"..... เวลานี้ อีกไม่กี่วันจะมีการตัดสินเกี่ยวข้องกับศาลอย่างอื่นที่ไม่ใช่ศาลปกครอง กล่าวคือศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยเรื่องของขั้วอำนาจ เรื่องของการที่จะเป็นพรรคการเมือง ท่านก็พูดไม่ได้เพราะท่านไม่เกี่ยว แต่ว่าพรรคการเมืองเกี่ยวข้องกับการปกครองโดยตรงเหมือนกัน ถ้าท่านไม่มีอำนาจ แต่ว่าข้าพเจ้าจะพูดถึงพรรคการเมืองที่จะมีหรือไม่มี ที่จะตั้งหรือไม่ตั้งที่จะล้มหรือไม่ล้มนั้น ก็พูดไม่ได้ แต่ว่าถึงบอกว่าเดือดร้อน เดือดร้อนที่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ทราบว่าท่านได้มอบเสื้อครุยศาลปกครองมาให้ก็ไม่มีอำนาจอะไรเลย ตามที่จะใส่เสื้อครุยหรือไม่ใส่เสื้อครุยก็ไม่มีอำนาจ เช่นเดียวกับท่านเองก็ไม่มีอำนาจ แต่ว่าถ้านึกถึงว่าจะมีการตัดสินเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง จะเป็นการตัดสินที่สำคัญมาก ที่ท่านเองก็จะเดือดร้อน เพราะว่าถ้าจะมีพรรคการเมืองหรือไม่มีพรรคการเมืองก็ตาม ท่านเดือดร้อนเพราะพรรคการเมืองต้องมี และก็ถ้าบอกว่ามีพรรคการเมือง ก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจของท่าน ถ้าท่านเดือดร้อน ข้าพเจ้ายิ่งเดือดร้อน ฉะนั้นก็ต้องว่าท่านว่า ทำไมท่านต้องมาวันนี้ ซึ่งอีกไม่กี่วันจะมีปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ท่านเป็นผู้ใหญ่ ถ้าท่านเป็นตุลาการมาหลายปีแล้ว และท่านต้องมีความรับผิดชอบที่จะตัดสิน ไม่ใช่ตัดสินบนบัลลังก์ แต่ตัดสินในใจว่า ผู้ที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ท่านได้ปฏิบัติหรือตัดสินถูกต้องหรือไม่
ท่านเองท่านก็รับผิดชอบ และท่านก็มีหน้าที่ที่จะวิจารณ์ว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก ข้าพเจ้าเองไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก ซึ่งในใจก็ต้องรู้ได้ว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก ถ้าเขาทำไม่ถูก ตัดสินว่าจะเป็นพรรคการเมือง จะมีอยู่หรือไม่มีก็เดือดร้อนทั้งนั้น ข้าพเจ้าเองก็ในใจมีคำตัดสินอยู่ แต่บอกท่านไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิที่จะบอก ท่านเองก็ไม่มีสิทธิ แต่ท่านต้องมีการตัดสินในใจ ว่าที่ศาลรัฐธรรมนูญเขาจะตัดสินถูกหรือไม่ ตรงนี้อยู่ในใจ แต่เขาจะตัดสินอย่างไรเดือดร้อนทั้งนั้น เสียหายทั้งนั้น คำตัดสินของเขาเดือดร้อน เสียหาย สำหรับท่านเองทั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เดือดร้อน ไม่มีสิทธิที่จะมาบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก แต่รู้ในใจว่าเขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม รู้ในใจว่าเขาทำถูกหรือผิด ส่วนใหญ่ก็นึกว่าเขาทำผิดแน่
