WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 23, 2008

‘ไข่มุกดำ’ แนะ ‘ส.ส.-ส.ว.’ แก้กม.เผด็จการ!

ย้ำแม้มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง แต่บ้านเมืองยังอยู่ภายใต้กฎหมายเผด็จการ หวัง “ส.ส.-ส.ว.” เร่งแก้ ระบุสมาชิก “ปชป.” ร่วมขบวนการยึดอำนาจ ถามหา “สำนึก” ได้นั่งในสภาเพราะใคร พร้อมชวนแผ่เมตตาให้แกนนำพันธมิตร

นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร สถานีโทรทัศน์ พีทีวี กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม แต่บ้านเมืองยังคงอยู่ภายใต้กฎหมายของเผด็จการ รัฐธรรมนูญก็เป็นฉบับของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อมีสภาที่มาจากการเลือกตั้งทั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ครบถ้วนแล้ว จึงหวังว่าจากนี้ต่อไปทั้งสองสภาจะช่วยกันพิจารณาว่า จะล้างกฎหมายของเผด็จการให้หมดไป เพื่อสังคมไทยจะได้กลับสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และมีกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ส่วนกรณีที่มีสมาชิกสภาซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ลุกขึ้นพูดในสภาถึง นายจอน อึ๊งภากรณ์ และคณะที่เคยบุกเข้าไปในรัฐสภาในวันที่มีการประชุม เพื่อไปบอกว่าสภานี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่มีสิทธิ์พิจารณากฎหมายสำคัญของบ้านเมือง แล้วถูกทางราชการตั้งข้อหาต่างๆ แต่ แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) มีคดีตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2550 จนถึงขณะนี้คดีกลับยังไม่มีความคืบหน้า คิดว่าสมาชิกคนดังกล่าวคงมีความรู้สึกเหมือนกับว่า นปก.ควรจะติดคุก เพื่อความสะใจของใครบางคน

ทั้งนี้ คงลืมไปว่าปัจจุบันมีแกนนำ นปก.คนหนึ่งได้เข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภาแทนประชาชน คือ นายจตุพร พรหมพันธุ์ จึงทำให้นายจตุพรลุกขึ้นอภิปรายในสภาว่า นปก.ออกมาต่อสู้กับเผด็จการเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งตนก็เห็นว่าแม้ นปก.จะไม่สามารถเรียกร้องประชาธิปไตยให้กลับคืนมาได้โดยลำพัง แต่ต้องยอมรับว่า นปก.เป็นส่วนหนึ่งในการเรียกร้อง และเป็นเหตุให้ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญแม้จะไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ก็นำมาซึ่งการเลือกตั้ง กระทั่งได้ ส.ส.และส.ว.มาบริหารประเทศ

“ผมไม่รู้ว่าคนเหล่านี้จะเข้าใจหรือไม่ แต่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่นั่งอยู่ในสภา เวลานี้มันไม่เหมือนในอดีตที่มีความรู้สึกว่าเป็นนักการเมืองต่อต้านเผด็จการ สร้างสรรค์ประชาธิปไตย อย่างน้อยก็ปากกล้าเสมอมา แต่เพิ่งมีคราวนี้ที่มีสมาชิกบางคนแสดงตนสนับสนุนเผด็จการอย่างออกนอกหน้า แสดงตนชัดเจนว่าเข้าไปร่วมอยู่กับขบวนการเผด็จการที่จะโค่นล้มประชาธิปไตย” นายวีระ ตั้งคำถาม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์

