WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 14, 2009

เสวนาสื่อหลัก V.S. สื่อทางเลือก ชวนพลเมืองทำข่าวเอง

ที่มา ประชาไท

เสวนาระหว่างการอบรมเชิงปฏิบัติการ “นัก ข่าวคุ้มครองสิทธิ” ของ สบท. นักข่าวหนังสือพิมพ์อาวุโสสะท้อนสื่อหลักเมินข่าวประชาสังคม การเมือง-สปอนเซอร์ครอบงำสื่อ ‘กรรณิการ์ กิจติเวชกุล’ชวนสื่อพลเมืองสะสมข้อมูลแล้วชิงพื้นที่สื่อหลัก ด้านนักพัฒนาเว็บฟันธงต้องมากกว่าเท่าทันสื่อ แต่ต้องทำสื่อเอง ส่วน ‘บก.โอเพ่นออนไลน์’ ชวนออกจากกรอบความเป็นกลาง แต่ต้องพูดความจริงให้มากที่สุด

เวลา 10.00 น. วันนี้ (13 มิ.ย.) ซึ่งเป็นวันที่ 2 ของ “การ อบรมเชิงปฏิบัติการ “นักข่าวคุ้มครองสิทธิ” เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม” ซึ่งจัดโดย สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ระหว่างวันที่ 12-15 มิ.ย. 52 ที่ดิโอลไรซ์มิล ถ.รามอินทรา 14 มีการเสวนาหัวข้อ ‘สื่อกระแสหลัก V.S. สื่อทางเลือก’ โดย น.ส.แสงจันทร์ สีดำ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นักพัฒนาระบบจากบริษัทโอเพ่นดรีม (www.opendream.co.th) นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ (www.onopen.com) และบล็อกเกอร์ ‘คนชายขอบ’ (www.fringer.org) และ น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ฝ่ายรณรงค์องค์การหมอไร้พรมแดน ดำเนินรายการโดยนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท (www.prachatai.com)
นักข่าว ASTV เชื่อสื่อหลักเมินข่าวประชาสังคม-ผู้บริโภค
น.ส.แสงจันทร์ สีดำ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน ระบุว่า เท่าที่สังเกตมา จะเห็นว่าข่าวภาคประชาสังคม หรือข่าวเกี่ยวกับผู้บริโภคไม่อยู่ในสายตาสื่อกระแสหลัก ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ หากไม่ใช่นักข่าวด้านสิ่งแวดล้อมหรือนักข่าวที่ดูแลประเด็นภาคประชาชนอยู่ ก็จะฝากให้นักข่าวสายอื่นๆ ทำให้ เช่น นักข่าวสายทำเนียบ ซึ่งติดตามทำข่าวการเมืองเป็นหลักจะไม่รู้ว่าที่มาที่ไป ทีทำให้ประเด็นลุกลามไปถึงหน้าทำเนียบเกิดจากอะไร หลายครั้งจึงเป็นแค่ข่าวย่อย หรือลงถังขยะแทนที่จะลงหนังสือพิมพ์
“การ จัดสรรข่าวของกองบรรณาธิการ ในแต่ละวันข่าวที่จำนวนมหาศาล นับร้อยนับพันข่าว จะหยิบเอาข่าวจากใครก็ดูเหมือนว่ามีความเสี่ยงต่อทุกข่าวที่จะถูกทิ้งลงถัง ขยะ การคัดเลือกจะเกิดขึ้นในช่วงเย็น ส่วนใหญ่การเมือง เศรษฐกิจ อาชญากรรม จะเชิงพื้นที่ แต่สายสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต ประชาชน มักจะอาภัพอับโชค และมักจะถูกเบียดออกเมือถึงเวลาที่ต้องปรับหน้าเพื่อลดต้นทุน”
สื่อหลักอิงการเมือง-โฆษณา ASTV อิงแม่ยก
ทั้งนี้ แสงจันทร์ ได้อธิบายต่อไปว่าประวัติศาสตร์การกำเนิดและวัฒนธรรมของสื่อกระแสหลักไม่ว่า จะเป็นวิทยุโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ สัมพันธ์กับอำนาจการเมืองและธุรกิจในฐานะสปอนเซอร์ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการ ตัดสินใจนำเสนอข่าวของกองบรรณาธิการมากกว่าผู้อ่าน