ถ้ารู้สึกว่าเขาทำผิด เรามีหน้าที่จะวิจารณ์ วิจารณ์ในใจ แต่ละท่านต้องวิจารณ์ที่เพื่อนศาลอื่นทำถูกหรือผิด ต้องวิจารณ์อย่างน้อยในใจของท่านมีความเห็นบ้าง เพราะหากว่าเขาตัดสินมาอย่างไร จะเสื่อมเสียแก่บ้านเมืองทั้งนั้น จะตัดสินทางไหนก็เป็นคำตัดสินที่จะผิดพลาดทั้งนั้น ฉะนั้นต้องมีการวิจารณ์และถ้าวิจารณ์เป็นทางการไม่ได้ ท่านต้องวิจารณ์เป็นส่วนตัว อาจจะไม่เปล่งออกมา
วันนี้ถึงบอกท่านว่าท่านเอาเสื้อครุยมาให้ เอาความเดือดร้อนมาให้ เพราะว่าเอาเสื้อครุยมาให้ก็หมายความว่าข้าพเจ้าก็มีหน้าที่ผู้พิพากษาศาลปกครองเหมือนกัน แต่ตัดสินอะไรพิพากษาอะไรไม่ได้ ท่านเองก็ตัดสินอะไรไม่ได้ เพราะท่านเองไม่ได้เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาอะไร แต่ว่าโดยที่ได้ชื่อว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญ เขาก็มีสิทธิยุ่งหมด มีแต่ถ้าฟังวิทยุ ถ้าท่านก็คงต้องฟังวิทยุทั้งวันทั้งคืน 2 วัน 2 คืนนี้ มีการวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวข้องกับศาล ท่านต้องคิดวิธีที่จะป้องกันตัวแทนเพื่อนผู้พิพากษาศาลต่าง ๆ ทั้งหมดแล้วทั้งหมดก็บอกแล้วว่า ศาลฎีกาไม่มีสิทธิ ศาลฎีกาซึ่งท่านก็เคยได้ดำรงหน้าที่ศาลฎีกาบ้าง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเขาบอกว่าศาลฎีกาไม่มีสิทธิ
ขอพูดอย่างนี้ ท่านไปตีความเอาเอง ผู้พิพากษาศาลอะไรก็ตาม ต้องตีความแล้วต้องตีความให้ถูก ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองพัง ก็เคยบอกกับท่านประธานว่า ครั้งก่อนที่มีเรื่องเกิดขึ้น ตอนที่ข้าพเจ้าพูดที่หัวหินเป็นเวลาปีกว่าแล้ว ก็เป็นความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น แล้วท่านก็เอาความรับผิดชอบใส่ในตัว แล้วความรับผิดชอบนั้น ก็ทำให้คนเอะอะขึ้นมา จนกระทั่งเกิดเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเรื่องราวต่างๆ ก็มีเหตุมีผล ก็มีเหตุแล้ว ก็มีผลขึ้นมา ยุ่งหมด อีกไม่กี่วันก็ยุ่งต่อไป
ท่านเตรียมตัวดีๆ ที่จะให้พร้อมที่จะมีการวิจารณ์บ้าง ไม่ใช่ในฐานะศาล ในฐานะส่วนตัว หรือในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะผู้มีความรู้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้บ้านเมืองล่มจมอย่างทุกครั้ง แล้วบอกว่าเราไม่ทำอะไร เราไม่พยายามแก้ไข จะล่มจม เราก็เกือบล่มจม ตอนนี้ก็เกือบจะล่มจมต่อไป ฉะนั้น ท่านมีความรับผิดชอบที่จะทำให้บ้านเมืองไม่ล่มจม หรือตักเตือนประชาชนที่มีความรู้ให้มีความรู้มากขึ้น และแม้แต่ประชาชนที่ไม่มีความรู้ให้เกิดความรู้ขึ้นมาว่าบ้านเมืองควรจะไปทางไหน ท่านทำได้ ท่านพูดได้ ท่านคิดได้ เพราะท่านมีความรู้ จึงขอร้องให้ท่านพยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ต่อไป เพราะว่าสถานการณ์ปีนี้ไม่ดีเลย........"