ถามหา ‘สำนึก’ เพราะใครถึงได้นั่งในสภา

นายวีระ ตั้งคำถามต่อไปว่า บุคคลเหล่านี้จะสำนึกหรือไม่ว่า การได้เข้ามานั่งในสภาเพราะมาจากประชาธิปไตย มาจากการต่อสู้ของประชาชน หากย้อนอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประชาชนต่อสู้เพื่อให้ได้ประชาธิปไตย เพื่อให้เกิดเป็นพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมา แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ยังคงรักษา “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ไว้ มากกว่า “ระบอบประชาธิปไตย” เพียงแต่มีวาทะกรรมที่ดี จึงทำให้ประชาชนเข้าใจว่า มีเจตนารมณ์ต่อสู้เผด็จการอย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์ยังคงไม่ทิ้งระบอบเดิม ซึ่งหมายถึงประชาชนไม่มีความหมายอะไร สังเกตได้จากการตั้งคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ศ.2490 จะเห็นว่าไม่ค่อยมีบุคคลสามัญหรือตัวแทนชาวบ้านเข้าไปทำหน้าที่ จนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีความคิดเช่นนี้หลงเหลืออยู่ไม่ใช่น้อย ทั้งที่ประชาชนเป็นคนเลือกเข้ามาแต่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปทำหน้าที่ แต่บุคคลเหล่านี้กลับไปเป็นกระบอกเสียงให้กับเผด็จการ จึงเป็นเรื่องแปลก

นายวีระ กล่าวด้วยว่า เมื่อบ้านเมืองยังไม่กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มตัว ตนก็จะเรียกร้องในการทวงประชาธิปไตย ทวงสิทธิเสรีภาพ และให้รื้อโครงสร้างเผด็จการออกไปจากสังคมไทย จนกว่าจะประสบความสำเร็จ

ตั้งข้อสังเกต ‘เสรีพิศุทธ์’ แก้ข้อกล่าวหา

นายวีระ กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ช่วยราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน หลังเดินทางเข้าพบคณะกรรมการสอบสวน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา โดยยืนยันในถ้อยคำที่ด่าลูกน้อง “ควายหรือเปล่า” เป็นสิ่งที่ทำได้และลูกน้องยินดีให้ด่า พร้อมทั้งยกตัวอย่าง นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ถามผู้สื่อข่าวว่า “เมื่อคืนนี้คุณเสพเมถุนหรือเปล่า” ทำไมจึงไม่มีใครสอบสวนนายสมัครเหมือนตนว่า เรื่องนี้ไม่ทราบว่านายก จะออกมาตอบโต้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกรัฐบาล ก็ได้ออกมาตอบโต้ถึง 2 ครั้งซึ่งก็ถือว่าหอมปากหอมคอต่อกัน แต่ส่วนตัวแล้วไม่ค่อยให้ความสนใจ สำหรับสิ่งที่สนใจคือสิ่งที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ออกมาพูดเรื่องคำว่า “ควาย” ไม่ค่อยได้พูดเรื่องเช่ารถของสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าเช่าราคาแพงเกินไปหรือไม่ และเรื่องตั้งตำรวจยศพันตำรวจเอก 10 คน โดยไม่มีกฎหมายรองรับก็ไม่ค่อยได้อธิบาย

ดังนั้นในทางสาธารณะจึงถือว่าเป็นการเข้าเนื้อ เพราะแก้ข้อกล่าวหาเพียงข้อเดียว ซึ่งไม่ได้หมายถึงแก้ต่อคณะกรรมการ แต่แก้ข้อกล่าวหาต่อสาธารณชน และหากนายสมัครทราบข่าวก็ไม่ทราบว่าจะกล่าวอย่างไร เนื่องจาก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์กล่าวว่าเป็นการตั้งคณะกรรมการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

“ข้อกล่าวหานี้หนักมาก หากการตั้งคณะกรรมการนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายจริง แม้แต่นายสมัครก็อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็เท่ากับนายสมัครปฏิบัติราชการโดยผิดกฎหมาย และอาจจะต้องออกจากตำแหน่ง แต่เราก็ยังไม่ได้ฟังว่าเจ้าตัวจะว่าอย่างไร” นายวีระ ตั้งข้อสังเกตข้อกล่าวหา

