WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 24, 2008

เย้ย พันธมิตรฯ ไม่เข้าใจโลกาภิวัตน์ขนาดเทคโนโลยียังสามานย์

เรืองยศ จันทร์คีรี ผู้อำนวยการสถาบันสุวรรณภูมิภิวัฒน์ ขอให้ทุกฝ่ายยอมรับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป และ “ทุนนิยม” เป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นในโลกยุค “โลกาภิวัตน์” แนะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หยุดผลิตถ้อยคำลวงโลก อะไรก็เลวไปเสียหมด ลดความอิจฉา ชี้ต้องประสาน ไม่ใช่ปะทะกัน บ้านเมืองจึงจะสงบสุข

ผมมีข้อสังเกต สังคมของเราเนี่ยผู้เป็นใหญ่ในภาควิชาการ ในภาคอำนาจรัฐจะเรียกว่าขุนนางอะไรแล้วแต่ ส่วนใหญ่จะมาจากภาคสังคมวิทยา หรือนักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ แต่สังคมทั้งหมดไม่ได้อยู่ตรงนั้น ตรงบุคลากร เรายังมีวิศวกร ทางด้านเทคโนโลยีอะไรต่างๆ อีก เป็นที่น่าสังเกตไหมครับว่าคนที่คุมอำนาจรัฐบาล หรือในการออกกฎหมาย หรือเสนอความคิดเห็นในการแก้ปัญหาในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ส่วนใหญ่เราจะไปทางสังคม โดยที่เราขาดมิติของเทคโนโลยี ในการมองมิติในทางวิทยาศาสตร์ ตรงนี้มันเป็นปมๆ หนึ่ง ตรงนี้ที่ อ.พิชิต ได้พูดถึงกลุ่มทุน กลุ่มธนาคาร กับกลุ่มทุนที่รวมมาจากอุตสาหกรรมทดแทน แล้วเราเคยพูดถึงเรื่องอุตสาหกรรมในบ้านเราเป็นแค่ธุรกิจอุตสาหกรรม เราต้องนำเข้าเครื่องจักรอัตโนมัติอะไรเข้ามา เป็นทุนกระทั่งเดี๋ยวนี้ และเราขาดทุนในด้านการนำเข้า พอเรานำเข้าเครื่องจักรแบบนี้มากๆ เราไม่เคยพูดถึงการพัฒนาเครื่องจักรของเรา เพราะอะไร ตรงนี้น่าคิด ถ้าเราแบ่งประเภทอุตสาหกรรม จะมีอุตสาหกรรมประเภทต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งท่านก็คงเคยจะได้ยิน อุตสาหกรรมต้นน้ำนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่จะไม่มีในประเทศไทย ซึ่งตรงนี้มันจะสัมพันธ์กับกลุ่มทุนที่สร้างความร่ำรวยจากการผลิตทดแทนการนำเข้า

ทีนี้อุตสาหกรรมต้นน้ำนั้นที่เรายกตัวอย่างจะมีน้อยมาก อย่างการผลิตไอซีชิพ อะไรแบบนี้ มันเป็นอุตสาหกรรมที่จะต้องต่อเนื่องมาจากการวิจัยพัฒนา งบในอุตสาหกรรมมีน้อยมาก 1.มันต้องใช้เงินทุนมหาศาลเมื่อวิจัยไปแล้ว 2.มันต้องใช้เวลา ส่วนอุตสาหกรรมของเรานั้นเราจะเป็นปลายน้ำ ทีนี้ต้นน้ำนั้นมันจะเป็นพื้นฐานของความเข้าใจในเทคโนโลยี ก็ไปถึงที่สุดแล้วผมคิดว่าเรื่องเทคโนโลยี เรื่องทุน เรื่องโลกาภิวัตน์ มันคือเรื่องที่เป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น ยกตัวอย่าง เราพูดถึงอุตสาหกรรมหลอมเหล็ก ซึ่งบอกว่าเป็นพื้นฐานอุตสาหกรรมที่ผ่านมา การสร้างเหล็กกล้า เมื่อไทยเราถกเถียงเรื่องนี้กันมา 30-40 ปีไม่เคยเกิด ตอนนี้รู้สึกว่า ถือว่าอาจเป็นทุนชาติก็ได้ที่มีการไปตั้งที่บางสะพาน คงจะไม่สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลกำลังพูดถึงโครงการรางคู่ ถ้าเกิดทำจริงลงทุนจริง เราจะเอาเหล็กที่ไหน อันนี้ผมทราบว่าถ้าเราทำเราต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ หรือให้ต่างประเทศมาลงทุนหลอมเหล็กและใช้เหล็กตรงนั้น ปรากฏว่าของเราไม่มีความสามารถที่จะทำตรงนั้นได้ เราสร้างรางคู่ขึ้นมาจริง แต่เงินลงทุนตรงนั้นไหลออกไป แล้วเท่าที่ทราบมาว่ากลุ่มทุนที่ผูกขาดเรื่องที่บางสะพานจริงๆ แล้วมีลึกกว่านั้น ก็เป็นการปะทะของทุนกลุ่มหนึ่ง ที่พยายามจะให้กลุ่มที่บางสะพานนั้นล้ม เพื่อจะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไป แต่จะไปสัมพันธ์กับเอ็นจีโอบางกลุ่มหรือไม่ อันนี้ผมไม่ทราบ อันนี้เป็นเรื่องที่อยากจะให้พิจารณา

