WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 25, 2008

สันติวิธีและทางรอดของการยุติความรุนแรงในภาคใต้

จากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดโรงแรม ซี เอส ปัตตานี และการยิงเข้าใส่มัสยิดที่จังหวัดยะลา รวมถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้นั้น ขอเสนอแนวทางสันติวิธี ที่เป็นยุทธการที่เคยประสบผลสำเร็จมาแล้วในอดีต มานำเสนอ และขอเชิญทุกท่านมีส่วนร่วมคิดค้น ปฏิบัติการต่างๆที่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นจริงด้วย ข้อเสนอเหล่านี้ปรับปรุงและเรียบเรียงมาจาก หนังสือ สร้างสันติด้วยมือเรา ที่หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย
ปรากฏการณ์ของสันติวิธี

ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นสันติวิธีนั้น สามารถดูได้จากการกระทำของผู้ปฏิบัติ
การ ซึ่งสามารถแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 3 วิธี คือ

1. การประท้วงโดยไร้ความรุนแรงและการโน้มน้าว ได้แก่ การกระทำเพื่อแสดงออกซึ่งการคัดค้านหรือสนับสนุนบางสิ่งบางอย่าง อาจมุ่งหมายให้เกิดผลกระทบแก่คู่กรณีเป็นหลัก เช่น ให้เขารู้ถึงปฏิกิริยาความรู้สึกของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่รุนแรง หรือโน้มนำให้ผู้ใช้ความรุนแรง รวมถึงคู่ขัดแย้ง เปลี่ยนแปลงแก้ไข ปฏิบัติการยังอาจมีจุดหลักอยู่ที่สาธารณชนกระตุ้นให้คนทั่วไปตระหนักถึงปัญหา และเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นกลุ่มเป้าหมายยังอาจได้แก่ ผู้ประสบทุกข์ เพื่อชักนำให้เขาลงมือกระทำการด้วยตัวเขาเอง

วิธีดังกล่าวเป็นเบื้องต้นหรือขั้นตอนแรกของปฏิบัติการไร้ความรุนแรง ปฏิบัติการอีก 2 ประเภทหลังมักต้องผ่านขั้นตอนนี้หรือต้องมีขั้นตอนนี้ควบคู่ไป วิธีการนี้ผู้คนมักนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย

วิธีการดังกล่าวแบ่งได้เป็น 10 กลุ่มย่อย คือ
1.1 การประกาศอย่างเป็นทางการ โดยอาศัยการพูดในที่สาธารณะ จดหมาย แถลงการณ์ คำร้องเรียน วิธีการนี้อาจไม่ได้ผลนัก ถ้าถ้อยแถลงการณ์ต่างๆ ไปไม่ถึงผู้ก่อความรุนแรง
1.2 การสื่อสารกับคนวงกว้าง โดยใช้คำขวัญ ภาพล้อ แผ่นผ้า ใบปลิว แถบบันทึกเสียง เขียนข้อความบนท้องฟ้าและบนพื้นดิน
1.3 การจัดกลุ่มตัวแทน เพื่อเข้าพบบุคคลที่เกี่ยวข้อง การรณรงค์ในสภา การเลือกตั้ง การมอบรางวัลล้อเลียน
1.4 ปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์ เช่น การติดธงและสีสัญลักษณ์ การวาดภาพประท้วง การใช้ไฟหรือเสียงเป็นสัญลักษณ์ในการประท้วง การส่งมอบสิ่งของที่เป็นสัญลักษณ์ การสวดมนต์และทำพิธีทางศาสนา
1.5 การกดดันต่อปัจเจกบุคคล เช่น เยาะเย้ยหรือแสดงความเป็นมิตรต่อบุคคลในฝ่ายคู่กรณี
1.6 ละครและดนตรี รวมถึงการร้องเพลง และการเสียดสีล้อเลียนในเชิงตลกขบขัน
1.7 ขบวนแถว เช่น การเดินขบวน การใช้ขบวนแห่ทางศาสนา การเดินจาริก ขบวนรถ
1.8 การให้เกียรติผู้ตาย เช่น การไว้อาลัยทางการเมือง การชุมนุมในพิธีศพ พิธีฝังศพประท้วง
1.9 การชุมนุมในที่สาธารณะ ได้แก่ การชุมนุมประท้วง การประชุมอภิปรายคัดค้าน
1.10 การเพิกถอนและการสละสิทธิ์ เช่น การตบเท้าออก การนิ่งเงียบรวมหมู่ การยืนหันหลังให้ การสละคืนเกียรติยศที่เคยได้รับ

กรณีตัวอย่างที่ใช้วิธีดังกล่าวอย่างได้ผล คือ การติดเข็มกลัดกระดาษในหมู่ชาวนานอร์เวย์และการติดดาวเหลืองในหมู่ชาวเดนมาร์กเพื่อประท้วงนาซี การเผาหมายเกณฑ์ทหารและการเอาเลือดละเลงนาปาล์มโดยชาวอเมริกาที่ต่อต้านสงครามเวียดนาม การส่งขวดหมึกนับพันขวดให้ประธานาธิบดีเคนเนดี้ เพื่อเรียกร้องให้เร่งลงนามในคำสั่งที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชนของคนผิวดำ การนำเครื่องหมายเกียรติยศที่ชาวอินเดียชั้นสูงได้รับ คืนแก่รัฐบาลอังกฤษที่ปกครองอินเดีย

