WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 15, 2009

บันทึกวัฒนธรรม : ความทรงจำของหมอลำซัมเมอร์ (ตอนที่ 2) จากรากหญ้าสู่สภาผู้แทนราษฎร : เรียงร้อยความร่วมมือ

ที่มา ประชาไท

เมื่อคณบดีและนายกฯ เปิดไฟเขียว เราประสานความร่วมมือไปยังฝ่ายพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร ที่คุณศตพล วรปัญญาตระกูล เป็นผู้รับผิดชอบ โดยก่อนหน้านี้ประสานผ่านมายัง อาจารย์สมชาย นิลอธิ (คณบดีคณะศิลป์ประยุกต์ในขณะนั้น) คนที่คณบดีบอกเราว่า ท่านสนใจการเมือง เพื่อทำกิจกรรมการเมืองในภูมิภาค คุณศตพล เป็นลูกศิษย์อาจารย์สมชาย การนัดพบเมื่อวันที่ 5 มีนาที่คณะฯ จึงเกิดความร่วมมือในการจัดอภิปรายทางวิชาการเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย : ภาครัฐและภาคเอกชน” ในวันที่ 1-4 กรกฎาคม 2552 ที่จะถึงนี้ เมื่อกลับไปแล้ว คุณศตพลส่งเอกสารในรูปนิทรรศการเหตุการณ์ 14 ตุลาและประวัติศาสตร์รัฐธรรมนูญในรูปนิทรรศการมาทางรถไฟ เอกสารชุดนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสัญจรครั้งนี้ ที่ชาวบ้านอ่านแล้วเข้าใจ เหมือนกล้วยบดซึ่งเป็นอาหารทารกที่มีแต่เหงือกอ่อน ใส่ปากก็กลืนกินเพียงอย่างเดียว ข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานความเข้าใจในการอธิบายการเมืองที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ข้อมูลการเมืองมีระดับความยากง่ายที่จำต้องค่อย ๆ อธิบาย เมื่อเราไปในพื้นที่เรารู้ได้ว่าความเข้าใจต่อ “ประชาธิปไตย” นั้น แตกต่างหลากหลายไปจากคนสีเหลืองและสีแดงเข้าใจ จะอธิบายข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างไร เช่นผลประโยชน์ทับซ้อนของนักการเมือง ภาษาอย่างไร บทละครแบบไหนจึงจะสื่อได้ เหล่านี้เป็นโจทย์สำหรับการสัญจรของนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้นข้อมูลสำหรับการสัญจรเพื่อเผยแพร่ประชาธิปไตยในครั้งนี้ต้องง่ายต่อการเสพ ง่ายต่อการอ่าน ง่ายต่อการทำความเข้าใจในเบื้องต้นสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่วัยอาวุโส ชนิดที่ว่าเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี ทั้งสองวัยเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยไม่แพ้กัน เป็นทั้งผู้กำหนดปัจจุบันและอนาคตของสังคมการเมือง แม้ว่านิทรรศการสัญจรจำนวนหนึ่งจะละลายไปในความคะนองของสายฝนยามวิกาลที่บ้านยางก่อนการเสร็จสิ้นโครงการ เราก็ได้ใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และคุณศตพลบอกว่าจะส่งมาให้เราอีก เมื่อเราจะสัญจรในครั้งต่อไป