"บรรทัดทอง" ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง โดยเฉพาะกระแสข่าวการยุบพรรคการเมือง อย่างกระเหี้ยนกระหือรือโดย "มือที่มองไม่เห็น" ที่มีความพยายามจะยุบพรรคการเมือง ทั้งพรรคชาติไทย พรรคมัฌชิมาธิปไตย และพรรคพลังประชาชน ผ่าน 5 เสือกกต. หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้อดไม่ได้ที่จะน้อมนำ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางช่วงบางตอนซึ่งทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ที่เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯถวายเสื้อครุยตุลาการศาลปกครอง เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 4550 มาเตือนสติกันอีกครั้ง
เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ก่อนจะมีการพิจารณาตัดสินคดีประวัติศาสตร์ ยุบพรรคการเมือง ในอีก 6 วันถัดมา คือวันที่ 30 พฤษภาคม 2550
การน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่คนไทยทั้งชาติ ผ่านคณะตุลาการศาลปกครอง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 4550 มาเตือนสติกันอีกครั้งนี้ บรรทัดทอง มิได้มีเจตนาที่จะตีความ หรือ อธิบายขยายความ พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ประการใด
เพราะพระองค์ทรงเป็นมหาปราชญ์แห่งศาสตร์ทั้งปวง ของพวกเราชาวไทย จึงมิบังอาจที่จะตีความ หรือ อธิบาย ขยายความ กระทั่ง ตั้งข้อสังเกตใดๆ
เพียงแต่บรรทัดทอง ต้องการเขียนความคิด ขีดความอ่าน มาแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านโดยขอวิพากษ์วิจารณ์ ความกระเหี้ยนกระหือรือมือที่มองไม่เห็น ที่ต้องการจะยุบ พรรคชาติไทย พรรคมัฌชิมาธิปไตย และพรรคพลังประชาชน ซึ่งบรรทัดทอง มองว่าไม่น่าจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้อง
เพราะการยุบพรรคการเมือง นอกจากจะไม่เป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลับยังเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยให้อ่อนแอลง เหมือนที่นักวิชาการหลายฝ่ายออกมาตำหนิติง ร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยเฉพาะศาสตราจารย์ ดร.คณิน บุณสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เป็นตัวหนังสือ ใน "ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคถช."(คถช. = คลุมถึงชน)
ขณะที่วาทตะวัน สุพรรณเภษัช ได้จำกัดนิยามร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ว่า "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ"
การที่ "มือที่มองไม่เห็น" พยายามกระทำทุกวิถีทาง ในการยุบพรรคการเมือง โดย อาศัยเชื้อชั่วไม่มีวันตายที่ซ่อนเร้น แฝงกาย อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นผลผลิตของเผด็จการ ที่ได้วางกับดักไว้ ในมาตรา 237
ซึ่งมาตรา 237 ระบุว่า "... ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด กระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบ หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้น กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิเป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง..."
บรรทัดทอง ไม่รู้ว่ามือที่มองไม่เห็น คิดแต่จ้องทำลาย คิดแต่อาฆาตพยาบาท โดยเฉพาะกับพรรคพลังประชาชน ที่คิดเอาเองว่า เป็นนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนละเลยการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใส่เกล้าฯ โดยไม่สนใจใยดีว่าหากมีการยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้น เหตุการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร
มือที่มองไม่เห็น เคยมองประเทศที่พัฒนาแล้ว บ้างหรือไม่ การที่ประเทศจะพัฒนาก้าวไกลไปได้นั้น เสถียรภาพทางการเมืองคือ ปัจจัยสำคัญ เพราะนักการเมืองและพรรคการเมือง คือผู้กำหนดทิศทางและนโยบายของประเทศว่าจะให้เดินไปในทิศทางใด หากการเมืองขาดความมั่นคง มีการยุบพรรคการเมืองกันเป็นว่าเล่น แล้วการเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร แล้วนักการเมืองจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร
การที่ทุกพรรคการเมืองมีความเห็นสอดคล้องกัน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และพรรคการเมือง บรรทัดทองขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ และอยากให้มีการแก้ไข ไม่ใช่เฉพาะมาตรการ 237 เท่านั้น แม้เผด็จการที่มาจากการรัฐประหารของคมช.จะจบสิ้นลงตามวาระไปแล้ว แต่รากเหง้าเผด็จการยังไม่หมด นั่นคือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2550 อันเป็นผลผลิตของเผด็จการที่ยังลงเหลืออยู่
จริงอยู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 มุมหนึ่งอาจมองได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์แก่ตัวนักการเมืองเอง แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็เพื่อความเข้มแข็งของระบบการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะ....
