WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 14, 2009

เปิด (บางส่วน) คำพิพากษา “ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล” คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

ที่มา ประชาไท

ต่อไปนี้คือ บางส่วนของคำพิพากษาคดีของ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ‘ดา ตอร์ปิโด’ ในข้อหาที่เรียกกันติดปากว่า ‘หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ’ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พิพากษาลงโทษจำคุก 18 ปี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2552

แม้จะมีนักกฎหมายระบุว่าโดยหลักการแล้ว การเผยแพร่คำพิพากษานั้นเป็นสิ่งที่กระทำได้ แต่กับกรณีดังกล่าว และกับสถานการณ์ปัจจุบัน ทำให้หลักการเป็นเรื่องเลือนราง และความกล้าหาญเป็นของหายาก จึงจำเป็นต้องบอกกล่าวและขออภัยกันล่วงหน้า
ส่วนที่นำเสนอ แม้ตัดเอาสาระสำคัญจากคำฟ้องในส่วนของการกล่าวปราศรัยออกทั้งหมด ก็ยังคงเหลือ “บริบท” ของเรื่องราวซึ่งมีรายละเอียด มีประเด็นให้ขบคิด ถกเถียง และศึกษาทำความเข้าใจได้อีกไม่น้อย
ท้ายที่สุด คงต้องยืนยันว่า การเผยแพร่คำพิพากษาในช่วงเวลานี้ไม่ได้จงใจจะปลุกกระแสใด เกาะกระแสไหน หากแต่เป็นความล่าช้าของการเข้าถึงข้อมูล และหากจะถามถึงเจตนา คดีนี้นับเป็นอีกคดีประวัติศาสตร์ของสังคมไทยไม่ว่าจะมองจากมุมไหน และนับเป็นคดีแรกที่จำเลยต่อสู้คดี จึงควรค่าแก่การศึกษาทำความเข้าใจ ด้วยหวังว่าสังคมไทยจะถกเถียงกันบนข้อเท็จจริง ห้ำหั่นกันอย่างมีเหตุมีผล และมีอิสรภาพที่จะใคร่ครวญเรื่องราวต่างๆ ด้วยปัญญาญาณของตนเอง
คำพิพากษา
คดีหมายเลขดำที่ อ.3959/2551
คดีหมายเลขแดงที่ อ.2812/2552
วันที่ 28 เดือน สิงหาคม พุทธศักราช 2552
ความอาญา ระหว่างโจทก์ - พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด จำเลย - นางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล
เรื่อง ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
สิ่งที่โจทก์ฟ้อง หน้า 1-11
โจทก์ฟ้องว่า ขณะเกิดเหตุคดีนี้และในปัจจุบันประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน เป็นพระมหากษัตริย์ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 2 บัญญัติว่า “ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” มาตรา 8 บัญญัติว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” และมาตรา 12 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี” จำเลยได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกล่าวปราศรัยด้วยเครื่องขยายเสียงบนเวทีเสียงประชาชนที่ท้องสนามหลวง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม จำเลยได้กล่าวตอนหนึ่งว่า .............censor............
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยกล่าวปราศรัยด้วยเครื่องขยายเสียงบนเวทีเสียงประชาชนที่ท้องสนามหลวง ท่ามกลางประชาชนที่ฟังจำนวนหลายคน ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม จำเลยได้กล่าวตอนหนึ่งว่า ...........censor..........
เมื่อระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2551 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง เวลาต่อเนื่องกัน จำเลยกล่าวปราศรัยด้วยเครื่องกระจายเสียงบนเวทีเสียงประชาชนที่ท้องสนามหลวง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม มีข้อความซึ่งจำเลยได้กล่าวว่า ................censor..................
