WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 11, 2009

สื่อนอกมอง"มาร์ค-แม้ว-ฮุนเซน"

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 10 พ.ย. นายแดนนี่ เคมป์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอเอฟพี เขียนบทวิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน กับกัมพูชา ซึ่งรุนแรงขึ้นทุกขณะ หลังรัฐบาลกัมพูชาแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึก ษาเศรษฐกิจ

นอกจากนั้น นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระบุว่าจะไม่ส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณให้ทาง การไทย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเหยื่อทางการเมือง

พร้อมส่งเทียบเชิญพ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปเยือนกรุงพนมเปญ เพื่อเปิดบรรยายพิเศษให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจชาวกัมพูชาฟัง ที่กระ ทรวงการคลัง กรุงพนมเปญ ในวันที่ 12 พ.ย.

บทวิเคราะห์ของ นายแดนนี่ เคมป์ มีรายละเอียดดังนี้



"การเดินทางเยือน (กรุงพนมเปญ) ของทักษิณ อาจผลักไทยและกัมพูชาเข้าสู่สงคราม"

โดย แดนนี่ เคมป์ , กรุงเทพฯ 10 พ.ย. 2552


เคมป์เริ่มต้นรายงานข่าวว่า การเดินทางเยือนกรุงพนมเปญของพ.ต.ท.ทักษิณ เป็นประ โยชน์แก่ทั้งตัวอดีตผู้นำไทยเองและเจ้าภาพอย่างกัมพูชา แต่อาจฉุดรั้งให้ทั้งสองประเทศหวนกลับสู่ความขัดแย้งด้านพรมแดนอีกครั้ง

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนและทักษิณ ซึ่งเป็นคู่หู ก๊วนกอล์ฟเดียวกันยามว่าง กำลังใช้ความขัดแย้งจากกรณีการแต่งตั้งอดีตนายกฯไทยรายนี้เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ มาแก้แค้นรัฐบาลไทยชุดปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เตือนว่า ขณะนี้ทั้งฮุนเซนและทักษิณ กับรัฐบาลกรุงเทพฯ ซึ่งเดือดดาลเต็มที่ กำลังติดอยู่ในเกมที่ต่างฝ่ายต่างทำให้เห็นว่าประเทศของตนตกอยู่ในอันตราย

อาจจุดชนวนความขัดแย้งกรณีปราสาทเขาพระวิหารรอบใหม่ จนเกิดการปะทะถึงขั้นเสียเลือดเสียเนื้อขึ้นอีกครั้ง

"สถานการณ์ใหม่นี้ได้ทำให้ไทยและกัมพูชาขยับเข้าไปใกล้จุดแตก" พอล แชมเบอร์ส นักวิจัยอาวุโสด้านการเมืองไทย ประจำมหาวิทยาลัยไฮเดนเบิร์ก ประเทศเยอรมนี บอกกับเอเอฟพี

ทักษิณและฮุนเซนมีความสนิทสนมกันนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2546 เมื่อเกิดเหตุจลาจลชาวกัมพูชาเผาสถานเอกอัครราชทูตไทย ผู้นำทั้งสองจึงต้องฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสายสัม พันธ์ดังกล่าวยังคงสืบสานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน แม้ทักษิณถูกคณะรัฐประหารโค่นอำนาจ เมื่อปี 2549

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิเคราะห์การ เมือง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ กล่าวว่า ความโกรธที่เกิดขึ้นจากการแต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ช่วยให้ฮุนเซนสามารถดำเนินแผนการล้างแค้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย

นายฐิตินันท์กล่าวด้วยว่า ฮุนเซนต้องการทำให้อภิสิทธิ์อับอายขายหน้า หลังจากไม่ยอมเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนบริเวณปราสาทพระวิหาร ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศ (นายกษิต ภิรมย์) ตราหน้าเขาว่าเป็น "อันธพาล"

ทั้งนี้ นับตั้งแต่คณะกรรมการมรดกโลกประ กาศให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 ก็เกิดเหตุปะทะบริเวณชายแดนเขาพระวิหารหลายครั้ง มีทหารเสียชีวิตอย่างน้อย 7 นาย

นักวิเคราะห์ระบุว่า ผู้นำรัฐบาลกัมพูชาต้องการทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลไทย ซึ่งมีท่าทีเป็นปฏิปักษ์ โดยหวังว่าถ้ารัฐบาลไทยล้มครืนลงเมื่อไหร่ จะเปิดช่องให้พ.ต.ท.ทักษิณและพันธมิตร ของเขากลับคืนสู่อำนาจ