ผิดคาด ‘สมัคร’ ไม่โต้ตอบข้อกล่าวหา

นายวีระ กล่าวถึงการแถลงข่าวของนายสมัครหลังกลับจากเยือนประเทศสิงคโปร์ว่า เป็นปกติเมื่อนายกเดินทางกลับมาจะต้องมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน และมีการตั้งคำถามนักข่าว หากผู้ที่ไม่รู้จักนายสมัครก็อาจรู้สึกตกใจ เนื่องจากนายสมัครเป็นคนเสียงดัง แต่เมื่อได้พูดคุยกันไปก็จะรู้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาและก็คุยกันได้ตามปกติ

ทั้งนี้ สิ่งที่คาดไม่ถึงในการตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ระบุมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยมิชอบด้วยกฎหมายคือ นายสมัครไม่ตอบโต้แม้แต่คำเดียว พร้อมยกตัวอย่างให้ฟังด้วยว่าตนได้วางตัวในเรื่องนี้อย่างไร ตั้งแต่ปีพ.ศ.2520 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้องดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาและได้ปกป้องอย่างไร กระทั่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ดูแลอย่างไร สุดท้ายเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ก็อยู่ในความดูแล จึงไม่ขอพูดอะไร ส่วนที่ต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากมีเรื่องเกิดขึ้นและมีเหตุมีผลที่จะต้องสอบสวนจากนั้นก็ไม่ได้พูดอะไรอีก

ดังนั้นพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์น่าจะนึกออกและยอมรับว่าต้องสอบสวนกันไป และเมื่อพิสูจน์แล้วไม่ผิดก็คงได้กลับสู่ที่เดิม หากผิดก็ต้องว่ากันไปตามกฎหมาย แต่กรณีที่ระบุว่าเป็นคำสั่งไม่ชอบโดยกฎหมาย อาจจะทำให้ตนเองอยู่ในฐานะลำบากมากกว่าเดิมก็เป็นไปได้

ระบุศาลรับคำร้อง ‘กกต.’ ไม่ใช่คำพิพากษา!

นายวีระ กล่าวถึงกรณีที่ ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งรับสำนวนคำร้องของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ระบุว่า นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภา และส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคพลังประชาชน ทุจริตการเลือกตั้งว่า เรื่องนี้หากถามว่าซื้อหวยถูกหรือไม่ก็คงจะถูก เพราะก่อนที่เรื่องจะไปถึงศาล กกต.ได้ออกมาแถลงแล้วว่าจะต้องส่งเรื่องนี้ไป และก็วิเคราะห์กันว่าศาลคงจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณา

อย่างไรก็ตาม ประชาชนอย่าเพิ่งเข้าใจผิด อย่าเพิ่งมองข้ามขั้นตอนไป เพราะจากนี้จะเข้าสู่กระบวนการเบิกความว่า มีใครเป็นพยานบุคคลและมีเอกสารที่จะเอาผิดอะไรบ้าง จากนั้นผู้ถูกกล่าวหาจะส่งหลักฐานขึ้นมาต่อสู้ แล้วก็จะดำเนินการต่อไปอีกซึ่งไม่ทราบว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเท่าไร

“วันนี้จึงไม่ใช่คำพิพากษา เป็นแต่เพียงจะรับคำร้องของ กกต.ไว้พิจารณาหรือไม่เท่านั้น และเมื่อรับแล้วตามกฎหมายนายยงยุทธต้องการปฏิบัติงาน แต่นายยงยุทธได้พักงานของตัวเองมาก่อนแล้ว หรือเรียกว่าแสดงสปิริต และเมื่อถูกพักงานตำแหน่งประธานสภา ก็จะตกไปอยู่ในความรับผิดชอบของประธานวุฒิสภา” นายวีระ กล่าวชี้แจ้ง