การกระทำของจำเลยดังกล่าวโดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง โดยเจตนาจะทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ เหตุเกิดที่แขวงพระบรมราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3634/2551 ของศาลนี้ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , 91 นับโทษจำเลยคดีนี้ ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3634/2551 ของศาลนี้
จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ
โจทก์นำสืบ หน้า 11-18
ทางโจทก์พิจารณานำสืบว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี แต่งตั้งวันที่ 4 กันยายน 2541 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 XXX สารวัตรสืบสวนปราบปรามตำรวจนครบาลชนะสงคราม ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้สืบสวนติดตามข่าวการปราศรัยที่ท้องสนามหลวง ต่อมาเวลา 18 นาฬิกา XXX XXX และ XXX เดินทางไปที่ท้องสนามหลวง โดยแต่งกายนอกเครื่องแบบและนำเครื่องบันทึกเสียงเอ็นพีสามกับกล้องวิดีโอติดตัวไป XXX เป็นผู้บันทึกเสียงจากเครื่องบันทึกเสียงเอ็มพีสาม และ XXX เป็นผู้บันทึกภาพจากกล้องวิดีโอ คืนดังกล่าวฝนตกไม่สามารถบันทึกภาพจากกล้องวิดีโอ แต่สามารถบันทึกเสียงจากเครื่องบันทึกเสียงเอ็มพีสามได้ จำเลยขึ้นกล่าวปราศรัยสองครั้ง ครั้งแรกเวลาประมาณ 21 นาฬิกา ถึง 22 นาฬิกา ครั้งที่สอง จำเลยปราศรัยประมาณ 30 นาที โดยเริ่มเวลาประมาณ 24 นาฬิกา XXX นำเสียงที่บันทึกไปถ่ายข้อมูลลงแผ่นซีดีตามวัตถุพยาน วจ.1 และ XXX พิมพคำปราศรัยของจำเลยทั้งสองครั้งตามเอกสารหมาย จ.1 และจ.2 ตามลำดับ คำปราศรัยของจำเลยครั้งที่สอง มีข้อความบางตอนหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชินี กล่าวคือจำเลยปราศรัยว่า ...........censor…........ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธ
จำเลยนำสืบ หน้า 19-23
จำเลยนำสืบว่า จำเลยจบการศึกษารัฐศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง รัฐศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำเลยประกอบอาชีพเป็นผู้สื่อข่าว ตั้งแต่พ.ศ.2534 จนกระทั่งถูกจับคดีนี้ จำเลยเกี่ยวข้องกับการเมืองครั้งแรกเมื่อจำเลยไปทำข่าวที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ในวันดังกล่าวมีการพูดเกี่ยวกับความไม่ชอบธรรม การได้ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของคุณหญิงจารุวรรณ ขณะนั้นจำเลยเป็นนักข่าวสายกระทรวงการคลังจึงได้ออกไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวและจำเลยเห็นว่าหลังจากมีการรัฐประหารประชาชนกล่าวถึงสื่อในแง่ลบ จำเลยเรียนมาทางด้านรัฐศาสตร์จึงไม่ชอบการปฏิวัติรัฐประหาร จึงต้องการมีส่วนร่วมเคลื่อนไหวในฐานะสื่อมวลชนแต่ไม่สามารถส่งบทความต่อต้านการทำงานของคณะรัฐประหารไปยังสื่อมวลชนอื่นได้ จึงเคลื่อนไหวโดยออกพูดตามเวทีต่างๆ ขณะนั้นที่ท้องสนามหลวงมีการรวมกลุ่มของกลุ่มที่ต่อต้านการทำรัฐประหาร เช่น กลุ่ม 19 กันยา ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มวันเสาร์ต่อต้านเผด็จการ จำเลยขึ้นปราศรัยบนเวทีของกลุ่มวันเสาร์ต่อต้านเผด็จการ แต่กลุ่มดังกล่าวรวมกลุ่มกันเฉพาะวันเสาร์ จำเลยเห็นว่าไม่เพียงพอ จึงรวมกลุ่มกับเพื่อนๆ พูดปราศรัยที่ท้องสนามหลวงทุกเย็น ต่อมาวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 มีการตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย จึงมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ กลุ่ม นปก. โดยมีการรวมตัวกันที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้า ทำให้กลุ่มย่อยที่ท้องสนามหลวงมีความสำคัญน้อยลง จำเลยจึงมาจัดรายการวิทยุทางอินเตอร์เน็ต