เมื่อนักศึกษาสอบเสร็จในกลางเดือนมีนาคม ก็เร่งรีบกับงานที่รออยู่ข้างหน้า ป้ายเชิญชวนตั้งอยู่หน้าคณะ เขียนด้วยภาษาจากภาพยนตร์เรื่อง Dead poet society ว่า “เก็บดอกไม้แรกแย้มบานหวานชื่น เพราะวันคืนผ่านไปไม่หวนกลับ ดอกไม้บานวันนี้สีวาววับ พรุ่งนี้กลับเหี่ยวเฉาโรยรา” จดหมายเชิญนับร้อย อบต. ที่คณบดีเซ็นต้นฉบับตอนสามทุ่มพร้อมเอกสารแนบถูกบรรจุพร้อมส่ง การซ้อมหางเครื่อง คิดพล็อตบทละครประชาธิปไตย เราเลือกพล็อตกระจายอำนาจผนวกกับการมีส่วนร่วมมาก่อน การวางตัวละคร การซ้อม การประชุมระหว่างนักศึกษาและนายกฯ ที่เป็นกรรมการ การลงไปประสานในพื้นที่ การหัดร้องกลอนลำ ดูโกลาหลวุ่นวายสำหรับมือใหม่นักกิจกรรม ดึกดื่นป่านนี้ การที่นักศึกษามาวุ่นวายกับกิจกรรมเช่นนี้ คงจะดีกว่าที่เขาจะไปสุมหัวอยู่ในผับหรือร้านเหล้าเป็นไหน ๆ เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็ไม่ได้เสียใจอะไรกับการเสียโอกาสในเรื่องส่วนตัว แม้ไม่ได้ทำอะไรก็อยู่เป็นกำลังใจจนเลิกกิจกรรมในทุก ๆ คืน
Software ของประชาธิปไตย : หัวใจของการสัญจร
จะเอาอะไรไปเผยแพร่....สิ่งนี้เป็นโจทย์ใหญ่สำหรับคนรับผิดชอบโครงการเป็นอย่างยิ่ง เราซึ่งกำเนิดในภาคกลาง ไม่รู้วัฒนธรรมอิสานแม้สักกระผีก และมาอยู่อิสานโดยบังเอิญ เราคิดถึงงิ้วธรรมศาสตร์ บทที่โดนใจคอการเมืองคือสิ่งที่ตรึงใจแฟนคลับงิ้วธรรมศาสตร์ ที่มีคนบอกว่า ขึ้นเวทีทีไร รัฐบาลไปทุกครั้ง โมเดลงิ้วธรรมศาสตร์คือแบบอย่างของการนำวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการทำงานการเมือง
ดังนั้น การตะเวนหาคนแต่งกลอนลำจึงเริ่มขึ้นอย่างรีบเร่ง นายกฯ อบต.แก้ง บอกเราว่า มีคนแต่งกลอนลำได้ และรับปากว่า วันที่เข้ามาเรียนที่คณะฯ ในวันเสาร์จะรับมาพบนักศึกษา เราวางแผนการทำงานว่า เราจะนำร่องการเผยแพร่ประชาธิปไตยโดยพูดเรื่องปัญหาระบบอุปถัมภ์ที่เป็นรากเหง้าของสังคมไทยก่อน วันนัดในวันนั้น อดีตนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานที่เด็ก ๆ เรียกภายหลังว่า “ดอกเตอร์บุญเทียม” มาตัวเปล่า แถมพูดอย่างตลกว่า ...คนแต่งหมอลำไปบวชแล้ว เมื่อสองวันยังเห็นเป็นคนอยู่เลย.... เรานัดนักศึกษาที่ประสงค์จะเป็นหมอลำจำนวนหนึ่งไว้ว่าวันนี้จะไป “คุยแนวคิด” ให้คนแต่งกลอนลำฟัง นักศึกษาจะได้ใช้ความรู้ความสามารถที่เรียนมาทั้งหมดในห้องเรียนอธิบายเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารกับชาวบ้านผ่านกลอนลำ....ลำพังอธิบายให้อาจารย์เวลาสอบเพื่อได้เกรดเอก็ยากพอแรง แต่อธิบายให้ครูเพลง ซึ่งอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ (เหมือนพุ่มพวง ดวงจันทร์) แต่พูดผญาไหลออกมาเป็นน้ำ คิดไม่ออกเลยว่าจะทำอย่างไร
