WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 16, 2009

อนาถ!สื่อไทยมั่วตั้งแต่ต้นจนจบ ฮือต้านตัดสินรางวัลสุดนิ่มจิกหัวเสื้อแดงคว้าภาพยอดเยี่ยม

ที่มา Thai E-News


ภาพเจ้าปัญหาคว้ารางวัลพูลิตเซอร์-ภาพข่าวชายคนหนึ่งจิกหัวหญิงเสื้อแดงในเหตุการณ์ประท้วงสงกรานต์เลือดลงหน้า1ไทยรัฐคว้ารางวัลภาพยอดเยี่ยมประจำปี แต่ตอนนี้เป็นที่ถกเถียงเพราะว่า ภาพข่าวที่ไทยรัฐนำเสนอนั้นผิดไปจากข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง ขณะที่ไทยรัฐนำเสนอว่าเป็นภาพชาวแฟลตดินแดงทนไม่ไหวจึงจิกหัวเสื้อแดง แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าชายผู้นี้เป็นการ์ดพธม.ฮาร์ดคอร์ที่เคยก่อเหตุยิงเสื้อแดงมาแล้ว และภาพนี้มีที่เกิดเหตุย่านประตูน้ำ ไม่ใช่แฟลตดินแดงด้วย

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา ประชาไท และฟ้าเดียวกัน
16 มิถุนายน 2552

ภาพหนุ่มเสื้อเหลืองจิกหัวสาวเสื้อแดงลากพื้นได้รางวัลภาพยอดเยี่ยมแห่งปี

ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 14 มิ.ย. และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 15 มิ.ย. พาดหัวข่าว “ไทยรัฐคว้า ภาพยอดเยี่ยม” โดยมีเนื้อหาเป็นการรายงานข่าวสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ประกาศผลการตัดสินรางวัลภาพข่าวสื่อมวลชนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 13 ประจำปี 2551-2552 ที่โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว เมื่อ 14 มิ.ย.

โดยปีนี้มีผู้ส่งภาพเข้าประกวด 600 ภาพ และภาพข่าวทีวี 46 เรื่อง แบ่งออกเป็น 35 รางวัล รวมมูลค่าประมาณ 7 แสนบาท ซึ่งผลการตัดสินปรากฏว่า ภาพข่าวยอดเยี่ยมในปีนี้ได้แก่ภาพชื่อ 'ทนไม่ไหว' เป็นภาพเหตุการณ์วันที่ 13 เม.ย. เป็นภาพผู้หญิงเสื้อแดงชื่อ น.ส.มินตรา โสรส ถูกนายกวีไกร โชคพัฒนาเกษมสุข อดีตการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตรงเข้าไปดึงผมจนล้ม หลังบุกเข้ามาด่าทหารที่เข้าสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง ที่บริเวณถนนราชปรารภ ฝีมือลั่นชัตเตอร์โดยนายประสิทธิ์ นิเวศน์ทอง ผู้สื่อข่าวอาชญากรรม น.ส.พ.ไทยรัฐ ได้รับถ้วยพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเงินรางวัล 1 แสนบาท

นายกฯ สมาคมเผยได้รางวัลเพราะภาพได้อารมณ์ไม่ต้องบรรยาย ‘มาร์ค’ เตรียมมอบรางวัล

นายวิชัย วลาพล นายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนฯ กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินการให้รางวัลด้วยความยุติธรรมโปร่งใสทุกขั้นตอน ภาพ 'ทนไม่ไหว' ที่คว้ารางวัลยอดเยี่ยมในปีนี้ เพราะกรรมการเห็นว่ามีความโดดเด่นและองค์ประกอบของภาพครบจากเหตุการณ์ความชุลมุนวุ่นวาย ในภาพจะเห็นว่ามีช่างภาพยืนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ช่างภาพที่ถ่ายภาพนี้ยืนในจุดที่ต่างจากคนอื่น จึงลั่นชัดเตอร์ได้เพียงคนเดียว ภาพนี้จึงได้อารมณ์ของภาพโดยไม่ต้องบรรยาย กรรมการทุกคนเห็นแล้วต่างลงคะแนนให้ชนะเป็นเอกฉันท์

สำหรับงานมอบรางวัลจะมีขึ้นวันที่ 18 มิ.ย. ที่ รร.โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะมาเป็นประธานและจะมีการถ่ายทอดสดทางช่อง 7 สี เวลา 16.30-18.30 น.

เผยภาพรางวัลยอดเยี่ยมไทยรัฐ เคยบรรยายภาพพลาด

โฉมหน้าของหนุ่มจิกหัวสาวเสื้อแดง-กวีไกรคนที่จิกหัวหญิงเสื้อแดง ไม่ใช่ชาวบ้านย่านแฟลตดินแดงที่ทนเสื้อแดงประท้วงไม่ไหวตามข่าว แต่เป็นการ์ดของพันธมิตรที่เคยเป็นการ์ดตอนยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และอ้างว่าเคยนำปืนไปยิงใส่กลุ่มเสื้อแดงมาก่อนหน้านี้แล้ว

ประชาไทรายงานว่า สำหรับภาพข่าว ‘ทนไม่ไหว’ ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ได้รับรางวัลภาพข่าวสื่อมวลชนยอดเยี่ยมประจำปี 2551-2555 นั้น เป็นภาพที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐตีพิมพ์ลงหน้าหนึ่ง ในฉบับวันที่ 14 เมษายน 2552 ซึ่งประชาไทเคยนำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ว่ามีการรายงานคำบรรยายภาพใต้ภาพผิดพลาด โดยในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดังกล่าวเขียนว่า

"ทนไม่ไหว หลังจากม็อบเสื้อแดงงัดยุทธวิธีขับรถบรรทุกแก๊สไปจอดบริเวณอุโมงค์ดินแดงจะจุดระเบิด สร้างความไม่พอใจแก่ชาวแฟลตดินแดง ถึงขั้นยกพวกออกมาลุยม็อบเสียเอง"


โดยหลังจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐตีพิมพ์ภาพและคำบรรยายภาพดังกล่าว ต่อมาเมื่้อ 16 เม.ย. ทั้งใน กระดานข่าวพันทิพ ห้องราชดำเนิน และเว็บบอร์ดประชาไท ฯลฯ ได้มีผู้ตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว และพบว่าเหตุการณ์ที่มีชายชุดเขียวจิกศีรษะผู้หญิงเสื้อแดงนั้น เกิดขึ้นที่ ถ.ราชปรารภ ย่านถนนราชปรารภ 12 ซึ่งอยู่ห่างจากย่านแฟลตดินแดงเป็นระยะทางไกลมาก

โดยในวันดังกล่าว ไม่เพียงแต่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐจะรายงานว่าเป็นเหตุการณ์ที่ชาวแฟลตดินแดงออกมาทำร้ายสตรีเสื้อแดงเพราะไม่พอใจที่มีการนำรถบรรทุกแก๊สไปจอดบริเวณอุโมงค์ดินแดงแล้ว สื่อมวลชนหลายสำนักยังรายงานคาดเคลื่อนเช่นกัน รวมถึงรายการ เรื่องเล่าเช้านี้ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ดำเนินรายการและประกาศข่าวโดย นายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา และ น.ส.กฤติกา ศักดิ์มณี ซึ่งออกอากาศเมื่อเช้าวันที่ 14 เม.ย. 52 ด้วย

นอกจากนี้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยังมีการสืบค้นและพบว่าชายชุดเขียวที่จิกศีรษะ น.ส.มินตรา ดังกล่าว คือนายกวีไกร โชคพัฒนเกษมสุข อายุ 30 ปี เคยเป็นการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา น.ส.อัญชะลี ไพรีรักษ์ ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ ASTV ยังได้สัมภาษณ์นายกวีไกรทางโทรศัพท์ถึงสาเหตุที่นายกวีไกรกระทำการดังกล่าวในเหตุการณ์เมื่อ 13 เม.ย. ที่ผ่านมาด้วย

มติชนออนไลน์ ยังได้เผยแพร่บันทึกของนายกวีไกร ที่ประกาศไว้ใน Hi5 ของเขาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "ผมไม่สงสารตัวเองกับคนที่มาด่าประณามผมเพราะผมควรที่จะได้รับ ... แต่ยอมรับว่าผมไม่รู้สึกที่จะขอโทษผู้หญิงคนนั้นหรือสงสาร" และนายกวีไกรเคยสอบถามไปยัง สน.พญาไท ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุว่า น.ส.มินตรา ไปแจ้งความหรือไม่ โดยเขาประกาศว่าหากมีการไปแจ้งความเมื่อไหร่เขาจะไปมอบตัวทันที

ชาวเน็ตโวยไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของสมาคมช่างภาพที่ให้ได้รับรางวัล

ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนข้อความลงในเวบบอร์ดฟ้าเดียวกันว่า ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของสมาคมช่างภาพสื่อในการให้รางวัลชนะเลิศ ภาพ "ทนไม่ไหว" โดยช่างภาพไทยรัฐ โดยระบุว่า ก่อนอื่น ขอย้ำว่า ผมไม่ได้ให้ความเห็นในแง่ของ composition ของภาพ หรือ เทคนิค (ภาพชัดคม ฯลฯ) เพราะ นี่เป็นภาพถ่ายสื่อมวลชน นั่นคือ ภาพนี้ก็เหมือนส่วนอื่นๆของสื่อมวลชน คือ การรายงานเหตุการณ์ ตามความเป็นจริงให้มากที่สุด ซึ่งตามบรรทัดฐานนี้ ภาพนี้ ไม่สมควรได้รางวัลชนะเลิศ

นี่คือการให้เหตุผลของคณะกรรมการ ที่ลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ภาพนี้ได้รางวัลชนะเลิศ (ดูโดยเฉพาะส่วนที่ผมเน้นด้วยตัวหนา)
http://www.thairath.co.th/today/view/12919

ทั้งนี้ นายวิชัย วลาพล นายกสมาคมช่างภาพสื่อมวลชนฯ กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินการให้รางวัลด้วยความยุติธรรม โปร่งใสทุกขั้นตอน สำหรับภาพ "ทนไม่ไหว" ที่คว้ารางวัลยอดเยี่ยมในปีนี้ เพราะกรรมการเห็นว่ามีความโดดเด่นและองค์ประกอบของภาพครบจากเหตุการณ์ ความชุลมุนวุ่นวาย ในภาพจะเห็นว่ามีช่างภาพยืนอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ช่างภาพที่ถ่ายภาพนี้ยืนในจุดที่ต่างจากคนอื่น จึงลั่นชัตเตอร์ได้เพียงคนเดียว ภาพนี้จึงได้อารมณ์ของภาพโดยไม่ต้องบรรยาย กรรมการทุกคนเห็นแล้วต่างลงคะแนนให้ชนะเป็นเอกฉันท์



ก่อนอื่น คณะกรรมการ สมควรทราบแล้วว่า ชื่อภาพนี้ และคำบรรยายภาพนี้ เมื่อปรากฏในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เป็นชื่อภาพและคำบรรยายที่ผิดข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง

นี่คือคำบรรยายใต้ภาพเมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก

ทนไม่ไหว หลังจากม็อบเสื้อแดงงัดยุทธวิธีขับรถบรรทุกแก๊สไปจอดบริเวณอุโมงค์ดินแดง จะจุดระเบิด สร้างความไม่พอใจแก่ชาวแฟลตดินแดง ถึงขั้นยกพวกออกมาลุยม็อบเสียเอง


บัดนี้เราได้ทราบแล้วว่า ชายคนที่ลากหญิงคนนั้นไปตามพื้น หาได้ ทำไป เพราะ "ทนไม่ไหว" เพราะเหตุการณ์รถแก๊ส หรือแม้แต่เหตุการณ์ใดๆในวันนั้นแต่อย่างใด

เพราะชายผู้นั้น คือนายกวีไกร โชคพัฒนเกษมสุข ผู้เป็นพวกพันธมิตรฯ ในลักษณะที่เรียกว่า "ฮาร์ดคอร์" คือเป็นพวกที่เป็นปฏิปักษ์กับคนเสื้อแดงอยู่นานแล้ว ไม่ว่า คนเสื้อแดง จะทำอะไรหรือไม่ในวันที่ 13 เมษา นั้น

นายกวีไกรเองเล่าว่า เขาเคยถึงกับลอบเอาปืนไปยิงใส่การชุมนุมของเสื้อแดง (โดยไม่ได้มีสาเหตุเฉพาะหน้ากระทบต่อเขาแต่อย่างใด) นี่คือสิ่งที่เขาเล่าไว้เอง ใน hi-5 ของเขา (ขณะนี้ปิดไปแล้ว) :