ทีนี้อุตสาหกรรมต้นน้ำเนี่ย สมมติว่าการหลอมเหล็กมันต้องมองดูว่าหลอมเหล็กนั้นมีส่วนผสมอย่างไร ทำเครื่องบินก็อย่างหนึ่ง ทำรถยนต์ก็อย่างหนึ่ง ทำรถถังก็อย่างหนึ่ง แต่ของเรานั้นมีแต่หลอมเหล็กเส้น มาเลเซียถึงมีต่อรถขึ้นมาได้ เพราะเขามีอุตสาหกรรมตรงนี้ รองรับจากตรงนี้ ของเราทำไม่ได้ หรืออย่างไอซีชิพ ตรงนี้ซึ่งเคยมีคนลงทุนไปไม่ได้ เพราะอย่างคอมพิวเตอร์มันต้องประกอบมาจากอุตสาหกรรมพวกนี้ ผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง เขารับกลึง การกลึงของเขานั้นเป็นกลึงเล็กมาก ปรากฏว่าทางนาซานั้นจ้างทำพวกอุตสาหกรรมตรงนี้จากหลายประเทศทั่วโลก เมืองไทยก็มี แล้วนำไปประกอบอีกที่หนึ่ง แบบนี้เมืองไทยไม่มี

เมื่อเราพูดถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำแล้วเนี่ย เรามาพูดถึงอุตสาหกรรมกลางน้ำ หรือปลายน้ำ เราแทบจะไม่มี สิ่งที่มีในเมืองไทยคืออาจจะเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ หรือเป็นอุตสาหกรรมประกอบ คือ ขั้นตอนแรกผ่านมาแล้วเรามาประกอบเป็นรถยนต์ มาประกอบเป็นอะไรต่างๆ การนำเข้าเครื่องจักร นำเข้าอะไรต่างๆ นี้คือปัญหา ปัญหาตรงจุดนี้เป็นเรื่องที่น่าจะบอกได้ว่ากลุ่มทุนที่ร่ำรวยมาจากอุตสาหกรรมผลิตทดแทนการนำเข้ามีความสามารถจำกัด เมื่อมีความสามารถจำกัดในเมื่อเทคโนโลยี พัฒนาไปเกิดอุปสรรคว่า ถ้าเกิดคู่แข่งใหม่ๆ มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ตัวเองจะตามกระแสตรงนี้ไม่ทัน คือความล่มจม ความเจ๊ง

ทีนี้ถ้าพูดถึงกลุ่มทุนรุ่นใหม่นั้น เขามีความประสงค์ เขามีความเข้าใจโลกว่าเขาจะเติบโตอย่างไร เขารู้ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรเข้ามาเพื่อสร้างอุตสาหกรรม สร้างธุรกิจของเขา มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน ระบบทุนเราผูกขาดอยู่กับระบบเก่าๆ กลุ่มเหล่านี้เหลือทางรอดอย่างเดียว ต้องใช้ทุนจากกระแสโลกาภิวัตน์นี้แหละ อาจจะไปผ่านตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก ในช่วงไทยรักไทยเติบโตนั้น ตลาดหลักทรัพย์โตนะครับ และธุรกิจหลายอย่างได้ใช้ทุนจากตรงนี้ แต่มีผลกระทบต่อทุนพาณิชย์ ลองเช็กตัวเลขดู ผลกำไรจากธนาคารลดลงอย่างมากมาย ในสถานการณ์ช่วงนั้น อันนี้ผมเลยจะตั้งข้อสังเกตว่า เรื่องเทคโนโลยีของเรานั้นเป็นเรื่องใหญ่ แล้วถ้าชาติใดหรือว่ากลุ่มใดที่ขาดความรู้ สิ่งใหม่ๆ ที่จะเข้ามาครอบ ผมว่ามันก็ต้องถูกเทกโอเวอร์ไป กลุ่มเหล่านี้เมื่อต้องการที่จะทำธุรกิจต่อไป ประสิทธิภาพการแข่งขันจะไปแข่งขันกับนานาชาติแข่งไม่ได้

