WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 6, 2009

วิกฤตศรัทธาในวันนี้ เป็นวิกฤตของอำมาตย์ ไม่ใช่ของมวลมหาประชาชน

ที่มา Thai E-News

โดย คุณ bugbunny
ที่มา เวบบอร์ด ประชาไท
ภาพโดย คุณ GAG Las Vegas
6 ธันวาคม 2552

ถึงวันนี้แล้ว เราจะเห็นได้ชัดว่า ระบอบอมาตยาธิปไตยที่กดขี่ครอบคลุมสังคมไทยมานานหลายร้อยปีนั้น ไม่เคยเจอวิกฤตในระดับนี้มาก่อนเลย และคนไทยส่วนใหญ่ ก็ไมไ่ด้หลงใหลกับคำหลอกลวงที่ว่า เราอยู่ในสังคมที่เป็นสุข ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว อยู่เย็นเป็นสุขกันดีแล้ว ไม่ควรเรียกร้องอะไรมากนัก พวกที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมเหล่านั้น เป็นเพียงพวกผีบุญหรือคนขายชาติ ไม่ใช่ประชาชนทั่วไปหรอก

อำมาตย์รุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ เคยขัดแย้งกันรุนแรง จนทำให้เกิดการอภิวัฒน์ 2475 ขึ้น เพราะอำมาตย์รุ่นใหม่เห็นว่า สังคมในยุคนั้นตกต่ำ ไม่สามารถก้าวทันโลกได้ ก็เพราะอำมาตย์รุ่นเก่าและเชื้อพระวงศ์ ยึดครองอำนาจและโภคทรัพย์เอาไว้ แต่การลุกขึ้นสู้ก็ยังคงอยู่ในแวดวงของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ ทหารหนุ่ม ฯลฯ ที่เห็นโลกมากกว่าพวกที่จมอยู่กับความสุขในประเทศ

คนหนุ่มนั้น มักมองสังคมส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว คนหนุ่มสาวทุกคนนั้น มักมีแนวความคิดเช่นนี้ ทำให้เกิด 14 ตุลา และพฤษภาประชาธรรมขึ้น

ต่อมา อำมาตย์ที่ครองประเทศนั้นพบว่า แม้จะพยายามสกัดกั้นด้วยความรุนแรงและการทำร้ายฆ่าฟัน แต่สังคมส่วนรวมไม่เอาด้วย ก็ต้องถอยออกไปดูสถานการณ์ และใช้วิธีหลอกลวงด้วยการส่งคนและกลุ่มที่พวกตนจัดตั้งขึ้นอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาดูแลแทน การโค่นล้มรัฐบาลของพลเอกชวลิตเมื่อสิบกว่าปีก่อนนั้น เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน เพราะหากมองแนวความคิดแล้ว เขามีแนวทางที่เน้นประโยชน์มหาชน

แต่วันนี้มันต่างออกไป เพราะความต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เอื้อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่นั้น กระจายไปทั่วในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไปแล้ว อาการช่างมันเถอะ ไม่ใช่เรื่องของเรา หรือเราก็แค่ไพร่ จะไปยุ่งอะไรกับเรื่องเจ้านายเขา หายไป และคนจำนวนมากที่สุดในชนชั้นล่างที่สุด พากันเข้าร่วมในขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม

วิกฤตศรัทธาในวันนี้ จึงเป็นวิกฤตของอำมาตย์ ไม่ใช่วิกฤตของมหาประชาชน ยิ่งถ้าโยงเข้ามาดูยุทธวิธีรูปธรรมในการต่อสู้ของพวกอำมาตย์แล้ว เราจะเห็นการตามหลังประชาชนอยู่ก้าวหนึ่งตลอดเวลา เช่น เมื่อเขาพบว่า สื่อสารมวลชนที่เสรีเกินไป เป็นปัญหากับเขา ก็เข้ายึดสื่อสารมวลชน ผลที่ได้กลายเป็นว่า ประชาชนปฏิเสธสื่อ หันมาเชื่อถืออินเตอร์เนท ก็ส่งสมุนเข้ามาพยายามยึดหรือป่วนให้เกิดความอ่อนล้าเบื่อหน่าย อย่างที่กำลังพยายามทำอยู่ในประชาไทและพันทิป แต่ไม่ดูว่า ชุมชนอินเตอร์เนทนั้น คือชนชั้นกลางที่มีเสรีนิยมทางความคิด การใช้วิธีการและคำพูดถ่อยสถุลอย่างที่ทำอยู่ ไม่สามารถเปลี่ยนความคิดได้ จนบางทีทำให้ชาวชุมชนเนทเองรู้สึกกันว่า พวกที่รับจ้างมานั้น อาจจะเนียนและหักหลังคนจ้างเอาก็ได้ เพราะวิธีที่ใช้ พวกนี้ก็รู้ดีว่า ไม่ได้ผลเปลี่ยนแปลงความคิดคนในชุมชนเนทได้แต่ประการใด

สิ่งที่กำลังตามภาคประชาชนอีกก้าวหนึ่ง ก็คือการเข้าสู่รากหญ้า พลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงสังคม เขาใช้การระดมคน การจ้าง การข่มขู่ เพื่อแสดงให้เห็นว่า ประชาชนรากหญ้าเป็นพวกเขา แต่ผลก็คือ ช่วยให้รถตู้และรถบัสงานชุกขึ้นเท่านั้น โดยไม่ได้จำนวนประชาชนตามที่ตั้งเป้า ผู้ปฏิบัติงานของเขาเองก็รับรู้ดีว่า การรับงานสีแดงกับสีอื่นนั้น จำนวนต่างกันมาก เพราะวันนี้ ชาวบ้านมีเงื่อนไขมากขึ้น ไม่ใช่ อบต. กำนันผู้ใหญ่บ้านสั่ง ก็ทำตามอย่างเมื่อก่อน นี่คือการกระจายความคิดทางการเมืองแบบกว้าง พวกเขาไม่ได้เจียมตัวว่า เป็นแค่ไพร่ทาส ต้องทำตามคำสั่งการเกณฑ์แรงงานเท่านั้น อย่างที่เคยเป็นในสมัยก่อนแต่ประการใด คนไปเกณฑ์ชาวบ้านรู้ดี อำมาตย์ใหญ่ถามได้

ไม่เคยปรากฏในเมืองไทยมาก่อนเลยว่า คนส่วนใหญ่จะลุกขึ้นสู้มากถึงขนาดนี้ และไม่เคยปรากฏเช่นกันว่า แม้อำมาตย์จะเอาประเด็นไหนมาสู้ ก็ไร้ผล อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ขณะนี้ นี่ทำให้เราเห็นชัดว่า

“ถ้าบอกว่าเมืองไทยวันนี้วิกฤต ก็เป็นวิกฤตของอำมาตย์ไม่ใช่ของประชาชน”