WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 18, 2009

ผมนึกไปนึกมา สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนน่าจะให้รางวัลภาพยอดเยี่ยมแห่งปี แก่ภาพนี้ครับ

ที่มา Thai E-News

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา บอร์ดประชาไท
18 มิถุนายน 2552

ผมนึกไปนึกมา สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนน่าจะให้รางวัลภาพยอดเยี่ยมแห่งปี แก่ภาพนี้ครับ

ผมว่าเหมาะสมที่สุดครับ

1. เป็นการแสดงความจงรักภักดี สำหรับประเทศไทย การแสดงภาพพระบรมฉายาลักษณ์และพระราชกรณียกิจ ถือเป็นการแสดงความจงรักภักดีอย่างสูงครับ เหมาะสมอย่างยิ่ง

2. องค์ประกอบของภาพ ก็ดีครับ แสดงสีพระพักตร์ ที่ทรงเศร้าสลดต่อการสูญเสีย "

เด็กดี ช่วยชาติ ช่วยรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์"


3. ในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา อันที่จริง ในระยะหลายๆปีที่ผ่านมา ไม่มีเหตุการณ์ใดที่มีผลกระทบต่อจิตใจของผู้คนมากเท่าเหตุการณ์ที่ภาพนี้รายงานอีกแล้ว เรียกว่า เหตุการณ์ที่ภาพนี้ถ่ายทอดเป็นเหตุการณ์ระดับ "เปลี่ยนประวัติศาสตร์" ได้ทีเดียว แน่นอนว่า การเสด็จพระราชทานเพลิงศพ "น้องโบว์" มีภาพข่าวหลายภาพ ผมเองตอนเลือกเอง ก็ตัดสินใจยากมากครับ ในที่สุด คิดว่า ภาพนี้ดีที่สุด ด้วยเหตุผลข้อ 2 ข้างต้น (โปรดดูเรื่องภาพ "รองชนะเลิศ" ข้างล่างประกอบ)

4. สรุปแล้ว ภาพนี้แหละครับ เหมาะกับเหตุผลที่สมาคมช่างภาพสื่อมวลชน บอกว่า กรรมการลงมติเอกฉันท์ให้ภาพ "ทนไม่ไหว" คือ "ได้อารมณ์ของภาพโดยไม่ต้องบรรยาย" (อาจจะกล่าวได้ว่า มีประเด็นเดียวที่ภาพนี้ สู้ภาพ "ทนไม่ไหว" ไม่ได้ คือ ไม่มีชื่อภาพ เพราะปกติ เราจะไม่ตั้งชื่อภาพให้กับภาพพระราชกรณียกิจ แต่ผมคิดว่า "จุดอ่อน" นี้ไม่มีปัญหา สมาคมฯสามารถเรียกชื่อภาพนี้ว่า "ไม่มีคำบรรยาย" ก็ได้ครับ เหมาะสมดีด้วย)

นอกจากรางวัลภาพยอดเยี่ยมแห่งปีสำหรับภาพนี้แล้ว ผมขอเสนอภาพที่เรียกว่า runners-up (รองชนะเลิศ) อีก 2 ภาพครับ ความจริง เป็นภาพเหตุกาณ์ข่าวเดียวกัน (ดังที่เรียนให้ทราบว่า ตัดสินใจยากมากๆ)

ภาพแรก สมเด็จฯทรงมีปฏิสันถารกับ คุณจินดา ระดับปัญญาวุฒิ อย่างใกล้ชิด

ภาพนี้ความจริง สามารถกล่าวได้ว่า มีเหตุที่สมควรได้รับรางวัลภาพยอดเยี่ยม ทั้ง 4 เหตุผลข้างต้น เช่นเดียวกันทุกข้อ (แสดงความจงรักภักดี, แสดงสีพระพักตร์, ความสำคัญของข่าว, "ได้อารมณ์ของภาพโดยไม่ต้องบรรยาย") มิหนำซ้ำยังมีเหตุผลประกอบเพิ่มอีก 1 ข้อได้ด้วย คือ ต้องขอบคุณ คุณจินดา ที่ทำให้พสกนิกร ได้รับทราบว่า ทรงมีพระราชปฏิสันถาร ที่บัดนี้กล่าวได้ว่า อยู่ในดวงใจของพสกนิกรอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง ดังนี้

- ลูกสาวเป็นเด็กดี ช่วยชาติ ช่วยรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์
- ขอให้กำลังใจกับครอบครัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับทราบแล้ว และเงินที่เป็นค่ารักษา ในหลวงเป็นผู้พระราชทานให้
- เป็นห่วงพันธมิตรทุกคน ไว้จะฝากดอกไม้ไปเยี่ยมพันธมิตร


อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ผมเลือกภาพข้างต้นมากกว่าภาพนี้ ด้วยเหตุผลทางเทคนิคมากกว่า คือ ภาพข้างบนให้มุมภาพที่กว้างกว่า

ภาพ runner-up อีกภาพ คือภาพนี้ครับ เหตุผลก็คล้ายๆกับที่กล่าวมาแล้ว แต่ผมคิดว่า ภาพนี้ มีจุดอ่อนกว่า 2 ภาพข้างต้น คือ ข้อ 2 ไม่ได้แสดงสีพระพักตร์ ชัดเจนเท่ากับ 2 ภาพแรก

สมศักดิ์ยังได้ตั้งอีกกระทู้หัวเรื่องว่า ขอยืนยันว่า การให้รางวัลภาพยอดเยี่ยมแก่ภาพ "ทนไม่ไหว" สะท้อนว่า วิจารณญาณของวงการสื่อไทยต่ำมากโดยรายละเอียดเขียนว่า

ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า เชียร์ เสื้อแดง หรือ แอนตี้ เสื้อแดง เลย
ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือ ไม่เห็นด้วย กับการกระทำที่ปรากฏออกทางภาพนั้นเลย

แต่อยู่ที่ประเด็นพื้นฐานที่สุดว่า ภาพดังกล่าว นำเสนอข่าวสารที่ผิดตั้งแต่ (1) การตั้งชื่อภาพ (2) คำบรรยายประกอบภาพ (3) บริบทของการนำเสนอภาพ

ทั้ง 3 ข้อนี้ เป็นการนำเสนอ ภายใต้ความเชื่อทีว่า เป็นเรื่องของ "
ประชาชนชาวแฟลตดินแดง ไม่พอใจ เสื้อแดง เรื่องรถแก๊ส จนทนไม่ได้ ถึงกับแสดงออกเช่นนั้น"
ซึ่งผิดความจริง โดยสิ้นเชิง

การที่สมาคมช่างภาพฯ ยังดันทุรัง ตัดสินให้ ภาพที่เสนอข่าวสารผิดๆ ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม เป็นการสะท้อนให้เห็นอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ว่า วิจารณญาณ (judgement) ของวงการสื่อไทย ปัจจุบน อยู่ในระดับที่ต่ำมากๆ


ขอยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับต้องประณามการกระทำของ กวีไกร ในภาพเลย
ภาพที่ถ่ายทอดการกระทำที่เราไม่เห็นด้วยมากๆ ก็สามารถเป็น "ภาพยอดเยี่ยม" ได้ (นึกถึงภาพ "ตอก-อก" (6 ตุลา) ที่ได้รางวัลภาพยอดเยี่ยม) ประเด็นอยู่ที่ว่า ในฐานะ ภาพข่าว จะต้องสะท้อนความจริง ซึ่งภาพ "ทนไม่ไหว" สะท้อนความผิดพลาดของการเสนอข่าว