นายวีระ กล่าวต่อไปว่า เมื่อก่อนหน้านี้ได้แสดงสปิริตไปแล้ว ก็อยากจะขอให้ใช้เวลาพิจารณาปัญหา และแสดงสปิริตอีกชั้นหนึ่ง คือการลาออกจากตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าจะเป็นตำแหน่งใหญ่โตและน่าเสียดายหากจะต้องลาออก แต่ส่วนตัวคิดว่าหากเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมก็จำเป็นต้องเสียสละอย่างสูง

ส่วนการลาออกมิใช่ให้นายยงยุทธหลุดพ้นคดี เพราะไม่ว่าอย่างไรคดีจะยังคงดำเนินต่อไป แต่ทั้งนี้ให้มาเป็น ส.ส.ธรรมดา และเมื่อมาเป็น ส.ส.แล้ว ตำแหน่งประธานสภาจะว่างลง แล้วค่อยให้ ส.ส.เลือกประธานสภาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และเมื่อมีประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วก็จะได้ขึ้นมาเป็นประธานรัฐสภาตามเจตนารมณ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

แจง ‘เฉลิม’ ปิดข้อมูลหวั่นโจรใต้รู้ทัน

นายวีระ กล่าวถึงการลงพื้นที่ภาคใต้ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แล้วถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำไมจึงไปประชุมในจังหวัดสงขลา แต่ไม่ประชุมที่ศูนย์กลางของปัญหาว่า เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่สาระสำคัญคือการประชุมปรึกษาหารือในการแก้ไขปัญหา หรือไปสำรวจว่ายังมีจุดบกพร่องที่ต้องการการส่งเสริมจากคณะรัฐมนตรีด้านใดบ้าง

สำหรับเรื่องแผนการปฏิบัติการจะเป็นไปอย่างที่นายสมัครให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน หลังเดินทางกลับจากการเยือนประเทศสิงคโปร์ เพราะแม้จะลงไปประชุมในพื้นที่ภาคใต้ก็ไม่มีหน้าที่ที่จะแถลงข่าวก่อนนายกรัฐมนตรีว่าจะมีแผนการปฏิบัติงานอย่างไรบ้าง เนื่องจากเป็นปัญหาด้านความมั่นคงที่จะรู้เฉพาะผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น หากนำแผนปฏิบัติงานมาเล่าให้ประชาชนทั่วไปฟัง โจรก็ไม่จำเป็นต้องสืบหาข้อมูลเพราะได้เปิดเผยไว้หมดแล้ว

ส่วนที่มีการโยนกันไปมาระหว่าง ร.ต.อ.เฉลิม กับนายสมัครนั้น ในความเป็นจริงจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน แต่นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดและรับผิดชอบทุกกระทรวงอยู่แล้วจึงปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้

แนะแก้ปัญหาพื้นที่ภาคใต้ควรพูดในที่ลับ

ไข่มุกดำ กล่าวถึงกรณีที่พรรคฝ่ายค้านพร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากได้พูดคุยเรื่องนี้หลายรอบและยังคงต้องพูดต่อไปอีกเป็นเวลานานว่า วาระนี้เป็นวาระแห่งชาติซึ่งเป็นเรื่องของทุกคนที่จะต้องช่วยกันแก้ไข

ส่วนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระบุรัฐบาลควรเร่งแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น เรื่องนี้ในญัตติของสภาผู้แทนราษฎรอาจกำลังพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่ก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตามอยากแสดงความเห็นว่า เรื่องนี้หากพูดกันในสภาแบบเปิดเผยคิดว่าไม่เป็นประโยชน์เท่าที่ควร เพราะผู้ที่พูดไม่สามารถพูดความจริงทั้งหมดได้