การยุบพรรค เป็นตัวการบ่อนทำลายระบบสถาบันการเมือง อันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย
การยุบพรรค ยังเป็นตัวการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือระบบการเมืองไทยในสายตาของสังคมโลก
การยุบพรรค ยังนำไปสู่การทำลายระบบเศรษฐกิจในทางอ้อม เพราะทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย และไม่กล้าที่จะนำเงินมาลงทุน
การยุบพรรค ยังเป็นการบ่อนทำลายสิทธิอันชอบธรรม และละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
การยุบพรรค ยังทำลายศรัทธาของประชาชนที่เลือกพรรคการเมืองเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนในสภา
ถึงเวลาแล้วที่จะพิสูจน์ใจ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม นายสมชัย จึงประเสริฐ นายสุเมธ อุปนิสากร 5 เสือ กกต. ว่าควรน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะตุลาการศาลปกครอง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 4550 มาใส่เกล้าฯ หรือว่าจะให้มือที่มองไม่เห็นมีอำนาจบงการเหนือความเป็นอิสระของกกต.
จาก hi-thaksin
ท่านเองท่านก็รับผิดชอบ และท่านก็มีหน้าที่ที่จะวิจารณ์ว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก ข้าพเจ้าเองไม่มีสิทธิใดๆ ที่จะบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก ซึ่งในใจก็ต้องรู้ได้ว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก ถ้าเขาทำไม่ถูก ตัดสินว่าจะเป็นพรรคการเมือง จะมีอยู่หรือไม่มีก็เดือดร้อนทั้งนั้น ข้าพเจ้าเองก็ในใจมีคำตัดสินอยู่ แต่บอกท่านไม่ได้ เพราะไม่มีสิทธิที่จะบอก ท่านเองก็ไม่มีสิทธิ แต่ท่านต้องมีการตัดสินในใจ ว่าที่ศาลรัฐธรรมนูญเขาจะตัดสินถูกหรือไม่ ตรงนี้อยู่ในใจ แต่เขาจะตัดสินอย่างไรเดือดร้อนทั้งนั้น เสียหายทั้งนั้น คำตัดสินของเขาเดือดร้อน เสียหาย สำหรับท่านเองทั้งนั้น ข้าพเจ้าก็เดือดร้อน ไม่มีสิทธิที่จะมาบอกว่าเขาทำถูกหรือไม่ถูก แต่รู้ในใจว่าเขาจะตัดสินอย่างไรก็ตาม รู้ในใจว่าเขาทำถูกหรือผิด ส่วนใหญ่ก็นึกว่าเขาทำผิดแน่
ถ้ารู้สึกว่าเขาทำผิด เรามีหน้าที่จะวิจารณ์ วิจารณ์ในใจ แต่ละท่านต้องวิจารณ์ที่เพื่อนศาลอื่นทำถูกหรือผิด ต้องวิจารณ์อย่างน้อยในใจของท่านมีความเห็นบ้าง เพราะหากว่าเขาตัดสินมาอย่างไร จะเสื่อมเสียแก่บ้านเมืองทั้งนั้น จะตัดสินทางไหนก็เป็นคำตัดสินที่จะผิดพลาดทั้งนั้น ฉะนั้นต้องมีการวิจารณ์และถ้าวิจารณ์เป็นทางการไม่ได้ ท่านต้องวิจารณ์เป็นส่วนตัว อาจจะไม่เปล่งออกมา
วันนี้ถึงบอกท่านว่าท่านเอาเสื้อครุยมาให้ เอาความเดือดร้อนมาให้ เพราะว่าเอาเสื้อครุยมาให้ก็หมายความว่าข้าพเจ้าก็มีหน้าที่ผู้พิพากษาศาลปกครองเหมือนกัน แต่ตัดสินอะไรพิพากษาอะไรไม่ได้ ท่านเองก็ตัดสินอะไรไม่ได้ เพราะท่านเองไม่ได้เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาอะไร แต่ว่าโดยที่ได้ชื่อว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญ เขาก็มีสิทธิยุ่งหมด มีแต่ถ้าฟังวิทยุ ถ้าท่านก็คงต้องฟังวิทยุทั้งวันทั้งคืน 2 วัน 2 คืนนี้ มีการวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวข้องกับศาล ท่านต้องคิดวิธีที่จะป้องกันตัวแทนเพื่อนผู้พิพากษาศาลต่าง ๆ ทั้งหมดแล้วทั้งหมดก็บอกแล้วว่า ศาลฎีกาไม่มีสิทธิ ศาลฎีกาซึ่งท่านก็เคยได้ดำรงหน้าที่ศาลฎีกาบ้าง แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเขาบอกว่าศาลฎีกาไม่มีสิทธิ
ขอพูดอย่างนี้ ท่านไปตีความเอาเอง ผู้พิพากษาศาลอะไรก็ตาม ต้องตีความแล้วต้องตีความให้ถูก ไม่อย่างนั้นบ้านเมืองพัง ก็เคยบอกกับท่านประธานว่า ครั้งก่อนที่มีเรื่องเกิดขึ้น ตอนที่ข้าพเจ้าพูดที่หัวหินเป็นเวลาปีกว่าแล้ว ก็เป็นความรับผิดชอบที่เกิดขึ้น แล้วท่านก็เอาความรับผิดชอบใส่ในตัว แล้วความรับผิดชอบนั้น ก็ทำให้คนเอะอะขึ้นมา จนกระทั่งเกิดเรื่องราวต่างๆ ซึ่งเรื่องราวต่างๆ ก็มีเหตุมีผล ก็มีเหตุแล้ว ก็มีผลขึ้นมา ยุ่งหมด อีกไม่กี่วันก็ยุ่งต่อไป
