WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 25, 2008

ทุนสามานย์ หรือข้อกล่าวหาโสมม

กว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีวาทกรรมทางการเมือง ที่ถูกยัดเยียดประโคมพร้อมกันอย่างดุเดือดในสังคมไทย 2 ชุด
คือ ระบอบทักษิณ กับทุนนิยมสามานย์ เป็นชุดวาทกรรมที่ถูกประณามหยามเยียดใส่ไคล้ จนน่าเกลียดน่ากลัว ประหนึ่งว่าทุนนิยมจะนำพาความล่มสลายมาสู่ประเทศชาติ

เป็นชุดวาทกรรมที่มีจุดมุ่งหมายล้มล้าง รัฐบาลพรรคเดียวของอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเป็นวาทกรรมที่ส่งผ่านจากนักวิชาการ และถ่ายทอดโดยสื่อหลายแขนงแบบกรอกหูย้ำคิดย้ำทำ ย่อมสัมฤทธิผลในระดับที่น่ากลัวทีเดียว
น่ากลัวจนหลายคนรังเกียจคำว่า ทุนนิยม อย่างไม่เคยมีมาก่อน ชนิดที่ว่าพร้อมจะเข้าป่ากินเผือกกินมันเป็นฤๅษีชีไพร หันหลังให้ทุนนิยมไปเลยทีเดียว

ในหมู่คนที่พอมีสติยั้งคิด อดถามไม่ได้ว่า สาเหตุใด ทุนนิยมจึงกลายเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจของผู้คนในประเทศนี้ไปได้ รังเกียจจริง หรือแกล้ง เป็นการแกล้งยืมเอามาวาดผีอย่างน่ากลัว เพราะทุนนิยมกลายเป็นสัญลักษณ์ของการบริหารงานของ อดีตนายกฯ ที่หลายฝ่ายสหบาทา มาดหมายให้พ้นไปจากการเมืองไทย ใช่หรือไม่

จริงหรือที่ใครคนใดคนหนึ่ง ประเทศใดประเทศหนึ่ง จะรังเกียจปฏิเสธทุนนิยมได้อย่างเด็ดขาดเบ็ดเสร็จ เล่ากันอย่างขำๆ ว่า ขอทานบนสะพานลอย หลังจากทนแดดเผา ยกมือไหว้คนมาทั้งวัน เมื่อนับเหรียญในขันยังบ่นขาดทุน
ยังมีคนตั้งข้อสังเกตถึงนิสัยประจำชาติ ที่คนโบราณสั่งสอนดักทางมาแต่อดีตว่า ไม่รู้ไม่ชี้ คือไม่รู้ ก็ไม่ชี้ หมายถึงไม่รู้ ก็อย่า (เสือก) ชี้ เพราะมันจะผิด ความผิดในระดับปัจเจกไม่ส่งผลร้ายมากนัก แต่เมื่อไม่รู้แล้ว (เสือก) ชี้ และชี้ไปทั้งสังคมเช่นนี้ ผลที่ตามมาย่อมเสียหายอย่างยิ่ง

ประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 60 ประจำวันเสาร์ที่ 22-วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พุทธศักราช 2551 ภูมิใจนำเสนอ งานสัมมนาทางวิชาการ จากนักวิชาการน้ำดี 3 ท่าน ที่จะมาปอกเปลือกอธิบายถึงที่มาที่ไปว่า สาเหตุใดทุนนิยมในประเทศนี้จึงกลายเป็นทุนสามานย์ไปได้

คนกลุ่มใด ตั้งข้อกล่าวหาให้ทุนนิยม กลายเป็นทุนสามานย์

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ นักวิชาการน้ำดีที่ออกมากระตุกเตือนสังคมไทยเป็นคนแรก ในทันทีที่มีการปฏิวัติ ว่า ระวังระบอบอำมาตยาธิปไตยจะกลับมา ประชาทรรศน์ ให้ความเคารพต่อมุมมองที่แหลมคมของอาจารย์เศรษฐศาสตร์ท่านนี้ ทุกถ้อยคำของท่านเป็นแสงสว่างทางปัญญาให้กับผู้คนในสังคมนี้ ที่ต้องการเข้าถึงความจริงโดยปราศจากอคติ เราจึงยินดีที่จะนำเสนอมุมมองความคิดของท่านให้แพร่หลายเป็นประโยชน์ เราเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจว่าในอนาคต เมื่อฝุ่นเมฆหมอกจางลง ผู้คนในอีกฟากหนึ่ง จะกลับมาศึกษางานของอาจารย์พิชิต เหมือนคัมภีร์วิเศษเล่มหนึ่งเลยทีเดียว
รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ฟันธง “ทุนเก่า” ภายใต้ระบบ “ทุนศักดินา-ทุนอภิสิทธิ์ชน-ทุนนิยมผูกขาด” ฮุบกิจการหลายอย่างในประเทศไทยมากว่า 50 ปี สร้างความร่ำรวยกันไม่กี่ตระกูล ทั้ง ธนาคาร-โรงปูน-โรงเหล็ก-โรงกลั่น ทำชาติหายนะในวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เพราะทุนพวกนี้เก่งแต่การผูกขาด จึงไม่ทันการแข่งขันในกระแส “โลกาภิวัตน์” การเปิดเสรีทางการเงินและการค้า

