WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, December 20, 2007

จ้องเล่น“ทักษิณ”สนช.ผ่านฉลุยสัญญาข้ามชาติ

สนช. พิจารณาเป็นวาระด่วน เห็นชอบให้ลงนามในอนุสัญญาต่อต้านทุจริต หวังเป็นช่องทางนำตัว “ทักษิณ กลับมาขึ้นศาลไทย นิตย์ ระบุถือเป็นความก้าวหน้าในเวทีต่างประเทศ พร้อมผลักดันเร่งออกกฎหมาย 3 ฉบับรองรับ


การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในช่วงเช้าวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมา พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์ รองประธาน สนช. คนที่ 1 ได้นั่งทำหน้าที่ประธาน โดยที่ประชุมมีการพิจารณาเรื่องด่วน การให้ความเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ


นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว.ต่างประเทศ กล่าวชี้แจงว่า เรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่นได้สร้างความเสียหายและชื่อเสียงของประเทศ ดังนั้นการที่ไทยจะเข้าไปเป็นภาคีในอนุสัญญาถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่ดีในเวทีต่างประเทศ เพื่อร่วมมือในการต่อต้านการทุจริต


ทั้งนี้ จะต้องมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา คือ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพิ่มเติม ฐานความผิดเรื่องการให้สินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต หรือสินบนข้ามชาติ ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ที่เกี่ยวกับอายุความ โดยให้หยุดอายุความในกรณีที่ผู้ต้องหาหลบหนีไปต่างประเทศ เมื่อกลับมาดำเนินคดีก็ให้นับอายุความ


และร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา พ.ศ.2535 เพิ่มเติมหลักการการติดตาม อายัด ยึดทรัพย์ ริบทรัพย์ ผู้ต้องหาที่นำออกไปไว้ที่ต่างประเทศ ตามมูลค่าที่ทุจริต ซึ่งทั้ง 3 ฉบับ ทางกระทรวงยุติธรรมได้กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ รัฐบาลจะสามารถดำเนินการตามอนุสัญญาได้


ด้าน นายสุจิต บุญบงการ รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ กล่าวว่า กรรมาธิการฯ ได้ศึกษาร่างอนุสัญญาแล้ว พบว่าอาชญากรข้ามชาติมีคดีหลายประเภท ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินการของภาครัฐและเอกชน ที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด การฟอกเงิน ปัญหาการทุจริต ซึ่งเชื่อว่าหากออกกฎหมายทั้ง 3 ฉบับและมีการลงสัตยาบันแล้ว จะสามารถดำเนินการตามพันธกิจในการปราบปรามการทุจริตได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกหลายคน เช่น นายโคทม อารียา นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ นายสมชาย แสวงการ นายภัทระ คำพิทักษ์ ได้อภิปรายสนับสนุนการลงสัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าว แต่ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ผู้ที่กระทำความผิดการฟอกเงิน เรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนและการฟอกเงิน โดยได้หยิบยกกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าจะสามารถติดตามยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์ที่ยักย้ายถ่ายโอนไปยังบริษัทการเงินต่างประเทศ เช่น ที่เกาะบริติชเวอร์จิ้น หรือบางประเทศในกลุ่มอาเซียน การทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย และจะสามารถใช้อนุสัญญาดังกล่าวเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้หรือไม่


นอกจากนี้ ในคดีบีบีซี ที่รัฐบาลไทยไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษและตามยึดทรัพย์สิน จะยังใช้อนุสัญญาในการดำเนินการได้หรือไม่


นายนิตย์ ชี้แจงว่า การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นประเด็นที่รัฐบาลจะต้องตกลงกับประเทศคู่กรณี ซึ่งประเทศได้มีการทำสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับ 10 ประเทศ โดยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้น ทั้ง 2 ประเทศที่เป็นคู่กรณีจะต้องมีประมวลกฎหมายอาญาที่สอดคล้องกันด้วย และถึงไม่มีกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง ก็สามารถที่จะเจราต่อรองกันได้


ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเรื่องของการส่งตัวมาดำเนินคดีในประเทศไทย ในเรื่องนี้ต้องมีการหารือกับประเทศนั้นโดยใช้วิธีการฑูต แต่ในเรื่องการลงสัตยาบันในอนุสัญญา เป็นการเสริมสร้างการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นให้มีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ การเจรจาจะต้องผ่านวิธีการฑูต โดยกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ต้องกระทำเช่นเดียวกัน


ในที่สุด ที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ด้วยคะแนน 136 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง จากนั้นได้มีมติเลื่อนการพิจารณาให้ความเห็นชอบการสมัครเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงปารีส ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม และสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านสิทธิบัตร โดยที่ประชุมเห็นว่าควรจะพิจารณากฎหมายที่ค้างการพิจารณาให้เสร็จก่อน


อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอทั้ง 3 ข้อ ดังนี้


1.ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการให้สัตยาบันให้ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาอาเซียน ว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย (ASEAN Convention on Counter Terrorism – ACCT)


2.ให้ศูนย์ประสานความร่วมมือต่อต้านการก่อการร้ายสากลและอาชญากรรมข้ามชาติ (ศกอช.) สังกัดสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหน่วยงานประสานงานกลางของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือภายใต้อนุสัญญาตามข้อ 15 ของอนุสัญญาฯ


3.ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานดำเนินการแจ้งภาคีที่เกี่ยวข้อง กรณีมีการจับกุมตามข้อ 8 วรรค 6 ของอนุสัญญาฯ