เมื่อตั้งใจจะพบครูเพลงแล้ว การไม่สามารถเดินทางมาที่คณะฯ ได้คงไม่ใช่ปัญหา... และแล้วพวกเราราวสิบคนก็เดินทางไปพบครูเพลงบ่ายวันนั้นด้วยรถปิคอัพของพี่นายกฯ ทั้งสอง ทั้งเบาะหน้าและกระบะหลังเต็มไปด้วยผู้ประสงค์จะทำงานหมอลำประชาธิปไตย ท่ามกลางความร้อนของเปลวแดดบนผืนดินอิสาน ไม่กี่อึดใจ เราก็ไปถึงวัดบ้านแก้ง หลวงพ่อบวชใหม่วัยเกินหกสิบออกมาต้อนรับเรา และพูดผญาให้เราฟังอย่างเพลิดเพลิน เราอดวาดภาพไม่ได้ว่าสุนทรภู่แห่งยุคสมัยมาปรากฏกายเบื้องหน้า เพียงแต่ขาดโอกาสบางอย่างในการแสดงออกต่อสาธารณชนก็เท่านั้น เกริ่นนำที่มาที่ไปแล้วของการมาพบในครั้งนี้แล้ว นักศึกษาก็บอกว่า “อยากให้หลวงพ่อแต่งกลอนลำเรื่องระบบอุปถัมภ์” เอาละซี...มันเป็นอย่างไรนะ ไอ้เจ้าระบบอุปถัมภ์ที่ว่า ฟังแล้วหนักใจ หลวงพ่อจะเข้าใจไหมนี่ แต่ก็นั่งฟังว่าเขาจะสามารถอธิบายความคิดของเขาได้มากน้อยแค่ไหน....ครั้งหนึ่งที่อาจารย์ถามนักศึกษา อบต. ว่าใครบ้างไม่เคยอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของใครเลย นักศึกษาที่เป็นเจ้าหน้าที่ อบต.คนหนึ่งยกมือตอบอย่างมั่นใจว่า..ผมครับ..ผมไม่เคยอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของใคร ผมเสียเงิน 5 หมื่นเพื่อเข้าทำงานที่ อบต.ด้วยตัวผมเอง...ขณะที่อาจารย์คนสอนกำลังงงงันกับคำตอบที่ได้ยิน ก็มีนายกฯ อบต.คนหนึ่งตอบกลับมาว่า.... เขาให้ 5 หมื่นในตำแหน่งที่ผมต้องรับเข้าทำงาน แต่ถ้ามีคนให้ 1 แสนในตำแหน่งนั้นผมจะเลือกคนที่ให้เงินผม 1 แสนครับอาจารย์
ห้องเรียนนักศึกษา อบต.สนุกตรงนี้ ตรงที่ได้ฟังข้อเท็จจริงทางการเมืองที่นักวิชาการได้ฟังแล้วเป็นต้องกรี๊ด หรือไม่ก็ตาค้างกับข้อมูลดิบที่ได้รับ... วันนั้นนักศึกษาราวสิบคนไม่สามารถอธิบายได้ว่ากลอนลำที่ต้องการใส่เนื้อหาเรื่องระบบอุปถัมภ์ไปนั้นภาษาชาวบ้านธรรมดา ๆ เขาพูดว่าอย่างไร หากไม่ได้นายกฯ อบต.กลาง ช่วยอธิบายภาษาวิชาการให้เป็นภาษาชาวบ้านก็ยุ่งเหมือนกัน นี่คือคุณสมบัติที่สำคัญของนักศึกษาภาคพิเศษ คณะรัฐศาสตร์ ที่น่าภาคภูมิใจ ทั้งที่ก่อนคุย “แนวคิด” กับหลวงพ่อ เราได้ต่อสายถึงคณบดีซึ่งสัปดาห์นี้มีภาระสอนอยู่สงขลา ให้รองนายกสโมสรนักศึกษาฯ ที่เป็นตัวตั้งตัวตีกิจกรรมหมอลำก็ได้คุยอยู่เกือบครึ่งชั่วโมง เราเห็นปัญหาของนักเรียนรัฐศาสตร์(ระดับอนุบาล)ที่อธิบายทฤษฎีให้ชาวบ้านฟังไม่ได้ คงไม่ต้องคิดว่านักเรียนรัฐศาสตร์ระดับสูงว่าจะอธิบายการเมืองไทยให้ชาวบ้านฟังได้ยากขนาดไหน เราพอจะเห็นเค้าลางการทำงานการเมืองหรือการเผยแพร่ประชาธิปไตยเลา ๆ ปัญหาคือภาษาและการสื่อสารเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่ง
