริงตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งว่าหาก พ.ต.ท.ทักษิณไม่สามารถเข้ามาทำงานการเมืองได้ หรือวางมือทางการเมืองจริงๆ ทำไมคุณหญิงพจมานจึงจะมาเป็นหัวหน้าพรรคแทนไม่ได้ ยิ่งในอนาคตหากพรรคพลังประชาชนยังได้รับความไว้วางใจจากประชาชนเหมือนที่ผ่านมา หัวหน้าพรรคก็ต้องได้เป็นนายกรัฐมนตรี
คุณหญิงพจมานก็จะต้องได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยแน่นอน
อย่างที่มีการตั้งกระทู้ในเว็บ www.pantip.com ห้องสนทนาดัง “ราชดำเนิน” เมื่อเดือนกรกฎาคม 2550 ว่า
“หากคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง จะมีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยหรือไม่?”
ปรากฏว่ามีผู้เห็นว่าเป็นได้แน่นอน (49 คน) 56.32% มีความเป็นไปได้สูง (18 คน) 20.69% อาจจะเป็นไปได้ (7 คน) 8.05% และเป็นไปไม่ได้เลย (13 คน) 14.94% รวมจำนวนผู้โหวต 87 คน
แม้จะมีผู้แสดงความคิดเห็นเพียง 87 คน แต่ก็ถือเป็นประเด็นใหม่ทางการเมืองที่ไม่ใช่เรื่องไร้สาระเลยหากย้อนกลับไปดูผู้นำทั่วโลกทั้งในอดีตและปัจจุบันจะเห็นว่าหลายประเทศมีประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้หญิง

ทำไมต้อง “พจมาน”
ในกระทู้ห้องราชดำเนินยังให้ความอีกเห็นว่า
“หลายๆคนอาจจะคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องของผู้ชาย (รึเปล่า)
บทบาทของผู้หญิงในการเมืองไทยยังถือว่ามีน้อยมาก แต่ก็มากขึ้นมาเรื่อยๆตามลำดับ
เมื่อลองนึกๆดูแล้ว หลายๆประเทศในเอเชียต่างก็เคยมีผู้นำที่เป็นผู้หญิง ไม่ว่าจะตำแหน่งนายกฯหรือประธานาธิบดี เช่น ปากีสถาน อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย
แล้วประเทศไทยล่ะ เป็นไปได้ไหมที่จะมีนายกรัฐมนตรีหญิงบ้างในอนาคต???
ทำไมถึงเลือกคุณหญิงพจมาน ชินวัตร
ถึงแม้คุณหญิงพจมานจะไม่เคยแสดงบทบาททางการเมืองแต่อย่างใด และเมื่อเปรียบกับนักการเมืองหญิงท่านอื่นๆ ทั้งคุณสุดารัตน์ (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง หรือป้าเบียบ ระเบียบรัตน์ (นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช) อดีต ส.ว. ก็ดูจะมีบทบาทและควรค่าแก่การเป็นตัวเลือกมากกว่า
แต่หากมองลงไปลึกๆแล้ว ภายใต้ความสำเร็จของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกิจหรือการเมือง ล้วนมีคุณหญิงพจมานอยู่เคียงข้างเสมอมา คุณหญิงพจมานใช้ชีวิตต่อสู้ สนับสนุน เคียงบ่าเคียงไหล่กับ พ.ต.ท.ทักษิณมาโดยตลอด และภายใต้สถานการณ์การเมืองขณะนี้หากเป็นคนอื่นเราคงจะได้ยินเสียงโอดครวญไปแล้ว แต่ผู้หญิงคนนี้กลับสงบนิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็ง
ส่วนตัวแล้วคิดอยู่เสมอว่าอยากให้ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงบ้าง ด้วยความละเอียดอ่อนของผู้หญิงน่าจะเปิดมุมมองใหม่ๆให้การเมืองไทย และจากสถานการณ์ในปีที่ผ่านมาเห็นว่าคุณหญิงพจมานมีโอกาส
บวกกับแรงของประชาชนที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ และประชาชนที่เห็นอกเห็นใจ น่าจะส่งผลให้มีโอกาสสูงขึ้นไปอีก
แล้วคุณล่ะคิดว่าอย่างไรหากคุณหญิงพจมานจะหันมาแสดงบทนำในการเมืองไทย จะมีโอกาสสักเท่าไรที่เธอจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย?