อย่างไรก็ตาม แสงจันทร์กล่าวว่า สื่อกระแสหลักซึ่งปรับตัวเข้าหาสื่อนิวมีเดียในกรณีของ ASTV ผู้จัดการ ภาคประชาชนเองก็ฉวยใช้สื่อ ASTVผู้จัดการเพื่อต่อสู้ในประเด็นของตนเองได้เช่นกัน โดยระบุว่าในปัจจุบันคนที่สนับสนุนASTVแยกไม่ออกจากแม่ยกพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ดังนั้นบรรดาข่าวจึงเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้สนับสนุน เช่น ข่าวบรรดาโชห่วยค้านห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ หรือ กรณีของเครือข่ายมาบตาพุด ซึ่งถือเป็นกรณีที่ภาคประชาชนประสบความสำเร็จในการใช้ช่องทางสื่อผ่าน ASTVทีวีผู้จัดการ
นักพัฒนาเว็บระบุสื่อใหม่นำวัฒนธรรมสื่อสารใหม่มาด้วย
นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล นักพัฒนาระบบจากบริษัทโอเพ่นดรีม (www.opendream.co.th) นักศึกษาปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามักมีการพูดถึงสื่อใหม่ในแง่ของเทคโนโลยีใหม่ แต่ยังมีทีสิ่งที่มากกว่านั้น คือ สื่อใหม่นำพาวิธีคิดและกระบวนทัศน์ของวัฒนธรรมการสื่อสารแบบใหม่มาด้วย ไม่ได้มีเพียงแค่ย้ายเนื้อหาที่นำเสนอไปสู่พื้นที่เทคโนโลยีใหม่ๆ เท่านั้น
แต่ วิธีการสื่อสารก็เปลี่ยนไป เช่น มีการโต้ตอบสองทาง มีความเร็วทันเวลา เหล่านี้ทำให้รูปแบบการสื่อสารเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น เดิมเมื่อมีการจัดงานสัมมนา ผู้สรุปหรือเสนอข่าว อาจนำไปลงในสื่อซึ่งอาจเสนอในข่าวเย็นวันนั้นหรือหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น แต่ปัจจุบัน การรายงานข่าวสามารถทำได้สดเกือบทันเวลา และยังสื่อสารโต้ตอบได้ด้วย ตัวอย่างเช่น มีโปรแกรม ชื่อทวิตเตอร์ (twitter.com) ซึ่งเป็นโปรแกรมส่งข้อความสั้น และสามารถส่งได้ผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งหากมีคนอยู่ในงานเสวนาแล้วพิมพ์ข้อความสั้นเกี่ยวกับประเด็นของงานเสวนา ขึ้น ก็เปิดช่องให้คนที่อยู่ต่างพื้นที่ได้รู้สิ่งที่เกิดขึ้น และอาจจะส่งข้อความโต้ตอบ หรือฝากคำถามมายังวงเสวนานั้นๆ ปรากฏการณ์นี้ทำให้เรื่อง "สถานที่" ลดความสำคัญลงไป เพราะคนที่อยู่ต่างที่กันก็สามารถมีส่วนร่วมในงานได้
มากกว่าเท่าทันสื่อ แต่พลเมืองต้องเขียนสื่อได้
นายอาทิตย์กล่าวว่า เรามักพูดกันเรื่อง "เท่าทันสื่อ" ซึ่งเป็นคำที่มาจากคำว่า "Media Literacy" ซึ่งแปลตรงตัวว่า การอ่านออกเขียนได้ ซึ่งความหมายของมันมากกว่าเพียงแค่การเท่าทันสื่อ ไม่ใช่แค่อ่านได้ แต่ต้องเขียนสื่อได้ด้วย ซึ่งลักษณะของข่าวพลเมืองนี้เอง ที่เป็นเรื่อง "เขียนสื่อได้" เพราะพลเมืองไม่ใช่ผู้รับอีกต่อไปแล้ว พลเมืองสามารถเขียนสื่อได้
นอกจาก นี้ ยังมีการพูดกันมากเรื่อง "สื่อเลือกข้าง" คือที่ผ่านมาเรามักพูดกันว่า แม้แต่ละคนจะมีความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน แม้ใจเลือกข้างแต่ก็ต้องพยายามทำให้เป็นกลาง พยายามไม่อคติ และพยายามจะบอกว่าตัวเองเป็นแบบนั้น สื่อมวลชนมักถูกบอกว่า ให้พยายามมองเหตุการณ์แบบถอยห่างออกมา เพื่อจะได้ไม่จมกับประเด็น แต่ลักษณะของสื่อพลเมืองอาจจะต่างออกไปได้ เพราะในตัวของพลเมืองเขาก็มีส่วนร่วมอยู่ในการสังเกตสถานการณ์อยู่แล้ว เขาอาจจะไม่ได้ปิดบังว่าเขามีอคติ แต่ความมีอคติของเขานั่นล่ะที่ทำให้เรื่องนั้นน่าสนใจ และเมื่ออคติของแต่ละคนมันโผล่ขึ้นมา คุณเปิดเผยตัวคุณออกมา มันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยน สุดท้ายเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีและเครื่องมือ แต่เทคโนโลยีนำไปสู่การเปิดพื้นที่ให้ได้พูด แล้วมันทำให้ความสัมพันธ์ของคนเปลี่ยนไป
