ที่มา โลกวันนี้
หมู่นี้หลายคนเริ่มพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตของ รวันดา ประเทศเล็กๆประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา
ขณะนั้นเป็น พ.ศ. 2537 ได้มีเหตุการณ์อันเหลือเชื่อเกิดขึ้นในประเทศนี้
มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เริ่มต้นจากวันที่ 6 เมษายน ความรุนแรงขับเคลื่อนไป 100 วัน
สำหรับดินแดนที่มีประชากรไม่เกิน 9 ล้านคน...
แต่โศกนาฏกรรมของรวันดาทำให้ชนพื้นเมืองชาวเผ่า Tutsi
และชนพื้นเมือง Hutu ถูกสังหารไปเป็นจำนวนล้านคนเศษ?
ในรวันดาชน เผ่า Tutsi ซึ่งเป็นชนส่วนน้อย เรากล่าวได้ว่าถูกสังหารแทบหมดประเทศเลยทีเดียว...
ความขัดแย้งนั้นมีต้นตอมาจากอำนาจทางการเมือง ทั้งสองชนเผ่าต่างผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นบริหารประเทศ
ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเลือกตั้ง จนถึงเดือนเมษายน 2537 รัฐบาลของรวันดามาจากชาว Hutu ...
เริ่มเกิดร่องรอยของความไม่พอใจระหว่างสองชนเผ่า เป็นผลจากการที่ชาว Hutu รู้สึกหลงผิดในอำนาจของฝ่ายตัวเอง
เพราะมีรัฐบาลที่ถืออำนาจรัฐเป็นชนเผ่าเดียวกัน การรังแกข่มเหงค่อยๆขยายปริมณฑลออกไปจนกว้างขวางใหญ่โตทั้งประเทศ ...
จินตกรรมชาตินิยมเกี่ยวกับเชื้อชาติ Hutu ได้ถูกปลุกกระแสขึ้น ...โดยเฉพาะ
สื่อสารมวลชนกลายเป็นฝ่ายที่มีบทบาทเป็นแนวหน้า เริ่มมีการนำเสนอวาทกรรมกบฏ Tutsi ฝ่าย Tutsi ก็ได้รวมตัวกัน
เพื่อต่อสู้และป้องกันตัวเอง... จนถึงขีดหนึ่งรัฐบาลชาว Hutu ชักจะเห็นว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้
ประกาศให้พวก Tutsi เป็นศัตรูไปหมดทุกคน จากนั้นรายการฆ่าก็เริ่มต้นอย่างจริงจัง
ตรง จุดนี้น่าสนใจสำหรับบทบาทของสื่อสารมวลชน
ซึ่งกลายเป็นตัวกระพือกระจายความเกลียดชังแพร่ออกอากาศ ทั้งการพูด สร้างเพลงปลุกระดม คำขวัญ
แม้กระทั่งถ้อยคำหยาบคายที่ต้องการให้สะใจคนกลุ่มหนึ่ง ยัดเยียดครอบงำความคิดเห็น จินตกรรมอัตลักษณ์ที่แตกต่าง
กระตุ้นสร้างความเป็นศัตรูระหว่างกันให้เกิดความแหลมคมและรุนแรง ลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของฝ่ายตรงข้ามลง
ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จที่ใช้ทั่วไปในจิตวิทยาสงคราม สถานีวิทยุซึ่งปฏิบัติการในฐานะเป็นอาวุธแห่งการสังหาร ได้แก่
ดีเจของสถานีวิทยุ Radio-Television Libre des Milles Collines (RTLM) สถานีวิทยุดังกล่าวเป็นสถานีวิทยุเอกชน
คล้ายเป็นกระบอกเสียงให้แก่ฝ่ายผู้นำขวาจัดชนเผ่า Hutu สุดขั้ว...