ผู้นำหญิงของโลก
ผู้นำประเทศที่เป็นผู้หญิงนั้นที่ผ่านมาก็มีให้เห็นแล้วไม่น้อย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เป็นข่าวก็หลายคน จึงไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีหญิง เช่นเดียวกับที่มีรัฐมนตรีหญิงมาแล้ว
อย่างนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลกคือ นางสิริมาโว บันดาราไนยเก ผู้นำของศรีลังกา ที่เป็นนายกรัฐมนตรีศรีลังกาถึง 3 สมัย ตั้งแต่ปี 2503 สมัยที่ยังมีชื่อประเทศว่า “ซีลอน” ซึ่งนางสิริมาโวเกษียณการเมืองด้วยวัยถึง 84 ปี เพื่อเปิดทางให้ลูกสาวของตัวเองคือ ประธานาธิบดีจันทริกา กุมาระตุงคะ เลือกนายกรัฐมนตรีมาทำหน้าที่แทน

“ภุตโต”ดังและดับ
แต่ที่โด่งดังและสะเทือนขวัญไปทั่วโลกคงหนีไม่พ้นนางเบนาซีร์ ภุตโต นายกรัฐมนตรีหญิงของปากีสถานและคนแรกของโลกมุสลิม ที่เพิ่งถูกลอบสังหารจากการลอบวางระเบิดไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ด้วยอายุ 54 ปี นางภุตโตเป็นลูกสาวของอดีตนายกรัฐมนตรี ซุลฟิก้า อาลี ภุตโต ที่ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอจากข้อหาการลอบสังหารคู่ปรับทางการเมืองหลังจากถูกทหารยึดอำนาจ แต่ปี 2529 นางภุตโตได้เดินทางกลับมาปากีสถานหลังจากลี้ภัยการเมืองอยู่ที่กรุงลอนดอน เพื่อนำพรรคประชาชนปากีสถานที่พ่อเธอก่อตั้งเข้าสู่สนามเลือกตั้ง และปลายปี 2531 นางภุตโตที่ขณะนั้นมีอายุ 35 ปีก็เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของโลกมุสลิม แต่กลางปี 2533 ก็ถูกประธานาธิบดีกูลัม อิชัค ข่าน ปลดออกในข้อหาคอร์รัปชัน และไม่สามารถควบคุมปัญหาความรุนแรงทางเชื้อชาติในประเทศได้
แต่ปี 2536 นางภุตโตก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 และปลายปี 2539 ก็ถูกประธานาธิบดีฟารุค เลการี ปลดออกอีกครั้ง ด้วยเหตุผลบั่นทอนระบบยุติธรรมของประเทศและเอื้อประโยชน์กับสมัครพรรคพวก ซึ่งศาลติดสินให้มีความผิดในปี 2542 สมัยประธานาธิบดีเปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ในข้อหาคอร์รัปชัน แต่เมื่อได้รับนิรโทษกรรมก็กลับมาสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งและถูกลอบสังหารในที่สุด

