WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 31, 2009

ติวป.ป.ช.รู้ทันกลโกงรูปแบบใหม่

ที่มา ข่าวสด

ติวป.ป.ช.รู้ทันกลโกงรูปแบบใหม่

รายงานพิเศษ




วิชา มหาคุณ/อัมมาร สยามวาลา

จรัญ ภักดีธนากุล/เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดโครงการสัมมนาวิชาการประจำปี สถาบันป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ ครบรอบ 1 ปี ที่สโมสรทหารบก (วิภาวดี) มีความเห็นและคำแนะนำต่อการรับมือการทุจริตในอนาคต ดังนี้



วิชา มหาคุณ

กรรมการป.ป.ช.

อภิปรายเรื่อง "ทุจริตคอร์รัปชั่นหมดไป สังคมไทยได้อะไรคืนมา" ว่า ปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่ขณะนี้คือการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการคอร์รัปชั่นที่บางครั้งถูกกฎหมายแต่ผิดหลักประโยชน์สาธารณะ

พฤติกรรมการทุจริตเชิงผลประโยชน์ทับซ้อนที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสังคมไทย มักเกิดขึ้นจาก 1.ทำธุรกิจกับตัวเอง คิดโครงการที่ตัวเองมีธุรกิจอยู่ แต่เลี่ยงให้พรรคพวกญาติพี่น้องดำเนินการแทน 2.นำโครงการลงสู่เขตเลือกตั้งตัวเอง 3.ตรากฎหมายเอื้อผลประโยชน์ให้กับธุรกิจตัวเอง 4.ใช้อำนาจแทรกแซงรัฐวิสาหกิจ 5.หาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์

6.ถอดถอนผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรอิสระ 7.จัดตั้งบริษัทและนำเงินของรัฐไปลงทุน 8.ทำงานภาคธุรกิจที่อยู่ใต้การกำกับดูแลของตน 9.ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นพิเศษแลกกับการตัดสินใจเรื่องผลประโยชน์สาธารณะ 10.ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์กับบุคคลภายนอก และ 11.ใช้อิทธิพลส่วนตัวเพื่อประโยชน์เครือญาติ

สมัยนี้นักการเมืองล้วงลูกไปถึงข้าราชการซี 3 ซี 4 แล้ว ไม่ได้ล้วงเฉพาะหัวเหมือนในอดีต ดังนั้นกฎหมายใหม่ป.ป.ช. หากใครไม่ทุจริตจะมีเกราะกำบังจากป.ป.ช. หากท่านไม่ร่วมมือกับการทุจริตและนำข้อมูลมาให้ จะโยกย้ายท่านไม่ได้เด็ดขาด ข้าราชการดีๆ จะอยู่ได้รับรางวัลปูนบำเหน็จเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ถูกกันไว้เป็นพยานไม่ให้บอบช้ำ ถูกเหยียบ

ระบบนี้ยังไม่เคยมี หากกฎหมายใหม่ผ่านจะมีเกราะกำบังให้คนดี



อัมมาร สยามวาลา

นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

มี 2-3 อย่างที่เราสูญเสียโดยมองไม่เห็น ไม่ใช่แค่การยักยอกเงินหลวงแล้วประโยชน์ไปตกอยู่กับคนที่ไม่ควรจะได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของรัฐไทยลดลงไปเยอะ

ทุกคนทราบดีว่าขสมก.มีปัญหาเยอะมาก บริการก็แย่มาก รถเก่าเป็นอันตรายต่อคนที่อยู่บนท้องถนน แต่พอมีข้อเสนอขึ้นมาเรามัวแต่ห่วงจะมีคอร์รัปชั่น แบ่งเค้กกัน โดยลืมมองไปว่าจริงๆ แล้ว รัฐต้องทำบางอย่างเพื่อแก้ปัญหา

กระทรวงสาธารณสุขก็มีปัญหาเรื่องทุจริตซื้อคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่ปี 2545 จนบัดนี้ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ อาจเป็นไปได้ว่าเพราะเป็นห่วงจะมีการคอร์รัปชั่นจึงไม่กล้าซื้อ ทำให้ประสิทธิภาพของรัฐบาลตกไปเยอะมาก เพราะทุกคนมัวแต่เสียเวลาตั้งข้อกังขา กลัวการแบ่งเค้ก ทั้งที่จริงแล้วการตั้งข้อกังขาก็เป็นหนึ่งในวิธีการแบ่งเค้ก

