ที่มา บางกอกทูเดย์
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีหมาดๆในขณะนั้น ได้มีความพยายามโชว์ฟอร์มความเป็นผู้นำ ว่าจะสามารถคุมเกมได้ จึงได้ประกาศยืนยันในวันที่ 23 มกราคม 52 เลยว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มอีกโดยยอมรับว่าเป็นสิทธิของฝ่ายค้านในกรณีที่เสนอนับองค์ประชุมสภาจนทำให้สภาล่ม แต่คาดว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มเกิดขึ้นอีกเหตุการณ์ที่ประชุมร่วมรัฐสภาล่มเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากที่มีการเสนอประชุมลับ เพื่อพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี และกรอบการเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย-มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ควบคู่ไปด้วยนั้น
ถือเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่รัฐสภาในยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องล่มลง หลังจากที่มีการล่มอย่างซ้ำซากมาตั้งแต่เริ่มเป็นรัฐบาลแล้ว
เกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาด้วยความต้องการของกลุ่มอำมาตยาธิปไตย และกลุ่มที่เกี่ยวพันกับทหาร คมช.ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ใช้การพลิกเกม จากเหตุการณ์ที่การประชุมสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2551 ล่มลง เพราะพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องบุคคลที่จะขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีนอกจากฉวยจังหวะเสนอชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วยังมีกลไกพิเศษที่เข้ามาช่วย ที่ทำให้ก๊วนเพื่อนเนวิน และพรรคภูมิใจไทย พลิกขั้วทางการเมือง จนสุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์สามารถที่จะมีเสียงมากพอที่จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและทำให้นายอภิสิทธิ์ได้เป็นนายกรัฐมนตรี สมดังที่ใฝ่ฝัน
แต่เพราะจุดกำเนิดในการเป็นรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เพราะเหตุการณ์สภาล่มหรือไม่??? ที่กลายเป็นอาถรรพ์ให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ประสบกับเหตุการณ์สภาล่มอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพราะนับตั้งแต่ก้าวแรกของการเป็นรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 การประชุมสภาของรัฐบาลชุดนี้ก็ประเดิมการล่มลงแล้ว เมื่อถูกพรรคฝ่ายค้านขอให้นับองค์ประชุม แล้วปรากฏว่าเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลหายไป 9 เสียง ไม่ครบองค์ประชุม ทำให้สภาล่มลงเป็นครั้งแรกซ้ำยังเป็นการล่มเพราะนายอภิสิทธิ์ เองก็เป็นคนหนึ่งที่ออกจากการประชุมสภา คล้อยหลังไปประมาณ 5 นาทีเท่านั้นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในวันนั้นมีฐานะเป็นผู้จัดการตั้งรัฐบาลให้กับนายอภิสิทธิ์ได้เป็นผลสำเร็จ
อ้างว่าคงเป็นเพราะช่วงใกล้วันตรุษจีน หลายคนคงอยู่ต่างจังหวัด และเป็นช่วง 6 โมงเย็นแล้ว จึงทำให้มีการขาดไป 9 เสียงถือเป็นบทเรียนว่าส.ส.ทุกคนต้องตระหนัก และต้องมีการพูดคุยกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกที ว่าแต่ละเสียงมีความหมาย ขาดไป 1 เสียงหรือไม่ระวัง การทำงานในสภาต่อไปจะลำบาก ในวันนั้นมีกระแสคำถามที่ว่า คิดว่ามีการหักหลังจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ เล่นเอานายสุเทพไม่พอใจ และกล่าวว่า “คำถามของคุณ มองในแง่ร้ายอยู่เรื่อย มองแง่ดีบ้าง หากมองในแง่ดีก็ได้กลับบ้านเร็วขึ้น”ในขณะที่ผู้อาวุโสอย่างนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในวันนั้นว่า เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ที่จะต้องทำให้ส.ส.มาประชุมให้ครบ
