WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 25, 2008

No! ประชามติ

“ที่ไม่อยากเร่งแก้ ก็เพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่าย เพราะถ้าแก้ตอนนี้ ก็ต้องมีการเลือกตั้งกันใหม่ หรือกลับไปสู่สนามรบกันอีกครั้ง”เสียงของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวเอาไว้ เมื่อวันที่ 3 ก.พ. หลังจากถูกถามถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550ก่อนจะย้ำหนักแน่นว่า...การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นช่วง 3 เดือนสุดท้าย ก่อนที่รัฐบาลจะหมดอำนาจ

แต่หลังจากที่ นายสุเมธ อุปนิสากร กกต.ด้านการมีส่วนร่วม ออกมาให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ว่า...รัฐธรรมนูญมาตรา 237 วรรค 2 และกฎหมายเลือกตั้ง 103 วรรค 2 ที่ระบุชัดว่า หากหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคกระทำผิดกฎหมาย “ให้ถือว่า” พรรคการเมืองได้อำนาจการปกครองโดยวิถีทางที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย โยงไปถึงเข้ากฎหมาย ม.94(1) ของกฎหมายพรรคการเมือง ว่าด้วยฐานความผิดที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อยุบพรรค เมื่อกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดเช่นนี้ กกต. จะทำเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่???

“...หากกฎหมายมันเขียนคำว่า “ให้ถือว่า” เช่นในกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 103 วรรค 2 ก็จะแปลเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เว้นแต่เขียนว่า “ให้สันนิษฐานไว้ก่อน” หากเขียนอย่างนี้ก็อาจจะแปลเป็นอย่างอื่นได้ แต่เมื่อเขียนอย่างนี้ก็คล้ายๆ ว่า มัดเอาไว้เลย พูดง่ายๆ คือ มันก็ “รัดคอ” กกต. ไว้ ไม่มีทางที่จะเห็นเป็นอย่างอื่นได้เลยในความเห็นผม” เท่านั้นเอง คลื่นแห่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ดังกระหึ่ม!!! ทั่วบ้านทั่วเมืองมีทั้งกระแสคัดค้านและตอบรับรวมๆ ความเห็นของพวกที่คัดค้าน มองว่า...รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่งจะประกาศใช้ได้ไม่กี่เดือน

อีกทั้ง ยังได้ผ่านความเห็นชอบจากการลงประชามติมากกว่า 14.7 ล้านเสียง หรือคิดเป็น 57.81% ของออกมาใช้สิทธิเฉียดๆ 26 ล้านคนหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพรรคการเมือง แลกกับการ “ยุบ-ไม่ยุบพรรค” แล้วก็ไม่ควรจะเร่งรัดแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550ต่างจากความเห็นของกลุ่มสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมองว่า...มันผิดตั้งแต่ทหารทำการยึดอำนาจรัฐบาล และ “ฉีกทิ้ง” รัฐธรรมนูญปี 2540 แล้ว

ดังนั้น กรณีทหารได้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยมี นายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานฯ และให้ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ นั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง???ยิ่งเป็น น.ต.ประสงค์ ผู้ที่ประกาศชัดเจนว่า ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ พรรคไทยรักไทย รวมถึง “ร่างทรง” ในสีเสื้อพรรคพลังประชาชน ด้วยแล้วก็ยิ่งไม่ถูกต้องไปกันใหญ่!!!

เพราะอาจมี “วาระซ่อนเร้น” กระทั่ง มิอาจจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยใจ “เป็นกลาง” และ “เป็นธรรม” ได้ไม่เพียงแค่นั้น คนกลุ่มนี้ยังหาเหตุผลมา “หักล้าง” ความคิดที่ว่า...รัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ผ่านประชามติมากถึง 14.7 ล้านคน หรือราว 57.81% โดยระบุว่า...การลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนั้น มีการยกข้ออ้างมาขู่กันหลายระดับ ตั้งแต่... หากรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ผ่านการพิจารณา จะไม่มีการเลือกตั้งครั้งใหญ่ และรัฐบาล “ขิงแก่” ของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ คงต้องทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไป

รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ ก็จะต้องทำหน้าที่ “สภาฯ คมช.” จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ส.ส.ขณะที่หลายคน ก็คิดแต่เพียงว่า...ขอให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ไปก่อน เพื่อให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. และจะได้มี รัฐบาลชุดใหม่ เข้ามาบริหารประเทศ จากนั้น ก็ค่อยๆ แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้นั่นเอง จึงเป็นที่มาของการยอมผ่านร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 แต่ไม่ใช่เพราะ “ยอมรับ” ในความเป็นรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

