จากบทความของรอยเตอร์เรื่อง "การปฏิวัติเงียบหลังเลือกตั้ง" ที่ลือกระฉ่อน ได้สร้างกระแสต่อต้านการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ "มือที่มองไม่เห็น" ไปทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะในเวทีสากล สื่อชั้นนำระดมคำถามใส่เผด็จการและชนชั้นศักดินาในเมืองไทยว่า "คุณจะไม่ยอมปล่อยมือให้ประชาธิปไตยเบิกบานล่ะหรือ?" สื่อทั่วโลกเชื่ออย่างสนิทใจว่า มีกระบวนการขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาลของพรรค พปช.ที่ชนะมาอย่างถล่มทลาย แม้จะไม่ได้เสียงเด็ดขาดเกินครึ่ง แต่ก็ทิ้งอันดับสองเกือบ 70 ที่นั่ง แน่นอนว่า เสียงสะท้อนจากประชาคมโลกชี้ให้เห็นชัดเจนว่า หาก พปช.ไม่ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล สภาพการเมืองในระบบประชาธิปไตยจะถูกจับตามองทันทีว่า "มีความผิดปกติอย่างยิ่ง" และอาจนำมาซึ่งการต่อต้านอย่างรุนแรงลุกลามไปทั่วประเทศ นอกจากรอยเตอร์แล้ว สำนักข่าวชั้นนำอื่นๆ ก็เสนอข่าวไปในทำนองเดียวกันคือ ยึดถือ พปช.เป็นหลักในการจัดตั้งรัฐบาลชุดต่อไป ซึ่งหากไม่เป็นไปตามนี้จะถือว่า "ประชาธิปไตยไทยมีรอยร้าวเกิดขึ้นแล้ว" โดยศักดาและคณะรัฐประหารจะต้องตอบคำถามประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ทั่วโลกว่า "มีเหตุผลอะไรที่ทำเช่นนั้น" การกระทำบ่อนแซะชัยชนะของ พปช.ด้วยใบแดงหรือการตัดสินโดยศาล เป็นกระบวนที่แปลกแยกที่น่าประหลาดใจ ประเด็นนี้ก็สร้างความงุนงงไม่น้อยและยังเป็นปริศนา "ทำไมคณะปฏิวตัจึงใช้อุบายที่จับได้ง่ายเช่นนี้" หรือว่าพวกเขามั่นใจว่า จะไม่มีใครกล้าต่อต้านในสถานการณ์ที่หมิ่นเหม่ช่วงต้นปี ทว่าการต่อต้านใบแดงที่บุรีรัมย์ด้วยจำนวนคนหลายหมื่นคนก็ทำให้แผนการของ คมช.หยุดชะงักลง แต่ก็ยังไม่อาจวางใจ คณะรัฐประหารอาจจะมี "ลูกเล่นใหม่" ที่ร้ายกาจเพิ่มเติมเข้ามา...อย่าลืมว่า กกต.และองค์กรต่างๆในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่วนใหญ่แต่งตั้งโดย คมช. นี่คือเดิมพันที่สูงลิ่ว...ขณะที่ทั่วโลกยอมรับในชัยชนะของ พปช.และแสดงความเห็นใจในฐาะที่เป็น "ผู้ถูกกระทำ" จากคณะรัฐประหาร พวกเขาจึงตั้งความหวังว่า เมื่อ พปช.มาเป็นรัฐบาลจะทำให้เกิดประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ขึ้นในประเทศไทย ในทางตรงข้าม หาก พปช.มีอันเป็นไปและไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล สื่อต่างชาติจะสรุปทันทีว่า ภาวะความเลวร้ายของคณะรัฐประหารที่ยังไม่ตายได้เข้ามาครอบงำการเมืองไทยอีกครั้งหนึ่ง เพราะ พปช.เท่านั้นที่แสดงตัวให้ประชาคมโลกรับรู้ว่า เป็นพรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง...พรรคการมืองอื่นๆ ล้วนเป็น "เครื่องมือ" ของเผด็จการทั้งสิ้น การฝืนมติเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนโดยดึงดันจะให้พรรคในสังกัดของ คมช. เข้ามาเป็นรัฐบาล ก็เท่ากับการกระทำสวนทางความคิดเห็นของประชาคมโลกที่แสดงผ่านสื่อชั้นนำของโลก นั่นก็คือความสุ่มเสี่ยงที่จะถูกตั้งข้อสงสัยและไม่เป็นที่ยอมรับทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง จากนานาชาติ ซึ่งเท่ากับว่า ประเทศไทยได้ลดตัวเองไปเป็นเช่นเดียวกับประเทศพม่าเรียบร้อยแล้ว! | |
โดย จอร์จ บางกะปิ เมื่อ วัน อาทิตย์ ที่ 6 มกราคม 2551, 10: 35 น. |