หลวงพ่อรับปากว่าสัปดาห์หน้ากลอนลำจะเสร็จ เมื่อพี่นายกฯ อบต.แก้งมาเรียนในวันเสาร์ต่อมา จึงมาพร้อมกับลายมือโต ๆ ในกระดาษเอสี่ที่มีคนเขียนให้ พอได้กลอนลำมาก็มีปัญหาอีกว่าจะร้องอย่างไร ครั้นจะให้ร้องใส่เทปคาสเซ็ทมาก็เกรงว่าหลวงพ่อจะอาบัติ สรุปแล้วเราเลยไม่ได้ฟังเลยว่ากลอนลำที่มีเนื้อหาน่าสนใจที่มีคนจดมาจากปากหลวงพ่อนั้นร้องว่าอย่างไร...เราไม่รู้ว่า software ที่หลวงพ่อส่งมานั้นทำงานอย่างไร แม้แต่พี่จอม พี่อาน หมอลำในหมู่บ้านที่นายกฯ อบต.แก้ง พามาหัดให้นักศึกษาที่คณะฯ ในวันนั้นก็ไม่สามารถเดาได้
ขณะงุ่นง่านกับ software ของหลวงพ่อนั้น เราได้พบอดีตกำนัน สุพจน์ ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่ง นายกฯ อบต.สำโรง และถูกถามว่า ....โครงการประชาธิปไตยที่บอกว่าจะไปทำนั้นทำหรือยัง...นักศึกษาจึงนำจดหมายเชิญให้ พร้อมบอกว่า ยังไม่มีคนแต่งกลอนลำ เมื่อไม่มีกลอนลำเราออกสัญจรไม่ได้แน่ ๆ เครื่องดนตรีแกะกล่องราคาแสนแปดที่คณะฯ ให้ยืมมาก็ไม่สามารถพาออกสัญจรได้ กำนันบอกว่าทำไมไม่บอก...การที่จะรู้ว่านักศึกษาภาคพิเศษมีทรัพยากรอะไรอยู่ในมือนั้นเป็นเรื่องลำบากไม่น้อย กำนันจึงต่อโทรศัพท์หา “ครูเพลง” ทันที บรรยายสรรพคุณที่คนมาจากวัฒนธรรมลิเกอย่างเราไม่ค่อยเข้าใจ พร้อมนัดเวลาให้เราไปพบ พรุ่งนี้กำนันสุพจน์จะส่งกฤษดา นายช่างโยธา อบต.สำโรงที่มาเอาดีกับการเรียนรัฐศาสตร์มารับไปพบครูเพลงที่ชื่อว่ากำนันดวง วังสาลุน ทราบแต่ว่าเป็นครูเพลงให้ ป.ฉลาดน้อย เราซึ่งรู้จักหมอลำน้อยมาก ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ป.ฉลาดน้อยคือใคร แต่สำหรับคนอิสานแล้ว เขาคือราชาหมอลำแห่งยุค บ่ายวันรุ่งขึ้น กฤษดาก็ ขับรถมารับตามที่นัดหมาย เราหอบหิ้วลูกศิษย์แออัดบนรถเก๋งไปหา “ดวงจันทร์น้อย” ในบ่ายวันนั้น เมื่อไปถึง เราเห็นประกาศนียบัตรต่าง ๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษของกำนันกองอยู่เต็มพื้น เพราะกำนันกำลังจัดระบบผลงานของตนเอง เมื่อคุยที่มาที่ไปของโครงการประชาธิปไตยสัญจรและบอกพล็อตเรื่องให้ฟังอย่างคร่าว ๆ เราบอกว่ากลอนลำที่เป็นกลอนรักรันทด ขมขื่น โรแมนติคหวานชื่นชวนฝันนั้นมีมากมายแล้ว เราอยากได้กลอนลำที่ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กำนันที่อยู่ในแวดวงของมหาดไทยมาครึ่งชีวิตนัดให้มารับกลอนลำในวันมะรืนนี้ ขณะนั้นเราโทรหาคณบดีที่สอนหนังสืออยู่ตรังด้วยความตื่นเต้นเพราะว่าเราแก้ปัญหาเรื่องคนแต่งกลอนลำได้ วันนั้นทุกคนได้รับมอบแผ่นซีดีอันเป็นเครื่องการันตีผลงานมาอย่างมากมายก่ายกอง