“ถึงวิกฤตการณ์เมื่อปี 2540 ว่า มันเกิดอะไรขึ้น และมันมีผลหรือนัยอย่างไรหลังจากนั้น ผมยังมองว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งถึงรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 เกี่ยวโยงกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจปี 2540 ท่าทีที่เรามีต่อรัฐประหาร 2549 ว่ามันเป็นรัฐประหารที่ดี หรือมันเป็นรัฐประหารที่เลว เราจะปฏิเสธ หรือเราจะรับมันขึ้นอยู่กับมุมมองของคนคนนั้นที่มีต่อวิกฤตการณ์ปี 2540 อย่างชัดเจน

วิกฤตการณ์ปี 2540 มันเกิดมาก็ 10 ปีแล้ว ขึ้นปีที่ 11 ปัญหามีอยู่ว่า ผู้คนที่มองปัญหาเมื่อปี 2540 ก็ยังมองไปคนละทิศคนละทาง และก็สรุปกันไปคนละอย่าง ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ในคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นี้เอง ในหมู่คณาจารย์ที่เป็นนักเศรษฐศาตร์ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้นยอดแล้วนะครับ ผมบอกว่าเชื่อว่านะครับ แต่จริงหรือเปล่าไม่รู้ คนที่เชื่อว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชั้ยยอดของประเทศไทยแล้วเนี่ย ก็ยังมองไปคนละอย่างเลย มองไปคนละทางว่าวิกฤตการณ์ปี 2540 นั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไร และบทเรียนต่อประเทศไทยข้างหน้าควรจะทำอย่างไร สรุปกันไปคนละทางแบบ 180 องศาเลยนะครับ บางคนสรุปว่าเราต้องใช้เศรษฐกิจพอเพียง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนี่ยนะครับ แต่งเป็นเพลง แต่งเป็นกลอนออกมาร้องกันในคณะ ขณะที่บางคนซึ่งอาจจะมีผมคนเดียวมั้ง กับอีก 2-3 คนที่ไม่กล้าออกหน้า

สรุปได้อีกอย่างหนึ่ง บอกว่าโลกาภิวัตน์นั้นมันมีประโยชน์ต่อประเทศไทย อยู่ที่ว่าเราจะใช้มันอย่างไรให้ได้ประโยชน์ แล้วการใช้ให้ได้ประโยชน์มันคือการที่ประเทศไทยมีการปรับตัว ประเทศที่เขาสามารถใช้ประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ จนกระทั่งนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมมาสู่ของเขาได้นั้นมีตัวอย่างอยู่ และเราสมควรที่จะไปศึกษาประสบการณ์ตรงนั้น อันนี้ก็เป็นข้อสรุปอีกแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกันเลย ยกตัวอย่างว่า วิกฤตการณ์เมื่อปี 2540 ที่มีผลกระทบกับการเมืองในปัจจุบันนี้อย่างชัดเจนเลยนะครับ สิ่งที่เราปฏิเสธกันไม่ได้เลยก็คือ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
ลำดับที่มา “ทุนนิยมโลก”

ผมจะสรุปโครงสร้างสภาวะเศรษฐกิจไทยโดยย่อๆ ก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจไทย ปี 2540 สภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก และเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีการเปิดให้มีเงินทุนไหลเข้าเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งในเวลานั้นเรียกกันอย่างผิดๆ ว่า เป็นการเปิดเสรีทางการเงินซึ่งไม่ใช่ จากนั้นจะพูดถึงวิกฤตการณ์ 2540 ว่าเกิดอะไร และจะพูดถึงว่า หลังจากเกิดวิกฤตการณ์แล้ว วงการวิชาการ วงการการเมือง มีการสรุปผลเป็นอย่างไร

สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนปี 2540 ในเหตุการณ์สำคัญคือ การล่มสลายของสังคมนิยมในปี 1989-1990 เริ่มต้นจากการล่มสลายของเยอรมันตะวันออก การพังทลายของกำแพงเบอร์ลิน สำหรับอายุอย่างพวกเรารู้ดี จนกระทั่งการล่มสลายของโซเวียต ประชากร 2-3 พันล้านคนที่อยู่ในระบบสังคมนิยม เข้าสู่ระบบทุนนิยม ประเทศเหล่านี้เปิดตลาด ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลในทรัพย์สิน ให้ธุรกิจส่วนบุคคล เปิดตลาดคน 2-3 พันล้านคน เคยอยู่ในขอบ ถูกเปิดออก แล้วมีเศรษฐกิจใหม่ มีเงินทอง มีการผลิตสินค้าและบริการที่อยู่ในกลุ่มนั้น และขณะเดียวกันเป็นโอกาสทำให้ตลาด 2-3 พันล้านคน คุณจะเอาของไปขาย หรือเอาเงินไปลงทุนได้

