WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 4, 2009

ตรึงเสียงข้างมาก ซื้อเวลาได้เปรียบ

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_37035

ทุกกระบวนท่า "อภิสิทธิ์" ขับเคลื่อนรัฐบาลผสม

จากสถานการณ์ไต้ฝุ่น "กิสนา" พัดถล่มหลายประเทศในแถบทะเลจีนใต้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ หลายพื้นที

ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่โดนแค่หางๆพายุ แต่ ก็ทำให้ฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดปัญหาอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน

สภาพการณ์ความปั่นป่วนของลมฟ้าอากาศที่อุบัติขึ้น แทบไม่แตกต่างจากสถานการณ์การเมืองไทย

ที่มีหลายเรื่องหลายราว ถาโถมเข้ามาเป็นระลอก จนตั้งตัวกันแทบไม่ทัน

ไล่ตั้งแต่การตัดสินคดีสำคัญๆที่มีนักการเมืองตกเป็นจำเลย การชี้มูลความผิดในเรื่องร้องเรียนขององค์กรอิสระ

ความเคลื่อนไหวในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ความเคลื่อนไหวในการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่

การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมทั้งการอนุมัติโครงการเช่ารถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 4,000 คัน รวมถึงไปการอนุมัติ จัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆของกองทัพ

ปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆเหล่านี้ แม้เป็นคนละเรื่อง เป็นคนละกรณีกัน

แต่ต้องยอมรับว่า โดยภาพรวมแล้ว ทุกเรื่องล้วนเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการเมืองแทบทั้งสิ้น

ขณะเดียวกัน ภายใต้ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ก็มีส่วนเชื่อมโยงไปถึงความอยู่รอดของรัฐบาลภายใต้ การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ด้วยเช่นกัน

แน่นอน ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลมีสิทธิที่จะอยู่บริหารประเทศไปได้จนครบเทอม 4 ปี

ของสภาผู้แทนราษฎร

เมื่อสภาฯชุดนี้ก่อกำเนิดขึ้นจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 มีรัฐบาลมาแล้ว 3 ชุด คือ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และชุดปัจจุบัน รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์

ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รัฐบาลชุดนี้ ยังมีเวลาที่จะบริหารประเทศต่อไปอีก 2 ปีกว่า ถึงจะ ครบเทอม 4 ปีของสภาฯ

แต่สถานะความเป็นรัฐบาล ก็ต้องขึ้นอยู่กับการมีเสียงข้างมากในสภาฯ


ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ ครอง เสียงข้างมากได้เพราะเป็นรัฐบาลผสม ที่ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคกิจสังคม

ตราบใดที่นายกฯอภิสิทธิ์ยังสามารถบริหารจัดการประสาน ประโยชน์ให้พรรคร่วมรัฐบาลสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป

สามารถตรึงเสียงข้างมากไว้ได้

ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไปจนครบเทอม 4 ปีของสภาฯ

แต่หากไม่สามารถรักษาสภาพครองเสียงข้างมากไว้ได้เกิดความแตกแยกขัดแย้งถึงขั้นที่พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัวออกไป ส่งผลให้เสียงสนับสนุนเหลือไม่เกินครึ่งของสภาฯ

ถ้าถึงจุดนั้น รัฐบาลก็ต้องพังครืนทันที

เหตุจากการที่รัฐบาลชุดนี้ เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค มี พรรคร่วมรัฐบาลประกอบเป็นเสียงข้างมาก จึงต้องคอยเอาอกเอาใจพรรคร่วม เพื่อให้สมประโยชน์กันไป

เหนืออื่นใด จากปรากฏการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆที่เกิดขึ้น ก็มีความเกี่ยวโยงกับความอยู่รอดของรัฐบาลเช่นเดียวกัน

ไล่ตั้งแต่เรื่องของคดีความต่างๆที่มีนักการเมืองจำนวนมากตกเป็นจำเลย

ไม่ว่าจะเป็นคดีทุจริตกล้ายางที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด

หรือคดีทุจริตการออกสลากพิเศษ 2 ตัว 3 ตัว หรือหวยบนดิน ที่ศาลตัดสินลงโทษเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรง 3 ราย โดยให้รอลงอาญา 2 ปี และยกฟ้องจำเลยอื่นที่เหลือ

รวมไปถึงการที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด

ในคดีที่ ครม.ยุครัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช มีมติ เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศ ลงนามข้อตกลงสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลก ขัดต่อรัฐธรรมนูญ

โดยชี้มูลความผิดเฉพาะนายสมัคร และนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว. ต่างประเทศ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนอดีตรัฐมนตรีคนอื่นๆไม่เข้าข่ายความผิด

จากสภาพการณ์ดังกล่าวทำให้นักการเมืองจำนวนมาก โดยเฉพาะนักการเมืองที่เป็นแกนหลักในกลุ่มก๊วนต่างๆ หลุดพ้นจากคดีความ

ปรากฏการณ์ตรงนี้ ทำให้บรรยากาศทางการเมืองคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และช่วยลดแรงกดดันในวงกว้าง ที่จะกระทบต่อรัฐบาลลงไปได้เยอะ

สำหรับปัญหาด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลชุดนี้ประกาศมา ตลอดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข แต่ในภาพของความเป็นจริง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า

วิกฤติการเมืองเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติยืดเยื้อ และส่งผลต่อการอยู่รอดของรัฐบาล

ด้วยเหตุนี้ แกนนำรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการ แก้ปัญหาวิกฤติการเมือง อยู่ในลำดับต้นๆ


