WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 9, 2009

10 ธันวาคม:วันรัฐธรรมนูญและวันสิทธิมนุษยชน

ที่มา Thai E-News


“โค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ แก้ไขรัฐธรรมนูญ 50
สร้างระบอบประชาธิปไตยให้สมบูรณ์ ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจสังคม”


โดย เปลวเทียน ส่องทาง
9 ธันวาคม 2552

สังคมไทยต้องกระทำการตรวจสอบองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย เนื่องจากที่ผ่านมาองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กรมีส่วนในการเคลื่อนไหวให้ท้ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือบุคคลที่ได้รับการยอมรับสร้างภาพให้สังคมไทยว่าเป็น”ราษฎรอาวุโส” “นักวิชาการ” “เอ็นจีโอ” “สื่อมวลชน” และอื่นๆ ทั้งหลาย แต่กลับสนับสนุนวิธีการแบบอำนาจนิยม ส่งเสริมระบอบอำมาตยาธิปไตย ซึ่งเป็นการทำลายการพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน


นับตั้งแต่มีการปฏิวัติ ปี 2475 จาก”ระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์” มาสู่ “ระบอบประชาธิปไตย” รัฐไทยได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ที่ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะที่รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายการปกครองสูงสุดของประเทศ

กล่าวได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์ทางอำนาจของกลุ่มพลังต่างๆในสังคมไทย แต่อย่างใดก็ตามรัฐธรรมนูญก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในสังคมการเมืองไทย

ขณะเดียวกัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ผู้นำประเทศต่างๆ ได้ตระหนักว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญที่จะก่อให้เกิดสันติภาพแลความเจริญก้าวหน้าขึ้นในโลก จึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้น เพื่อเป็นองค์การโลกที่จะคุ้มครองมนุษยชาติให้ได้รับความเป็นธรรมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

สมัชชาสหประชาชาติได้มีมติรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 และมีมติประกาศให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็น “วันสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Day)

อย่างไรก็ตาม ภายใต้วิกฤตทางเศรษฐกิจโลกปัจจุบันซึ่งเริ่มจากประเทศทุนนิยมศูนย์กลางอเมริกาได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะภาวะของคนตกงานนับสองล้านคนในปีหน้า สินค้าด้านการเกษตรกรรมจะตกต่ำมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างที่เห็นและเป็นอยู่มากยิ่งขึ้นด้วย

นอกจากนี้แล้ว สังคมไทยไม่เพียงเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกเท่านั้น ปัจจัยภายในประเทศของความขัดแย้งระหว่าง”ขั้วอำนาจอำมาตยาธิปไตย” กับ “ขั้วพลังประชาธิปไตย” ก็ยังไม่จบสิ้น นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549

โดยเฉพาะ ปัญหารากเหง้าของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่มาจาก “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” โดย “อำมาตยาธิปไตย”และเพื่อ”อำมาตยาธิปไตย”

กระนั้นก็ตาม ภายหลังจากการเลือกตั้ง พรรคพลังประชาชนได้เสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาลตามหลักการประชาธิปไตยรัฐสภา แต่ความขัดแย้งดังกล่าวยังไม่จบสิ้น เนื่องด้วยมีการเคลื่อนไหวของ”พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”เพื่อล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวก็ได้สร้างความบอบช้ำ ซ้ำเติมให้กับสังคมไทยมากยิ่งขึ้นในหลายๆด้านด้วยกัน ที่สำคัญโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจย่ำแย่มากยิ่งขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนไหวยึดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจนถูกประณามไปทั่วโลก และนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่มีทหารและอำมาตย์หนุนหลังในที่สุดอย่างที่รับทราบกัน

ขณะที่ ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า ปรากฏขึ้นมาจากการที่สังคมไทย ที่มีการพัฒนาที่ไม่สมดุล ไม่เคารพสิทธิเสรีภาพ ไม่มีความเสมอภาคและไม่มีความเป็นธรรม และรากเหง้าส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการขาดอำนาจต่อรองของพลังชนชั้นล่าง ตลอดทั้งสังคมไทยที่ไม่เป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างที่ควรจะเป็น และหรือการพัฒนาประชาธิปไตยในสังคมไทยมักหยุดชะงักจากอำนาจอำมาตยาธิปไตยโดยคณะรัฐประหารทั้งเปิดเผยและซ่อนรูปอยู่เสมอ

