WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 26, 2008

ต้องใช้เวลา [26 มี.ค. 51 - 18:12]

ใบสั่งยุบพรรคการเมืองจะมีจริงๆ หรือไม่??

คงยากส์...ที่จะหาใบเสร็จมายืนยัน

แต่ก็มี “เหตุหันควรเชื่อ” ว่ามีการวางแผนการยุบพรรคเพื่อล้มกระดานการเมือง

เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดช่องให้ยุบพรรคง่ายเกินควร

แถมล่าสุดมีสัญญาณยืนยันว่า ปลายเดือนพฤษภาคมนี้ การเมืองจะเกิดจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ??

ถ้าไม่มีการยุบพรรค ก็ต้องมีการยุบสภาฯ

ถ้าเป็นความจริง การเมืองไทยจะกลับไปสู่ความวุ่นวายขายปลาช่อนอย่างเดิม!!

ฉะนั้น วิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้การเมืองกลับไปสู่ความวุ่นวาย คือ แก้รัฐธรรมนูญ “มาตรา 237” ไม่ให้นำความผิดส่วนบุคคลไปโยงเป็นเหตุให้ยุบพรรคการเมือง

ต้องเพิ่มโทษคนทุจริตเลือกตั้งให้จั๋งหนับบุเรงนอง

แต่ กก.พรรคที่ไม่เกี่ยวข้องก็ไม่ควรถูกลงโทษเหมาเข่งในความผิดที่เขาไม่ได้ร่วมกระทำ

เพราะขัดหลักนิติธรรม ขัดต่อหลักประชาธิปไตย

ไม่มีรัฐธรรมนูญประเทศไหนในโลกที่เขียนให้ยุบพรรคการเมือง ลงโทษแบบเหมาเข่งเหมือนรัฐธรรมนูญมดลูก คมช.ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้แก้กันง่ายๆนะตัวเอง

เพราะจะต้องมีเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ของ 2 สภาฯ

คือเอาจำนวน ส.ส. 480 คน บวกกับ ส.ว. 150 คน รวมเป็น 630 คน!!

การจะแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จจึงต้องมีเสียงสนับสนุน 316 เสียงขึ้นไป

ถ้านับเฉพาะ ส.ส.รัฐบาล 6 พรรค รวมกันก็ยังไม่พอ

เนื่องจากโดน กกต.แจกใบเหลืองใบแดงย้อนหลังอีกบานตะเกียง

ฉะนั้น ก็ต้องอาศัยเสียง ส.ส.ฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมสนับสนุนตามที่เคยตกลงกันไว้เป็นสัญญาประชาคม

แต่มีแนวโน้มว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะไม่ร่วมสังฆกรรม

เพราะพรรคประชาธิปัตย์คือผู้ได้ ประโยชน์โดยตรง ถ้ามีการยุบพรรค การเมือง!!

ถึงจะยุบสภาฯเลือกตั้งใหม่ ก็ไม่แน่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาล??

ถ้าไม่มีการยุบพรรคเกิดขึ้น ประชาธิปัตย์ก็ต้องชักตะพานแหงนเถ่อเป็นฝ่ายค้านอีกหลายปี

สรุปว่า เมื่อฝ่ายค้านไม่ร่วมมือ ก็ต้องไปขอเสียงวุฒิสมาชิกเพิ่มเติม ซึ่งดูแนวโน้มแล้วน่าจะเกินกึ่งหนึ่งแน่นอน

แต่การแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่แก้ปุ๊บ เสร็จปั๊บนะโยม

เพราะมีการกำหนดขั้นตอน และกรอบเวลาดำเนินการ

เริ่มตั้งแต่เข้าชื่อยื่นเสนอญัตติแก้รัฐธรรมนูญ ต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติให้ ถูกต้องเสียก่อน จึงบรรจุวาระในสภาฯ

หลังผ่านวาระแรก ต้องรอเข้าวาระที่ 2 มีกรรมาธิการพิจารณาแปรญัตติรายมาตราอีก 15 วัน

จากนั้นต้องเว้นวรรคอีกไม่น้อยกว่า 15 วัน จึงจะผ่านวาระ 3 ตามกติกา

สรุปว่า กว่าจะเข้าชื่อเสร็จ กว่าจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญ กว่าจะพิจารณา 3 วาระ กว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

อย่างเร็วที่สุดต้องใช้เวลาอีก 60 วัน!!

การแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งใช้เวลานานเท่าไหร่ กระแสต่อต้านก็จะยิ่งบานปลาย

เพราะถ้าแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 237 สำเร็จ รัฐบาลชิมไปบ่นไปก็มีโอกาสได้อยู่ยาว

ฉะนั้น อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ทำ ให้การแก้รัฐธรรมนูญต้องล้มกลางคัน??

รับประกันซ่อมฟรีว่าเกมนี้สู้กันระเบิดเถิดเทิง.

“แม่ลูกจันทร์”

คอลัมน์ สำนักข่าวหัวเขียว