แต่หากวันใดไม่มีการจัดเวทีใหญ่ที่บริเวณสนามหลวง จำเลยก็จะนำคอมพิวเตอร์มาจัดรายการวิทยุและพูดประเด็นทางการเมือง หากมีการจัดเวทีใหญ่จำเลยก็จะร่วมฟังการปราศรัย ขณะนั้นมีกลุ่มที่มีแนวคิดตรงข้ามกับกลุ่ม นปก. คือกลุ่มพันธมิตร มีแกนนำคือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล กลุ่มดังกล่าวรวมตัวกันขับไล่รัฐบาลของพรรคไทยรักไทย ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ และมีการเรียกร้องให้ทหารเข้ามาทำการรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 จำเลยและนายสนธิได้พูดตอบโต้ประเด็นทางการเมืองคนละเวทีหลายครั้ง จำเลยต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และไม่ต้องการให้คณะรัฐประหารกับกลุ่มพันธมิตรดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้อง จำเลยพูดปราศรัยมาประมาณ 2 ปี จำไม่ได้ว่าในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยได้กล่าวปราศรัยหรือไม่ และจำไม่ได้ว่าพูดเกี่ยวกับประเด็นอะไรบ้าง คำถอดเทปที่โจทก์นำมาเป็นพยานหลักฐานนั้นจำเลยไม่ยืนยันว่าเป็นคำปราศรัยของจำเลย จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องและเชื่อว่าประเทศไทยอยู่ได้เนื่องจากมีสถาบันพระมหากษัตริย์
การวินิจฉัยของศาล หน้า 20-23
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นประมุข พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นพระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการแรกว่า จำเลยได้กล่าวคำปราศรัยตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีXXX XXX และ XXX เจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม เบิกความสอดคล้องกันว่า เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา พยานทั้งสามเดินทางไปสืบสวนหาข่าวการปราศัยที่บริเวณท้องสนามหลวง จำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัย 2 ครั้ง ครั้งแรกเวลา 21 นาฬิกา ครั้งที่สองเวลาประมาณ 24 นาฬิกา XXX ใช้เครื่องบันทึกเสียงเอ็มพีสามบันทึกเสียงคำปราศรัยของจำเลย แล้ว XXXได้ถ่ายข้อมูลเสียงลงในแผ่นซีดี ตามวัตถุพยานหมาย วจ.1 XXX เป็นผู้ถอดคำปราศรัยของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.1 จ.2 XXX เห็นว่าคำปราศรัยของจำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยต่อพนักงานสอบสวน และตรวจสอบย้อนหลังพบว่าจำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยที่บริเวณสนามหลวงอีก 2 ครั้ง คือวันที่ 7 มิถุนายน 2551 และวันที่ 13 มิถุนายน 2551 เวลาประมาณ 23 นาฬิกา ตามแผ่นซีดีวัตถุพยานหมาย แผ่นแรก และวจ.3 และคำปราศรัยของจำเลยทั้งสองวันตามเอกสารหมาย จ.3 และจ.4 XXX เห็นว่าคำปราศรัยของจำเลยหมิ่นประมาท ดูหมิ่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวน เมื่อพยานโจทก์ทั้งสามปากดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานตำรวจประจำสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม ซึ่งบริเวณท้องสนามหลวงที่จำเลยขึ้นกล่าวปราศรัยอยู่ในเขตรับผิดชอบ จึงเป็นหน้าที่ของพยานทั้งสามที่จะต้องสืบสวนหาข่าวการกระทำความผิดอาญาที่เกิดขึ้น เมื่อ XXX เบิกความยืนยันว่าไม่เคยรู้จักกับจำเลยมาก่อน XXX เบิกความว่าเคยเห็นจำเลย แต่ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว และ XXX เบิกความว่าไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน จึงไม่มีเหตุน่าระแวงสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลยให้ต้องรับโทษ เชื่อว่าเบิกความไปตามความเป็นจริง แม้โจทก์จะไม่ได้นำพยานบุคคลที่บันทึกเสียงคำปราศรัยของจำเลยในวันที่ 7 มิถุนายน 2551 กับวันที่ 13 มิถุนายน 2551 มาเบิกความเป็นพยาน