ในโอกาสวันรัฐธรรมนูญและวันสิทธิมนุษยชน ผู้เขียนมีความคิดเห็นต่อสถานการณ์การเมืองเศรษฐกิจและสังคม และข้อเสนอเบื้องต้น ดังนี้

1. ในการชุมนุมของคนเสื้อแดงในวันที่ 10 ธันวาคม 2552 นี้ เพื่อรำลึกและสืบทอดเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ที่รัฐบาลไม่ควรนำมาเป็นข้ออ้างในการใช้พรบ.ความมั่นคงแห่งชาติหรืออ้างเหตุผลต่างๆใดๆมาทำลายความชอบธรรมของการชุมนุมตามสิทธิในระบอบประชาธิปไตย

2 รัฐบาลต้องดำเนินให้มีการยุบสภาเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่โดยเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติวิธีและเป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องคืนอำนาจอธิปไตยให้ประชาชน โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ ต้องดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 50

โดยใช้กระบวนการมีส่วนของภาคประชาสังคมลักษณะเดียวกับกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญปี 40 โดยมีหลักการสำคัญของ ”ระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา”และ”ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม”ควบคู่กัน คือ ลดอำนาจของระบอบอำมาตยาธิปไตยทั้งหมด ส่งเสริมและสร้างเงื่อนไขให้สถาบันพรรคการเมืองพัฒนาให้ ก้าวหน้าขึ้น ที่สำคัญต้องส่งเสริมสถาบันของภาคประชาชนต่างๆ เช่น สหภาพแรงงาน องค์กรเกษตรกร และอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

3. ในสถานการณ์การวิกฤตการเมืองปัจุบัน ขอประณามอำนาจนอกระบบที่แทรกแซงทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ตลอดทั้งนักการเมืองที่ไม่มีจุดยืนเพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากว่าเป็นการทำลายการพัฒนาประชาธิปไตยอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ต่อเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยและผู้ให้ท้ายพันธมิตรทั้งหลาย

4.สังคมไทยต้องกระทำการตรวจสอบองค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งหลาย เนื่องจากที่ผ่านมาองค์กรสิทธิมนุษยชนหลายองค์กรมีส่วนในการเคลื่อนไหวให้ท้ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือบุคคลที่ได้รับการยอมรับสร้างภาพให้สังคมไทยว่าเป็น”ราษฎรอาวุโส” “นักวิชาการ” “เอ็นจีโอ” “สื่อมวลชน” และอื่นๆ ทั้งหลาย แต่กลับสนับสนุนวิธีการแบบอำนาจนิยม ส่งเสริมระบอบอำมาตยาธิปไตย ซึ่งเป็นการทำลายการพัฒนาประชาธิปไตยให้ก้าวหน้าขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งด้วยเช่นกัน

5. ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ ต้องผลักดันให้สังคมไทยเกิด”รัฐสวัสดิการ”ขึ้น โดยมีมาตรการเก็บภาษีที่ก้าวหน้า เพื่อสร้างหลักประกันสังคมพื้นฐานเบื้องต้นให้กับประชาชนในสังคมไทย จาก“ครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน” ต้องเร่งดำเนินการปฏิรูปที่ดินทั้งชนบทและในเมือง ให้ชุมชนและสังคมส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคมไทย

6. ท้ายสุด ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนนั้น ถือเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อศักดิ์ศรี สิทธิความเป็นมนุษย์ เพื่อต้องสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในสังคม ที่สำคัญแยกไม่ออกจากการที่สังคมการเมืองต้องมีพื้นที่ประชาธิปไตยมิใช่เผด็จการอำมาตยาธิปไตยหรืออำนาจนิยม

ดังนั้น ผู้ปกครองต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ประชาชนตรวจสอบถ่วงดุลย์ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ มีส่วนร่วมด้านต่างๆ และวิพากษ์วิจารณ์ถอดถอนผู้ปกครองได้