ซึ่งเชื่อว่า ฝ่ายค้านจะเสนอนับองค์ประชุมแบบนี้เรื่อยๆ รัฐบาลจึงต้องระวังมากขึ้น ต้องทำให้องค์ประชุมครบ การทำงานจะได้ไม่สะดุด และส.ส.รัฐบาลที่ขาดประชุม ก็ควรรับผิดชอบต่อเหตุการณ์นี้ “ไม่ใช่กงกรรมกงเกวียน แต่รัฐบาลต้องเตรียมความพร้อม และระมัดระวังให้มากขึ้น ส่วนจะเป็นเกมส์การเมืองหรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้แต่เราต้องระวัง ทุกคนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเพราะเป็นภารกิจของตัวเอง ไม่มีใครเตือนใครได้” ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเอาไว้อย่างชัดเจนในขณะนั้นในขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีหมาดๆ ในขณะนั้น ได้มีความพยายามโชว์ฟอร์มความเป็นผู้นำ ว่าจะสามารถคุมเกมได้ จึงได้ประกาศยืนยันใน
วันที่ 23 มกราคม 52 เลยว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มอีกโดยยอมรับว่าเป็นสิทธิของฝ่ายค้านในกรณีที่เสนอนับองค์ประชุมสภาจนทำให้สภาล่ม แต่คาดว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มเกิดขึ้นอีกเพราะจะมีการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหารือและทำความเข้าใจกับบรรดาสมาชิก รวมถึงในช่วงเย็นจะมีการพบปะกันของพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งจะนำเรื่องนี้มาหารือกัน จึงเชื่อว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มเกิดขึ้นอีกเชื่อว่านายอภิสิทธิ์คงจะไม่ลืมสิ่งที่ได้เคยพูดเอาไว้เมื่อตอนต้นปีอย่างแน่นอน ดังนั้นไม่เพียงต้องถามว่าเกิดอะไรขึ้นการประชุมสภาจึงล่มซ้ำซากมากขึ้น และคงต้องถามด้วยว่า คำมั่นที่ว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มอีกนั้นยังเป็นสัญญาของนายกรัฐมนตรีอยู่หรือไม่
หรือว่า ณ วันนี้เป็นเพียงสัญญาปากเปล่า เป็นแค่ลมปากเป่า ไปเสียแล้ว!!!เพราะหลังจากครั้งนั้นสภาก็ล่มซ้ำซากมาตลอด เช่นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ก็มีการประชุมร่วมรัฐสภาล่มลงอีก เพราะนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พยายามผลักดันสารพัดวาระเกี่ยวกับการกู้เงิน 800,000 ล้านบาท ทั้งกรอบการเจรจากู้เงินจากต่างประเทศตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ วงเงินในการใช้เงินกับโครงการต่างๆ อาทิ โครงการก่อสร้างทางสายหลักให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง ซึ่งจะขอกู้ เงินจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณถนนนนทบุรี 1 ของกรมทางหลวงชนบท
จะขอกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 8 ของการประปานครหลวง ที่จะขอกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยสารพัดจะยัดเข้ามา จนส.ส.เพื่อไทยได้อภิปรายคัดค้านว่า ประธานในที่ประชุมในวันนั้น คือ นายชัย ชิดชอบ ไม่สามารถนำทั้งหมดมาพิจารณารวมกันได้ เนื่องจากมีสาระสำคัญคนละอย่าง ไม่เช่นนั้นจะถือว่าขัดต่อข้อบังคับการประชุม สุดท้ายสภาก็ล่มอีกในที่สุด