บก.โอเพ่นออนไลน์ ชวน ‘สื่อพลเมือง’ ออกจากกรอบ
ด้าน น.ส.สฤนี อาชวานันนทกุล บรรณาธิการเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ (www.onopen.com) และบล็อกเกอร์ ‘คนชายขอบ’ (www.fringer.org) กล่าวถึงการทำงานในฐานะสื่อภาคพลเมืองว่า ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสื่อพลเมืองก็คือความน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องไปติดกรอบกับความเป็นกลางหรือเลือกข้าง แต่สิ่งที่สำคัญก็คือความจริง ความที่น่าเชื่อถือ ก็คือ พยายามให้ความจริงพูดได้มากที่สุด
“เรา ไม่ควรไปตั้งเป้าว่าต้องมีความเป็นมืออาชีพ ภาษาดี ไม่ผิดเลย แต่สิ่งที่เราทำได้และเป็นประโยชน์ก็คือเทคโนโลยี ด้วยการเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง”
ชูสื่ออินเตอร์เน็ต ทำให้ ‘ข่าว’ ไม่หมดอายุ
สฤนีกล่าวว่าจุดแข็งของสื่ออินเตอร์เน็ตในฐานะสื่อใหม่ก็คือ ความไม่เก่า ไม่หมดอายุ “อินเตอร์เน็ต ข่าวทึกข่าวเป็นนิรันดร์ ไม่ว่าจะเป็นข่าวเดือนที่แล้วหรือข่าวเมื่อสามนาทีที่แล้วจะมีโอกาสที่เท่าๆ กันให้คนรับรู้ ก็อยู่ที่วินัย ความตั้งใจของเราที่เก็บข้อมูล
สื่อ พลเมืองไม่ควรจะคิดเรื่องเป็นนักข่าวมืออาชีพ และไม่ควรคิดมากเรื่องเลือกข้างตราบเท่าที่สามารถแยกแยะข้อเท็จจริง กับความเห็น ในส่วนตัวเวลาเขียนบล็อกก็พยายามที่จะแยกว่าอะไรคือข้อเท็จจริง และอะไรทีเป็นความเห็น และเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เราทำเป็นข้อเท็จจริง ก็จะปรากฏ และอินเตอร์เน็ตก็จะทำให้ข้อเท็จจริงไม่มีวันตาย” สฤนีกล่าวในที่สุด
‘กรรณิการ์ กิจติเวชกุล’ ชวนสื่อพลเมืองสะสมข้อมูลผลักประเด็นสู่สื่อกระแสหลัก
น. ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ฝ่ายรณรงค์องค์การหมอไร้พรมแดน กล่าวตัวอย่างของการทำงานผลักดันประเด็นสังคมกับสื่อ โดยเริ่มจากการยกตัวอย่างประเด็นเอฟทีเอ ซึ่งมีทั้งเรื่องสิทธิบัตรและการเข้าถึงยา ประเด็นเหล่านี้อาจมีพื้นที่ข่าวในส่วนต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ได้ เช่น ทั้งข่าวหน้าแรก หน้าเศรษฐกิจ และหน้าสาธารณสุข
แต่ กับบางเรื่อง การสื่อสารกับสื่อมวลชนอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก สมมติเช่นหากต้องเสนอประเด็นสิทธิผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม การทำข่าวของนักข่าวเรื่องนี้อาจจะไปกระทบกับค่ายโทรศัพท์มือถือที่เป็นผู้ สนับสนุนของหนังสือพิมพ์ที่นักข่าวสังกัดอยู่ ดังนั้น ความหวังจึงอาจจะอยู่ที่สื่อพลเมือง ที่ต้องสะสมข้อมูล และที่สุดแล้วประเด็นนั้นอาจได้รับการพัฒนาไปสู่สื่อกระแสหลักได้
น. ส.กรรณิการ์กล่าวว่า การทำงานแบบนักข่าวพลเมือง เช่น การทำบล็อก อย่าหวั่นไหวที่ยอดจำนวนของคนอ่านที่อาจจะไม่สูงเท่ากับสื่อกระแสหลัก เพราะโลกออนไลน์มีความพิเศษตรงที่การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน เช่นเมื่อเราเขียนบล็อก ก็อาจมีผู้อื่นนำไปอ้างถึงและทำให้ประเด็นนั้นๆ เป็นที่รับรู้ในที่สุด