ในขณะที่นายกฯอภิสิทธิ์เน้นย้ำมาตลอดว่า ต้องแก้ ปัญหาการเมืองที่เป็นผลให้เกิดความ ขัดแย้งในสังคม เพื่อให้การเมืองเดินหน้าไปได้

ไม่เช่นนั้นถึงแม้จะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่อย่างที่บางฝ่ายออกมาเรียกร้อง ปัญหาก็ไม่จบ เพราะจะมีอุปสรรคในการเลือกตั้ง

บางพรรคการเมืองไปลงพื้นที่หาเสียงในภาคเหนือและภาคอีสานไม่ได้ ขณะที่บางพรรคก็ไปหาเสียงในภาคใต้ไม่ได้

เพราะจะเกิดการต่อต้านขัดขวาง และเกิดความรุนแรงถึงขั้นเป็นการเลือกตั้งเลือด ซึ่งไม่ใช่การเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง

นั่นคือ การฉายภาพให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากวิกฤติการเมือง ที่มีแนวโน้มเป็นไปได้สูงมาก

แต่อีกปมหนึ่งก็เกี่ยวข้องกับความได้เปรียบเสียเปรียบ ในการเลือกตั้งของพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างประชา-ธิปัตย์ เพราะอย่างที่เห็นๆกัน

วันนี้กระแส "ทักษิณ" ยังแรง ทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน

นายกฯอภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ รู้ดีว่า หาก มีการเลือกตั้งในห้วงเวลาอันใกล้นี้ เป็นเรื่องอันตราย เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเอาชนะคู่แข่งในสนามเลือกตั้ง

ฉะนั้น ต้องซื้อเวลาให้นานที่สุด หาจังหวะตีตื้น รอโอกาสได้เปรียบ

เห็นได้ชัดๆ จากกรณีความเคลื่อนไหวในการแก้ไข รัฐธรรมนูญที่ ส.ส.ทั้งซีกฝ่ายค้าน และพรรคร่วมรัฐบาล รวมถึง ส.ว.ส่วนใหญ่ เร่งรัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ

ในช่วงแรก พรรคประชาธิปัตย์พยายามยื้อเวลา โดยเสนอให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.3 ขึ้นมา พิจารณา

แต่เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้านไม่เห็นด้วย

ก็ต้องโอนอ่อนผ่อนตาม

ยอมเปิดทางให้มีการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็นตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ โดยให้ฝ่ายกฎหมายของรัฐสภาเป็นผู้ยกร่าง

อย่างไรก็ตาม นายกฯอภิสิทธิ์ยืนยันที่จะต้องมีการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ประเด็น

โดยมีการกำหนดกรอบเวลาว่าจะใช้เวลาประมาณ 9 เดือน แบ่งเป็นประชามติ 3 เดือน ขั้นตอนในสภา 3 เดือน และออกกฎหมายลูก 3 เดือน

แน่นอน การทำประชามติในเรื่องการแก้ไขรัฐ- ธรรมนูญ ถือเป็นหลักการตามกระบวนการประชา-ธิปไตย แบบเปะๆ

แต่ขณะเดียวกัน ก็ถือเป็นยุทธวิธีที่จะทำให้ รัฐบาลยื้อเวลาอยู่ต่อไปได้ท่ามกลางกระแสกดดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังเชี่ยวกราก

ซึ่งตรงนี้ก็สมประโยชน์กับพรรคร่วมรัฐบาลที่ยังรอแบ่งเค้กจากงบฯกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการไทยเข้มแข็ง

พูดง่ายๆว่า ต้องทำทุกอย่างเพื่อยืดเวลาในการ เป็นรัฐบาล

แม้กระทั่งปมร้อนๆ เรื่องการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่ แทน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. ที่เป็นปัญหายืดเยื้อยาวนาน

มีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ประชุมกันแล้วประชุมกันอีก สู้กันมาหลายยก ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป

นายกฯอภิสิทธิ์ พยายามผลักดัน พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ ขึ้นนั่งเก้าอี้ ผบ.ตร.

แต่คนกันเอง ทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกฯ สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร. ขึ้นเป็น ผบ.ตร.

ท่ามกลางข่าวลือสะพัดเรื่องสัญญาณพิเศษ ข้อมูลเก่า ข้อมูลใหม่

ในที่สุดนายกฯอภิสิทธิ์ก็ใช้วิธียื้อ ซื้อเวลาออก

ไปอีก ด้วยการตั้ง พล.ต.อ.ปทีป รักษาราชการแทน ผบ.ตร. ยังไม่เรียกประชุม ก.ต.ช.เพื่อเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่

กลายเป็นปัญหาปริร้าวรุนแรงภายในพรรคประชาธิปัตย์

ถึงขั้นที่นายนิพนธ์ ร่อนหนังสือลาออกจากตำแหน่ง เลขาธิการนายกฯ

พรรคประชาธิปัตย์แตกเป็นก๊ก เป็นเสี่ยง

ยังไม่รวมถึงผลข้างเคียงที่กระทบไปถึงพรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคภูมิใจไทย ที่จับมือมัดข้าวต้มกับ "สุเทพ-นิพนธ์" ในเกมแต่งตั้ง ผบ.ตร.

จากจุดเล็กๆ แค่เรื่องการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ก่อให้เกิด สนิมเนื้อใน "กินลึก"

ที่สำคัญ สนิมเนื้อในจากปมนี้ อาจส่งผลให้การซื้อเวลา ยื้ออายุรัฐบาลของ "อภิสิทธิ์"

ถึงจุดสิ้นสุด เร็วกว่ากำหนด.


"ทีมการเมือง"