WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 24, 2008

โลกาภิวัตน์ทางการเมืองทุนนิยมโลกกับศก.พอเพียง

ดร.วรพล พรหมิกบุตร อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกโรงชำแหละ ทุนนิยมเข้าประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และซึมเรื่อยมา แม้แต่การเปลี่ยนแปลงการเมือง 2475 ยังถือได้ว่าเป็นโลกาภิวัตน์ทางการเมือง ชี้มีหลายรสชาติ แล้วแต่ใครจะตีความและทำความเข้าใจกับมัน

ทุกวันนี้เวลาเราฟังคนอื่นพูดถึงโลกาภิวัตน์ (globalization) หรือเราจะพูดกับคนอื่นว่ามีโลกาภิวัตน์ หรือไม่ว่าเราจะฟังคนอื่นพูด ผมเชื่อว่าทุกคนทราบว่าโลกาภิวัตน์มันคืออะไร แต่ว่าทราบชัดเจนละเอียดลออแค่ไหน หรือทราบอย่างถูกต้อง หรือทราบแบบคลาดเคลื่อนแค่ไหนนั้นเป็นรายละเอียดของแต่ละคน

ในความรู้สึกส่วนตัวผมที่ติดตามศึกษาเรื่องนี้มา เหมือนกับการติดตามดูความเคลื่อนไหว แล้วการวิเคราะห์สิ่งที่มนุษย์สนใจมากๆ มันมีจุดหักเหหลายอย่างที่ทำให้ตัวผมเองในระหว่างศึกษานั้นต้องเปลี่ยนความคิดเลยนะครับ เปลี่ยนเลยนะครับ ผมติดตามเรื่องโลกาภิวัตน์ ถ้าเทียบกับการดูหนังสนุกๆ เรื่องหนึ่ง มีทุกรสชาตินะครับ มีทั้งรู้สึกเศร้า รู้สึกท้อ มีอุปสรรคขวากหนาม มันเยอะเหลือเกิน มีตั้งแต่รู้สึกว่าลุ้นว่าที่เขาทำตรงนั้นมันจะสำเร็จไหม โดยที่เราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เพราะเราเป็นนักวิชาการ มีทั้งที่พยายามจะช่วยอะไรบางอย่างที่จะมาเป็นอุปสรรค อะไรบางอย่างที่จะมาทำร้ายคนไทยก็มีบ้าง

ทีนี้จะพูดถึงแนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์เนี่ย เริ่มแรกไม่ได้เป็นแนวคิดของคนไทย รวมทั้งไม่ได้เป็นของ อ.ชัยอนันต์ สมุทวณิช นะครับ แต่ อ.ชัยอนันต์ เขียนเรื่องนี้เสียจนใครๆ หลายคนที่อ่านและไม่ตรวจค้น ไม่ค้นคว้า ด้วยความสนุกตื่นเต้นเนี่ย ทำให้นึกเลยนะครับว่า อ.ชัยอนันต์ หรือเครือผู้จัดการ คือปัญญาชนคนแรกๆ ที่นำเสนอความคิดนี้ขึ้นมา ทีนี้พอสักระยะหนึ่งก็มีนักคิดท่านอื่นๆ อีก ก็มาเสนอแข่ง อย่างเช่น ดร.สุชัยวง ชัยวงสุวรรณ ที่รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็เสนอแข่ง โดยมีการประดิษฐ์คำขึ้นมา ใช้คำว่าโลกาภิวัตน์บ้าง อะไรบ้าง ก็เลยมีข้อโต้เถียงกัน ต่างคนก็ต่างที่จะอธิบายความหมายของโลกาภิวัตน์ ฝ่ายที่สนับสนุนคำว่าโลกาภิวัตน์บอกว่า โลกาภิวัตน์มันถูกต้อง มันดีอย่างนั้นดีอย่างนี้ ฝ่ายที่ต่อต้านคำว่าโลกาภิวัตน์บอกว่าไม่ถูกต้อง มันกลายเป็นการปะทะกันด้วยบทความทางวิชาการ ในที่สุดประเด็นเหล่านี้ราชบัณฑิตยสถานออกมาบัญญัติว่า คำศัพท์ที่เป็นทางการคือ โลกาภิวัตน์ แต่ว่าใครอยากจะใช้อย่างไรใช้ไปนะครับ แต่ว่าคำศัพท์อย่างเป็นทางการคือ โลกาภิวัตน์

