WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 11, 2009

สังคมทวงถาม"รัฐธรรมนูญนิยม"

ที่มา ข่าวสด

รายงานพิเศษ




เนื่องในวันรัฐธรรมนูญ 10 ธ.ค. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย จัดเสวนาวิชาการ "รัฐธรรมนูญนิยม : สิ่งที่ยังขาดในสังคมไทย"

ที่ห้องประชุมคณะศิลปศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



ธีระ สุธีวรางกูร

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์

เมื่อถึงวันรัฐธรรมนูญ ผมนับครั้งได้ในการจะพูดถึงรัฐธรรมนูญด้วยความภาคภูมิใจ วันนี้ยังต้องมานั่งวิจารณ์รัฐธรรมนูญว่าบกพร่องหรือมีค่าควรนับถืออย่างไร

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ผมไม่ค่อยภาคภูมิใจเนื่องจากมีที่มาจากการรัฐประหาร มีสมมติฐานการยกร่างที่ไม่เป็นไปตามพื้นฐานหลักวิชาจริงๆ แต่มาจากสมมติฐานการทำลายล้างทางการเมืองทั้งเนื้อหาโดยทั่วไปและในบทเฉพาะกาล

ความหมายรัฐธรรมนูญนิยมมีความหลากหลาย แต่บทสรุปทางวิชาการที่ตรงกัน คือ แนวคิดในการใช้รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร มาเป็นเครื่องมือกำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ กลไกการจัดตั้งองค์กรรัฐ เพื่อจำกัดอำนาจรัฐ ผู้ปกครองรัฐ และปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน<>b

ปัจจุบันมีการเพิ่มแนวคิดอีก 2 เรื่อง คือ เพื่อทำให้เกิดเสถียรภาพ ประสิทธิภาพรัฐบาลในฐานะสถาบันทางการเมือง และสร้างความเป็นธรรมในสังคม

มีข้อสังเกตต่อรัฐธรรมนูญปัจจุบันว่าใช้แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมหรือไม่ ประเด็นแรก คือ การเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ อาจมองว่ายกร่างตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมแล้ว แต่สิ่งที่ควรคิดมากกว่านั้น คือหลังจากมีรัฐธรรมนูญปี 2475 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดจริงหรือไม่

เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ คือ รัฐธรรมนูญถูกฉีกและร่างใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า มิติด้านสังคมวิทยาการเมืองจะพูดไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดจริง เป็นแต่ในนามเท่านั้น

ประเด็นที่สอง หลักการแบ่งแยกอำนาจตามรัฐธรรมนูญนิยม พบว่ารัฐธรรมนูญปัจจุบันแม้มีการแบ่งอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แต่ดูลึกๆ แล้ว ไม่เป็นตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมจริง

ตัวอย่างคือการให้องค์กรตุลาการเข้ามามีอำนาจหน้าที่หลายทาง ทั้งวินิจฉัยคดี เสนอคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เสนอร่างกฎหมาย และสรรหาบุคคลในองค์กรอิสระ สรรหา ส.ว.

การเสนอร่างกฎหมายเป็นอำนาจใหม่ขององค์กรตุลาการ ที่มีทั้งบทตัดและบทเสริมอำนาจคนอื่น โดยเฉพาะบทตัดอำนาจองค์กรอื่น ถือเป็นการทำลายการแบ่งแยกอำนาจในเนื้อหาสาระ ส่วนอำนาจในการสรรหา สะท้อนว่าองค์กรตุลาการไปกำหนดองค์กรที่จะตรวจสอบองค์กรอื่น

อาจมองว่าเป็นหลักวิชาปกติ แต่หากพิจารณาบริบทใน 2-3 ปีนี้ องค์กรตุลาการได้รับมอบหมายหรือคิดว่าตัวเองได้รับมอบหมายให้เป็นตุลาการภิวัฒน์ แก้ปัญหาบ้านเมือง สะท้อนบทบาทว่าเกี่ยวข้องกับการเมืองหนัก

สุดท้ายองค์กรตุลาการไม่ได้วางบทบาทเหมาะสม หรือใช้อำนาจไม่เหมาะสมสอดรับตัวระบบ บทบาทองค์กรตุลาการได้ทำลายความน่าเชื่อถือองค์กรตุลาการเอง



สุรชาติ บำรุงสุข

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเมืองไทยมีปัญหารวมศูนย์ตั้งแต่ปี 2475 คือเรื่องรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง และสถาบันทหารหรือกองทัพ แต่เรามักถกแค่กรอบรัฐธรรมนูญและพรรคการเมือง มักไม่ค่อยพูดถึงทหาร

ทั้งที่ความจริงทหารมีบทบาทในการเมืองไทยมากตั้งแต่ปี 2452 สมัยรัชกาลที่ 6 แต่ปี 2454 ถูกกวาดจับในช่วงเหตุการณ์ ร.ศ.130 และมาสำเร็จในปี 2475

ช่วงหลังปี 2475 เกิดความขัดแย้งทั้งทหารกับทหาร และทหารกับพลเรือน ปัญหาถูกทิ้งค้างไว้ เกิดการสะดุดทางการเมือง จนเกิดการรัฐประหารทั้งสำเร็จและไม่สำเร็จถึงวันนี้ 27 ครั้ง

ทั้งที่พฤษภา 2535 เราคิดว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย ทหารในการเมืองไทยจะจบแล้ว และก้าวสู่ความเข้มแข็งของกลไกรัฐสภา รัฐธรรมนูญนิยมขับเคลื่อน แต่ปี 2547-48 ก็เริ่มเกิดเรื่อง

