WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 12, 2009

ยกเลิก MOU ไทย-กัมพูชาไม่ง่ายอย่างที่คิด!

ที่มา บางกอกทูเดย์

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลไทย –กัมพูชา กรณีที่สมเด็จฯ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี กัมพูชา แต่งตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของไทยเป็นที่ปรึกษา พร้อมปฏิเสธการส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ ให้กับรัฐบาลไทย ตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนจนนาํมาสกู่ ารตดั สนิ ใจของคณะรฐั มนตรีเมื่อวันที่ 10 พ.

ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมติยกเลิก บันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู ระหว่างรัฐบาลไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนบริเวณอ่าวไทย ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2544บนเนื้อที่ 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตรโดยการยกเลิกเอ็มโอยู ถือเป็นมาตรการขั้นที่ 2 ของรัฐบาลไทยที่ตอบโต้กัมพูชา หลังจากก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยใช้ยาแรงเรียกทูตประจำกรุงพนมเปญกลับไทยการยกเลิกเอ็มโอยูดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการตอบโต้ ตามข้อเสนอของกระทรวงต่างประเทศ ที่ให้เหตุผลว่าเป็นการลงนามโดย พ.ต.ท.ทักษิณ กับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่มีตกลงด้านความร่วมมือต่างๆ 14 ข้อ โดยเน้นรายละเอียดเรื่องการแสวงประโยชน์

จากแหล่งปิโตรเลียมเป็นหลัก ที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบได้นอกจากบันทึกความตกลงในเรื่องดังกล่าวแล้ว ไทย-กัมพูชา ยังมีบันทึกความตกลงร่วมกันอีก 17 ฉบับอาทิ ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว, การจัดตั้งคณะกรรมการชายแดน, ความร่วมมือด้านการค้าเศรษฐกิจ วิชาการ และ วัฒนธรรม, ด้านการปราบปรามการค้ายาเสพติด, สนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน, บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก และความร่วมมือด้านสารสนเทศและกิจการวิทยุกระจายเสียงและ กิจการวิทยุโทรทัศน์ไทย –กัมพูชาส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกMOU ดังกล่าว จะต้องปฏิบัติการรัฐ

ธรรมนูญ มาตรา 190 ที่ต้องนำเข้าขอความเห็นจากที่ประชุมรัฐสภาหรือไม่นั้นมีความเห็นจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดย นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า ต้องดูที่เจตนารมณ์ก่อนว่าเข้าหลักเกณฑ์ มาตรา 190 หรือไม่ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลยังไม่ได้ส่งเรื่องมายังศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความ แต่มองว่า ต้องดูที่เงื่อนไขการทำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศด้วย ว่าจะสามารถยกเลิกฝ่ายเดียวได้หรือไม่ขณะที่ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับเห็นว่า รัฐบาลไม่มีสิทธิที่จะไปยกเลิกสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ เพราะการที่อีกฝ่ายจะยกเลิกได้ ต้องมีอีกฝ่ายทำผิดเงื่อนไขข้อตกลงแต่กรณีนี้เหมือนรัฐบาล

ดำเนินการยกเลิกฝ่ายเดียว พร้อมเห็นว่า เรื่องดังกล่าว ไม่มีข้อขัดแย้งในข้อกฎหมายจึงไม่น่าจะส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าเข้าข่ายมาตรา 190 หรือไม่กอ่ นหนา้ นี้นายวาร ์กมิ ฮง ผเู้จรจาเขตแดนของกัมพูชา ออกมายืนยันในทำนองเดียวกันว่า บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ฉบับดังกล่าว ไม่สามารถยกเลิกได้หากไม่ได้รับการยินยอมกับคู่สัญญาซึ่งเรื่องนี้ นายธานี ทองภักดี รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงต่างประเทศ ระบุว่าเป็นการตีความของกัมพูชาที่แตกต่างกับฝ่ายไทยซึ่งแต่ละฝ่ายอาจจะมีมุมมองที่แตกต่างกันเหมือนกับกรณีก่อนหน้านี้ที่ฝ่ายกัมพูชาเคยตีความว่าไม่สามารถส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ

ชินวัตร ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนให้กับไทย ขณะที่ฝ่ายไทยก็ตีความว่าสามารถส่งตัวมาได้อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่ามีหลายมาตราในอนุสัญญาเวียนนา ค.ศ.1958 เปิดช่องให้สามารถยกเลิกเอ็มโอยูดังกล่าวได้กรณียกเลิกเอ็มโอยูไทย-กัมพูชานอกจากจะลดความสัมพันธ์กับกัมพูชาแล้ว มาตรการดังกล่าว ยังเป็นการลดความสัมพันธ์ในรัฐสภาไทยด้วยเช่นกัน ดังที่เห็นภาพการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณายกเลิกเอ็มโอยูเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมาต้องบอกว่าสภาไทยป่วนอีกครั้งเพราะข้อหารือ ที่ถูกฝ่ายการเมืองนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองตอบโต้กันในสภาให้มันส์ปากเท่านั้นส่วนนอกสภาหินอ่อนความเห็นจากฝ่ายที่สนับสนุนรัฐ อย่างพรรคการเมืองใหม่และกลุ่มพันธมิตรฯก็ออกมาสนับสนุนให้ยกเลิกเอ็มโอยูดัง

กล่าว พร้อมกับชื่นชมการกล้าตัดสินใจของรัฐบาลด้านฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาลก็มองว่าการตอบโต้ดังกล่าวเป็นท่าทีที่แข็งกร้าวเกินไปส่งผลเสียกับประเทศมากกว่าแม้เวลานี้ จะยังไม่สามารถยกเลิกเอ็มโอยูระหว่างไทย-กัมพูชา ได้ดังที่รัฐบาลต้องการแต่สิ่งหนึ่งเห็นจากการออกมาตรการนี้คือความขัดแย้งภายในคนไทยด้วยกันเองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามและไม่พยายามทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น มุ่งแต่ตอบโต้ซึ่งกันและกัน จนอาจลืมผลประโยชน์ของชาติหรือนักการเมืองไทยต้องทำบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ในเรื่องรักชาติกันใหม่ ก็ไม่ทราบ 