ส่วนโลกาภิวัตน์ของระบบทุนนิยม ระบบทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจที่เริ่มต้นจากยุโรปในการเปลี่ยนแปลงการค้าขายโดย ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ในประวัติศาสตร์ทุนนิยมของโลกบอกว่า ประเทศมหาอำนาจที่สำคัญคือ ประเทศสเปน โรมัน อิตาลี และเนเธอแลนด์ เป็นผู้เผยแพร่ระบอบทุนนิยม ทุนนิยมของโลกเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในสมัย ร.2 ขยายการค้าขายไปสู่จีน ต่อมาสมัย ร.3 ท่านเตือนคนไทยและชนชั้นสูงขณะนั้นว่าให้พิจารณาการเข้ามาของต่างชาติด้วย เพราะจะทำให้ไทยตกเป็นเบี้ยล่างได้ สมัย ร.7 เกิดการยึดอำนาจขึ้นในสมัย 2487 และเขียนธรรมนูญการปกครองชั่วคราว เขียนในลักษณะผูกขาดในคณะราษฎร ซึ่งไม่มีสามัญชนที่เป็นองค์ประกอบเลย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น คณะราษฎรกุมอำนาจการปกครองไว้และสร้างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นต้นแบบรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้ คณะราษฎร คือ อำมาตยาธิปไตยชุดแรก ถือเป็นโลกาภิวัตน์ทางการเมือง จากนั้นต่อมาได้มีการทำรัฐประหารเกิดขึ้น และโยนความผิดไปให้ขุนนางอีกกลุ่มหนึ่ง และการเมืองไทยก็ไม่ได้พัฒนาอีกเลย

สมัยรัชกาลที่ 4 ถือว่าเป็นระบบทุนนิยม มีการนำสินค้าเข้าและส่งออกสิ้นค้าเกษตร ขยายพื้นที่เพาะปลูก ใช้เทคโนโลยีชลประทานเข้ามาพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร

ที่น่าสนใจมากๆ คือ ในสังคมไทยนั้นเข้าใจว่าคำว่าโลกาภิวัตน์นั้นมาจากนักสังคมศาสตร์ มาจากนักสังคมวิทยา หรือมาจากนักสังคมศาสตร์อื่นๆ อย่างเช่น นักนิติศาสตร์ อย่างนี้เป็นต้น แต่เท่าที่ผมตรวจค้นในเอกสารทางวิชาการย้อนกลับไปนะครับ พบว่าไปปรากฏในงานเขียนบทความเชิงวิชาการชิ้นแรกๆ ของศตวรรษที่ 20 แนวคิดนี้พบในงานเขียนของสื่อสารมวลชน เพื่อจะสื่อให้เห็นว่า การสื่อสารเชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่าย ทำให้โลกเล็กลง ทำให้เรารับรู้ข่าวสารถึงกันในเวลาอันรวดเร็ว โลกาภิวัตน์ไม่ใช่ของใหม่ แต่เป็นของเก่าดั้งเดิม

ย้อนมาที่ปัจจุบัน มีนักวิชาการบางกลุ่มซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับผลประโยชน์ของประชาชน เคยให้คำแนะนำปรึกษาพวกทุนนิยมที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนมาตลอดกว่า 10 ปี พอตอนหลังมาเห็นกระแสความคิดของเศรษฐกิจพอเพียงเข้มแข็งขึ้น พยายามจะบิดเบือนมาสนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่พวกนี้เพี้ยนไปว่าเศรษฐกิจพอเพียงต้องทำแบบนี้นะ ถอดเสื้อเดิน กลับไปอยู่ถ้ำ ซึ่งไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่นะครับ