ท่านเตรียมตัวดีๆ ที่จะให้พร้อมที่จะมีการวิจารณ์บ้าง ไม่ใช่ในฐานะศาล ในฐานะส่วนตัว หรือในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ในฐานะผู้มีความรู้ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้บ้านเมืองล่มจมอย่างทุกครั้ง แล้วบอกว่าเราไม่ทำอะไร เราไม่พยายามแก้ไข จะล่มจม เราก็เกือบล่มจม ตอนนี้ก็เกือบจะล่มจมต่อไป ฉะนั้น ท่านมีความรับผิดชอบที่จะทำให้บ้านเมืองไม่ล่มจม หรือตักเตือนประชาชนที่มีความรู้ให้มีความรู้มากขึ้น และแม้แต่ประชาชนที่ไม่มีความรู้ให้เกิดความรู้ขึ้นมาว่าบ้านเมืองควรจะไปทางไหน ท่านทำได้ ท่านพูดได้ ท่านคิดได้ เพราะท่านมีความรู้ จึงขอร้องให้ท่านพยายามที่จะแก้ไขสถานการณ์ต่อไป เพราะว่าสถานการณ์ปีนี้ไม่ดีเลย........"
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
"บรรทัดทอง" ได้ติดตามข่าวสารบ้านเมือง โดยเฉพาะกระแสข่าวการยุบพรรคการเมือง อย่างกระเหี้ยนกระหือรือโดย "มือที่มองไม่เห็น" ที่มีความพยายามจะยุบพรรคการเมือง ทั้งพรรคชาติไทย พรรคมัฌชิมาธิปไตย และพรรคพลังประชาชน ผ่าน 5 เสือกกต. หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ทำให้อดไม่ได้ที่จะน้อมนำ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางช่วงบางตอนซึ่งทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะตุลาการศาลปกครองและข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ที่เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯถวายเสื้อครุยตุลาการศาลปกครอง เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 4550 มาเตือนสติกันอีกครั้ง
เป็นพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ก่อนจะมีการพิจารณาตัดสินคดีประวัติศาสตร์ ยุบพรรคการเมือง ในอีก 6 วันถัดมา คือวันที่ 30 พฤษภาคม 2550
การน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแก่คนไทยทั้งชาติ ผ่านคณะตุลาการศาลปกครอง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 4550 มาเตือนสติกันอีกครั้งนี้ บรรทัดทอง มิได้มีเจตนาที่จะตีความ หรือ อธิบายขยายความ พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่ประการใด
เพราะพระองค์ทรงเป็นมหาปราชญ์แห่งศาสตร์ทั้งปวง ของพวกเราชาวไทย จึงมิบังอาจที่จะตีความ หรือ อธิบาย ขยายความ กระทั่ง ตั้งข้อสังเกตใดๆ
เพียงแต่บรรทัดทอง ต้องการเขียนความคิด ขีดความอ่าน มาแลกเปลี่ยนกับผู้อ่านโดยขอวิพากษ์วิจารณ์ ความกระเหี้ยนกระหือรือมือที่มองไม่เห็น ที่ต้องการจะยุบ พรรคชาติไทย พรรคมัฌชิมาธิปไตย และพรรคพลังประชาชน ซึ่งบรรทัดทอง มองว่าไม่น่าจะเป็นวิถีทางที่ถูกต้อง
เพราะการยุบพรรคการเมือง นอกจากจะไม่เป็นการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยแล้ว กลับยังเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยให้อ่อนแอลง เหมือนที่นักวิชาการหลายฝ่ายออกมาตำหนิติง ร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
โดยเฉพาะศาสตราจารย์ ดร.คณิน บุณสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ เป็นตัวหนังสือ ใน "ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับคถช."(คถช. = คลุมถึงชน)
ขณะที่วาทตะวัน สุพรรณเภษัช ได้จำกัดนิยามร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ว่า "รัดทำมะนวย ฉบับหัวคูณ"
การที่ "มือที่มองไม่เห็น" พยายามกระทำทุกวิถีทาง ในการยุบพรรคการเมือง โดย อาศัยเชื้อชั่วไม่มีวันตายที่ซ่อนเร้น แฝงกาย อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 อันเป็นผลผลิตของเผด็จการ ที่ได้วางกับดักไว้ ในมาตรา 237
ซึ่งมาตรา 237 ระบุว่า "... ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใด กระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบ หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้น กระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิเป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าว มีกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง..."
