WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, November 13, 2009

แล้ว รัฐบาล "อภิสิทธิ์" ก็ยกระดับ ปัญหาของ "ทักษิณ" สู่ความขัดแย้งกับ "กัมพูชา"

ที่มา มติชน



ในที่สุด กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อันเริ่มจากรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ก็กลายเป็นความขัดแย้งระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา

นี่ย่อมเป็นการยกระดับของ ปัญหา

การไล่ล่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นภารกิจหลักนับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 อยู่แล้ว

ไม่ว่าจะกระทำโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่เรียกว่า คปค. ไม่ว่าจะกระทำโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า คมช.

หรือจะกระทำโดยรัฐบาลอันมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

กระนั้น การไล่ล่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยพื้นฐานก็ดำเนินการโดยมีองค์กรแห่งอำนาจรัฐเป็นคู่ความขัดแย้งกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยตรง

เป็นเรื่องระหว่างอำนาจรัฐไทยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

โดยผ่านกระบวนการของ คมช. กระบวนการของรัฐบาล กระบวนการขององค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. อย่าง คตส. อย่างคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ อย่าง กกต. อย่าง สนช. และอย่าง ส.ส.ร.

แต่พลันที่รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกเอกอัครราชทูตไทยกลับ การไล่ล่านี้ก็มิได้เป็นเรื่องระหว่าง รัฐบาล กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อไปอีกแล้ว

หากเป็นเรื่องระหว่าง ไทย กับ กัมพูชา

หากพิจารณาจากคำแถลงไม่ว่าของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ก็ตรงกัน

ตรงกันในด้านที่เห็นว่า การแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษารัฐบาลเป็นที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โดยรัฐบาลกัมพูชา คือ ปัญหา

ทางหนึ่ง แสดงว่ากัมพูชาให้การยอมรับในความสำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ทางหนึ่ง แสดงว่ากัมพูชาไม่สนใจว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องคำพิพากษามีความผิดในคดีซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษก

เท่ากับกัมพูชาไม่ยอมรับกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย

เท่ากับกัมพูชาเห็นแก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มากกว่าความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างไทยกับกัมพูชา

รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องเรัยกตัวเอกอัครราชทูตไทยกลับ

รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องมีมติเห็นชอบโดย ครม.ให้ยกเลิกบันทึกข้อตกลงอันเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่เคยเห็นชอบร่วมกันเมื่อปี 2544

มาตรการเหล่านี้กัมพูชามีท่าทีอย่างไร

น่าแปลกที่กัมพูชาแทบไม่ได้ให้ความสนใจกับท่าทีและการตอบโต้อย่างเป็นจังหวะก้าวของประเทศไทยแต่อย่างใด

เมื่อไทยเรียกเอกอัครราชทูตกลับ กัมพูชาก็เรียกเอกอัครราชทูตกลับ

เมื่อมีข่าวว่าไทยอาจสั่งปิดชายแดน แถลงจากสมเด็จฯ ฮุน เซนก็คือ กัมพูชาก็จะสั่งปิดชายแดนเช่นเดียวกัน

ไม่เพียงเท่านั้น กัมพูชายังเชิญ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางเข้ากับกัมพูชา

เป็นการเดินทางเข้ามาที่แม้ว่ารัฐบาลไทยยืนยันจะทำเรื่องขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน กัมพูชาก็ไม่สนใจ

ประกาศยืนยันว่าจะไม่ส่งตัวให้กับไทยอย่างแน่นอน

ไม่มีใครรู้ว่ามาตรการขั้นต่อไปของรัฐบาลไทยเป็นอย่างไร แต่ที่เห็นอย่างเด่นชัดก็คือกัมพูชาแทบไม่ได้ให้ความสนใจต่อมาตรการที่แสดงออกมาเป็นลำดับของรัฐบาลไทยแต่อย่างใดยังคงเดินหน้าให้ความสนใจต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรต่อไป

ปัญหานี้จึงได้เลยขั้นตอนไปจากที่เคยเป็นปัญหาระหว่าง รัฐบาลไทย กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปเสียแล้ว

หากเป็นปัญหาระหว่าง รัฐบาลไทย กับ รัฐบาลกัมพูชา

น่าสนใจก็ตรงที่ทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาล้วนถือไพ่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

เพียงแต่เป้าหมายตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง

คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ ทิศทางในการพัฒนาของปัญหานี้จะดำเนินไปอย่างไร

จะดำเนินไปโดยมีการลดระดับความขัดแย้ง หรือว่าจะดำเนินไปโดยมีการยกระดับความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น

คำตอบอยู่ที่รัฐบาลไทย คำตอบอยู่ที่รัฐบาลกัมพูชา