WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 23, 2008

คุณภาพนักการเมืองไทย

โดย วีระ มุสิกพงศ์

การอ่านคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องการยุบพรรคไทยรักไทย และไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมาก่อให้เกิดปัญหาขึ้นในสังคมไทยมากมายกว่าที่ผู้คนจะคาดคิด

ในประเด็นแรก คือเรื่องการยุบ และไม่ยุบนั้นเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายประกอบกันซึ่งขอยกให้เป็นประโยชน์แก่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คือจะไม่พูดถึงในเรื่องนี้

แต่ประเด็นที่สอง คือเรื่องการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองแก่กรรมการพรรคที่ถูกยุบจำนวน 111 คนเป็นเวลา 5 ปีนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายล้วนๆ และเป็นเรื่องที่คนในพรรคไทยรักไทยทั้งที่เป็นกรรมการบริหาร และสมาชิกสามัญ ต่างไม่อาจยอมรับได้ จึงเป็นเรื่องที่เราให้ความสนใจมากสักหน่อย

ประเด็นเรื่องยุบ และไม่ยุบนั้นมีการเปิดเผยว่าคะแนนเป็นเอกฉันท์ 9 : 0 ส่วนประเด็นเรื่องเพิกถอนหรือตัดสิทธิทางการเมืองนั้น คะแนนไม่เป็นเอกฉันท์ คือควรตัดสิทธิ์ 6 และเห็นควรไม่ตัดสิทธิ์ 3 ซึ่งแสดงว่าในหมู่ตุลาการรัฐธรรมนูญเองก็ยังเห็นไม่ตรงกันชัดแจ้ง

พวกที่เห็นว่า ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิ์กรรมการบริหาร 111 คนเป็นเวลา 5 ปี นั้นชอบแล้ว มีเหตุผลว่า คำสั่ง คปค. (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น คมช.) ฉบับที่ 27 อันเป็นคำสั่งเพิ่มโทษกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้เพราะกฎหมายที่ยึดถือกันว่า จะใช้ย้อนหลังเป็นโทษแก่บุคคลไม่ได้นั้น มีเฉพาะกฎหมายอาญาเท่านั้น

ส่วนในกฎหมายอื่นๆ สามารถใช้บังคับย้อนหลังได้ ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายทั่วไป

คนพวกที่เห็นอย่างนี้ ยังรวมเอานักวิชาการอื่นที่ไม่ใช่นักกฎหมายโดยตรง เข้าไว้ด้วยเช่น ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ อ. ทวีศักด์ สุรฤทธิกุล อาจารย์มหาลัยสุโขทัยฯ

ส่วนคนอีกพวกหนึ่งที่เห็นว่าการลงโทษกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยด้วยการเหมาเข่งตัดสิทธิการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะขัดกับหลักกฎหมายเบื้องต้นที่ว่า การใช้กฎหมายลงโทษบุคคลย้อนหลังเกินกว่าบทกำหนดโทษที่บัญญัติไว้ในขณะกระทำความผิดย่อมกระทำมิได้

หลักที่ว่านี้ยึดถือกันเหนียวแน่นในการใช้กฎหมายอาญา และยังใช้กับกฎหมายอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แนวความคิดที่ว่านี้มีนักกฎหมายอย่าง อ.มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มธ. เป็นผู้ยืนยันค้ำประกัน

ข้อถกเถียงของทั้งสองฝ่ายเป็นเรื่องทางวิชาการที่น่าสนใจ แต่ไม่ใช่เรื่องสูงส่งเกินไปที่ประชาชนคนสามัญจะร่วมถกเถียงด้วยไม่ได้

ผมมีความเห็นของผมว่าการใช้กฎหมายที่มีบทกำหนดโทษขึ้นภายหลังที่สูงกว่าบทกำหนดโทษบุคคลในขณะกระทำความผิดเป็นการกระทำที่อยุติธรรม เป็นเผด็จการ และเป็นความป่าเถื่อนอย่างหนึ่งที่ต้องถูกขจัดออกไปจากสังคม

ทั้งนี้ไม่ว่ามันจะอยู่ในหมวดกฎหมายอาญา หรือกฎหมายแพ่ง หรือกฎหมายอื่นใด นายเลิศ จุฬารัตน์ อดีตอาจารย์สอนกฎหมาย ม.เชียงใหม่ก็เห็นเช่นเดียวกันนี้ – ( อ้างอิงคอลัมน์ขี่พายุ ทะลุฟ้า นสพ.ข่าวหุ้น 4 มิ.ย. 50 )

หากสังคมใดยอมให้มีการใช้กฎหมายที่มีบทลงโทษย้อนหลังกันได้ สังคมนั้นย่อมเป็นสังคมป่าเถื่อน เพราะผู้มีอำนาจย่อมบัญญัติกฎหมายลงโทษปฏิปักษ์ของตนเอาได้ตามอำเภอใจ

ผมจึงเห็นว่าใครก็ตามที่สนับสนุนมติของตุลาการรัฐธรรมนูญเรื่องตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบเป็นเวลา 5 ปี เป็นพวกสมุนเผด็จการและเป็นพวกสยบยอมต่อเผด็จการ ในทางตรงกันข้ามใครก็ตามที่ปฏิเสธความเห็นนั้น คัดค้านความเห็นนั้น ดื้อแพ่ง แข็งข้อ ต่อความเห็นนั้นเป็นผู้ต่อต้านเผด็จการ และรังสรรค์ประชาธิปไตย ซึ่งควรแก่การยกย่องสรรเสริญ

นายนวมทอง ไพรวัลย์ คนขับแท็กซี่ธรรมดายังกล้าขับรถเข้าชนรถถัง สละชีพเพื่อต้านเผด็จการ คมช. จัดเป็นวีรบุรุษ ประชาธิปไตยคนหนึ่งมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้

บนถนนสายประชาธิปไตยเดียวกัน กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน จะทำอะไรได้แค่ไหน นี่เป็นเรื่องที่เราจะได้พิสูจน์คุณภาพกันในวันนี้