สุดท้ายวิวาทะทางการเมืองของไทยลดต่ำลงทุกวันๆ ทุกครั้งที่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ร้อยละ 70-80 คือปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะคิดว่าจะได้เสียงเพิ่ม เรามัวนั่งเสียเวลากับคอร์รัปชั่นทั้งที่สภามีเรื่องสร้างสรรค์อีกเยอะ

พวกเราต้องยอมรับการสูญเสียบางอย่าง เพราะขณะนี้ระบบข้าราชการไทยยิ่งตกต่ำลง ข้าราชการระดับนำแทบทุกกระทรวงจะมีคดีติดตัวอยู่จนไม่กล้าทำอะไร กว่าเราจะปลอดคอร์รัปชั่นต้องผ่านเหวที่มาจากการปราบคอร์รัปชั่น

ผมรู้ดีว่ารัฐบาลที่กำลังแก้ไขปัญหาบางอย่าง แต่ก็ประสบปัญหาในการเดินไปข้างหน้า เพราะระบบราชการไทยอยู่ในสภาพวิกฤตถูกกดดันจากหลายทาง เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยถูกขอให้ร่วมวงกับคอร์รัปชั่นจนตอนนี้ก็ติดร่างแหไปด้วย



จรัญ ภักดีธนากุล

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

กล่าวในหัวข้อ "บทบาทของป.ป.ช.ในอนาคต" ว่า หลายประเทศพบข้อยุติที่แน่นอนว่าทุจริตใหญ่ล้วนเกิดจากบุคคล 3 ฝ่าย คนที่แอบฝังตัวในฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการประจำ และฝ่ายธุรกิจเอกชน ทำให้เกิดกระบวนการใหญ่ แนบเนียน ตรวจจับพิสูจน์ยาก

ป.ป.ช.ต้องแก้ปัญหาเรื้อรังนี้ ต้องทำให้สังคมเห็นว่าเรื่องทุจริตโกงชาติโกงแผ่นดินประนีประนอมไม่ได้เด็ดขาด

ต้องป้องกันเชิงรุก ปลุกเร้าค่านิยมใหม่ให้เป็นอารยธรรมชาติไทยให้ได้ ต้องมีเครือข่ายทำเป็นระบบต่อเนื่อง ที่ทำมาได้ผลแต่สู้ผลประโยชน์ทางเม็ดเงินไม่ได้เท่านั้น งานยกย่องคนดีสุจริตก็ทำมาอย่างเต็มที่ ประชาสัมพันธ์เต็มกำลัง ยังหย่อนก็เรื่องการแทรกเข้าไปในระบบการศึกษาของชาติ

การสร้างเครือข่ายพันธมิตร ป.ป.ช.กับฝ่ายตุลาการห่างกันมากไป ต้องจับเข่าคุยกันบ้างเชิงวิชาการ ทำวิจัยร่วมกัน ปรับปรุงกฎระเบียบ ทั้งที่บทบาทสกัดกั้นโกงบ้านกินเมืองเหมือนกันแต่แยกกันทำ จะมีช่องโหว่ ช่องว่าง รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญอีก 6 องค์กร ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกัน ป.ป.ช.ควรเป็นหัวขบวนประสาน รวมทั้งภาคประชาชน จะช่วยเป็นหู เรดาร์ ตาสับปะรด

วันนี้ป.ป.ช.ยังมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกไม่พอ ต้องลงทุนสร้างเครื่องมือพื้นฐาน มีระบบงาน บุคลากรจัดเก็บงานทุจริตดีขึ้น ถ้าผลีผลามลวกๆ จะผิดพลาดไปเล่นงานคนบริสุทธิ์ได้

ป.ป.ส. ปปง. มีระบบดักฟังได้ เราก็ต้องมี และต้องช่วยรักษาป.ป.ช.ให้เป็นอิสระ เพราะคู่กรณีพยายามเอาป.ป.ช.มาเป็นประโยชน์ ใครได้เป็นฝักฝ่ายได้เปรียบ ขอให้ป.ป.ช.คิดว่ามีคอร์รัปชั่นเป็นศัตรูเท่านั้น



เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์

รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

งานวิจัยถามนักธุรกิจถึงการคอร์รัปชั่นในปี 2552 กว่าร้อยละ 50 บอกว่าเท่าเดิม ซึ่งภาคธุรกิจมองว่าเป็นทุนในการประกอบธุรกิจ 5 หน่วยงานที่คอร์รัปชั่นมาก เรียงตามลำดับ คือ ตำรวจ นักการเมือง กรมศุลกากร อบต. และกรมที่ดิน

ส่วนเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการพบว่าประสิทธิภาพมากที่สุด คือ สมัยรัฐบาลทักษิณ รองลงมารัฐบาลชวน และอภิสิทธิ์ แต่เมื่อถามเรื่องคอร์รัปชั่น พบว่ารัฐบาลทักษิณมาอันดับหนึ่งเหมือนกัน ดังนั้นประสิทธิภาพที่ดีของรัฐบาลทำไมต้องจ่ายเงินเพื่อให้งานเดินเร็วขึ้น

ส่วนรูปแบบการทุจริต อันดับ 1 คือ การปั้นโครงการ รองลงมาคือ ล็อกสเป๊ก ใช้ข้อมูลภายในกว้านซื้อที่ดิน สัญญากำกวมเปิดช่องให้ตีความหลายแบบ การปั้นโครงการเป็นเทรนด์ใหม่ในการทุจริตที่ติดตามยาก

ถ้าคอร์รัปชั่นหมดไปประเทศชาติได้อะไร ต้องไปดูเหตุการณ์นับตั้งแต่ปี 2534 มีการยึดอำนาจจากพล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ต่อมารัฐบาลนายชวน หลีกภัย ล้มจากกรณีส.ป.ก.4-01 รัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ล้มจากการคอร์รัปชั่น จนมาถึงเหตุการณ์ 19 กันยา ก็อ้างเหตุการณ์คอร์รัปชั่น

ให้ทำนายหากไม่มีการคอร์รัปชั่นก็จะไม่มีการรัฐประหาร รัฐบาลนี้ก็มีปัญหาการคอร์รัปชั่น ตั้งแต่ทุจริตนมโรงเรียน ทั้งเรื่องรถเมล์ และชุมชนพอเพียงอีก



อุทิศ ขาวเธียร

รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นอกจากการทุจริตเชิงนโยบายจาก 3 ฝ่าย นักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจแล้ว อนาคตจะมีทุจริตข้ามชาติมาเล่นด้วย

รูปแบบทุจริตเชิงนโยบาย โครงการที่เสนอจะใหญ่ขึ้น กระจอกๆ ไม่เอา เพราะเสียเวลา ไม่ได้กำไร หากทำเล็กๆ ต้องทำเป็นแพ็กเกจ โครงการจะเกี่ยวข้องกับการครอบครองสิทธิ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน การลงทุนที่กว้างขวางขึ้น

ระเบียบบริหารจะเป็นไปตามกฎหมาย ตรวจสอบได้แต่ไม่แน่ชัดว่าใครทำผิด เพราะเป็นการสั่งด้วยวาจา คนโกงเป็นคนฉลาดจะดักหน้าด้วยกฎหมายที่ทำอะไรเขาไม่ได้ ทั้งการกู้เงิน ซื้อขายยาแพง เป็นดัชนีชี้วัดว่าอนาคตทุจริตเชื่อมโยงไปหมด วันนี้ไล่ตามยากอยู่แล้วอนาคตจะยิ่งยากกว่า

วันนี้มีทุจริตเชิงนโยบาย อนาคตจะเป็นทุจริตไฮบริด พันธุ์ผสมดื้อยา ถ้าไม่เข้าใจเตรียมตัวจะกลายเป็นตัวตลก ป.ป.ช.ต้องเผชิญกับสถานการณ์ในอนาคต คือความฉลาดล้ำลึกของผู้ที่ไต่อันดับเป็นนักทุจริตเชิงนโยบาย เครือข่ายระดับอินเตอร์

นักทุจริตสไตล์ไม่มีตัวตน หน้าฉากต่อสู้เพื่อคนยากจนเป็นฮีโร่ อนาคตจะไม่เจอผู้ถูกกล่าวหา มีแต่ผู้เสียสละเพื่อคนยาก

ป.ป.ช.ต้องปรับตัวเองเป็นปัญญาธิปไตย แท็กทีมกันปราบปราม รู้เท่าทันการทุจริต