WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 26, 2008

ถอดรหัส... ตุลาการศาลรธน.ล้วนแต่...คนคุ้นเคย

หลังจากที่การประชุมคณะการสรรหาคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีนายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา นั่งหัวโต๊ะเป็นประธาน เพื่อลงมติเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้กลายเป็นกระแสวิพาษ์ในวงกว้าง เนื่องเพราะผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้ง 4 คน ล้วนมีข้อครหาว่ามีแนวคิดและอาจหมายรวมถึงพฤตอิกรรมเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลที่มีจากระบอบประชาธิปไตย

บุคคลทั้ง4 คือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิทางรัฐศาสตร์ มีทั้ง นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค 4 นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอเซอร์ สาธารณรัฐโปแลนด์ และอดีตเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และบุคคลสุดท้ายคือ นายเฉลิมพล เอกอุรุ อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

หากจำแนกเป็นคะแนน นายวสันต์ ได้ 4 คะแนน นายจรัญ ได้ 3 คะแนน นายสุพจน์ ได้ 4 คะแนน ขณะที่ เฉลิมพล ได้ 3 คะแนน จากคณะกรรมการผุ้ทรงคุณวุฒิ และวัยวุฒิ ทั้ง 4 ท่าน โดยปราศจาก นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา อย่างเป็นที่ชวน “กังขา” ถึงการผิดต่อเจตนารมณ์อันแท้จริง เพราะ การลงมติเลือกคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ต้อง มีคณะกรรมการ 5 ท่าน และต้องมีมติการสรรหา 3 ใน 5 เสียง

เรียกง่ายๆว่า “ดื้อด้าน” ทำกันทั้งที่ ไม่ครบองค์ประชุม..

เมื่อกลับไปมองบรรดาคณะกรรมการ ทั้ง 3 คือ นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ก็ไร้ซึ่งข้อสงสัยในบัดดล!!

ในขณะที่บทบาทและตำแหน่งหน้าที่ การทำงานของผู้ได้รับการคัดเลือก ทั้ง 4 คน ล้วนมีความโดดเด่นอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นยุคประชาธิปไตย หรือ อำมาตยาธิปไตยเรืองอำนาจ

โดยนาย จรัญ ภักดีธนากุล จบการศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต( เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเป็นที่รู้จัก เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา จากนั้นเมื่อ 3 ศาล ร่วมแก้ไขวิกฤติการเมือง หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ซึ่ง พรรคไทยรักไทย ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นพรรคเดียวให้เป็น “โมฆะ”

เหตุนี้เองตำแหน่ง ปลัดกระทรวงยุติธรรม จึงได้มาจากการสนองอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. เข้ายึดอำนาจรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 พร้อมทั้งหน้าที่สำคัญในการเป็น รองประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับเจ้าปัญหา

จากนั้นเมื่อพรรคพลังประชาชน ได้เป็นผู้นำจัดตั้งรัฐบาล หลายต่อหลายครั้งที่นายจรัญโต้ตอบการทำงานของรัฐผ่านสื่อ

อย่างเมื่อเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมาได้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมอภิปรายเสวนา หัวข้อ “คิดเพื่ออนาคต ถอดโจทย์ประเทศไทย” ผ่านสถานีวิทยุอสมท.เอฟเอ็ม 96.5 มีประโยคสะท้อนชัดคือ

“ประชาชนต้องการเห็นรัฐบาลแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมากที่สุด อย่าเพิ่งมุ่งคิดบัญชีล้างแค้น ลด ละ เลิก พฤติกรรมผลประโยชน์ทับซ้อน รัฐบาลไม่ว่ารัฐบาลไหน รวมถึงระบบราชการ ซึ่งเป็นผู้คุมอำนาจ เมื่อมีอำนาจอยู่ในมือ อย่าเหลิงอำนาจ หลงยึดติด จนลืมความชอบธรรม หากรัฐบาลทำได้ จะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นไปได้ด้วยดี ลดปัญหาความแตก แยก สร้างความสามัคคีในชาติ และท้ายที่สุดประชาชนจะค่อยๆ ให้การยอมรับ”

ด้านนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ก็เคยเป็นพยานจำเลยในคดีที่ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ตกเป็นจำเลยข้อหาหมิ่นประมาท ในคดีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญยื่นฟ้อง สืบเนื่องจาก น.ต.ประสงค์ เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์แนวหน้า วิจารณ์การตัดสินคดีของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในคดีซุกหุ้นของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และต่อมาศาลยกฟ้อง เนื่องจากนายวสันต์ เป็นเพื่อนกับนายบัณฑิต ศิริพันธ์ ทนายความของ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ

ขณะที่นายสุพจน์ ไข่มุกด์ คืออดีตคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 50 นอากจากนี้ยังมีกระแสเรื่องการดันน.ต.ประสงค์นั่งเก้าอี้ปรธานกรรมาธิการยกร่างรธน. โดยมีนายทหารระดับสูงในคมช. เดินเกมผ่านทางนายสุพจน์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่น วปรอ.4111

บุคคลท้ายสุดคือ นายเฉลิมพล เอกอุรุ แม้บุคคลนี้จะไม่มีบทบาททางการเมืองที่ชัดเจนเช่นเดียวกับ 3 คนแรก แต่การได้มาซึ่งหน้าที่ในครั้งนี้ คงหนีไม่พ้นข้อครหาถึงการได้มาของตำแหน่งว่ามีกระบวนเกี่ยวพันถึงใครหรือไม่??

ดังที่กล่าวมาการสรรหาคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงต้องมีการกระบวนการขั้นต่อไป และคงต้องวิพากษ์วิจารณ์กันอีกหลายหน

เพราะดูยังไงก็เลี่ยงไม่พ้นที่จะปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงอำมาตยาธิปไตย…!