WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 19, 2009

วัฒนธรรมการรับน้อง

ที่มา ประชาไท

ในสถานการณ์เปิดภาคการศึกษา เราท่านต่างได้รับรู้ข่าวการรับน้องทั้งโหด และสรรค์สร้าง (ให้พิสดาร) ทั้งจากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อวิทยุโทรทัศน์ ทำให้หวนนึกถึงมหกรรมของชนชั้นที่เรียกตัวเองว่า “ปัญญาชน” ที่ผู้คนยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ และชี้นำสังคม และที่สำคัญมีปัญญาเป็นเลิศในการสรรค์สร้าง “การรับน้อง” ในรูปแบบต่างๆ อย่างน่ายกย่องและนับถืออย่างสุดหัวจิตหัวใจ เพราะอะไรหรือครับที่ต้องนับถือเขาเหล่านั่น ผมมีเหตุผล 3 ประการที่จะนำเสนอต่อไป

ประการที่หนึ่ง การกระทำของเขาเหล่านั้นวางอยู่บนฐานของความรักที่จะมอบให้น้อง(โดยน้องมิอาจปฏิเสธได้ด้วยประการทั้งปวง) น้องที่เขาเหล่านั้นมิได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใดเลย แต่เขาเหล่านั้นกับให้ความ “เมตตากรุณา”โดยการสั่งสอน อบรม ก่นด่า หรือประณามและประจาน โดยการติดป้ายด้วยถ้อยคำต่างๆ นานา หรือแม้แต่ให้แสดงอากัปกิริยาที่มนุษย์ธรรมดาสามัญมิอาจแสดงได้ ยกเว้นมนุษย์พันธุ์พิเศษเยี่ยง “ปัญญาชน” เท่านั้นที่องอาจหาญกล้าในการแสดงอาการเช่นนั่น

ความรักของเขาเหล่านั้นยังไม่หมดสิ้น เขาเหล่านั้นยัง “กรุณา” แนะนำการใช้ชีวิตเยี่ยง “ปัญญาชน” ที่เหนือคนธรรมดาว่าควรใช้อย่างไร ให้สมกับเป็น “ปัญญาชน” ของชาติ(นี้หรือชาติหน้าไม่อาจทราบได้) ควรเรียนอย่างไรให้จบ ควรใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างไรให้ตลอดรอดฝั่ง โดยเขาเหล่านั้นที่เรียกว่า “รุ่นพี่” ที่มีประสบการณ์อย่างโซกโซน(และโซกเลือด) ในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ชี้นำ เสมือนว่า “พี่” ที่น้องต้องเคารพ มีประสบการณ์ในชีวิต และในมหาวิทยาลัยมาไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นสามพันปีได้

ไม่สุดแค่นั้น “รุ่นพี่” ที่เปี่ยมประสบการณ์ยัง “กรุณา” สั่งสอนให้ “น้อง” ผู้อ่อนด้อยประสบการณ์รักใคร่ สามัคคีเหมือนปรัชญาของคนชั้นสูง(ที่สุด)ควรมี

สิ่งที่เขา “รุ่นพี่” ทำจึงเป็นการกระทำด้วยความ “รัก” ต่อ “น้อง” อย่าง “บริสุทธิ์” ปราศจากเงื่อนไขที่ “น้อง”ไม่อาจปฏิเสธได้ เป็นความรักที่แท้จริงโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จึงเป็นความรักที่ใสบริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าของ “วัลยา” ในนิยายของเสนีย์ เสาวพงศ์ ประชาชนคนทั่วไปรวมถึงผู้ปกครองของ “น้องปี 1”ควรเคารพและนับถือ “รุ่นพี่” ที่ให้ความ “กรุณา”ต่อรุ่นน้องอย่างหาที่สุดมิได้

ประการที่ 2 พวกเขาเหล่านั้น(ปัญญาชน) เป็นผู้ธำรง “วัฒนธรรม” ที่เก่าแก่ของสังคมไทยไว้อย่างมั่นคง และไม่ให้สูญสลายไปกลับกาลเวลา วัฒนธรรมนั้น คือ การธำรงระบบ “ชนชั้น” ในสังคม ในระบบ “รุ่นพี่รุ่นน้อง” โดยรุ่นน้อง “มีสิทธิ์เป็นศูนย์” ทั้งในชีวิต และจิตวิญญาณของตนเอง แม้ประเทศ(ไทย)แห่งนี้จะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ที่เห็นค่าของวิญญาณเสรี อิสระของจิตวิญญาณก็ตาม

แต่ “วิญญาณที่เสรี” ในระบบ “รุ่น” ไม่มีความหมาย คุณค่าสูงสุด คือ การเรียนรู้ตำแหน่งแห่งที่ของ “คน” ที่ลดหลั่นตาม “รุ่น” “ชั้นปี” ต่างหากคือคุณค่าสูงสุดของเขาเหล่านั้น

โดยรุ่นพี่ คือ “อาญาสิทธิ์” สูงสุด “รุ่นพี่จึงทำอะไรไม่ผิด” แม้จะผิด “กฎ” นั้นเสียเองก็ตาม วิญญาณที่เสรีเหมือนนกน้อยที่โบยบินในท้องฟ้ากว้าง กล้าคิด กล้าทำ กล้าเห็นต่าง กล้าแหกกฎ กล้าไม่เอารุ่น จึงเป็นพวก “แกะดำ” ที่ไม่ควรคบค้าสมาคม แม้ “แกะดำ” เหล่านั้นจะเปี่ยมด้วยวิญญาณแห่งเสรีก็ตาม

ฉะนั้นสิ่งที่ “ปัญญาชน” กระทำจึงเป็นคุณูปการให้สังคมไทยอย่างอเนกอนันต์ หาค่ามิได้ เพราะได้สร้าง “พลเมือง” “ปัญญาชน” ที่เซื่องๆ ให้นักการเมือง ข้าราชการ ผู้มีในอำนาจในสังคม ชี้นำ (ให้จูงจมูก ผูกแอกแบกไถ) ไปในทิศทางที่เขาต้องการ ซึ่งเป็นคุณูปการที่ระบบรุ่นภายใต้กระบวนการรับน้องสร้าง และปูทางไว้แล้วตั้งแต่ย่างก้าวเข้าสู่ “มหาวิทยาลัย” จึงเป็นการสร้าง “พลเมือง”(คนชั้นกลาง) ที่เซื่องๆไม่นำพาต่อความทุกข์ร้อนของคนทุกข์ คนยากในสังคมได้อย่างเย็นชาที่สุดแห่งหนึ่งของโลกใบนี้

ประการที่ 3 ที่เราท่านควรเคารพ และนับถือเขาเหล่านั้นคือ เขาเหล่านั้นสามารถสร้าง และทำให้เราท่านเห็นถึง “ระบอบประชาธิปไตยแบบไทย” ได้เห็นภาพอย่างถ่องแท้ ที่แสดงออกในระบอบ กฎข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติ ของเขาเหล่านั้น(ดูคุณูปการในข้อ 1 และ2) คือ “ประชาธิปไตยแบบไทย” ที่นักวิชาการไม่ว่าจากสำนักไหน ไม่ต้องค้นคว้า ค้นหา หรือหาภาพจำลอง หรือนิยาม คำว่า “ประชาธิปไตยแบบไทย” แต่มันได้เผยทั้ง “หาง” “ธาตุแท้” อย่างล่อนจ้อน หมดจดภายใต้ระบบ “รับน้อง” ของมหาวิทยาลัยในสังคมไทย ที่เจือปนอยู่ท่ามกลาง “ความรักที่บริสุทธิ์” ที่มิอาจปฏิเสธได้ ภายใต้การชี้นำของผู้มี “อำนาจ” ในคราบของ “รุ่นพี่” ที่ทรงภูมิปัญญา และเปี่ยมประสบการณ์ เป็นการแสดงถึง “อำนาจแบบไทยๆ” ที่ต้องมี “ผู้ใหญ่” คอยชี้แนะ ชี้นำ และควบคุม

ไม่สุดแค่นั้น “ระบบรับน้อง” ยังแสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวอย่างไม่อาจให้อภัยได้ ของระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย ที่ไม่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างเสรี กล้าคิด กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง รวมถึงตระหนักในฐานะ “ผู้มีโอกาส” ที่จะกลับไปรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยไทยเป็นได้แค่โรงฝึก “ช่างเทคนิค” ที่ไม่ต้องมีจิตวิญญาณ ขอให้มีแต่ความชำนาญเป็นพอ เราจึงมีบัณฑิตเกลื่อนเมืองแต่ไม่มีสำนึกของ “พลเมือง” แต่ประการใด

ฉะนั้น ท้ายสุดการ “รับน้อง”ในมหาวิทยาลัยไทยจึงสร้าง “พลเมืองแบบไทย” สร้าง “ประชาธิปไตยแบบไทย” สร้าง “ความรักแบบไทย” (ความรักที่ผูกมัด และไม่อาจปฏิเสธได้ มิใช่ความรักเพื่อการปลดปล่อย และเสรี) สร้าง “การศึกษาแบบไทย” รวมถึงเผยให้เห็นคุณค่านานาประการใน “ระบบรับน้อง” แล้วจะไม่ให้ผมศรัทธาและเคารพยกย่อง นับถือระบบนี้อย่างจับจิตจับใจได้อย่างไรครับพี่น้อง