นอกจากนี้ เมื่อนำเรื่องเข้าสู่สภาผู้ที่อยากจะพูด กลับผู้ที่รู้จริงเป็นคนละคน เพราะมีหลายคนที่อยากแสดงความคิดเห็นในหลายเรื่อง แต่ไม่ทราบว่ารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ จึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องคิด และบางคนก็พูดโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง บางคนพูดเพียงเพราะอยากมีส่วนร่วมในการอภิปรายเท่านั้น
“ถ้ามีเจตนาดีก็ต้องขอขอบคุณ แต่ถ้าจะพูดเรื่องปัญหาภาคใต้แล้วจะให้เป็นประโยชน์จริงๆ จะต้องเจรจากันเป็นความลับ ถ้าประชุมก็ต้องประชุมลับ แต่ถ้าพูดแบบลับๆ ไม่ได้ ก็ให้เก็บไปพูดในที่มีคนน้อยๆ และพูดกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ยังจะดีเสียกว่า ไม่อย่างนั้นจะมีคนลุกขึ้นพูดว่าจะต้องแก้ไขอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่จริงคนที่พูดก็เคยรับหน้าที่แก้ไขมาแล้วแต่ก็แก้ไม่ได้” ไข่มุกดำ แนะพูดปัญหาภาคใต้

เสนอตั้งกรรมาธิการศึกษา ‘รธน.-ประกาศ คปค.’

นายวีระ กล่าวถึงกรณี นายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมตัวแทนนักวิชาการได้ยื่นหนังสือต่อรักษาการประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้สภาพิจารณาศึกษาทบทวนกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาจาก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า กลุ่มของนายวรพลต้องยอมรับว่ามีจิตใจที่เข้มแข็ง และยืนหยัดในการต่อสู้กับเผด็จการอย่างโดดเด่น ในขณะที่นักวิชาการกลุ่มหนึ่งกลับเข้าไปร่วมกับเผด็จการ

ดังนั้น ตนจึงคิดว่าควรมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อศึกษาประเด็นต่างๆ ของรัฐธรรมนูญที่จะได้รับการแก้ไขให้ชัดเจน และในกรอบเวลาที่ชัดเจนซึ่งไม่ควรเกิน 6 เดือน เพราะหากเกินระยะเวลาดังกล่าวก็จะถือว่าใช้ไม่ได้

หากจะมีสองชุดอีกชุดหนึ่งก็จะต้องศึกษากฎหมายของ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทุกฉบับ และพระราชบัญญัติฉบับต่างๆ ที่ผ่านการพิจารณาของ สนช.ชุดที่ผ่านมา ว่ากฎหมายฉบับใดมีหลักการที่ควรจะสนับสนุนและฉบับใดควรคัดค้านหรือยกเลิก

ทั้งนี้ หากยังชักช้าแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำในประเทศไทย แล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบและจะทำอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะขณะนี้จะมีการพิจารณายุบ 3 พรรคการเมือง จึงไม่ควรประมาทและนิ่งนอนใจ ไม่เช่นนั้นหากมีการยุบพรรคจริงก็จะกลับไปสู่การเลือกตั้งแบบเดิมเมื่อปี พ.ศ.2550

“แม้แต่ กกต.เองก็เบื่อละอาแล้วกับการที่จะต้องมาเขียนกฎหมายทั้งที่ไม่อยากเขียน แต่กฎหมายบังคับให้ทำ หรือแม้แต่การแจกใบแดงให้ใครต่อใครก็ยังไม่อยากที่จะทำเช่นเดียวกัน จึงจะเห็นว่าต้องมีการปรึกษาทีมกฎหมายก่อนจะส่งให้ศาลพิจารณา” นายวีระ เตือนรัฐบาลอย่านิ่งนอนใจ