จากปี 2535 ที่คิดว่าเราปรับโครงสร้างไปเยอะ แต่กลุ่มที่ชูธงเขียวอ่อนเมื่อปี 2540 กลับมาชูธงเขียวขี้ม้าในปี 2549 ทั้งอดีตฝ่ายซ้ายหรือสื่อ กลับเชื่อวาทกรรมเสนาภิวัฒน์ หวังว่าจะเคลื่อนไปคู่กับกลไกตุลาการภิวัฒน์ให้เกิดในเวทีการเมืองไทย หากยังคิดอย่างนี้การจัดเวทีแบบนี้ยังต้องมีอีกหลายปี

หากต้องการให้มีอนาคตการเมืองไทย ต้องสร้างกระบวนการจัดอำนาจรัฐ ต้องการคนหลายอาชีพ คนชำนาญเป็นอนาคตของเรา เพราะมองปี 2553 จะหนักกว่านี้มาก คำถามยึดไม่ยึดอำนาจจะกลับมา จะเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 28 ขึ้นอีก

วันนี้เรานิยมการเมืองว่า "ตุลาเพี้ยน เสนาพลาด" หรือ เสนานิยม ที่ยึดอำนาจเสร็จ วันนี้ขอเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง เรามีนายกฯถูกปลดจากการทำรายการอาหาร แต่ตุลาการกลับไปสอนหนังสือได้

รัฐธรรมนูญนิยมไม่ใช่ง่าย หากคนไม่เชื่อเครื่องมือการเลือกตั้ง แต่เชื่อเรื่องการยึดอำนาจรัฐประหาร และมาเป็นหัวหน้าพรรคกลายเป็นสภาโจ๊ก

เรากำลังพายเรือในอ่าง การเมืองร่างแล้วฉีกวนเวียนไม่จบง่ายๆ รัฐประหารสำเร็จ 15 ครั้ง ไม่สำเร็จ 12 ครั้ง

หากสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์รัฐธรรมนูญไทยและรัฐประหารไทย รัฐสภาใหม่ควรจัดพื้นที่ให้ 2 ส่วนนี้ เพราะมีจำนวนมาก จะได้ให้คนรุ่นหลังและส.ส.ได้เห็น



จาตุรนต์ ฉายแสง

ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย

กว่า 70 ปี เราใช้รัฐธรรมนูญจำนวนมาก แต่ไม่ปฏิบัติตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม ไทยมีรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ แต่ไม่ได้หมายถึงมีรัฐธรรมนูญนิยม เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายสูงสุด ฉีกได้หมด

รัฐธรรมนูญศักดิ์สิทธิ์กลายเป็นกฎหมายสำคัญอันดับสองรองจากคำสั่งคณะรัฐประหาร

เราฉีกและเขียนรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ไม่ใช่เพื่อเป็นเครื่องมือประชาชน แต่เพื่อเป็นเครื่องมือของประเทศนี้ในการขอเป็นสมาชิกสังคมประชาธิปไตยในโลก

แต่ภายในประเทศกลับยึดอำนาจประชาชน ลิดรอนสิทธิเสรีภาพ เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างแนบเนียน วันนี้ไทยจึงไม่มีรัฐธรรมนูญที่คุ้มครองอำนาจประชาชน

รัฐบาลนี้มีที่มาไม่ชอบธรรม แต่ไม่อยากให้ล้มรัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 เพราะไม่ว่ารัฐบาลไหนมาก็ไม่ใช่รัฐบาลที่เป็นตัวแทนประชาชนแท้จริง

รัฐบาลภายใต้รัฐธรรมนูญนี้เหมือนเทศบาลทำถนน สร้างความสวยงามบ้านเมือง แต่อำนาจจริงไม่มี ทหารตำรวจไม่ทำตามคำสั่ง มีกลไกตัดทอนพร้อมล้มรัฐบาลเมื่อใดก็ได้

ไทยไม่มีรัฐธรรมนูญ มีแต่ธรรมนูญการปกครองอำนาจอยู่ที่คณะบุคคล หากยังใช้ประเพณีการปกครองที่ไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยก็ฉีกได้อีก

อยากเสนอให้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย ก้าวไกลกว่านั้น คือสังคมไทยไม่ยอมรับให้มีการฉีกรัฐธรรมนูญอีก ไม่ยอมให้ใครเหนือกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ ปลูกฝังแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมที่ถูกต้อง สู้ทางความคิดไม่ว่าทุจริตคอร์รัปชั่นจะอ้างรัฐประหารไม่ได้ ปล่อยให้ฉีกรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะมีบทพิสูจน์ว่ารัฐประหารเลวร้ายกว่าเดิมเสมอ

การต่อต้านแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมจะยิ่งทำลายประเทศเสียหายยับเยิน นำสังคมสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หากไม่รีบหาทางออกสังคมไทยจะอยู่กับความล้าหลัง ถอยหลัง เผชิญหน้ากันมากขึ้น รัฐบาลล้มเหลว ปัญหาประเทศมากขึ้น ทั้งทุจริตคอร์รัปชั่นสูงขึ้น เพราะไม่มีความเชื่อว่าทุกคนอยู่ใต้กฎหมาย

เมื่อถึงวันนั้นจะราบรื่นหรือราบคาบ หรือชักเย่อกันเหมือนตอนนี้ หรือก้าวผ่านได้ ถ้าเราปลูกฝังประชาธิปไตยโดยสันติวิธีหากทำได้เร็วและดี จะไม่ต้องเผชิญหน้าความขัดแย้งรุนแรง แต่ถ้าก้าวผ่านไม่ได้ รัฐประหารจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาวิกฤตแน่

แต่เชื่อว่าสังคมไทยยังมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมประชาธิปไตย ที่มีนิติรัฐนิติธรรมสันติวิธีได้เรายังมีความหวัง