และเป็นที่น่าสงสัยอีกประการว่า ฮุนเซนจงใจเลือกเงื่อนเวลาสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในช่วงที่นายอภิสิทธิ์ กำลังจะทำหน้าที่ประธานกลุ่มอาเซียน โดยมีกำหนดการเปิดประชุมร่วมกับประธานาธิบดีบารัก โอบามา ในวันอาทิตย์

ขณะเดียวกัน งานใหม่ของพ.ต.ท.ทักษิณ (ในฐานะที่ปรึกษาเศรษฐกิจกัมพูชา) ทำให้อดีตเจ้า ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้คนนี้ มีฐานที่มั่นใกล้กับประเทศไทย เพื่อเคลื่อนไหวกลับคืนสู่อำนาจ ภายหลังผ่านพ้นเหตุการณ์รัฐประหารมา 3 ปี

และกัมพูชายังเป็นจุดที่พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด นับตั้งแต่หลบหนีออกนอกประเทศเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 เพื่อหนีโทษจำคุกคดีทุจริต

"ฮุนเซนแค่พยายามยั่วยุรัฐบาลอภิสิทธิ์ให้โอเวอร์รีแอ๊ก ทำอะไรเกินกว่าเหตุ เป็นความสัมพันธ์ในลักษณะเกื้อกูลกันของฮุนเซนและทักษิณ ที่ยืนอยู่บนผลประโยชน์ มันคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา" นายฐิตินันท์กล่าว

นักวิเคราะห์และนักการทูตชี้ว่า การเดินทางเยือนกรุงพนมเปญของประธานพรรคเพื่อไทย (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) ซึ่งสนับสนุนพ.ต.ท. ทักษิณนั้นคือ หลักฐานแสดงให้เห็นว่าทั้งคู่กำลังเดินหมากเคลื่อนไหว

"คนที่จะยั่วยุรัฐบาลไทยได้ดีพอๆ กับทักษิณ ก็คงหนีไม่พ้นฮุนเซน" นักการทูตในกรุงพนมเปญ กล่าว

แรงกดดันขณะนี้จึงไปตกอยู่กับรัฐบาลไทย ซึ่งไม่ควรทำตัวโอเวอร์รีแอ๊ก หลังจากเพิ่งโกรธจัดจนสั่งถอนเอกอัครราชทูตออกจากกรุงพนม เปญเมื่อสัปดาห์ก่อน และฉีกข้อตก ลงด้านการสำรวจพลังงานและก๊าซธรรมชาติกับกัมพูชา

กลุ่มชาตินิยมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "กลุ่มคนเสื้อเหลือง" ซึ่งก่อเหตุปิดสนามบินกรุงเทพเมื่อปีก่อน เรียกร้องให้รัฐบาลใช้นโยบายแข็งกร้าวมากขึ้น

"สถานการณ์จะเลวร้ายขนาดไหน ขึ้นอยู่กับว่าอภิสิทธิ์จะสามารถระงับอารมณ์และต้าน ทานแรงกดดันจากกลุ่มคนที่จงใจทำให้เหตุขัดแย้งบานปลายได้หรือไม่ ถ้าเขายังคงออกแถลงการณ์เหมือนๆ กับช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา สถาน การณ์จะยิ่งเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ" ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ประเทศสิงคโปร์กล่าว

นักวิเคราะห์ระบุด้วยว่า ทั้งสามฝ่ายอาจแพ้กันทั้งหมด ถ้าอุณหภูมิความขัดแย้งปะทุขึ้นและการปะทะครั้งใหม่เกิดขึ้นระหว่างทหารตามแนวชาย แดน

โดยฝ่ายฮุนเซน ซึ่งมีกำลังทหารน้อยกว่าประ เทศไทย กำลังเล่นเกมที่อันตรายมาก

ด้านทักษิณเสี่ยงจะถูกมองว่าไม่ซื่อสัตย์ต่อประเทศไทย

ส่วนอภิสิทธิ์อาจทำลายชื่อเสียงภาพลักษณ์ของตัวเขาเองและประเทศไทยในเวทีโลก

"สถานการณ์ตอนนี้เปราะบางมาก และเป็นการดำเนินนโยบายที่อาจนำไปสู่หายนะ"