ทุกวันนี้เราจะเปิดภัตตาคารอาหารไทยในรัสเซียทำได้ จากที่เมื่อก่อนทำไม่ได้ เห็นไหมครับ การล่มสลายของสังคมนิยม และการขยายตลาดของทุนนิยม เป็น “ทุนนิยมโลก” เป็นครั้งแรก ถอยหลังขึ้นไป เรายังไม่มีระบบทุนนิยม ที่เรียกว่า ทุนนิยมโลก อย่างแท้จริง เพราะประชากรโลก 1 ใน 3 ไม่ได้อยู่ในระบบตลาด... ใครที่อ่านโลกาภิวัตน์ รายละเอียดจะเยอะ แต่สรุปหลักๆ มีแค่ 3 อันนี้ เงื่อนไขการเกิด เมื่อภาวะเป็นแบบนี้ประเทศต่างๆ เริ่มเห็นหนทาง เอ๊ะ...สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น มันลดภาษีนี่นะ เราอยู่ประเทศไทย เราส่งของไปขายได้ง่ายขึ้น แต่นั่นหมายความเราต้องลดภาษีให้เขาส่งของมาขายเราได้ง่ายขึ้น เขาลดอุปสรรคการลงทุนด้วยการลดภาษี ทุนต่างประเทศให้เราไปลงทุนในจีน รัสเซีย อเมริกา ยุโรป จีน ได้ง่ายขึ้น เราต้องให้ทุนเหล่านี้มาลงทุนในไทยได้ง่ายมากขึ้นด้วย นี่คือต่างตอบแทน ระบบทุนนิยมไทยต้องดำเนินการตามนี้..”

อ.พิชิต ย้ำถึงความผิดพลาดในอดีตว่าเป็นเพราะ สร้างกติกา “ทุนศักดินา” ผูกขาดธุรกิจ


“ทุนนิยมก่อนปี 2540 เป็นเรื่องการเติบโตของ ทุนขุนนาง ทุนอภิสิทธิ์ชน ทุนอุปถัมภ์ ที่มี ทุนต่างชาติ ส่วนหนึ่งเข้ามาร่วมมือ โตภายใต้การปกครองของรัฐ โดยนโยบายสร้างกำแพง และกำแพงนี้อยู่ของมันมาด้วยดีอยู่มาได้ตลอด และมีปัญหาของมันเอง อย่างเช่น ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย จะคุมเอาไว้ บีบบังคับไม่ให้ทุนต่างชาติเข้ามาแข่ง และจำกัดให้ธนาคารพาณิชย์มีแค่ 16 แห่ง ไม่ให้มีการเกิด ใน 16 แห่งนี้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่มีเพียง 5 แห่ง คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ทหารไทย กรุงศรีอยุธยา นอกนั้นเป็นธนาคารเล็กๆ ทั้งหมด 16 แห่ง ภายใต้การคุ้มครองไม่ให้มีการแข่งขัน เพราะฉะนั้นธนาคารพวกนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของระบบทุนนิยมอุปถัมภ์ที่คอร์รัปชั่นและอยู่มาได้โดยตลอด โดยการคุ้มครอง แบ็กอัพของรัฐ และเวลาเกิดปัญหาขึ้นมา เอาเงินภาษีของประชาชนไปอุด...

ดังนั้นสรุปได้ว่า การเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 คือความพยายามของทุนนิยมไทย ที่จะใช้ประโยชน์ฉกฉวยจากโลกาภิวัตน์ แล ะการไหลเวียนของเงินทุนและการค้าเสรี ภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจ ทุนนิยมแบบเดิมๆ แบบผูกขาดตัดตอน แบบที่รัฐและทุนอภิชนเข้าครอบงำเศรษฐกิจต่างๆ แบบระบบที่ควบคุมและกีดกัน โดยเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนบางกลุ่มแสวงหาผลประโยชน์ในระบบ โดยที่กลุ่มทุนธุรกิจขนาดเล็ก เอสเอ็มอีทั่วๆ ไป และประชาชนคือเหยื่อ จะไปกู้เงินก็ไม่รู้จะไปกู้ที่ไหน สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ มีเงินเหลือจะไปฝาก ไม่รู้จะฝากที่ไหน ต้องฝากสถาบันการเงิน มันเป็นแบบนี้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น”

อ. เรืองยศ จันทร์คีรี ผอ.สถาบันสุวรรณภูมิภิวัฒน์ ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ “ทุนนิยม” เป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นในโลกยุค “โลกาภิวัตน์” แนะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หยุดผลิตถ้อยคำลวงโลก อะไรก็เลวไปเสียหมด ลดความอิจฉา ชี้ต้องประสาน ไม่ใช่ปะทะกัน บ้านเมืองจึงจะสงบสุข

ดร.วรพล พรหมิกบุตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุ ทุนนิยมเข้าประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และซึมเรื่อยมา แม้แต่การเปลี่ยนแปลงการเมือง 2475 ยังถือได้ว่าเป็นโลกาภิวัตน์ทางการเมือง
อย่าช้า..อย่าพลาดไปที่แผงด่วน ด้วยราคา เพียง 35 บาท แล้วท่านจะรู้ว่า ทุนนิยมสามานย์ หรือข้อกล่าวหาโสมมกันแน่