2. การไม่ให้ความร่วมมือ
เป็นการปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมืออย่างที่เคยให้แก่คู่กรณี ซึ่งอาจเป็นบุคคล สถาบันหรือระบอบการปกครอง อาจเป็นการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง หรือลดลงในบางระดับ เรียกอีกอย่างว่าการดื้อแพ่งหรือการคว่ำบาตร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การไม่ให้ความร่วมมือทางสังคม การไม่ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการไม่ให้ความร่วมมือทางการเมือง
2.1 การไม่ให้ความร่วมมือทางสังคม แบ่งเป็น 3 ประเภท
2.1.1 การอัปเปหิบุคคล เช่น การปฏิเสธที่จะมีความสัมพันธ์ทางสังคมหรือทางเพศ การขับออกจากศาสนา การปฏิเสธที่จะทำพิธีทางศาสนาให้ กรณีที่ได้ผลในสังคมไทยคือ หลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ผู้คนในสังคม ไม่เชิญ พล.อ.สุจินดา คราประยูร และบุคคลในคณะรัฐประหาร รสช. ไปในงานทางสังคมต่างๆ
2.1.2 การไม่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรม ประเพณีและสถาบันทางสังคม เช่น การคว่ำบาตรงานสังคม การงดเรียน การงดเว้นกิจกรรมทางสังคมและกีฬา การละเมิดประเพณีของสังคม การถอนตัวจากสถาบันทางสังคม
2.1.3 การถอนตัวจากระบบสังคม เช่น การอยู่แต่ในบ้าน การผละงาน การหายตัวเป็นกลุ่ม การอพยพเพื่อประท้วง
2.2 การไม่ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่โดดเด่นคือ การคว่ำบาตร ซึ่งแบ่งออกเป็น
2.2.1 การคว่ำบาตรของผู้บริโภค เช่น งดซื้อสินค้า งดใช้บริการ ปฏิเสธจ่ายค่าเช่า
2.2.2 การคว่ำบาตรของคนงานและผู้ผลิต เช่น ปฏิเสธที่จะใช้เครื่องมือที่ผลิตภายใต้สภาพที่เขาไม่เห็นด้วย การปฏิเสธที่จะขาย
2.2.3 การคว่ำบาตรของคนกลาง คือ การปฏิเสธจัดจำหน่ายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
2.2.4 การคว่ำบาตรของเจ้าของและผู้จัดการ เช่น ปิดโรงงาน ไม่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแก่คู่กรณี
2.2.5 การคว่ำบาตรของผู้คุมทรัพยากรทางการเงิน เช่น ปฏิเสธการจ่ายค่าธรรมเนียม เงินต้นชำระและภาษี ปฏิเสธการชำระหนี้หรือดอกเบี้ย การตัดทุนและสินเชื่อ การทำให้รัฐขาดรายได้
2.2.6 การคว่ำบาตรของรัฐบาล เช่น ห้ามค้าขายภายในประเทศ ห้ามขายหรือซื้อสินค้าระหว่างประเทศ
การไม่ให้ความร่วมมืออีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันบ่อย คือ การนัดหยุดงาน
2.2.7 การนัดหยุดงานในเชิงสัญลักษณ์ โดยใช้เวลาสั้นๆ โดยอาจมีการบอกล่วงหน้า หรือกระทำโดยฉับพลัน
2.2.8 การนัดหยุดงานทางการเกษตร เช่น ผู้เช่าปฏิเสธที่จะทำงานในพื้นที่ของเจ้าของที่ดิน หรือคนงานรับจ้างปฏิเสธที่จะทำงานในไร่
2.2.9 การนัดหยุดงานทางอุตสาหกรรม ได้แก่ การหยุดงานในโรงงานหนึ่งๆ หรือหยุดงานทั้งภาคอุตสาหกรรม
2.2.10 การนัดหยุดงานเฉพาะกลุ่ม เช่น การหยุดงานของนักโทษหรือแรงงานเกณฑ์
2.2.11 การนัดหยุดงานจำกัดเขต เช่น การเฉื่อยงาน การปฏิบัติตามกฎอย่างละเอียดถี่ยิบทุกตัวอักษร การลาป่วย การลาออก
2.2.12 การนัดหยุดงานในอุตสาหกรรมหลายประเภท
2.2.13 การหยุดงานและการหยุดยั้งทางเศรษฐกิจ เช่น การปิดร้าน การทำให้เศรษฐกิจเป็นอัมพาต


ในฉบับต่อไป ขอเสนอแนวทางในการไม่ให้ความร่วมมือทางการเมืองและการเจรจา ซึ่งอาจมีความจำเป็นในสถานการณ์ในภาคใต้ปัจจุบัน

ศราวุฒิ ประทุมราช : tuactive@yahoo.com