เห็นด้วย ‘โพลล์’ ชี้รัฐบาลติดตามการชุมนุมใกล้ชิด

นายวีระ กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,214 คน เรื่อง คิดอย่างไรกับการนัดชุมนุมของ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 28 มีนาคมนี้ จากศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่พบว่ามากกว่าร้อยละ 84.7 เห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองไทยน่าเป็นห่วง ร้อยละ 57.4 ระบุไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม และร้อยละ 80.8 ยืนยันจะไม่เข้าร่วมชุมนุม และอยากให้รัฐบาลติดตามการชุมนุมอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างเป็นธรรมว่า ในประเด็นสุดท้ายเป็นความคิดของผู้ที่มีจิตใจเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลมีหน้าที่ติดตามอย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ หากไปในทิศทางอื่นก็จะก่อให้เกิดปัญหา เช่นกลุ่มที่เตรียมจะไปต่อต้านคนกลุ่มนี้ หากจะไปชุมนุมก็มีสิทธิ์แต่อย่าไปเผชิญหน้ากัน นอกจากนี้ยังมีศูนย์ข่าวจากหาดใหญ่ที่ระบุว่าพันธมิตรในจังหวัดสงขลาพร้อมที่จะเดินทางมาร่วมกับพันธมิตรในกรุงเทพนั้น ก็ไม่อยากให้เผยแพร่เกินความเป็นจริง เพราะที่ประกาศว่าเป็นพันธมิตรจากกลุ่มอื่นๆ บางครั้งมีเพียง 2-3 คนเท่านั้น

“ทุกวันนี้มันสื่อสารกันง่าย มีคนเพียงไม่กี่คนก็อ้างกันว่าเป็นกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ แล้วก็ให้สื่อมวลชนบางกลุ่มที่หูเบานำไปเผยแพร่ จึงไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกกับสิ่งที่ได้ยิน และอยากให้ถือว่าวันที่ 28 มีนาคมที่มีการนัดชุมนุมเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เกิดขึ้น และยืนยันว่าพี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ยังมีเหตุผล ยังอยู่ในความสงบและเยือกเย็น และมีสติที่จะรับผิดชอบต่อบ้านเมือง” นายวีระ ยืนยันประชาชนยังอยู่ในความสงบ

วอนปชช. ‘แผ่เมตตาจิต-ให้ความรัก’ แกนนำพันธมิตร

ไข่มุกดำ กล่าวว่า ไม่อยากให้ประชาชนคิดอาฆาตแกนนำพันธมิตร แต่อยากให้ช่วยกันแผ่เมตตาจิตให้กับพวกเขา เพื่อบอกให้รู้ว่าสิ่งที่ทำลงไปแม้เป็นสิทธิและเสรีภาพก็ตาม แต่ก็ทำให้หลายคนเกิดความวิตกกังวลและห่วงใย และจะได้ตระหนักรวมทั้งปรับจิตใจใหม่ให้คิดว่าจะทำอย่างไรประชาชนจึงจะรักกันได้

เปรย ‘ชท.’ ถูกยุบให้มารวมบ้านเลขที่ 111

นายวีระ กล่าวถึงกรณี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทย ให้สัมภาษณ์เรื่องการพิจารณายุบพรรคชาติไทยว่า ยังไม่ได้คิดอะไรซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับ กกต.ทั้ง 5 คน และเชื่อว่าจะต้องดูกันหลายด้าน รวมทั้งเมื่อมีรัฐบาลแล้วถูกยุบพรรคขึ้นมาก็จะเกิดปัญหา แต่ในมุมมองของรัฐศาสตร์เชื่อว่ายุบไม่ได้ไม่เช่นนั้นบ้านเมืองจะวุ่นวายว่า เรื่องนี้ตนได้พูดและปลอบใจมาโดยตลอดว่า หากมีการยุบพรรคจริงก็ไม่อยากให้ไปคิดอะไรมาก พร้อมทั้งเชิญชวนให้มาอยู่บ้านเดียวกัน เนื่องจากบ้านตนเป็นบ้านหลังใหญ่ บ้านเลขที่ 111 เมื่อยุบมารวมอีกประมาณ 50 คน คราวนี้ก็จะได้เสียงข้างมาก และลองไปจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นกันเล่นๆ ดูว่าจะเป็นอย่างไร