อีกทั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญเอง ก็ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชน ผู้มีสิทธิโหวต “รับ” หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มี “ทางเลือก” มากนักเพราะไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นที่ว่า...ควรจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับบางมาตราของรัฐธรรมนูญฉบับนี้หากจะ “รับ” ก็ต้อง “รับ” ทั้งหมด 309 มาตรา (ไม่นับรวมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ) ส่วนประเด็นที่ฝ่ายไม่เห็นด้วยระบุว่า..การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะต้องการรักษาประโยชน์ของพรรคการเมืองบางพรรคนั้น

เรื่องนี้ นายสมัคร สุนทรเวช พูดชัดเจน ระหว่างจัดรายการ “สนทนาประสาสมัคร” เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ว่า...“ส่วนตัวอยากจะทำทั้งหมด ยกเว้นหมวดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เพราะทำมาดีแล้ว ส่วนหมวดอื่นๆ ต้องเอารัฐธรรมนูญปี 2540 มาประกอบ มาตราไหนดีก็เก็บเอาไว้ และต้องมีประเด็นใดเพิ่มเติม มาตราใดที่ไม่ดีก็ต้องตัดออก...”ชัดเจนว่า...จะไม่มีการแก้ไขเพียงมาตราใดมาตราหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือพรรคของตัวเองแต่ที่ นายสมัคร พูดผิดอย่างแรง ก็คือ...

ความคิดที่จะให้ทำประชามติ “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย” กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 หากงบประมาณที่ใช้เพื่อการนี้ไม่เกิน 500 ล้านบาท
เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ระบุชัด ในหมวด 15 ว่าด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะมาตรา 291 ที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทั้งหมด 7 วงเล็บแต่ไม่มีวงเล็บใดเลยที่บอกว่า...หากต้องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะต้องทำประชามติโดยการฟังเสียงของประชาชน!!!

หมายความว่า...หากทุกอย่างเข้าหลักเกณฑ์ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะขั้นตอนรับหลักการ จะต้องมีคะแนนเห็นชอบในการแก้ไขไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของทั้ง 2 สภา (ส.ส. 480 คน รวมกับ ส.ว. 150 คน)นั่นก็คือถ้าพรรครัฐบาลสามารถจะรวมเสียง ส.ส .และ ส.ว. ที่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 จนถึงกึ่งหนึ่งของทั้ง 2 สภา หรือ 316 เสียงขึ้นไปแล้วก็สามารถดำเนินการได้ทันที!!!

ดังนั้น การที่นายสมัครคิดจะใช้เงิน 500 ล้านบาท หรือ 2,000 ล้านบาท เพื่อการทำประชามติแล้วอาจถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำถึงตรงนี้ หากรัฐบาลซึ่งมีจำนวน ส.ส. รวมกัน 315 เสียง สามารถจะรวมตัวกันได้อย่างเหนียวแน่นและเป็นเอกภาพล่ะก็ ที่เหลือ เพียงควานหาเสียงสนับสนุนจากฝั่ง ส.ว. อย่างน้อย 1 คน ก็สามารถจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยไม่จำเป็นจะต้องทำประชามติกันแล้ว

ไม่ว่าความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเกิดขึ้นหรือไม่? และเหตุผลที่หักล้างกันระหว่าง...ฝ่ายคัดค้านและฝ่ายสนับสนุนจะเป็นเช่นใด? และใครจะได้ประโยชน์สูงสุด หลังจากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้แต่จากมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้ว การจะแก้ไขเพิ่มเติมสามารถจะดำเนินการได้ทันทีไม่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน แม้แต่สตางค์แดงเดียว เพราะไม่มีกฎหมายใดรองรับ

“บางกอกทูเดย์” จึงขอย้ำว่า...ใครก็ตามที่คิดจะเบี่ยงเบนประเด็น “แก้ไข” หรือ “ไม่แก้ไข” รัฐธรรมนูญปี 2550 ด้วยการบอกว่า...ต้องทำประชามติล่ะก็งานนี้ ถือเป็นการ “ต้ม” ทั้งคนเล่นและคนดูในคราวเดียวกันเลยเพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ว่าจะเต็มรูปแบบอย่างที่ นายสมัคร สุนทรเวช เสนอมา หรือเฉพาะบางมาตราที่คนส่วนใหญ่ใน พรรคพลังประชาชน ต้องการนั้นNo! ประชามติ!!!.