ถ้าเรามองดูกลุ่มทุนใหญ่ของไทยที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ 47-50 บริษัทนั้น ไม่มีออกไปลงทุนเรื่องเทคโนโลยีเลย ทำเหมืองแร่ อะไรอย่างนี้ เป็นไปในรูปนี้ นี่เป็นประเด็นใหญ่ที่น่าคิด แล้วถามว่าเราจะทำอย่างไร นี่เป็นสภาพของการเป็นเมืองขึ้นทางเทคโนโลยี ทำไมเทคโนโลยีเกิดขึ้นไม่ได้ ตามความคิดของผมนะ เมื่อกลุ่มทุนต่างๆ เขาทำอย่างนี้มันมีผลต่างของผลกำไรของการทำธุรกิจดีอยู่แล้ว เมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น มันเป็นคู่แข่งขันเขา เช่น มีรถยนต์ยี่ห้อไทย มันไปกระทบต่อรถยนต์ที่เขานำเข้า หรือสินค้าต่างๆ กลุ่มทุนพวกนี้ถ้าลองสรุปรวมๆ ไปแล้วอยู่ในกลุ่มทุนพวกนี้แหละ ในกลุ่มทุนที่เรียกว่า กลุ่มทุนเก่า หรือทุนโบราณอะไรก็ตาม เรื่องจริงเป็นแบบนี้ เพราะฉะนั้นประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่ส่งเสริมให้เกิดทุนชาติ และประกอบกับทุนของเรามันรวมศูนย์กันไปเรื่อยๆ กฎเกณฑ์ของรัฐที่เป็นอยู่ก็คุ้มครองการลงทุนของกลุ่มที่จำกัดกลุ่มนี้

หลังปี 2540 พอเจอวิกฤติปี 2540 กลุ่มทุนเปลี่ยนวิธีการลงทุนมาสู่อสังหาริมทรัพย์เยอะ ปิโตรเคมีเยอะ หากำไรกับธุรกิจหลักๆ เยอะ ไอ้ของก่อนที่เคยทำที่ไปลงทุนต่างประเทศมันเจ๊งไป มันมีธุรกิจอันหนึ่งที่ลงทุน จะเรียก “ทุนอภิสิทธิ์” หรือทุนอะไรก็ตามแต่ เขาเรียกธุรกิจทำจอทีวี ใช้เทคโนโลยีที่เป็นจอหลอก แต่ในขณะที่โทรทัศน์ในตลาดมันเปลี่ยนไปเป็นจอแบน มันต้องทำอีกระบบหนึ่ง แต่เขาไม่รู้เทคโนโลยีใหม่ ไปเลือกเทคโนโลยีเก่าเลยเจ๊ง คนกลุ่มเหล่านี้เลยกลัวเทคโนโลยี นั่นคือเหตุผลเหมือนกันว่าทำไมคนพวกนี้ต้องกลัวกลุ่มคนสมัยใหม่ กลุ่มทุนสมัยใหม่ไม่อาศัยทุนในประเทศ อาศัยทุนต่างประเทศได้