สถานีวิทยุนี้เป็นที่อื้อฉาว โดยรู้จักกันในนาม “วิทยุแห่งความตาย” ได้ใช้วิธีสื่อสารออกอากาศทำการกระตุ้นตลอดเวลา
ระบุให้ชาวเผ่า Tutsi ถูกเรียกเป็น
“ไอ้แมลงสาบ” ตรงนี้เป็นสื่อสัญลักษณ์ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างคลื่นสังหารเพื่อนร่วม ชาติคนละเผ่าพันธุ์?
สื่อในประเทศรวันดาได้ทำหน้าที่เกินสื่อ เป็นต้นว่ามีสถานะเหมือนศูนย์ประสานงานเพื่อให้เกิดการลงมือก่อความรุนแรง
ร่วมมือกับนักการเมืองหัวรุนแรงและเครือข่าย เป็นการแปลงร่างของสื่อที่ไม่เพียงบิดเบือน
และโกหกตอแหล ปั้นน้ำเป็นตัว คอยยุแหย่และชี้นำเหมือนเป็นศูนย์บัญชาการให้เกิดการสังหารหมู่
กระทั่งประกาศรายชื่อผู้ที่จะต้องถูกสังหารออกอากาศ ดีเจเอ่ยชื่อใครผู้นั้นก็จะถูกฆ่าทันที...
เรียกได้ว่าเป็นการสังหารออกอากาศสด!
บทบาทของสื่อในรวันดาแทนที่จะ รับใช้สาธารณะ ส่งเสริมในเรื่องสันติภาพและการแก้ไขปัญหาที่ควรจะเป็นไปอย่างสันติ
กลับไปนำเสนอความเชื่อที่ชี้ว่า “ความรุนแรงเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาของประเทศ”
เรื่องราวทั้งหมด ในรวันดาจำนวนร้อยวันช่างเป็นสิ่งน่าเศร้าใจ กลายเป็นบทเรียนสำคัญของโลก...
จนในที่สุดนานาชาติต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อคลี่คลายวิกฤติ
ขณะที่กลายเป็นประเทศล่มสลายไปเสียจนหมดทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและทุกๆด้านในบ้านเมือง...
ไม่มีเหตุผลอะไรที่อธิบายได้ดีกว่าสาเหตุของความเกลียดชังกับความหลงมัวเมา ในอำนาจ...
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์จบลงเมื่อ “นายพอล คากาเม” ได้ก่อตั้งแนวร่วมผู้รักชาติชาวรวันดา เป็นฝ่ายกบฏของชนเผ่า Tutsi
เข้าล้มล้างรัฐบาลเผ่า Hutu ...
ช่วงนั้นมีการอพยพผู้คนจำนวนนับแสนหลบหนีเข้าไปในประเทศคองโกในปัจจุบัน
เชื้อโรคของความเกลียดชังระหว่างสองชนเผ่ายังแพร่ออกไปยังประเทศอื่นรอบข้าง
ก่อให้เกิดสงครามคองโกถึง 2 ครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ดำเนินไปจนถึง พ.ศ. 2546
เรื่องราวเกี่ยวกับรวันดายังมีอีกมาก จนถึง พ.ศ. 2546 นั้นเอง
ศาลอาญาระหว่างประเทศสำหรับรวันดาถูกจัดตั้งขึ้นตามมติของสหประชาชาติ
ได้ตัดสินประหารชีวิตดีเจของสถานีวิทยุ “เสียงแห่งความตาย” รวมทั้งนักข่าวหนังสือพิมพ์อีกฉบับ
ในข้อหามีความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศ
ซึ่งผมคิดว่าคอลัมนิสต์ นักเล่าข่าว บรรณาธิการของสื่อต่างๆในประเทศไทยอาจจะลืมตระหนักถึงประสบการณ์ในรวันดา...
บางทีต่อไปอาจจะมีรายการสื่อไทยถูกประหารชีวิตได้เหมือนกัน?
เพื่อไทย
Tuesday, April 20, 2010
บทเรียนรวันดา-ประสบการณ์ประเทศไทยระวังฆาตกรรมจาก สื่อ?
โดย เรืองยศ จันทรคีรี