สำนักข่าว"รอยเตอร์"เสนอบทวิเคราะห์การเมืองไทย ขณะที่จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ เพื่อฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตย และลดความบาดหมางในชาติ หลังเกิดการรัฐประหารในปี 2549 แต่ก็มีแนวโน้มว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วง 2 ปีที่ผ่านมายืดเยื้อออกไปอีก
มีการคาดกันว่าพรรคพลังประชาชนจะได้ที่นั่งมาเป็นอันดับ 1 แต่อาจไม่สามารถได้คะแนนเสียงมากพอที่จะเป็นเสียงข้างมากในสภา ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลผสม
ทั้งนี้ จากการประมวลความเห็นของนักวิเคราะห์และการสำรวจจากสำนักต่างๆ "รอยเตอร์"คาดว่าผลการเลือกตั้งและสถานการณ์ต่างๆที่จะตามมา จะเป็นดังต่อไปนี้:-
*"พลังประชาชน"ได้คะแนนอันดับ 1 แต่"ประชาธิปัตย์"ได้เป็นรัฐบาล
- นี่จะเป็นผลการเลือกตั้งที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องการ รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติที่มีความพอใจในตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ในกรณีนี้ พรรคพลังประชาชนจะได้ที่นั่ง 180-200 ที่นั่ง แต่คมช.และกลุ่มต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะร่วมกันทำงานอย่างลับๆเพื่อให้แน่ใจว่า พรรคพลังประชาชนจะไม่สามารถรวบรวมพันธมิตรได้มากพอ
ที่จะมีเสียงในสภา 241 เสียงซึ่งจำเป็นสำหรับการจัดตั้งรัฐบาล
อย่างไรก็ดี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคาดว่าจะได้ที่นั่งมากเป็นอันดับ 2 คือ 100-200 ที่นั่ง จะสามารถจับมือกับพรรคขนาดกลางเพื่อตั้งรัฐบาลผสมได้ แต่นักวิเคราะห์คาดว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี
*"พลังประชาชน"ได้คะแนนอันดับ 1 และสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม
- นี่จะเป็นผลการเลือกตั้งที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เริ่มวิตก
หากพรรคพลังประชาชนได้ที่นั่งมากกว่า 200 ที่นั่ง โอกาสที่จะโน้มน้าวพรรคขนาดกลางให้เข้าร่วมรัฐบาลผสม ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคพลังประชาชนจะหาทางจัดการคมช. ทำให้ทางกองทัพจะพยายามขัดขวางการหาพันธมิตรของพรรคพลังประชาชน โดยจะกล่าวหาเกี่ยวกับการโกงการเลือกตั้งต่อผู้สมัครของพรรค และผู้ที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมรัฐบาล ขณะที่ผู้สมัครของพรรคพลังประชาชนบางคนจะถูกใบแดงเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์อาจสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ และศาลอาจประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะอย่างที่เคยกระทำหลังการเลือกตั้งในเดือนเม.ย.2549 หรืออาจมีการทำรัฐประหารอีกครั้ง
*"พลังประชาชน"ครองเสียงข้างมากในสภา
- ถึงแม้ไม่มีโพลล์สำนักใดบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ที่พรรคพลังประชาชนได้ครองเสียงข้างมากและสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว การชุมนุมตามท้องถนนเพื่อต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณที่เคยเกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 ก็จะเริ่มมีขึ้นอีกครั้ง แต่ก็จะเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง กองทัพก็จะเข้าทำรัฐประหารอีกครั้ง โดยจะระบุว่า กองทัพกระทำ "เพื่อผลประโยชน์ของความสามัคคีในชาติ" หลังจากนั้น กองทัพจะแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว และเริ่มต้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขณะที่ประเทศไทยจะถอยหลังกลับไปที่เดิมในเดือนก.ย.2549
*มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
- พ.ต.ท.ทักษิณเคยเสนอให้นักการเมืองจากทุกพรรคการเมืองใหญ่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น เพื่อสร้างความปรองดองและสามัคคีในประเทศ แต่พรรคประชาธิปัตย์แสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีทางร่วมรัฐบาลกับพรรค
