WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 12, 2009

มอง ปัญหาไทย-กัมพูชา ผ่าน กรณีจับ ศิวรักษ์ ชุติพงษ์ มองอย่างเห็น "พลวัต"

ที่มา มติชน



กรณีการจับกุม นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ทำให้ภาพความสัมพันธ์ที่มีปัญหาอยู่แล้วระหว่างไทย-กัมพูชา มีความแจ่มชัด

แจ่มชัดว่าใครเป็นฝ่ายรุก แจ่มชัดว่าใครเป็นฝ่ายรับ

พลันที่ถูกจับกุมในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2552 ตัวของ นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ อาจอยู่ในลักษณะเป็นเป้านิ่ง

กระนั้น เป้านิ่งนี้ก็ดำเนินไปอย่างมีการเคลื่อนไหว

การเคลื่อนไหว 1 คือ นายคำรบ ปาลวัฒน์วิชัย เลขานุการเอก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ ถูกขับภายใต้ข้อกล่าวหา "บุคคลอันไม่พึงปรารถนา"

ส่งผลให้ นายกษิต ภิรมย์ ต้องเดินทางจากสิงคโปร์กลับกรุงเทพฯกลางดึก

การเคลื่อนไหว 1 คือ กระบวนการของ นางสิมารักษ์ ณ นครพนม มารดานายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ซึ่งเป็นห่วงชะตากรรมของลูกซึ่งถูกจำขัง ณ คุกเปรยซอว์

อย่างแรกสุดก็ต้องการไปเยี่ยม อย่างต่อมาก็ต้องการต่อสู้ในทางคดีความ

ในเบื้องต้น ความหวังของ นางสิมารักษ์ ณ นครพนม อยู่ที่รัฐบาล อยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ

แต่แล้วความหวังนี้ก็ค่อยๆ หมดไป

ปัญหาการจับกุม นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ จึงสะท้อนภาพความสัมพันธ์ที่มีปัญหาอยู่แล้วระหว่างไทย-กัมพูชา ให้มองเห็นสภาวะแห่งปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม

นั่นก็คือ รัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศไทย ค่อยๆ หมดบทบาท

นั่นก็คือ พรรคเพื่อไทย อันเป็นพรรคฝ่ายค้านที่มี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นสดมภ์หลัก ค่อยๆ เพิ่มบทบาท

เป็นบทบาทในเชิงเปรียบเทียบให้เห็นสายสัมพันธ์

อย่าว่าแต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อย่าว่าแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะสามารถต่อสายโทรศัพท์กับผู้นำรัฐบาลกัมพูชาได้อย่างเป็นเรื่องธรรมดา

หากแม้กระทั่ง นายนพดล ปัทมะ ก็มีเครดิตเป็นอย่างสูง

รูปธรรมในเชิงเปรียบเทียบก็คือ การเดินทางไปเยี่ยมบุตรชายที่กรุงพนมเปญของ นางสิมารักษ์ ณ นครพนม หนแรกที่ประสานโดยกระทรวงการต่างประเทศ กับ หน 2 ที่ประสานโดย นายนพดล ปัทมะ แห่งพรรคเพื่อไทย มีความแตกต่าง

แสดงว่าสถานะของ นายนพดล ปัทมะ กับกัมพูชาได้รับการจัดวางในระนาบที่สูงเมื่อเทียบกับสถานะของ นายกษิต ภิรมย์

แม้ นายกษิต ภิรมย์ จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ยิ่งเมื่อศาลกัมพูชาได้พิจารณาและอ่านคำพิพากษาชี้ขาดคดีของ นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2552 ก็ยิ่งเห็นภาพเปรียบเทียบได้เด่นชัด

บทบาทของรัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศไทย ถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง

ถูกปฏิเสธในระดับที่ นางสิมารักษ์ ณ นครพนม ยืนยันว่าหากต้องการช่วยก็ขอให้ทั้งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่เฉยๆ

นางหวังพึ่ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยมากกว่า

ผลก็คือ รัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศไทย ไม่อยู่ในฐานะที่จะสามารถช่วยเหลือคนไทยซึ่งประสบชะตากรรมในดินแดนของประเทศกัมพูชาได้

ผลก็คือ พรรคเพื่อไทยอันเป็นพรรคฝ่ายค้านมีบทบาทเหนือกว่า

ผลก็คือ รัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศไทย ตกอยู่ในสภาพตั้งรับต่อปัญหาอันเกิดขึ้นและดำรงอยู่

ผลก็คือ พรรคเพื่อไทยกุมสภาพของปัญหาได้ลึกซึ้งกว่า เป็นจริงกว่า

พลันที่การขอพระราชทานอภัยโทษ นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ประสบความสำเร็จ นั่นหมายถึงคะแนนที่พรรคเพื่อไทย ได้รับเต็มๆ อย่างน้อยพรรคเพื่อไทยก็สามารถเป็นที่พึ่งได้ในบรรยากาศแห่งความสัมพันธ์ที่มีปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชา

เป็นผลงานของพรรคเพื่อไทยบนความล้มเหลวของรัฐบาล

มีคำถามว่า ปัญหาระหว่างไทย-กัมพูชา จะดำรงอยู่อย่างเป็นเช่นนี้ไปอีกยาวนานเพียงใด

น่าสนใจก็ตรงที่นายกรัฐมนตรีไม่มีคำตอบ น่าสนใจก็ตรงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไม่มีคำตอบ

เพราะว่า 2 ท่านนี้คือปัจจัยอันเป็นปัญหาด้วย