ที่มา thaifreenews
การสั่งปิดธนาคาร กรุงเทพฯ พาณิชย์การ หรือแบงก์บีบีซี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2539 คือโดมิโนตัวแรกที่ล้มลง ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินครั้งร้ายแรงที่สุดของไทยในอีก 14 เดือนต่อมา และลุกลามขยายไปทั่วเอเชีย
ผู้ที่ผลัก โดมิโนตัวนี้ให้ล้มลง คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนำเรื่อง การฉ้อโกงในแบงก์บีบีซีมาอภิปรายอย่างละเอียด เผยให้เห็นถึงกลโกงที่สลับซับซ้อนในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2539
ข้อมูลที่นายสุ เทพแฉออกมากลางสภาฯ และมีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ สร้างความตกตะลึงให้กับประชาชนทั่วประเทศ จนมีการแห่ไปถอนเงินจากธนาคาร เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยถึงการฉ้อโกงกันอย่างมโฬารในธนาคารระดับ กลาง จนนายบรรหารต้องสั่งให้นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น สั่งปิดแบงก์บีบีซี และตั้งคณะกรรมการควบคุม เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2539
การ อภิปรายของนายสุเทพ ยังมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ เพราะข้อมูลที่นายสุเทพเปิดเผยออกมา แสดงถึงความไม่โปร่งใสของระบบธนาคารของไทย และความไม่น่าเชื่อถือของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยรู้ว่าแบงก์บีบีซีมีปัญหามาตั้งแต่ปี 2535 และ ส่งคนเข้าไปควบคุมการดำเนินงาน แต่กลับปล่อยให้นายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ กรรมการผู้จัดการแบงก์ และนายราเกซ สักเสนา ที่ปรึกษา สร้างความเสียหายให้ธนาคารต่อไป
นักลงทุนต่างชาติ จึงไม่แน่ใจว่ายังจะมีธนาคารอื่นๆ ที่มีพฤติกรรมเหมือนแบงก์ บีบีซี อีกหรือไม่ จึงทยอยถอนเงินลงทุนออกไปอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีความมั่นใจในระบบการเงินและการกำกับดูแลของแบงก์ชาติ การไหลออกของเงินทุนต่างชาติ บวกกับการโจมตีค่าเงินบาทของนักเก็งกำไร นำไปสู่ การประกาศลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
นาย สุเทพนำเรื่องแบงก์บีบีซีมาอภิปรายในสภาฯครั้งนั้น เพราะต้องการเล่นงานนายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีคนอื่นๆที่สังกัด กลุ่ม 16 เป็นการแก้แค้น เอาคืน ที่ก่อนหน้านั้น 1 ปี ในเดือนพฤษภาคม 2538 นายเนวิน และกลุ่ม 16 เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน อภิปรายไม่ไว้วางใจ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ กรณี สปก 4-01 โดยพุ่งเป้าไปที่นายสุเทพ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร จนทำให้พรรคพลังธรรม ถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ต้องประกาศ ยุบสภา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม
หลัง การเลือกตั้งวันที่ 2 กรกฎาคม 2538 พรรคชาติไทยได้เป็นแกนนำตั้งรัฐบาล นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี นายเนวิน ได้เป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในชีวิต สมาชิกกลุ่ม 16 หลายคน ได้เป็นรัฐมนตรีด้วย เช่น นายสุชาติ ตันเจริญ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายไพโรจน์ สุวรรณฉวี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
กลุ่ม 16 เป็นการรวมตัวกันของนักการเมืองรุ่นใหม่ ในปี 2535 ส่วนใหญ่เป็น ส.ส.พรรคชาติไทย และพรรคชาติพัฒนา เช่น นายเนวิน นายไพโรจน์ นายจำลอง ครุฑขุนทด นายสุชาติ นายธานี ยี่สาร นายวราเทพ รัตนากร นายสรอถถร กลิ่มประทุมฯลฯ โดยก่อตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535
ข้อมูล ที่นายสุเทพนำมาอภิปรายในสภาฯ ชี้ให้เห็นว่า นักการเมืองกลุ่ม 16 มีพฤติกรรม ผ่องถ่ายเงิน ออกจากแบงก์บีบีซี ร่วมกับนายเกริกเกียรติ และนายราเกซ ด้วยการตั้งบริษัทตุ๊กตา หรือบริษัทกระดาษขึ้นมาเพื่อกู้เงินจาก บีบีซี โดยสร้างหลักทรัพย์เทียม คือ นำที่ดินรกร้าง หรือที่ดินในต่างจังหวัดที่ทีราคาถูกๆ มาวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน แล้วตีราคาสูงๆ เช่น ราคาจริงเพียงไร่ละ 30,000 บาท ก็ตีราคาเป็น 300,000 บาทเป็นต้น
นับเป็นเงินหลายหมื่นล้านบาท ที่กลุ่ม 16 ยักยอกเอาออกไปจากแบงก์บีบีซี
การ อภิปรายของนายสุเทพในครั้งนั้น ทำให้รัฐมนตรีกลุ่ม 16 คือนายเนวิน นายสุชาติ และนายไพโรจน์ ต้องลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539
อีก รูปแบบหนึ่งของการปล้นแบงก์บีบีซี คือ การสร้างข่าวเทคโอเวอร์บริษัทใสตลาดหุ้น โดยนายราเกซ เป็นผู้วางแผน และจัดฉากทั้งหมด ตั้งแต่ อุปโลกน์ผุ้ซื้อซึ่งมักจะเป็นเจ้าชายอาหรับ เศรษฐีรัสเซีย หาเงินกู้เพือ่การเทคโอวเอร์ คือ เงินจากแบงก์บีบีซี โดยการอนุมัติของนายเกริกเกียรติ และตั้งบริษัทกระดาษขึ้นมารับซื้อต่อ
นักการ เมืองกลุ่ม 16 หลายคน สวมบทนักลงทุนเข้าไปไล่ซื้อหุ้นเหล่านี้ ซึ่งมีหลายบริษัทเช่น บริษัทน้ำมันพืชไทย, ชลประทานซิเมนต์, มรกตอินดัสตรีส์ และเซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น โดยใช้เงินของ บีบีซี เมื่อราคาสูงขึ้นก็ขายทิ้งทำกำไร
ความเสียหายทีเกิดขึ้นกับแบงก์บีบีซี ณ วันที่ถูกปิดคิดเป็นมูลค่าถึง 120,000 ล้านบาท
นาย กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ สมัยที่เป็นคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ เคยให้สัมภาาณ์รายการจับชีพจรข่าว ทางวิทยุคลื่น 96.5 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2547 ว่า เคยเดินไปทางไปพบนายราเกซ ที่แคนาดา และนายราเกซได้สารภาพว่า ให้เงินใครบ้าง โดยนายราเกซทำเป็นเอกสารและเซ็นชื่อรับรอง มอบให้นายกอร์ปศักดิ์
นาย เกริกเกียรติ และนายราเกซ กับพวก ถูกดำเนินคดี ฐานยักยอกทรัพย์แบงก์บีบีซี และความผิดต่อ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวม 17 คดี ศาลพิพากษาไปแล้ว 9 คดี ยกฟ้อง 2 คดี อีก 7 คดีศาลสั่งจำคุกนายเกริกเกียรติรวมทุกคดี 110 ปี ปรับเป็นเงิน 22,000 ล้านบาท
ส่วนนายราเกซหลบหนีไปอยู่แคนาดา ถ้าศาลฎีกาแคนาดายกคำร้องของนายราเกซที่คัดค้านคำของของอัยากรไทยให้ส่งตัว กลับมาดำเนินคดี นายราเกซ ก็ต้องกลับมาขึ้นศาลที่ประเทศไทย
สำหรับ นักการเมืองกลุ่ม 16 ไม่มีใครต้องรับผิดสักคน หลายๆ คนเป็นแกนนำตัวจริงในรัฐบาลนี้ เช่น นายเนวิน นายสุชาติ และนายไพโรจน์ ส่วนนายสุเทพ ลืมสิ่งที่ตัวเองเคยอภิปรายไว้เมื่อ 13 ปีก่อน หันมาสนใจกับผลประโยชน์ในปัจจุบัน และอนาคต