พลังประชาชน แต่พรรคประชาธิปัตย์อาจพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งถ้าหากสถาบันกษัตริย์เรียกร้องให้มีความสมานฉันท์ในชาติ
มีการคาดกันว่าพรรคพลังประชาชนจะได้ที่นั่งมาเป็นอันดับ 1 แต่อาจไม่สามารถได้คะแนนเสียงมากพอที่จะเป็นเสียงข้างมากในสภา ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเป็นรัฐบาลผสม
ทั้งนี้ จากการประมวลความเห็นของนักวิเคราะห์และการสำรวจจากสำนักต่างๆ "รอยเตอร์"คาดว่าผลการเลือกตั้งและสถานการณ์ต่างๆที่จะตามมา จะเป็นดังต่อไปนี้:-
*"พลังประชาชน"ได้คะแนนอันดับ 1 แต่"ประชาธิปัตย์"ได้เป็นรัฐบาล
- นี่จะเป็นผลการเลือกตั้งที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ต้องการ รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติที่มีความพอใจในตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ในกรณีนี้ พรรคพลังประชาชนจะได้ที่นั่ง 180-200 ที่นั่ง แต่คมช.และกลุ่มต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะร่วมกันทำงานอย่างลับๆเพื่อให้แน่ใจว่า พรรคพลังประชาชนจะไม่สามารถรวบรวมพันธมิตรได้มากพอ
ที่จะมีเสียงในสภา 241 เสียงซึ่งจำเป็นสำหรับการจัดตั้งรัฐบาล
อย่างไรก็ดี พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคาดว่าจะได้ที่นั่งมากเป็นอันดับ 2 คือ 100-200 ที่นั่ง จะสามารถจับมือกับพรรคขนาดกลางเพื่อตั้งรัฐบาลผสมได้ แต่นักวิเคราะห์คาดว่ารัฐบาลชุดนี้จะอยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี
*"พลังประชาชน"ได้คะแนนอันดับ 1 และสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสม
- นี่จะเป็นผลการเลือกตั้งที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เริ่มวิตก
หากพรรคพลังประชาชนได้ที่นั่งมากกว่า 200 ที่นั่ง โอกาสที่จะโน้มน้าวพรรคขนาดกลางให้เข้าร่วมรัฐบาลผสม ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
เป็นที่รู้กันว่ารัฐบาลที่นำโดยพรรคพลังประชาชนจะหาทางจัดการคมช. ทำให้ทางกองทัพจะพยายามขัดขวางการหาพันธมิตรของพรรคพลังประชาชน โดยจะกล่าวหาเกี่ยวกับการโกงการเลือกตั้งต่อผู้สมัครของพรรค และผู้ที่มีแนวโน้มจะเข้าร่วมรัฐบาล ขณะที่ผู้สมัครของพรรคพลังประชาชนบางคนจะถูกใบแดงเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์อาจสามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมที่อ่อนแอ และศาลอาจประกาศให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะอย่างที่เคยกระทำหลังการเลือกตั้งในเดือนเม.ย.2549 หรืออาจมีการทำรัฐประหารอีกครั้ง
*"พลังประชาชน"ครองเสียงข้างมากในสภา
- ถึงแม้ไม่มีโพลล์สำนักใดบ่งชี้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ที่พรรคพลังประชาชนได้ครองเสียงข้างมากและสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว
ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว การชุมนุมตามท้องถนนเพื่อต่อต้านพ.ต.ท.ทักษิณที่เคยเกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2549 ก็จะเริ่มมีขึ้นอีกครั้ง แต่ก็จะเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้สนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง กองทัพก็จะเข้าทำรัฐประหารอีกครั้ง โดยจะระบุว่า กองทัพกระทำ "เพื่อผลประโยชน์ของความสามัคคีในชาติ" หลังจากนั้น กองทัพจะแต่งตั้งรัฐบาลชั่วคราว และเริ่มต้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ขณะที่ประเทศไทยจะถอยหลังกลับไปที่เดิมในเดือนก.ย.2549
*มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ
- พ.ต.ท.ทักษิณเคยเสนอให้นักการเมืองจากทุกพรรคการเมืองใหญ่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้น เพื่อสร้างความปรองดองและสามัคคีในประเทศ แต่พรรคประชาธิปัตย์แสดงออกอย่างชัดเจนว่าจะไม่มีทางร่วมรัฐบาลกับพรรค
พลังประชาชน แต่พรรคประชาธิปัตย์อาจพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งถ้าหากสถาบันกษัตริย์เรียกร้องให้มีความสมานฉันท์ในชาติ