WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 31, 2009

กังขาการทำงานของกฤษฎีกา… ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่

ที่มา ประชาไท

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (Office of the Council of State of Thailand) เป็นหน่วยงานทางปกครองมีฐานะเป็นกรมในสำนักนายกรัฐมนตรี โดยอยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายและยกร่างกฎหมาย กับทั้งให้ความเห็นทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ ปัจจุบันมี 12 คณะ

“คณะกรรมการกฤษฎีกา” นั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2417 เพื่อเป็นที่ปรึกษาในพระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดินและการร่างกฎหมาย และเป็นองค์กรที่พิจารณาเรื่องราวเดือดร้อนของราษฎร ซึ่งแต่เดิมนั้นการร่างกฎหมายเป็นไปตามพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ หรือเคาน์ซิลออฟสเตท (Council of State) กฤษฎีกาจึงเป็นองค์กรแรกที่พระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบในการยกร่างและพิจารณาร่างกฎหมายโดยตรง

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2475 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.2476 ขึ้นและต่อมาได้มีการปรับปรุงใหม่เป็นฉบับ พ.ศ.2522 เพื่อปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาใหม่ โดยนอกจากงานร่างกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมายแล้ว พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการกฤษฎีกาในการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองด้วย และในปี พ.ศ.2535 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อจัดตั้ง “คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย” ขึ้นเพื่อศึกษาวิจัยว่ากฎหมายใดมีบทบัญญัติไม่เหมาะสมแก่กาลสมัยและสมควรปรับปรุงแก้ไขหรือสมควรมีกฎหมายใดขึ้นใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการยกร่างหรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป

ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ขึ้นเพื่อจัดตั้งศาลปกครองเพื่อทำหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองโดยเฉพาะ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวให้โอนบรรดาเรื่องร้องทุกข์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเป็นคดีของศาลปกครอง และมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ โดยให้โอนบรรดาบุคลากรและอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเป็นของศาลปกครองหมดแล้ว วันนี้กฤษฎีกาจึงไม่ต้องทำอะไรมากนอกจากการร่างกฎหมายและการให้ความเห็นทางกฎหมาย

ดังนั้น อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาตามกฎหมายในปัจจุบันจึงมีอยู่เพียง 3 ประการ คือ
(1) จัดทำร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี
(2) รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐ หรือตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือมติของคณะรัฐมนตรี
(3) เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย

นอกจากนี้คณะกรรมการกฤษฎีกายังมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 กล่าวคือ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตรวจสอบความเห็นพร้อมด้วยสำนวนการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งกระทำการโดยเที่ยงธรรมหรือไม่

ภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 แล้วเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 บทบาทของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ย่อมที่จะต้องมีบทบาทสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามอำนาจหน้าที่ นั่นคือ “การเสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย”

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 303 ที่ระบุว่า ในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีที่เข้าบริหารราชการแผ่นดินภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะการจัดทำกฎหมายขึ้นใหม่ในส่วนที่ 12 มาตรา 66 ว่าด้วยสิทธิชุมชน มาตรา 67 ว่าด้วยองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และการปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องจัดทำหรือปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีชุดแรกแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551)

แต่ ณ เวลานี้เวลาล่วงเลยไปเกือบ 19 เดือนไปแล้วกฎหมายหลายฉบับในบทเฉพาะกาลมาตรา 303 ดังกล่าวยังไม่มีการจัดทำขึ้นหรือยังไม่มีการปรับปรุงขึ้นเลย โดยเฉพาะในมาตรา 67 จนในที่สุดนำไปสู่ความขัดแย้งกันในทางกฎหมายและการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลระหว่างประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยหน่วยงานของรัฐไม่แน่ใจว่าจะสามารถอนุมัติหรืออนุญาตให้ใบประกอบกิจการโรงงานหรือโครงการที่เข้าข่ายเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ได้หรือไม่

ถ้าจะถามว่าเวลาผ่านมา 19 เดือนคณะกรรมการกฤษฎีกามัวทำอะไรอยู่ เพราะหน้าที่ของหน่วยงานตนคือ การเสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย แต่กลับไม่ทำอะไร การเพิกเฉยดังกล่าวจนเกินเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด เข้าข่ายความผิดเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ตาม ป.อาญามาตรา 157

ในที่สุดหน่วยงานอนุญาต 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องมีหนังสือสอบภามความเห็นไปยังกฤษฎีกาว่าจะให้ทำอย่างไรต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

กฤษฎีกาน่าที่จะรู้สำนึกตัวเอง แล้วรีบดำเนินการแจ้งต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อยกร่างจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติหน้าที่ของตนเองไว้ แต่กลับไปให้ความเห็นที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จนอาจนำไปสู่ความหลงผิดของหน่วยงานอนุญาตต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุดได้ กล่าวคือ คณะ กรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า “ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดในการจัดตั้งองค์การอิสระ หน่วยงานอนุญาต สามารถพิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนได้ หากโครงการหรือกิจกรรมนั้นได้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนในชุมชนและได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันกำหนดไว้”

ในหลักหรือทฤษฎีทางกฎหมายที่เป็นที่รับรู้กันทั่วโลกว่า “โดยหลักของการตรากฎหมายต้องถือว่า เมื่อได้มีการประกาศกฎหมายฉบับใดในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ผลใช้บังคับของกฎหมายฉบับนั้นย่อมเริ่มตั้งแต่วันที่กำหนดในกฎหมายฉบับนั้น”

แต่กฤษฎีกากลับให้ความเห็นว่า “โดยหลักทั่วไปของการตรากฎหมายย่อมไม่มีวัตถุประสงค์ในการบริหารราชการแผ่นดินหรือการประกอบอาชีพของประชาชนต้องสะดุดหยุดลงในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดในการดำเนินการ”

เป็นการให้ความเห็นในการแก้ไขปัญหากันแบบไปน้ำขุ่นๆ ไร้หลักการและความรับผิดชอบที่จะตามมา

ในขณะเดียวกันเมื่อไปพิจารณาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3/2552 ลงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2552 ที่วินิจฉัยไว้ว่า “หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 วรรคสอง กรณีที่มีการดำเนินโครงการหรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ก็ดี หรือเป็นโครงการหรือกิจการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ก็ดี หากปรากฏว่าการดำเนินโครงการหรือกิจการอาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชุมชนทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพต่อบุคคลหรือชุมชน บุคคลหรือชุมชนย่อมมีสิทธิฟ้องต่อศาลปกครองได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสาม เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่ดำเนินโครงการหรือกิจการนั้น จัดให้มีการศึกษาและประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นก่อนดำเนินโครงการหรือกิจการได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง”

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ดังนั้นการที่ หน่วยงานอนุญาตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรม คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน คิดจะลักไก่เซ็นต์ให้ใบอนุญาตโรงงานใดๆ ไปก่อนโดยเชื่อตามที่กฤษฎีกาให้ความเห็น โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสอง ให้ครบถ้วนเสียก่อน ย่อมขัดหรือแย้งต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้น แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกฤษฎีกาน่าที่จะรู้ดีที่สุด...