กูทำกับพวกมึงก่อนหน้านั้นไว้เยอะกว่าที่มึงเห็นแค่ตอนไอ้สาวเสื้อแดงโดนกูจิกหัว แค่ที่ผ่านมาไม่เป็นข่าว เช่น ตอนที่พวกมึงไปที่สนามกีฬาแห่งชาติ กูก็ไปดักยิงคนของพวกมึงที่กำลังเดินกลับบ้าน ยอมรับว่าเสียดายยิงพลาดไม่โดน กูในอนาคตคิดแผนใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ กูคิดว่ากูคนเดียวก็ป่วนพวกมึงหลายคนได้แล้ว



ดังนั้น การกระทำของชายผู้นั้น จึงหาใช่เป็นเรื่องของการ "ทนไม่ไหว" กับสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า หรือกระทั่งในวันนั้น แต่อย่างใด

นายกวีไกร หาใช่กระทำดังกล่าว เพราะ "ทนไม่ไหว" กับเรื่องรถบรรทุกแก๊สแต่อย่างใด แต่ "ทนไม่ไหว" เพียงเพราะถูกผู้หญิงในภาพด่าทอ เพราะความที่เป็น "ฮาร์ดคอร์" ของพันธมิตร ที่ไม่ชอบเสื้อแดงอย่างรุนแรง (ถึงขั้นเคยเอาปืนไปยิงใส่ โดยไม่มีสาเหตุเฉพาะดังกล่าว)

ภาพสื่อมวลชน เป็นส่วนหนึ่งของการรายงานความจริง การตั้งชื่อภาพ และการบรรยายภาพ จึงเป็นองค์ประกอบของการรายงานความจริงนี้ด้วย ดังนั้น ลำพังชื่อภาพ ก็ไม่ตรงความจริงแล้ว คำบรรยายเมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก บัดนี้ ก็เป็นทีทราบกันแล้วว่า ผิดความจริง ภาพนี้ จึงไม่ใช่ภาพที่สะท้อนความจริง แต่เป็นภาพเสนอความเท็จ ทำให้คนอ่านเข้าใจผิด

ที่คณะกรรมการลงความเห็นว่า

ภาพนี้จึงได้อารมณ์ของภาพโดยไม่ต้องบรรยาย



ขอถามว่า "อารมณ์" ที่ว่า คืออะไร?

และ "ไม่ต้องบรรยาย" คืออะไร?

คำบรรยายในการตีพิมพ์ครั้งแรก และแม้แต่ชื่อภาพ ที่ยังคงใช้ในการประกวดครั้งนี้ ก็ผิดแล้ว จะกล่าวว่า "โดยไม่ต้องบรรยาย" ได้อย่างไร?

ภาพนี้ ลำพังสิ่งที่แสดงในภาพเอง ไม่มีทางให้ "สาร" หรือ "ข้อมูล" อะไรได้ ถ้าคนอ่าน ไม่รู้ว่า ชายคนนั้น คือ "ฮาร์ดคอร์" ของ พันธมิตร ไม่ใช่ "ชาวบ้าน" ธรรมดา

ลำพังภาพ ถ้าไม่มีการบรรยาย ข้อเท็จจริงนี้ประกอบ จึงมีลักษณะ misleading คือ ทำให้ไขว้เขว หาได้ทำให้ทราบความจริงแต่อย่างใด

การที่คณะกรรมการอ้างว่า "ไม่ต้องบรรยาย" จึงขัดกับความจริงโดยสิ้นเชิง

อย่าลืมว่า ในการตีพิมพ์ครั้งแรก ไทยรัฐ ต้องการเสนอว่า การแสดงออกของชายในภาพ เป็นการแสดงออกของ "ชาวบ้าน" ที่ "ทนไม่ไหว" ในการกระทำเรื่องรถแก๊สของคนเสื้อแดง

บัดนี้ เมื่อความจริงปรากฏแล้ว การกระทำของชายผู้ซึ่งเป็น "ฮาร์ดคอร์" ของพันธมิตร ผู้นี้ (ผู้มีประวัติในลักษณะชวนให้คิดว่า จิตใจ ไม่ปกติด้วยซ้ำ) ยังจะสามารถถือเป็นการแสดงออกในลักษณะทีเป็น "ตัวแทน" ของ "ชาวบ้าน" ที่ "ทนไม่ไหว" ได้หรือ?

หมายเหตุอ่านข่าวประกอบ:แค่จิกหัวหญิงไม่พอ เผยกวีไกรเคยยิงเสื้อแดง เหิมขู่ฆ่าเหมือนผักปลา