ทีนี้มาดูวิธีปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เวลาเราเดินไป สมมติว่าเราเลิกประชุมเดินออกไป สมมติว่าหิวเลยนะครับ เดินไปที่ร้าน ร้านข้าวแกง ร้านก๋วยเตี๋ยว คุณคิดอะไรอยู่ตอนนั้น สิ่งที่คุณคิดคือ คุณตรวจดูเงินในกระเป๋าคุณ และคุณคิดว่าเวลาคุณกินเสร็จแล้วคุณจะต้องทำอะไรต่อกับคนที่เอาก๋วยเตี๋ยวมาให้คุณ อันนี้คือวิธีคิดที่เราบอกว่าเป็นธรรมชาติของเราตั้งแต่เกิด เราเป็นอย่างนี้มาตลอด แต่ว่าธรรมชาติแบบนี้เป็นธรรมชาติทางสังคม ซึ่งมันมีเปลี่ยนแปลงไป

เพราะฉะนั้น หลายๆ เรื่องเราคิดเราทำ สมัยก่อนคนอายุ 40-50 ที่อยู่ในต่างจังหวัด พอจะจำตรงนี้ได้นะครับ พ่อแม่เราตำน้ำพริกอยู่ มะนาวหมด ต้นแถวบ้านเราไม่มี วิ่งไปต้นข้างบ้าน ไม่ต้องจ่ายเงิน แต่วันนี้ต่อให้ข้างบ้านมี เราบอกว่าไม่ละ ไปตลาดสดดีกว่า อันนี้คือวิธีปฏิบัติมันเปลี่ยนไป ไม่ได้แปลว่าไม่มีโลกาภิวัตน์ แต่มีโลกาภิวัตน์อีกแบบหนึ่ง อีกชุดหนึ่ง แล้วโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันนี้มันมีรูปแบบใหม่ๆ เข้ามาแล้วมันทำให้คนไทยค่อยๆ เปลี่ยนวิธีคิด อีกอันที่ชัดเจนที่สุดในโครงการศึกษาทางวิชาการทางสังคมศาสตร์เนี่ย นิยมที่จะวิเคราะห์กันคือ ประเพณีลงแขก ซึ่งนักศึกษาในปัจจุบันนี้ถ้านึกภาพจะบอกว่าลามก แต่การลงแขกในอดีตนั้นคือการแลกเปลี่ยนแรงงาน ซึ่งในแต่ละชุมชนที่ทำการเกษตร จะว่าระบบทำให้การแลกเปลี่ยนแรงงานทำให้การเก็บเกี่ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เดียวนี้ไม่มีแล้ว มีแต่รถเกี่ยวข้าว หรือจ้างคนเกี่ยวหมดแล้ว การจ้างแรงงานโดยมีเงินเป็นค่าตอบแทนเป็นวิธีปฏิบัติของโลกาภิวัตน์ ซึ่งเรียกว่า ทุนนิยม แต่การลงแขกเกี่ยวข้าวนั้นเป็นผลของโลกาภิวัตน์ หรือการเรียนรู้ก่อนระบบทุนนิยม แต่ในบางพื้นที่ยังมีให้เป็นอยู่บ้าง

ตอนที่ผมกลับมาเมืองไทย หลังจากไปศึกษามา ได้ขึ้นไปที่แม่จัน เห็นชาวเขาที่เป็นเด็กเริ่มแต่งตัวผสมผสานกันแล้วนะ ตอนนั้นสมัยรัชกาลที่ 7 คือนุ่งกางเกงแบบทรงโจงกระเบนของเขา แต่ใส่เสื้อยืดกระทิงแดง เป็นเรื่องที่ไม่มีใครไปขัดขวางต้านทานได้ ไม่มีใครไปปฏิเสธได้ และเป็นหลายเรื่องคือสิ่งที่ผมศึกษาประวัติศาสตร์อย่างมีความสุข อย่างน้อยเราได้เกิดมาบนดินแดนที่มันมีอะไรน่าสนใจอยู่ แง่มุมเหล่านี้เป็นแง่มุมที่ฝรั่งเขาต้องการ และเขาอยากจะได้ เขาอยากจะสร้างขึ้นมาเหมือนกัน เพราะเขาต้องการที่จะรักษาโครงสร้างเศรษฐกิจของเขาเหมือนกัน ฉะนั้นสิ่งที่ผมเห็นคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระบบทุนนิยมโลก กับโลกาภิวัตน์ทุนนิยมโลกโตไปได้ แล้วไปได้ด้วยดีด้วย ซึ่งอันนี้อาจจะต่างไปจากมุมของคนอื่นนิดหนึ่ง