บรรทัดทอง ไม่รู้ว่ามือที่มองไม่เห็น คิดแต่จ้องทำลาย คิดแต่อาฆาตพยาบาท โดยเฉพาะกับพรรคพลังประชาชน ที่คิดเอาเองว่า เป็นนอมินีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนละเลยการน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใส่เกล้าฯ โดยไม่สนใจใยดีว่าหากมีการยุบพรรคการเมืองเกิดขึ้น เหตุการณ์บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร
มือที่มองไม่เห็น เคยมองประเทศที่พัฒนาแล้ว บ้างหรือไม่ การที่ประเทศจะพัฒนาก้าวไกลไปได้นั้น เสถียรภาพทางการเมืองคือ ปัจจัยสำคัญ เพราะนักการเมืองและพรรคการเมือง คือผู้กำหนดทิศทางและนโยบายของประเทศว่าจะให้เดินไปในทิศทางใด หากการเมืองขาดความมั่นคง มีการยุบพรรคการเมืองกันเป็นว่าเล่น แล้วการเมืองจะเข้มแข็งได้อย่างไร แล้วนักการเมืองจะพัฒนาประเทศได้อย่างไร
การที่ทุกพรรคการเมืองมีความเห็นสอดคล้องกัน ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) สมาชิกวุฒิสภา (สว.) และพรรคการเมือง บรรทัดทองขอสนับสนุนอย่างเต็มที่ และอยากให้มีการแก้ไข ไม่ใช่เฉพาะมาตรการ 237 เท่านั้น แม้เผด็จการที่มาจากการรัฐประหารของคมช.จะจบสิ้นลงตามวาระไปแล้ว แต่รากเหง้าเผด็จการยังไม่หมด นั่นคือ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ.2550 อันเป็นผลผลิตของเผด็จการที่ยังลงเหลืออยู่
จริงอยู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 มุมหนึ่งอาจมองได้ว่า เป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์แก่ตัวนักการเมืองเอง แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็เพื่อความเข้มแข็งของระบบการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะ....
การยุบพรรค เป็นตัวการบ่อนทำลายระบบสถาบันการเมือง อันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย
การยุบพรรค ยังเป็นตัวการบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือระบบการเมืองไทยในสายตาของสังคมโลก
การยุบพรรค ยังนำไปสู่การทำลายระบบเศรษฐกิจในทางอ้อม เพราะทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย และไม่กล้าที่จะนำเงินมาลงทุน
การยุบพรรค ยังเป็นการบ่อนทำลายสิทธิอันชอบธรรม และละเมิดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนที่สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
การยุบพรรค ยังทำลายศรัทธาของประชาชนที่เลือกพรรคการเมืองเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนในสภา
ถึงเวลาแล้วที่จะพิสูจน์ใจ นายอภิชาต สุขัคคานนท์ นายประพันธ์ นัยโกวิท นางสดศรี สัตยธรรม นายสมชัย จึงประเสริฐ นายสุเมธ อุปนิสากร 5 เสือ กกต. ว่าควรน้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานพระบรมราโชวาท แก่คณะตุลาการศาลปกครอง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 4550 มาใส่เกล้าฯ หรือว่าจะให้มือที่มองไม่เห็นมีอำนาจบงการเหนือความเป็นอิสระของกกต.
บรรทัดทอง
จาก hi-thaksin