ที่มา thaifreenews
โดย Porsche
แล้ว กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ก็ยุบเวที ผ่านฟ้าฯ เพื่อมารวมกันแห่งเดียว บริเวณแยกราชประสงค์ใจกลางเมืองหลวงของประเทศไทย วันนี้ ศูนย์การค้าและโรงแรม เสียหายยับเยิน หากม็อบใหญ่หลายหมื่นคน ชุมนุมยืดเยื้อ บนแยกราชประสงค์ อะไรจะเกิดขึ้น!!!
ใคร ๆ ก็รู้ว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยวนับร้อยแห่ง โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า อาทิ เซ็นทรัล เวิลด์, เอราวัณ แบงค็อก, เกษรพลาซ่า, อัมรินทร์พลาซ่า
ไม่นับห้างใกล้เคียงอย่างห้างสยามเซ็นเตอร์, สยามดิสคัฟเวอรี่, สยามพารากอน,
และห้างย่านประตูน้ำ เช่น แพลทตินัม มอลล์ ฯลฯ ไม่นับรวม อาคารสำนักงาน
และโรงแรม เช่น โรงแรม แกรนด์ไอแอท เอราวัณ, โรงแรมอินเตอร์คอน ติเนนตัล, โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์, เลอเนซอง, โรงแรมโฟร์ ซีซั่น และโรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ แม้เปิดให้บริการแต่บรรยากาศค่อนข้างเหงียบเหงา เนื่องจากลูกค้าเกรงความไม่ปลอดภัย ต้องคืนห้องพักจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ
สมาคมธนาคารไทย
ออกมาเรียกร้องให้กลุ่ม นปช. คืนพื้นที่ และยังไปไกลถึงขนาดให้รัฐบาลเร่งแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นายดุสิต นนทนาคร ประธานสภาหอการค้าไทย ประเมินความเสียหายวันละ 300 ล้านบาท หากปิดล้อมยาวนาน 1 เดือนจะสร้างความเสียหายถึง 2 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว
ขณะที่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ได้ออกมาโจมตี กกร. โดยกล่าวหาว่าเป็นองค์กรที่ไม่มีความเป็นกลาง โดยยกเหตุการณ์เมื่อครั้งที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดก่อน กกร. ได้ลงโฆษณาเรียกร้องให้ล้มรัฐบาลเพื่อจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ ดังนั้น การเรียกร้องให้กลุ่มเสื้อแดงยุติการชุมนุมโดยอ้างความเสียหายต่อธุรกิจจึงไม่อาจยอมรับได้ "สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ควรหุบปากแล้วนั่งเฉยๆ
เพราะไม่มีความเป็นกลางทางการเมือง วันนี้คนเสื้อแดงอยากเหลือเกินที่จะเห็นคนกลาง ขนาดองคมนตรียังกลับกลายเป็นหัวขบวนของอีกฝั่งไปแล้ว" แกนนำ นปช. กล่าว
ท่ามกลางความขัดแย้ง หากตรวจสอบจะพบข้อเท็จจริงดังนี้
โครงสร้างกลุ่มทุนของประชาธิปัตย์ตามรายนามผู้บริจาคเงิน นอกจากนักการเมืองอาชีพยังมีภาคธุรกิจเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก
บริษัท แสงโสม จำกัด บริษัท ทีซีซีแลนด์ จำกัด ของกลุ่ม นายเจริญ สิริวัฒนภักดี บริษัท
เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด ของ นายธนินท์ เจียรวนนท์
ธนาคารกรุงเทพของ นายชาตรี โสภณพนิช
ทุนรับเหมา ช.การช่าง อิตาเลียนไทยของตระกูลกรรณสูต
ทุนประกันภัยของกลุ่มล่ำซำ
และกลุ่มทุนห้างสรรพสินค้าและอสังหาริมทรัพย์รวมอยู่ด้วย
กลุ่มหลังนี้มีบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด กลุ่มเดอะมอลล์ในนามบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป
บริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด
บริษัท สยามพารากอน รีเทล จำกัด กลุ่มศรีวิกรม์ และกลุ่มดุสิตธานี อยู่หัวขบวน
บิ๊กเนมเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมกับการปิดล้อม "ราชประสงค์" ทั้งสิ้น
ไม่ว่าเป็นห้างเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซ่า ของกลุ่มจิราธิวัฒน์
ศูนย์การค้าเพนนินซูล่าของ นางสุนงค์ สาลีรัฐวิภาค ภรรยา นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม แม้กระทั่งห้างเกษรพลาซ่าของตระกูลศรีวิกรม์
ทั้งนี้
กลุ่มจิราธิวัฒน์เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทโพสต์พับลิชชิ่ง
เพิ่งแหย่ขาเข้าไปรับทำข่าวให้สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที (ช่อง11) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
นายพีระพันธุ์และนางสุนงค์ เป็นเจ้าของ บริษัท นิวแอตแลนติค จำกัด เจ้าของศูนย์การค้าเพนนินซูล่า,
บริษัท วงศ์พระยา พรอปเปอตีส์ จำกัด ให้เช่าพื้นที่สำนักงานและพลาซ่า อยู่ในอาคารเพนนินชูล่าพลาซ่า ชั้น 4 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน
นางสุนงค์เป็นลูกของ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย เจ้าของโรงแรมดุสิตธานี หนึ่งในคณะ 11
ซึ่งถูก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แฉว่าสนิทกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ คู่ปรับของคนเสื้อแดง
ขณะที่ตระกูลศรีวิกรณ์เป็นเจ้าของห้างเกษร พลาซ่า ในกลุ่ม ศรีวิกรม์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง
มี นายเฉลิมพันธ์ คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ เป็นเจ้าของนายเฉลิมพันธ์ คุณหญิงศศิมา เป็นพ่อและแม่
นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ภรรยา นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ส.ส.กรุงเทพฯ ผู้อำนวยการพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนายเฉลิมพันธ์และนายณัฏฐพล ต่างเทเงินบริจาคให้ประชาธิปัตย์ ในช่วงปี 2551 หลายล้านบาท
ดังนั้น การยึด "ราชประสงค์" จึงไม่ต่างจากจับกลุ่มทุนประชาธิปัตย์เป็นตัวประกัน ยึดพื้นที่ "เชิงสัญลักษณ์" และ ทุบทุนฝ่ายตรงข้ามไปในตัว
หลังจากก่อนหน้านี้
แบงก์กรุงเทพซึ่งถูกกล่าวหาว่าใกล้ชิด พล.อ.เปรม ถูกถล่มเละกรณีสนามกอล์ฟเขาสอยดาว จ.จันทบุรี หรือกรณีลอบปาระเบิดหน้าธนาคารกรุงเทพสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาใน จ.พะเยา คู่ขนานกับการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง
กลุ่มซีพีของตระกูลเจียรวนนท์ ถูกถล่มยับบนเวทีม็อบแดงที่สะพานผ่านฟ้าแทบทุกคืน ล่าสุดวันที่ 6 เมษายนที่ผ่าน
มาอาคารสำนักงานใหญ่ย่านสีลมยังถูกปิดล้อมอีกด้วย
วันนี้ถ้าหากเซ็นทรัล เวิลด์ ยังเป็นสมบัติของ นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย อดีต รมช.พาณิชย์ คนใกล้ชิด พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หรือเป็นนายทุนให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย อาจไม่เห็นการบุกยึด "ราชประสงค์"
แต่กระนั้น เอราวัณ กรุ๊ป ที่ เมียของนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ถือหุ้น ก็เดือดร้อนเสียหาย ไม่ใช่น้อย
ก่อนหน้านี้ นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ บมจ.ดิ เอราวัณ กรุ๊ป (ERAWAN) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า
การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชา ธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่แยกราชประสงค์
ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 3 เม.ย.53 ได้ส่งผลกระทบต่อโรงแรมของบริษัท 2 แห่ง คือ
โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ และโรงแรมคอร์ทยาร์ด โดยแมริออท กรุงเทพฯ
บริษัทประเมินว่า หากสถานการณ์ดังกล่าวยืดเยื้อเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน
จะมีผลกระทบต่อรายได้ของทั้ง 2 โรงแรม รวมกันประมาณ 90 ล้านบาท/เดือน ซึ่งคิดเป็น 3% ของรายได้
จากการประกอบกิจการโรงแรมทั้งหมดของบริษัทในปี"52 ที่ผ่านมา
นายประกิต ประทีปะเสน ยืนยันว่า นับตั้งแต่มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลของกลุ่ม นปช.ที่บริเวณแยกราชประสงค์
ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.53 จนถึงปัจจุบัน โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ ไม่เคยให้การสนับสนุน และ/หรือให้ที่พักพิงไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือรายวัน แก่แกนนำ นปช. และ/หรือกลุ่มผู้ชุมนุมที่ย่านราชประสงค์
สำหรับ ERAWAN มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นคือ
ครอบครัวว่องกุศลกิจถือหุ้นรวม 39% ครอบครัววัธนเวคินถือหุ้นรวม 31%
และส่วนที่เหลืออีก 30% ถือโดยกองทุนไทยและต่างประเทศ และผู้ถือหุ้นรายย่อย ผู้ถือหุ้นของบริษัทแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทจำนวน 12 คน
ประกอบด้วยกรรมการอิสระ 6 คน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 1 คน และกรรมการจากครอบครัวผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 คน ประกอบด้วย ครอบครัวว่องกุศลกิจ 3 คน และครอบครัววัธนเวคิน 2 คน
(กรรมการจากครอบครัววัธนเวคินคิดเป็น 17% ของจำนวนกรรมการทั้งหมด)
ส่วนนางพนิดา เทพกาญจนา (นามสกุลเดิมวัธนเวคิน) ภรรยานายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตผู้บริหารพรรคไทยรักไทย เป็นกรรมการของบริษัท เป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัววัธนเวคิน และคู่สมรสถือหุ้นในบริษัท
รวมกันจำนวน 3,693,416 หุ้น คิดเป็น 0.16% ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ไม่เคยดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัท และไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงาน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
สถานการณ์ เช่นนี้ ถ้ารัฐบาลประชาธิปัตย์บริหารจัดการไม่เด็ดขาด ก
ลุ่มทุนแถวหน้าที่ ตอนแรกยืนยัน เสียงแข็งว่า ไม่เห็นด้วยกับการยุบสภา
หลังจากผ่านไป เกือบ 2 สัปดาห์ สุ้มเสียง ทุนใหญ่ เริ่ม บ่นกันแล้วว่า
ถ้าแก้ปัญหา ไม่ได้ ก็ยุบสภา ไปเหอะ !!!! พ่อมาร์ค
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1271212846&grpid=no&catid=04