และส่งแผ่นซีดีคำปราศรัยของจำเลยเป็นวันที่ 13 กรกฎาคม 2551 ซึ่งมิใช่วันที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขึ้นกล่าวปราศรัยในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 โดยอ้างว่า XXX ส่งแผ่นซีดีผิดมาให้พนักงานสอบสวนก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเบิกความว่าจำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยมาประมาณ 2 ปี นับตั้งแต่มีการรัฐประหาร จึงจำไม่ได้ว่าในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะขึ้นกล่าวปราศรัยหรือไม่ และหากขึ้นพูด ประเด็นอะไรบ้างก็จำไม่ได้ แสดงว่าจำเลยได้ขึ้นกล่าวปราศรัยหลายครั้งและจำเลยมิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้กล่าวปราศรัยตามที่โจทก์ฟ้อง เพียงแต่อ้างว่าจำเลยจำไม่ได้เท่านั้น แม้เกิดความผิดพลาดในการส่งแผ่นซีดีต่อศาล แต่ต่อมาโจทก์ก็ส่งแผ่นซีดีที่ถูกต้องซึ่งมีข้อมูลเสียงคำปราศรัยของจำเลยในวันที่ 13 มิถุนายน 2551 ต่อศาล และศาลได้ทำการตรวจสอบแผ่นซีดีซึ่งเป็นวัตถุพยานหมาย วจ.1 วจ.2 แผ่นแรก และ วจ.3 กับเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.4 ต่อหน้าโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 24 มิถุนายน 2552 แล้ว ปรากฏว่า เสียงในแผ่นซีดีวัตถุพยานหมาย วจ.1 ตรงกับบันทึกการถอดคำปราศรัยเอกสารหมาย จ.1 จ.2 เสียงในแผ่นซีดีวัตถุพยานหมาย วจ.2 แผ่นแรกตรงกับบันทึกการถอดคำปราศรัยเอกสารหมาย จ.3 และเสียงในแผ่นซีดีวัตถุพยาน วจ.3 ตรงกับการบันทึกการถอดคำปราศรัยเอกสารหมาย จ.4 ทั้งเสียงในแผ่นซีดีทั้งสามแผ่นดังกล่าวลีลาการกล่าวปราศรัยและน้ำเสียงเหมือนกัน เชื่อว่าบุคคลที่พูดในแผ่นซีดีทั้งสามแผ่นดังกล่าวเป็นบุคคลเดียวกัน เมื่อโจทก์มี XXX XXX และXXX เบิกความยืนยันว่าเสียงคำปราศรัยในแผ่นซีดีวัตถุพยาน วจ.1 เป็นเสียงของจำเลย จึงเชื่อว่าเสียงคำปราศรัยในแผ่นซีดีวัตถุพยานหมาย วจ.2 แผ่นแรก และ วจ.3 เป็นเสียงของจำเลยเช่นกัน พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยได้กล่าวคำปราศรัยตามที่โจทก์ฟ้อง
การวินิจฉัยของศาล หน้า 23-31
มีปัญหาต้องวินิจฉัยประการที่สองว่า ข้อความที่จำเลยกล่าวตามฟ้องเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถหรือไม่
......... censor..............
การวินิจฉัยของศาล หน้า 31-32
ส่วนที่จำเลยเบิกความว่า จำเลยไม่เคยมีเจตนาจาบจ้วงเบื้องสูง และยังเชื่อว่าประเทศไทยอยู่ได้เนื่องจากมีสถาบันพระมหากษัตริย์และต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้กลุ่มคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และกลุ่มพันธมิตร ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ศาลได้พิจารณาข้อความที่จำเลยกล่าวทั้งหมดแล้ว มิได้พิจารณาเพียงตอนใดตอนหนึ่ง การที่จำเลยกล่าวข้อความไปอย่างไร แล้วกลับมาแก้ว่า ไม่มีเจตนาตามที่กล่าว ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง และแม้การกระทำของจำเลยจะไม่บังเกิดผล เพราะไม่มีใครเชื่อถือคำกล่าวของจำเลย จำเลยก็หาพ้นความรับผิดไม่ พยานหลักฐานของโจทก์จึงรับฟังได้ว่าข้อความที่จำเลยกล่าวตามฟ้องเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถตามที่โจทก์ฟ้อง ส่วนคำขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3634/2551 ของศาลนี้ ศาลได้ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าคดีดังกล่าวศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2552 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ อ.2396/2552 แต่คดีดังกล่าวศาลไม่ได้ลงโทษจำคุกจำเลย จึงไม่อาจนับโทษต่อตามที่โจทก์ขอได้
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 18 ปี คำขอให้นับโทษต่อให้ยก