บทเรียนการเมือง “อาคีโน”
ผู้หญิงที่เป็นผู้นำยังมีอีกหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนางมาร์กาเร็ต แธทเชอร์ ฉายา "หญิงเหล็ก" อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษ นางอินทิรา คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย หรือหญิงแกร่งอย่างนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า และนางฮิลลารี คลินตัน ที่กำลังลุ้นเป็นประธานาธิบดีหญิงของสหรัฐอยู่ขณะนี้
แต่ประเทศที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์การเมืองของไทยขณะนี้มากที่สุดคือฟิลิปปินส์ ที่ปัจจุบันนางอาร์โรโยเป็นประธานาธิบดีอยู่ และจะถูกรัฐประหารมาแล้วหลายครั้ง แต่ในอดีตก็มีผู้นำหญิง คือนางคอราซอน อาคีโน ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำฟิลิปปินส์ หลังจากนายเบนิกโญ่ อาคีโน สามีของเธอ อดีตวุฒิสมาชิกฟิลิปปินส์และเป็นแกนนำต่อต้านเผด็จการเฟอร์ดินาน มาร์กอส ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ปี 1983 ที่สนามบินนานาชาติในกรุงมะนิลา ขณะเดินทางกลับจากลี้ภัยในสหรัฐ
กรณีฟิลิปปินส์และปากีสถานจึงเป็นบทเรียนสำคัญที่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่กล้าเดินทางกลับประเทศไทย แม้ผู้นำกองทัพและรัฐบาลจะยืนยันในเรื่องความปลอดภัยอย่างไรก็ตาม
อย่างที่ให้สัมภาษณ์ล่าสุดที่ฮ่องกงหลังรู้ผลการเลือกตั้งว่า
“ผมอยากให้การเมืองนิ่งสักนิด ไม่เช่นนั้นไม่อยากให้เป็นประเด็นอะไรเลย ผมอยากไปใช้ชีวิตเป็นประชาชนคนหนึ่ง อยากจะทำงานสาธารณกุศล ถ้าผมมีโอกาสได้ถวายงานคงจะเป็นบุญ แล้วอีกอย่างผมคงจะทำมูลนิธิระหว่างประเทศแล้วก็เดินทางระหว่างประเทศ แล้วจะเป็นหัวหน้าพรรคใหม่ พรรคสุขนิยม หรือเอ็นจอยไลฟ์ปาร์ตี้ ใครที่พร้อมที่รีไทร์แล้วมาอยู่ด้วยกัน มาพักผ่อน มาสร้างสรรค์ให้กับสังคม ยินดีที่จะรับ”
ขณะเดียวกันยอมรับว่ายังเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย แต่ไม่มากเกินไป
“วิตกเพราะว่าผมเคยถูกลอบสังหารตอนเป็นนายกฯ ผมยังไม่รู้ว่าความต่อเนื่องหรือคำสั่งนั้นยังอยู่หรือเปล่า จะเคลียร์ให้ชัด เพราะความพยายามในการสังหารผมหลายครั้ง แต่เดชะบุญที่เราไม่เป็นอะไร วันนั้นที่เราสืบทราบมามีการกดรีโมตแล้ว แต่คนกดไปยืนหลังเสา รีโมตผ่านเสาไม่ได้ เพราะเป็นรีโมตเครื่องบังคับรถ บังคับเครื่องบิน ทำให้ผ่านเหล็ก ตอม่อที่เป็นเสาเหล็กไม่ได้”

นาย (ก) หญิง นายกฯคนแรก
และที่สำคัญเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณยืนยันว่าจะไม่กลับมาเล่นการเมืองอีก
"ผมจะไม่กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกเด็ดขาด และเตือนบรรดาคณะทหารที่โค่นล้มรัฐบาลเมื่อปีที่ผ่านมาว่าจะยิ่งทำร้ายประเทศชาติถ้าหากพยายามจะโกงการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้น ทำไมเราไม่สร้างความสมานฉันท์ขึ้นในชาติด้วยการจัดตั้งรัฐบาลสมานฉันท์แห่งชาติขึ้นมา ถ้าทำกันอย่างจริงๆจังๆ ถ้าเราเดินหน้าไปตามแผนที่ว่านี้ผมคิดว่าเวลา 2 ปีคงเป็นไปได้ที่จะสร้างสมานฉันท์ให้กลับคืนมา นำเอาประชาธิปไตยของเรากลับคืนมาและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตัดสินใจอีกครั้ง"
รวมทั้งเหตุผลสำคัญที่ว่าคุณหญิงพจมานขู่จะฟ้องหย่านั้น วันนี้คงต้องถาม พ.ต.ท.ทักษิณกลับเช่นกันว่าสำหรับ “นายหญิง” คนนี้จะเล่นการเมืองด้วยหรือไม่
และหากเกิดอุบติเหตุการเมืองอย่างที่ปากีสถาน อินเดีย หรือฟิลิปปินส์...ใครจะรู้ว่าเราอาจมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกที่ชื่อคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ก็ได้

หัวข้อข่าวประจำวันที่ 11 มกราคม 2551

จาก หนังสือพิมพ์ โลกวันนี้วันสุข