ฉะนั้นแล้ว ในที่สุดผมคิดว่าการปะทะของกลุ่มทุนนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าการปะทะจะออกมาในรูปแบบไหน ซึ่งถ้าหากว่าทุนเก่าที่เข้าใจ น่าจะวิวัฒนาการตัวเอง โนเกียที่เราใช้นั้นเขาเป็นทุนเก่าที่ยุโรปนะ แล้วเขาวิวัฒนาการตัวเองมา แล้วทุนเก่าของเรานั้นจะวิวัฒน์ตรงนี้ไหม โลกาภิวัตน์มันคงไม่ได้หมายความว่าเอาคอมพิวเตอร์มาพิมพ์ หรือหาข้อมูลอย่างเดียว แต่มันยังมีอีกหลายๆ อย่าง กฎหมายเป็นโลกาภิวัตน์ กติการะหว่างประเทศเป็นโลกาภิวัตน์ ระบอบการปกครองเป็นโลกาภิวัตน์ หลายๆ จุด แต่ทุกวันนี้เรากำลังบิดในหลายๆ อย่าง โลกาภิวัตน์มันไม่ใช่เรื่องดีทุกเรื่องหรอก มันเป็นภาวะกลางๆ แต่เราจะเอามาใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นเราจะไปทันโลกาภิวัตน์ไม่ได้ โทษอินเตอร์เน็ตไม่ได้ มันต้องโทษพ่อโทษแม่ด้วย อันนี้คืออีกจุดหนึ่งที่เราน่าจะมอง เพราะฉะนั้นจุดหนึ่งที่เราต้องมองโลกาภิวัตน์ในด้านเศรษฐกิจ หรือไอทีใหม่ๆ เป็นเรื่องเลวร้ายนั้น ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดอย่างมหาศาล แม้กระทั่งเรื่องทุน ถ้าถามว่าทุนสามานย์มีไหม เขาเป็นวาทกรรมตั้งแต่ก่อน 19 กันยายนแล้ว “ทุนสามานย์” เทคโนโลยียังเป็น “เทคโนโลยีสามานย์” เลย ก่อน 19 กันยายน ซึ่งผมยังบอกเลยว่าสงสัยผมต้องเลิกใช้มือถือแล้วมั้ง ต้องหันกลับไปใช้นกพิราบสื่อสาร

แต่จริงๆ แล้วความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ เราเอามาปรุงแต่งเพราะว่าอะไร ทำให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์มันเป็นเรื่องที่เลวร้าย ทำให้เราไม่มีพื้นฐานในการเข้าใจโลกาภิวัตน์ที่ดีพอ ส่วนหนึ่งตีความว่าโลกาภิวัตน์เป็นมือถือ คืออินเตอร์เน็ต แต่มันไม่ใช่ ทำให้หลายคนเกลียดกลัวไปทันที แล้วยิ่งมีวาทกรรมต่างๆ ที่ปลุกเสก หรือปลูกสร้างขึ้นมา โลกาภิวัตน์อาจจะไม่ใช่สิ่งดีทั้งหมด แต่มันเป็นสภาพที่เป็นอยู่ และเราสัมผัส สิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกาภิวัตน์ ซึ่งมันต้องเกิดขึ้น ผมยกตัวอย่าง เมื่อเกิดโลกาภิวัตน์ เกิดกระแสการเรียกร้องสิ่งแวดล้อม มีการเรียกร้องกระแสเก่าๆ ที่จะขุดขึ้นมา เพราะฉะนั้นโลกาภิวัตน์มันมีทั้งกระบวนการทำให้เกิดการปะทะ และทำให้เกิดการประสาน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการทั้งปะทะและประสานนั้น เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องไปกลัว เพราะมันเป็นสิ่งที่เป็นจริงที่มันต้องเกิดขึ้น

ผมว่าต่อไปถ้า ณ จุดนี้เมื่อไทยไม่ผ่าน เราจบ เวียดนาม พม่า ทำรางรถไฟ พม่าทำรถไฟรางคู่แล้วนะครับ จากเมืองบิดบอมาย่างกุ้ง แล้วก็ใช้เทคโนโลยีจากจีนมาหลอมเหล็ก ถลุงเหล็ก เวียดนามทำเอง ของเรายังถกไม่จบเลย เราคิดแต่จะนำเข้าเหล็กเข้ามา ฉะนั้นในเรื่องพื้นฐานเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งนัก นับวันยิ่งสำคัญ แล้วเราอ่อนไม่มีศักยภาพตรงนี้ วิธีคิดที่คิดจะใช้เทคโนโลยีมาแก้ปัญหามันจึงไม่มี

ทีนี้พอมาถามว่าเมืองไทยทุกวันนี้จะไปอย่างไร พอคนอื่นมี กลัวเขาอีก ต้องบอกว่าเมืองไทยเราเป็นสังคมที่ไม่ยอมรับความเป็นจริงนะ อันนี้สะท้อนก็คือ เรื่องการแย่งชิงอำนาจ แล้วนำมาสู่การบิดเบือน การสร้างวาทกรรมต่างๆ แม้กระทั่งปัญหาความเป็นจริงของประเทศชาติบ้านเมือง ควรจะเคลื่อนไปในจุดไหน เทคโนโลยีเราควรจะยอมรับหรือไม่ แล้วโลกาภิวัตน์เราควรจะไปกันแค่ไหน อธิบายให้มันเลวไปเสียหมดเลย มันไม่มีอะไรดีเลย แล้วถามว่าเราจะอยู่กันอย่างไร