ตามที่นัดหมาย 17 มีนา เราไปพบกำนันอีกรอบ คราวนี้คณบดีไปด้วย เราก็รู้สึกเกรงใจ ซึ่งไม่ใช่ภารกิจสำคัญที่อาจารย์คณบดีจะต้องไปกับเราด้วยตนเอง อาจารย์บอกให้พวกเรารอ และเดินไปดูสองสามครั้งก็ยังเห็นประชุมอยู่ ในที่สุดจึงให้นักศึกษาไปบอกว่าอาจารย์ยุ่ง...ไม่ต้องไปก็ได้ อาจารย์ยังบอกให้รอ...เราก็โอเค ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่คณบดีลงไปพื้นที่กับเรา ครั้งแรกลงไปพบ ผอ.โรงเรียนในพื้นที่เพื่อขอความร่วมมือในเบื้องต้นที่ตำบลแก้ง รถเฟียตแสนคลาสสิคที่วัฒนา บุตรสอง พิธีกรประจำวง บอกว่าช่างเหมาะกับเจ้าของเหลือเกิน นำขบวนพร้อมมอเตอร์ไซด์ลูกศิษย์ประกบหน้าหลังปุเลง ๆ ไปจนสุดถนนสี่เลนเส้นวารินฯ-สำโรง จึงเลี้ยวเข้าบ้านกำนันราวบ่ายสามโมง เมื่อผู้ใหญ่พบกันก็มีไอเดียดี ๆ ตามมา อาจารย์ซึ่งสนใจภูมิปัญญาอิสานบอกว่าจะชวนอาจารย์สมชาย นิลอธิ ที่ศึกษาหมอลำมากว่า 20 ปีลงมาสักครั้ง และเห็นว่ากลอนลำนับพันชิ้นคือมรดกทางปัญญาอันมีค่ามหาศาล ที่สถาบันทางวิชาการต้องลงมาทำอะไรสักอย่าง ในวันนั้นจึงมีโครงการที่จะให้นักศึกษาลงมาจัดระบบข้อมูลกลอนลำของกำนันที่สะสมมาหลายสิบปีในช่วงปิดเรียนภาคฤดูร้อน ไม่ว่าจะเป็นกลอนลำฉลองกรุง 200 ปี สมัยที่นักศึกษาพวกนี้ยังไม่เกิด กลอนลำสมัยที่ในหลวงเสด็จอุบลราชธานีราวปี 2480 กว่า ๆ หรือกลอนลำฉลอง 80 พรรษาของในหลวง ขณะนี้ข้อมูลเหล่านี้อัดแน่นอย่างไร้ระบบที่บ้านกำนันดวง เรากลับมาราวหกโมงเย็น พร้อมความร่วมมือที่น่าพอใจ
เมื่อได้กลอนลำ ที่เรียกว่า ลำเรื่อง (เราก็เพิ่งรู้ว่ามีลำหลายแบบ ลำเต้ย ลำเรื่อง ลำเดิน ลำภูไท ลำตังหวาย ฯลฯ) ก็นำคาสเซทที่กำนันอัดเสียงไว้ให้มาเปิดฟัง สองสามวันต่อมากำนันก็นัดหมายให้นักศึกษาร้องลงแผ่น โดยนัดหมายกันที่ห้องอัดของอาจารย์ไผ่ ในซอยโรงเรียนลือคำหาญ อำเภอวารินฯ ที่กำนันบอกว่า ใครต่อใครที่กำนันแต่งกลอนให้ก็มาอัดเสียงที่นี่ทั้งนั้น ไม่ว่าบานเย็น อังคณา หรือ ป.ฉลาดน้อย วันนั้นหลังจากที่พานายกฯ บัวผัน สุขนิจ อบต.กุดลาด กรรมการโครงการฯอีกคนหนึ่งไปพบ คุณสุนีย์ ไชยรส กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่มานั่งทำแผนยุทธศาสตร์อยู่ที่โรงแรมทอแสง แล้ว เราก็มานั่งเฝ้ารองนายกสโมสรนักศึกษาฯ “นักร้อง” จำเป็นอัดเสียงอยู่ตั้งแต่บ่ายสองจนถึงสองทุ่ม ซึ่งวันนั้นกำนันไปรอก่อนใครทั้งหมด หากไม่ได้กำนันดวง เราคงงุ่นง่านกับอะไร ๆ อีกหลายอย่างที่เป็นปัญหาในทางเทคนิคของการบันเทิง