ทำให้แม้แต่นายชัย เองยังต้องทำใจ ระคนเหนื่อยหน่าย ถึงกับออกปากว่า“การตีรวนเป็นเรื่องธรรมดาระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล ถ้ารัฐบาลเพลี่ยงพล้ำฝ่ายค้านก็บดขยี้ ซึ่งรัฐบาลต้องเตรียมพร้อม ส่วนเรื่องการยุบสภาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ถ้าเห็นว่ามีเหตุการณ์วุ่นวายก็อาจจะยุบสภาก็ได้ ที่ผมเคยบอกไปว่าหากมีประชุมล่มถึง 4 ครั้งรัฐบาลควรยุบสภานั้น ตอนนี้ยังไม่ครบ 4 ครั้ง” ปู่ชัยเตือนสติ ส.ส.ซีกที่เป็นรัฐบาลกันตรงๆ แต่พอวันที่ 21 และ 22 ตุลาคม สภาก็ล่มติดกัน 2 ครั้งซ้อนโดยในวันที่ 21 ตุลาคม ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐสภาในช่วงค่ำ บรรยากาศการประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด หลังอภิปรายมาตรา 4 ว่าด้วยการออกข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ หลังอภิปรายกว่า 2 ชั่วโมง นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ เสนอปิดการอภิปราย แต่ฝ่ายเพื่อไทยไม่ยอม
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เสนอนับองค์ประชุม ปรากฏว่า มีสมาชิกแสดงตน 243 เสียง เกินกึ่งหนึ่ง 4 เสียง ส.ส.ฝ่ายค้านจึงเสนอนับด้วยวิธีการขานชื่อ เพราะเชื่อว่ามีการกดบัตรแทนกัน แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอม ทำให้ทั้งสองฝ่ายประท้วงกันวุ่นวาย แม้นายชัยสั่งพักประชุม 5 นาที เมื่อเปิดประชุมทั้งสองฝ่ายยังคงประท้วงกันเรื่องการนับองค์ประชุมนาน 2 ชั่วโมง จนในที่สุดสภาก็ล่มลงอีกครั้งเมื่อ 20.30 น. รุ่งขึ้นวันที่ 22 ตุลาคม สภาก็ล่มอีกเมื่อมีการตั้งกระทู้สดของนายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ที่ถามเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ทำให้ ส.ส.ประชาธิปัตย์ มีการประท้วงวุ่นวายไปหมด จึงทำให้สภาล่มในที่สุด
ซ้ำยังทำให้นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภา ซึ่งเป็นประธานที่ประชุมในวันนั้น ถูกโจมตีจากรัฐบาลไปด้วยและล่าสุดก็มาสู่เหตุการณ์สภาล่มในวันที่ 9 พฤศจิกายนอย่างที่เกิดขึ้นเกิดอะไรขึ้นกับรัฐบาลทั้งๆ ฝที่เคยเชื่อมั่น เคยประกาศก้องว่าสภาจะไม่ล่มอีก ถึงขั้นบีบและบี้ให้ ช่อง 11 ถ่ายทอดสด เพราะมั่นใจในเสียง แต่กลับกลายเป็นการประจานการทำงานของ ส.ส. ที่เพียงแค่อยากเป็นรัฐบาล แต่ไม่ใส่ใจการประชุมสภา... นับทีไรก็ล่มเมื่อนั้น“กฎเหล็ก” ที่เคยคุยโวว่าให้ ส.ส. วิปรัฐบาล 1 คนคุมเสียง ส.ส. 5 คนนั้น ถึงวันนี้กลายเป็นเพียงกฎเหล็กที่สนิมเกรอะกรังไปแล้วหรือนี่จะเป็นจุดตายของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ซึ่งก่อนหน้ามีกระแสข่าวออกมาว่า ได้มีการส่งสัญญาณมายังพรรคการเมืองพรรคหนึ่งว่า จะต้องทำให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์พ้นเก้าอี้ภายในก่อนปีใหม่ ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงต้นเดือนตุลาคม
เท่ากับว่าหากเป็นจริงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์มีเวลาเหลือเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้ผ่านมา 1 เดือนแล้ว จึงเท่ากับว่าจากนี้ไปกลายเป็น 60 วันอันตรายของรัฐบาลมาร์คจริงๆเพราะหลังจากเกิดกระแสข่าวดังกล่าว สภาก็ล่มถี่ยิบ 3-4 ครั้งภายในระยะเวลาเดือนเดียวแถมยังเป็นการล่มที่เกิดขึ้นจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเองเป็นหลักส่วนใหญ่เสียด้วยแบบนี้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะรอดได้หรือไม่???.. จะต้องยุบสภาหรือไม่???เพราะแม้แต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภา โดยเร็ว หากประชาธิปัตย์เชื่อว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลสูงแล้วจริงๆ ก็ไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์บ้านเมืองยืดเยื้ออีกต่อไปงานนี้นายอภิสิทธิ์ สาหัสแล้วจริงๆ
60 วันอันตรายรัฐบาลมาร์ค
ชัย ชิดชอบ เคยพูดไว้ชัดว่า หากสภาล่มเกิน 4 ครั้ง รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้แล้ว ในขณะที่นายอภิสิทธิ์เคยยืนยันว่าจะไม่มีเหตุการณ์สภาล่มอีก แต่วันนี้สภาล่มถี่ยิบ... ฤารัฐบาลจะไม่รอดแล้ว